ประติมานวิทยา
ประติมานวิทยา Iconography | |
ภาพ “ราชทูต” โดยฮันส์ โฮลไบน์เป็นงานจิตรกรรมอันซับซ้อนที่เนื้อความและสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่ปรากฏหรือลักษณะทางประติมานวิทยาในเนื้อหาของภาพก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ |
ประติมานวิทยา[1] (อังกฤษ: Iconography) เป็นสาขาหนึ่งของประวัติศาสตร์ศิลป์ที่เป็นการศึกษาประวัติ, คำบรรยาย และ การตีความหมายของเนื้อหาของภาพ คำว่า “Iconography” แปลตรงตัวว่า “การเขียนรูปลักษณ์” (Image Writing) ที่มีรากมาจากภาษากรีกโบราณ “εἰκών” ที่แปลว่า “รูปลักษณ์” และคำว่า “γράφειν” ที่แปลว่า “เขียน” ความหมายรองลงมาคืองานประติมา (Icon) ในไบแซนไทน์และออร์โธด็อกซ์ของประเพณีนิยมคริสเตียน ในด้านประวัติศาสตร์ศิลป์ประติมานวิทยาก็ยังอาจจะหมายถึงกรรมวิธีการแสดงหัวเรื่องในรูปแบบของการใช้รูปสัญลักษณ์ต่าง ๆ ในเนื้อหาของภาพที่ออกมาให้ผู้ชมได้เห็น นอกจากนั้นประติมานวิทยาก็ยังใช้ในด้านสาขาวิชาอื่นนอกไปจากประวัติศาสตร์ศิลป์เช่นในวิชาสัญญาณศาสตร์ และ media studies, และในการใช้โดยทั่วไปที่หมายถึงลักษณะรูปลักษณ์ที่ใช้กันเป็นสามัญของหัวเรื่องหรือความหมายในทำนองเดียวกัน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ มะลิฉัตร เอื้ออานันท์. “พจนานุกรมศัพท์ศิลปะ” สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พ.ศ. 2545
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ประติมา
- What iconographers do - case study เก็บถาวร 2005-08-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Iconography of Deities and Demons in the Ancient Near East (Project of the Swiss National Science Foundation at the Universities of Zurich and Fribourg เก็บถาวร 2007-05-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Web site for European Sacred Mountains, Calvaries and Devotional Complexes
- Christian Iconography