พระยาชำนาญอักษร (ปลอบ โรจนกุล)
เสวกโท นายกองเอก พระยาชำนาญอักษร (ปลอบ โรจนกุล) | |
---|---|
ปลัดกรมราชเลขาธิการ กระทรวงวัง | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2466 – พ.ศ. 2470 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ปลัดกรมกองสารบรรณ กรมบัญชาการ กระทรวงวัง | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2466 – พ.ศ. 2470 | |
ก่อนหน้า | พระยาราชสาส์นโสภณ (สอาด ชูโต) |
ถัดไป | ไม่ปรากฏ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 29 มีนาคม พ.ศ. 2428 แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กรุงรัตนโกสินทร์ |
เสียชีวิต | 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470 (42 ปี) แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กรุงรัตนโกสินทร์ |
บุพการี |
|
ญาติ | ร.อ.ต. โปรด โรจนกุล (น้องชาย) |
อาชีพ | ข้าราชการ, ขุนนาง |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
สังกัด | กองเสือป่า |
ประจำการ | พ.ศ. 2454 – พ.ศ. 2468 |
ยศ | ![]() |
หน่วย | กรมปลัดเสือป่าหลวงรักษาพระองค์ |
เสวกโท นายกองเอก พระยาชำนาญอักษร (29 มีนาคม พ.ศ. 2428 – 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470) นามเดิมชื่อ ปลอบ เป็นอดีตขุนนางสำนักพระราชวัง[1]: 177 สมาชิกกองเสือป่า อดีตฝ่ายเลขานุการกรมรัฐมนตรีสภา อดีตปลัดกรม กรมปลัดเสือป่าฝ่ายหนังสือ ประจำกองเสนาหลวงรักษาพระองค์ ในรัชกาลที่ 6 อดีตปลัดกรมราชเลขาธิการ และปลัดกรม กรมบัญชาการ สังกัดกรมราชเลขาธิการในรัชกาลที่ 7
ประวัติ
[แก้]พระยาชำนาญอักษร มีชื่อเดิมว่า ปลอบ เกิดเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 14 ค่ำ เดือนห้าปีระกาตรงกับวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2428[2] มีนิวาสสถานอยู่ที่วังหลังย่านบ้านช่างหล่อ ฝั่งธนบุรี[3]: 358 (ปัจจุบันคือ แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร) เป็นบุตรของหลวงพิสณฑ์ยุทธการ (ปึก โรจนกุล)[2] มีน้องชายชื่อ รองอำมาตย์ตรี โปรด โรจนกุล[4] และมีศักดิ์เป็นหลานของหลวงลิขิตปรีชา (คุ้ม) เจ้ากรมพระอาลักษณ์
เริ่มรับราชการครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเป็นมหาดเล็ก[5] (ยังไม่มีบรรดาศักดิ์) ตั้งแต่วัยเยาว์อยู่ในพระบรมมหาราชวัง ได้ศึกษาวิชาในสำนักฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน (ต่อมาเปลี่ยนเป็นชื่อโรงเรียนมหาดเล็ก เมื่อ พ.ศ. 2445)[6]: 158 ที่ตึกแถวสองชั้นข้างประตูพิมานไชยศรีทางทิศตะวันตกของพระบรมมหาราชวัง กระทั่ง พ.ศ. 2446 นายปลอบมหาดเล็กจึงสอบไล่ได้ประโยคปกครอง[2]
เมื่อ พ.ศ. 2448 ได้เป็นอาจารย์มหาดเล็กผู้ช่วยสอนวิชาการเสมียนในโรงเรียนมหาดเล็กในพระบรมมหาราชวัง ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานประทวนบรรดาศักดิ์แก่นายปลอบมหาดเล็ก เป็น นายรักษ์ภูวนาถ (ปลอบ)[2] หุ้มแพรมหาดเล็ก ได้ถวายงานเป็นอาจารย์ประจำชั้น และประจำกอง โดยสอนหนังสือวิชาอักษรศาสตร์[7]: 12 แก่นักเรียนมหาดเล็ก (แผนกวิสามัญศึกษา) ในพระราชสำนัก โดยมีหลวงบรรโณวาทวิจิตร์ (หรุ่น ปิยะรัตน์)[8]: 53 เป็นหัวหน้าแผนก[9]: 177 ในวาระเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล) เป็นอธิบดีโรงเรียนมหาดเล็ก และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเป็นที่ปรึกษาโรงเรียนมหาดเล็ก[7]: 12
เมื่อ พ.ศ. 2449 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้นายรักษ์ภูวนาถ (ปลอบ) เป็นเสมียนผู้ช่วยอาลักษณ์ ไปรเวตสิเกรตารีหลวงในพระบรมมหาราชวัง พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นขุนวิจารณ์ราชหัดถ์ (ปลอบ) ตำแหน่ง เสมียนเอกชั้น ๑ เมื่อ พ.ศ. 2450 ต่อมาได้เป็นพนักงานอาลักษณ์ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นขุนลิขิตปรีชา (ปลอบ) กรมราชเลขานุการและเป็นเสมียนกองเวรรับส่ง สังกัดกระทรวงมุรธาธร และนายเวรกอง กรมราชเลขานุการและยังเป็นอาจารย์สอนวิชาอักษรศาสตร์ของโรงเรียนมหาดเล็กจนถึงจนถึง พ.ศ. 2452
เมื่อ พ.ศ. 2453 โปรดเกล้าฯ ย้ายขุนลิขิตปรีชา (ปลอบ) ไปรับราชการที่กรมราชเลขานุการโดยทรงแต่งตั้งให้เป็นปลัดกรม กองรายงานหนังสือไปมา กรมราชเลขานุการ สังกัดกระทรวงวัง[3]: 358 มีหน้าที่อันเนื่องกับการเลขานุการด้านหนังสือราชการในพระองค์และปฏิบัติงานรับใช้พระมหากษัตริย์ในราชการส่วนพระองค์[10] ได้รับพระราชทานยศและบรรดาศักดิ์เป็น รองเสวกเอก ขุนลิขิตปรีชา (ปลอบ) ต่อมาได้เลื่อนเป็นหลวงชำนาญอักษร (ปลอบ) เมื่อ พ.ศ. 2454 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และเลื่อนเป็นหลวงลิขิตปรีชา (ปลอบ) เมื่อ พ.ศ. 2455 และได้รับพระราชทานยศเป็น เสวกตรี เมื่อ พ.ศ. 2457 ตามลำดับ[2]
เมื่อ พ.ศ. 2454 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนากองเสือป่าขึ้น หลวงลิขิตปรีชา (ปลอบ) ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกกองเสือป่า ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายราชการไปที่กรมปลัดเสือป่ามีตำแหน่งราชการเป็นผู้รั้งหัวหน้าแผนกหนังสือ[11] กรมปลัดเสือป่า ประจำกองเสนาหลวงรักษาพระองค์ (ร.อ.) ในรัชกาลที่ 6
เมื่อ พ.ศ. 2456 หลวงลิขิตปรีชา (ปลอบ) กับหลวงพิสณฑ์ยุทธการ (ปึก โรจนกุล) บิดา ได้กราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานนามสกุลสืบตระกูลเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) เจ้าเมืองพิษณุโลก ผู้นำชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลกหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง[12] ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของท่าน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสกุลว่า โรจนกุล แก่หลวงลิขิตปรีชา (ปลอบ) และบิดาของท่าน เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2456 เป็นนามสกุลพระราชทานลำดับที่ 368 ใน สมุดทะเบียฬนามสกุลพระราชทาน ในรัชกาลที่ 6[13]: 79
เมื่อ พ.ศ. 2459 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนบรรดาศักดิ์ขึ้นเป็นพระพิจารย์ราชหัดถ์ (ปลอบ) ปฏิบัติงานราชการด้านหนังสือ รายงาน และการทะเบียนกองเสือป่า ขึ้นตรงกับนายกกองเสือป่า โดยมี พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ทรงดำรงตำแหน่งปลัดกรมอยู่ในขณะนั้น ต่อมาได้เลื่อนยศเป็น เสวกโท เมื่อ พ.ศ. 2462
เมื่อ พ.ศ. 2464 ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาชำนาญอักษร (ปลอบ)[14] ถือศักดินา 1600 มีตำแหน่งราชการปลัดกรม กองสารบรรณ กรมบัญชาการขึ้นกับกรมราชเลขาธิการ กระทรวงวัง และพระราชทานยศเสือป่าเป็น นายกองเอก ให้ดำรงตำแหน่งแทนพระยาราชสาส์นโสภณ (สอาด ชูโต) และได้รับพระราชทานเหรียญศารทูลมาลา รับราชการสนองพระเดชพระคุณจนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตจนถึงต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมื่อ พ.ศ. 2470 เสวกโท นายกองเอก พระยาชำนาญอักษร (ปลอบ โรจนกุล) ล้มป่วยด้วยโรคกระเพาะอักเสบ (กระเพาะอาหารพิการ) อาการทรุดจนถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน สิริรวมอายุได้ 42 ปี[2] พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเพลิงศพพระยาชำนาญอักษร (ปลอบ โรจนกุล) เมื่อวันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2472 ที่วัดอมรินทรารามวรวิหาร และพระราชทานเงิน 1,000 สตางค์กับผ้าขาว 4 พับ[15]
บทบาทราชการอื่นๆ
[แก้]นอกเหนือจากงานราชการทั่วไปแล้ว บทบาทราชการด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องของพระยาชำนาญอักษร (ปลอบ) ที่ปรากฏไว้ ดังนี้
พัฒนาบุคลากรระบบการปกครองเทศาภิบาล
[แก้]ในสมัยเริ่มมีการปฏิรูประบบการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล[16]: 366 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ทรงพระราชดำริอยู่ว่า เพื่อให้สัมฤทธิ์ผลดังพระราชประสงค์ต้องใช้คนที่มีความรู้ในแบบแผนมากขึ้น แม้มีข้าราชการที่ได้ฝึกหัดอยู่ตามมณฑลบ้างแต่ก็ยังไม่เพียงพอ จึงได้ทรงตั้งโรงเรียนขึ้นในกระทรวงมหาดไทย[16]: 366 (ตึกตรงข้ามหอรัษฎากรพิพัฒน์ ในพระบรมมหาราชวัง) ให้เป็นสถานที่ศึกษาวิชาการปกครอง ต่อมาจึงโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนมหาดเล็ก ณ ประตูพิมานไชยศรี[16]: 371 ในพระบรมมหาราชวัง และเพิ่มครูสำหรับวิชาต่างๆ เพิ่มขึ้น จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้ พระยาชำนาญอักษร (ปลอบ) กรมมหาดเล็ก เป็นอาจารย์สอนวิชาอักษรศาสตร์[16]: 373 แก่นักเรียนปกครองที่ถวายตัวเป็นมหาดเล็ก
ต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กขึ้นเป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[16]: 388 [17] พระยาชำนาญอักษร (ปลอบ) จึงได้สอนวิชาอักษรศาสตร์เรื่อยมา จนภายหลังโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ได้ยกฐานะขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[16]: 391
การแปลงพระราชวังพญาไทเป็นโฮเต็ลพญาไท
[แก้]เมื่อปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ให้แปลงพระราชวังพญาไทเป็นโรงแรมหรูที่ดีที่สุดของประเทศเป็นที่เชิดหน้าชูตาทัดเทียมโรงแรมชั้นนำของโลก[18]: 105 กำหนดเปิดอย่างไม่เป็นทางการเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2469 (ปีศักราชแบบเก่า คือ พ.ศ. 2468) จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พระยาชำนาญอักษร (ปลอบ) ปลัดกรม ข้าราชสำนักของกระทรวงวัง[18]: 102 นำแผนที่พระที่นั่ง แผนผังห้องพัก และบริเวณโฮเต็ลพระราชวังพญาไท[18]: 103 พร้อมหนังสือราชการนำส่งถวายพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง ความว่า :-
เลขที่ ๓๑/๑๐๓๗ วันที่ ๑๘ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๖๘[18]: 103
พระยาราชอักษร มาแจ้งว่า มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เรียกแผนที่พระที่นั่งต่าง ๆ และเยนเนอราลแปลนสำหรับพระราชวังพญาไท ไปยังเสนาบดีกระทรวงวัง ถ้าให้มาแล้วให้ส่งไปถวายพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงกำแพงเพชรอัครโยธิน
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
พระยาชำนาญอักษร
กระทรวงวัง
ในคราวเปิดโฮเต็ลพญาไทนั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เสด็จพระราชดำเนินเปิดโฮเต็ลพญาไทวันที่ 18 กุมภาพัน พ.ศ. 2469 (ปีศักราชแบบเก่า คือ พ.ศ. 2468)[19]: 5 หนังสือ Met in Siam[20] ของสำนักงานการท่องเที่ยวสยาม กล่าวถึงโฮเต็ลพญาไท ว่า "สง่างาม รักษาบรรยากาศของวังไว้ครบ โดยเฉพาะห้องชุด Royal Suite ยากยิ่งจะหาโฮเต็ลอื่นใดเสมอเหมือนได้ รสนิยมดีเลิศ สะดวกสบาย ที่ตั้งอยู่ในท้องทุ่งที่สดชื่น เย็นสบาย เงียบสงบ"[21][19]: 3
โฮเต็ลพญาไทได้ชื่อว่าเป็นโรงแรมเดอลุกซ์แห่งแรกของประเทศไทย[21] เปิดมาถึง พ.ศ. 2475 และปิดตัวลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2475 อันเนื่องจากผลดำเนินงานขาดทุนจากสถานการณ์ทางการเมืองที่ไม่ปกติ[19]: 6
สนับสนุนศิลปะการเชิดหุ่นกระบอก
[แก้]สมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระยาชำนาญอักษร (ปลอบ) ได้ให้แม่ครูเคลือบ นักเชิดหุ่นกระบอกฝีมือเอกสังกัดคณะหุ่นกระบอกของหม่อมราชวงศ์เถาะ ปาลกะวงศ์ และเป็นบุตรสาวคนโตของครูเหน่งผู้มีชื่อเสียงเลื่องลือด้านการเชิดหุ่นกระบอกไทยสมัยรัชกาลที่ 5 พักอาศัยที่บ้านตน และยังให้แม่ครูเคลือบเปิดการเรียนการสอนศิลปะการเชิดหุ่นกระบอก ครูเหน่งผู้นี้มีชื่อเสียงจากการดัดแปลงหุ่นไหหลำเป็นหุ่นไทย และเชิดร้องเล่นหากินอยู่แถบเมืองเหนือ มีประวัติเพียงว่า "นายเหน่ง คนขี้ยา อาศัยวัด อยู่เมืองสุโขทัย จำหุ่นไหหลำดัดแปลงเป็นหุ่นไทยและออกเชิดร้องเล่นหากิน"[22]: 128
ต่อมานายวงษ์ รวมสุข ศิษย์ของคุณยายสาหร่าย ช่วยสมบูรณ์ ได้มาเรียนศิลปะการเชิดหุ่นกระบอกกับแม่ครูเคลือบที่บ้านพระยาชำนาญอักษร[23]: 136 [24] ในกรุงเทพมหานคร กระทั่งนายวงษ์ รวมสุข สามารถตั้ง คณะชูเชิดชำนาญศิลป์ ขณะเป็นลูกศิษย์แม่ครูเคลือบ และมีโอกาสเชิดหุ่นถวายหน้าพระที่นั่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว[23]: 136
ครอบครัวและพี่น้อง
[แก้]พระยาชำนาญอักษร (ปลอบ) มีพี่น้องและผู้สืบทอดสกุลที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
- โปรด โรจนกุล
รองอำมาตย์ตรี โปรด โรจนกุล บุตรหลวงพิสณฑ์ยุทธการ (ปึก) เกิดเมื่อวันอังคารวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2437 เป็นผู้ช่วยนายเวร กรมบัญชีกลาง กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ (ปัจจุบันคือกระทรวงการคลัง) ถึงแก่กรรมเมื่อวันอังคารที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2472 ด้วยโรคอัมพาต สิริรวมอายุได้ 35 ปี[4]
- พระอำนวยเนติพจน์ (เลื่อง โรจนกุล)
- คุณหญิงสัตยานุกูล (แปลก โรจนกุล)
- หลวงนิติกรณ์ทยุดี (พจน์ โรจนกุล) ผู้พิพากษาศาลมณฑลสุราษฎร์ มณฑลภูเก็ต มณฑลนครไชยศรี และมณฑลนครราชสีมา[25]
- หลวงวิโรจน์รัฐกิจ (เปรื่อง โรจนกุล)
- ขุนโรจนกุลประภัทร (ปอนด์ โรจนกุล)
รองอำมาตย์โท ขุนโรจนกุลประภัทร (ปอนด์ โรจนกุล)[26] ถือศักดินา 800 สำเร็จการศึกษาจากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นนายอำเภอดังนี้
- พ.ศ. 247? – 2474 นายอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก
- พ.ศ. 2474 – 2475 นายอำเภอเมืองเพ็ชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์
- พ.ศ. 2475 – 247? นายอำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.)
- นายแป้นมหาดเล็ก (ต่อมาคือ ศรีชัย โรจนกุล)
นายแป้นมหาดเล็ก สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี เดิมเป็นข้าราชการทหารมหาดเล็กเป็นทหารม้ารักษาพระองค์ ต่อมารับราชการอยู่ในกรมเสมียนตรามหาดไทย สังกัดกรมมหาดไทย ภายหลังได้ย้ายมาเป็นนายอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ถึง พ.ศ. 2536 ถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. 2538 ด้วยวัณโรคปอด
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2527 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)[27]
ยศและบรรดาศักดิ์
[แก้]บรรดาศักดิ์
[แก้]- พ.ศ. 2447 นายปลอบมหาดเล็ก[28][9]: 177
- พ.ศ. 2448 นายรักษ์ภูวนาถ (ปลอบ) ศักดินา 300[28]
- พ.ศ. 2450 ขุนวิจารณ์ราชหัตถ์ (ปลอบ)
- พ.ศ. 2450 ขุนลิขิตปรีชา (ปลอบ)[29]
- พ.ศ. 2454 หลวงชำนาญอักษร (ปลอบ)
- พ.ศ. 2455 หลวงลิขิตปรีชา (ปลอบ)[2]
- พ.ศ. 2459 พระพิจารณ์ราชหัดถ์ (ปลอบ)[2]
- พ.ศ. 2464 พระยาชำนาญอักษร (ปลอบ) ศักดินา 1600[2][30]
ยศข้าราชการกระทรวงวัง
[แก้]- รองเสวกโท
- รองเสวกเอก[31]: 90
ยศกองเสือป่า
[แก้]- นายหมู่ตรี
- พ.ศ. 2458 นายหมู่เอก[11]
- พ.ศ. 2459 นายหมวดตรี[34]
- พ.ศ. 2460 นายหมวดเอก [35]
- พ.ศ. 2462 นายกองโท[37]
- พ.ศ. 2466 นายกองเอก[38]
ตำแหน่งราชการ
[แก้]พระยาชำนาญอักษร (ปลอบ) มีตำแหน่งราชการดังนี้[39]: 211 [3]: 458 [31]
- พ.ศ. 2447 – 2449 มหาดเล็กเวรเดช[28] เสมียนผู้ช่วยอาลักษณ์ ไปรเวตสิเกรตารีหลวง
- พ.ศ. 2449 – 2451 มหาดเล็กหุ้มแพรนายยามเวรมหาใจภักดิ์ฝ่ายพระราชวังบวร[28] และอาจารย์ผู้สอนวิชาอักษรศาสตร์[16]: 373 โรงเรียนมหาดเล็ก พระบรมมหาราชวัง
- พ.ศ. 2451 – 2451 เสมียนกองเวรรับส่ง กระทรวงมุรธาธร
- พ.ศ. 2451 – 2452 นายเวรกอง กรมราชเลขานุการ
- พ.ศ. 2454 – 2456 ปลัดกรม กองรายงานหนังสือไปมา กรมราชเลขานุการ[3]: 358 ในรัชกาลที่ 6 (วาระพระยาศรีราชอักษร (มา กาญจนาคม) เป็นเจ้ากรม)[40][41]
- พ.ศ. 2456 – 2458 ปลัดกรม กองรายงานหนังสือไปมา กรมราชเลขานุการในพระองค์ และเลขานุการกรมรัฐมนตรีสภา กระทรวงมุรธาธร
- พ.ศ. 2458 – 2459 รั้งตำแหน่งปลัดกรม (หัวหน้าแผนกหนังสือ) กรมปลัดเสือป่า กองเสนาหลวงรักษาพระองค์ ร.อ. ในรัชกาลที่ 6
- พ.ศ. 2459 – 2462 ปลัดกรม (ฝ่ายหนังสือ) กรมปลัดเสือป่า กองเสนาหลวงรักษาพระองค์ ร.อ.
- พ.ศ. 2466 – 2470 ปลัดกรมราชเลขาธิการ และปลัดกรม กองสารบรรณ (แผนกที่ 2) กรมบัญชาการ ขึ้นกับกรมราชเลขาธิการในรัชกาลที่ 7 กระทรวงวัง[1]: 177
หมายเหตุ: ปลัดกรมราชเลขาธิการ คือ ตำแหน่งผู้ช่วยราชเลขาธิการมีลำดับเสมอตำแหน่งปลัดทูลฉลองโดยนัย[42]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2467 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
- พ.ศ. 2464 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
- พ.ศ. 2463 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)
- พ.ศ. 2460 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.)
- พ.ศ. 2457 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์ช้างเผือก (บ.ช.)[43]
- พ.ศ. 2456 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.)[44]
- พ.ศ. 2457 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 4 (ว.ป.ร.4)[2][45]: 52 [46]
- พ.ศ. 2468 –
เหรียญศารทูลมาลา (ร.ศ.ท.)[47]: 442
ลำดับสาแหรก
[แก้]ลำดับสาแหรกของพระยาชำนาญอักษร (ปลอบ) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
มรดก
[แก้]- สถานที่
- ซอยชำนาญอักษร ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร
อ้างอิง
[แก้]- เชิงอรรถ
- ↑ 1.0 1.1 สำนักราชเลขาธิการ. (2544). ประวัติสํานักราชเลขาธิการ. กรุงเทพฯ: สำนักราชเลขาธิการ. 379 หน้า. ISBN 978-9-748-04979-3
- ↑ 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 ข่าวตาย. เก็บถาวร 2023-06-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. (๒๔๗๐, ๑๑ ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ ๔๔. หน้า ๒,๙๕๙ – ๒,๙๖๐.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 นาครสงเคราะห์ ประจำพระพุทธศก ๒๔๕๖. พระนคร: โรงพิมพ์หนังสือพิมพ์ไทย, 2456.
- ↑ 4.0 4.1 ข่าวตาย. เก็บถาวร 2023-06-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. (๒๔๗๒, ๕ มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ ๔๖. หน้า ๓,๕๑๒.
- ↑ ราชเสนา (ศิริ เทพหัสดิน ณ อยุธยา), พระยา. (2517). บทความบางเรื่อง และพจนานุกรมฉบับเพิ่มเติม. พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระยาราชเสนา (ศิริ เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ณ เมรุวัดโสมนัสวรวิหาร วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๑๗. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรมยุทธศึกษาทหารบก. 305 หน้า. หน้า 3.
- ติน ปรัชญพฤทธิ์. (2536). วิชาชีพนิยมของระบบราชการในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว : วิวัฒนาการและผลกระทบต่อสังคมไทย. กรุงเทพฯ :โครงการเผยแพร่ผลงานวิจัย ฝ่ายวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 277 หน้า. หน้า 74. ISBN 978-9-745-83411-8
- ↑ กรมศิลปากร. (2503). "ต้นกำเนิดของคณะรัฐประศาสนศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย," ใน เทศาภิบาล พระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระยาอรรถกระวีสุนทร (สงวน ศตะรัต-อรรถกระวีสุนทร) ณ สุสานหลวงวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๐๓. พระนคร: โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม. 195 หน้า.
- ↑ 7.0 7.1 เพ็ญศรี ดุ๊ก และคณะ. (2530). "ความทรงของนักเรียนหมายเลข ๑: พระยาราชเสนา (ศิริ เทพหัสดิน)", ใน ๗๐ ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : รำลึกอดีต. จัดพิมพ์ในโอกาสครบรอบ ๗๐ ปี แห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๓๐. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 437 หน้า. ISBN 974-568-484-8
- ↑ คณะกรรมการสถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ. (2547). อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ ฯพณฯ ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงจิรายุ นพวงศ์ ป.จ., ม.ป.ช., ม.ว.ม. องคมนตรี ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันพุธที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๗. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ. 303 หน้า.
- ↑ 9.0 9.1 กรมเสนาธิการทหารบก. (2450). "อาจารย์มหาดเล็ก (คือเป็นผู้ดูแลและสั่งสอนนักเรียน)," ใน สมุดคู่มือสำหรับข้าราชการประจำปี ร.ศ. ๑๒๖. พระนคร: โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ. 357 หน้า.
- ↑ ประวัติความเป็นมาสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2565.
- ↑ 11.0 11.1 พระราชทานยศเสือป่า. เก็บถาวร 2023-06-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. (๒๔๕๘, ๑๙ มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ ๓๒. หน้า ๓,๑๒๕.
- ↑ เทพ สุนทรศารทูล. (2534). "นามสกุลพระราชทาน", มงคลนามตามตำราโหราศาสตร์. กรุงเทพฯ: พระนารายณ์. 255 หน้า. ISBN 974-575-190-1. หน้า 205. "๑๔๙. โรจนกุล เจ้าพระยาพิศณุโลก (เรือง) หัวหน้าก๊กเจ้าพระยาพิษณุโลกเป็นต้นสกุล"
- ↑ คณะกรรมการรวบรวมและค้นคว้าเกี่ยวกับพระราชนิพนธ์ ฯลฯ ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. (2529). ทะเบียฬนามสกุล ที่เราได้ให้ไป วชิราวุธ ปร. กรุงเทพฯ: พี.เพรส.
- ↑ อัจฉราพร กมุทพิสมัย (2523). "ทำเนียบข้าราชการกรมราชเลขาธิการ พ.ศ. 2469", รายงานวิจัย เรื่อง บทบาทของกรมราชเลขาธิการในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช เสนอต่อสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สถาบันไทยคดีศึกษา. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 131 หน้า. หน้า 113. "ทำเนียบข้าราชการกรมราชเลขาธิการ พ.ศ. 2469 กองสารบรรณ แพนกที่ 2 ปลัดกรม ส.ท. พระยาชำนาญอักษร."
- ↑ พระราชทานเพลิงศพ. เก็บถาวร 2023-06-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. (๒๔๗๒, ๒๘ เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ ๔๖. หน้า ๒๕๗.
- ↑ 16.0 16.1 16.2 16.3 16.4 16.5 16.6 กรมศิลปากร. (2495). เทศาภิบาล พระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. พระนคร: คลังวิทยา. 444 หน้า.
- ↑ ประกาศให้ยกโรงเรียนมหาดเล็กเป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ลงวันที่ ๑ มกราคม ร.ศ. ๑๒๙ (พ.ศ. ๒๔๕๓).
- ↑ 18.0 18.1 18.2 18.3 ขนิษฐา บัวงาม. (2557). "จากพระราชวังพญาไทเป็นโฮเต็ลวังพญาไท", พระมหาธีรราชเจ้ากับโฮเต็ลวังพญาไท. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์. 152 หน้า. ISBN 978-616-04-2003-2, 978-616-04-2200-5
- ↑ 19.0 19.1 19.2 สุจินต์ สุขะพงษ์. (2563). "การจัดการโรงแรมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว: กรณีศึกษาโฮเต็ลวังพญาไท," วารสารศิลปศาสตร์ มทร.กรุงเทพ, 2(1). (มกราคม-มิถุนายน). ISSN 2697-5572
- ↑ Siam Tourist Bureau. (1926). Met in Siam. Bangkok: Siam Tourist Bureau.
- ↑ 21.0 21.1 กำเนิด "โฮเต็ลพญาไท" พระราชวังสมัย ร.6 สู่กิจการโรงแรมหรู 7 ปี และฉากสุดท้ายเมื่อ 2475. ศิลปวัฒนธรรมออนไลน์, 29 ธันวาคม พ.ศ. 2564. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566.
- ↑ คณะกรรมการจัดทำหนังสือวันสถาปนากรมศิลปากร. (2539). "การแสดงมหรสพเนื่องในพระราชพิธีถวายพระเพลงพระบรมศพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนี," ใน ๘๕ ปีแห่งการสถาปนากรมศิลปากร. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร. 151 หน้า
- ↑ 23.0 23.1 ปิยวดี มากพา. (2551). รายงานการวิจัย การสังเคราะห์งานวิจัยทางนาฏศิลป์ไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 231 หน้า.
- ↑ ศักดา ปั้นเหน่งเพ็ชร์. (2538). การศึกษาวิวัฒนาการหุ่นกระบอกไทย: สื่อพื้นบ้านในภูมิภาคตะวันตก. กรุงเทพฯ: ศิริวัฒนา. 361 หน้า. หน้า 246. ISBN 978-9-748-92246-1
- หุ่นกระบอก: วัฒนธรรมไทย(คนไทยควรสืบสาน). 11 ธันวาคม 2550. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566.
- คมสันต์ สุทนต์. ตามหาหุ่นกระบอกอัมพวา ที่วัดบางเกาะเทพศักดิ์. 19 กันยายน 2554. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2567.
- ↑ ข่าวตาย. (๒๔๗๓, กรกฎาคม ๑๓). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๔๗. หน้า ๑,๓๙๔.
- ↑ พระราชทานบรรดาศักดิ์. เก็บถาวร 2023-06-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. (๒๔๗๔, ๑๕ พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ ๔๘. หน้า ๓,๐๔๑.
- ↑ การประกาศรายชื่อผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ประจำปี เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ช้างเผือก และมงกุฎไทย พ.ศ. 2527. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 102 ตอนที่ 17, 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528, หน้า 1,184.
- ↑ 28.0 28.1 28.2 28.3 พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง วันที่ ๒๒ มีนาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๕. (๒๔๔๙, มีนาคม ๓๑). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๒๓. หน้า ๑,๓๔๓.
- ↑ ภาษาและหนังสือ ฉบับที่ 4-9. กรุงเทพฯ: สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์, 2515.
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตร์บรรดาศักดิ์. เก็บถาวร 2023-06-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. (๒๔๖๔, ๒๙ มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ ๓๘. หน้า ๓,๒๑๔.
- ↑ 31.0 31.1 "ทำเนียบตำแหน่งข้าราชการ กองรายงานหนังสือไปมา กรมราชเลขานุการ", ใน นาครสงเคราะห์ ประจำพระพุทธศก ๒๔๕๖. พระนคร: โรงพิมพ์หนังสือพิมพ์ไทย, 2456.
- ↑ สำนักราชเลขาธิการ. (2544). ประวัติสํานักราชเลขาธิการ. กรุงเทพฯ: สำนักราชเลขาธิการ. 379 หน้า. หน้า 183. ISBN 978-9-748-04979-3
- พระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 34, 3 กุมภาพันธ์ 2460. หน้า 3, 215.
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 37, 6 กุมภาพันธ์ 2463.
- ↑ พระราชทานยศเสือป่า. เก็บถาวร 2023-06-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. (๒๔๕๙, ๒ กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ ๓๓. หน้า ๘๐๗.
- ↑ พระราชทานยศเสือป่า. เก็บถาวร 2023-06-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. (๒๔๖๐, ๒๘ ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ ๓๔. หน้า ๒,๑๐๒.
- ↑ พระราชทานยศเสือป่า. เก็บถาวร 2023-06-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. (๒๔๖๑, ๑๙ มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ ๓๕. หน้า ๒,๘๕๖.
- ↑ พระราชทานยศเสือป่า. เก็บถาวร 2023-06-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. (๒๔๖๒, ๙ พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ ๓๖. หน้า ๒,๒๑๘.
- ↑ พระราชทานยศเสือป่า. เก็บถาวร 2023-06-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. (๒๔๖๖, ๑๖ มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ ๔๐. หน้า ๔,๓๙๐.
- ↑ กรมเสนาธิการทหารบก. (2450). "ตำแหน่งข้าราชการกรมราชเลขานุการ", ใน สมุดคู่มือสำหรับข้าราชการ ประจำปี ร.ศ. ๑๒๖. พระนคร: กรมเสนาธิการทหารบก.
- ↑ สุมน กาญจนาคม. (2478). ปิตุทิศ. พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ พระยาศรีราชอักษร (มา กาญจนาคม). พระนคร: โรงพิมพ์ห้องสมุดไทย.
- ↑ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า, ชินวรสิริวัฒน์, พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหลวง, และนิติศาสตร์ไปศาลย์, พระยา. (2478). พุทธาทิภาษิต. พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระยาศรีราชอักษร (มา กาญจนาคม) ณ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 18 มกราคม 2478. พระนคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
- ↑ ชัยอนันต์ สมุทวณิช. (2538). 100 ปี แห่งการปฏิรูประบบราชการวิวัฒนาการของอำนาจรัฐและอำนาจการเมือง. กรุงเทพฯ: สถาบันนโยบายศึกษา. หน้า 54. ISBN 978-974-8-93131-9
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์. (๒๔๕๗, ๑๔ มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ ๓๑. หน้า ๒,๘๕๑.
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์. (๒๔๕๖, ๑๗ พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ ๓๐. หน้า ๑,๘๙๙.
- ↑ สิริทัศนา (โสมนัส สุจริตกุล). (2551). สมเด็จอินทร์: Queen Indrasakdi Sachi, consort of King Vajiravudh. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรุงเทพ. ISBN 978-9-741-08045-8
- ↑ นิตยสารพลอยแกมเพชร, 16(379): 40. (15 พฤศจิกายน 2550).
- ↑ ส่งเครื่องราชอิศริยาภรณ์ไปพระราชทาน. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 43, 2 พฤษภาคม 2469.
- บรรณานุกรม
- กฤตภาส โรจนกุล. (2554). เอกสารการค้นคว้าประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาเรื่อง โรจนกุล ชีวประวัติและเชื้อสายสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: [ม.ป.ท.] (เอกสารไม่ตีพิมพ์เผยแพร่). อ้างใน ลิขิตปรีชา (คุ้ม), หลวง. (2378). ธรรมเนียบตระกูลสังเขปครั้งกรุงเก่า ต้นฉบับลายมือคัดของนายคุ้ม ร.ศ. ๕๓. กรุงเทพพระมหานคร, [ม.ป.ท.] (เอกสารไม่ตีพิมพ์เผยแพร่).
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2428
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2470
- บุคคลในประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์
- ข้าราชการในพระองค์ชาวไทย
- บรรดาศักดิ์ชั้นพระยา
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ว.ป.ร.4
- ผู้ได้รับเหรียญศารทูลมาลา
- สมาชิกกองเสือป่า
- สกุลโรจนกุล
- บุคคลจากเขตบางกอกน้อย