พรรคเศรษฐกิจใหม่
พรรคเศรษฐกิจใหม่ | |
---|---|
หัวหน้า | มนตรี สันติไชยกุล |
รองหัวหน้า | วิศรุต ตีรวัฒน์ สันต์ภพ พรวัฒนะกิจ |
เลขาธิการ | หนึ่งฤทัย ทรงเงินดี |
เหรัญญิก | นงนลิน ตันติวงส์ |
นายทะเบียนสมาชิก | ณัฐมล เกียรติกอบชัย |
โฆษก | สกุณา อันทะนิล |
กรรมการบริหาร | วสวัตติ์ ภู่ทอง วรชาพัสวี ธนสุขนิธิวรโชติ |
คำขวัญ | ได้เวลาความสุขของคนไทยทั้งประเทศ ด้วยระบบเศรษฐกิจใหม่ |
ก่อตั้ง | 2 มีนาคม 2018 |
ที่ทำการ | 762/2 โครงการบางกอกสแควร์ (ห้อง C 14) ถนนพระราม 3 แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร |
สมาชิกภาพ (ปี 2565) | 11,043 คน[1] |
เว็บไซต์ | |
https://www.nep.or.th | |
การเมืองไทย รายชื่อพรรคการเมือง การเลือกตั้ง |
พรรคเศรษฐกิจใหม่ (อังกฤษ: New Economics Party, ชื่อย่อ: ศม., ชื่อย่อภาษาอังกฤษ: NEP) พรรคการเมืองของไทยที่ได้ยื่นจดจองชื่อพรรคต่อ คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. เป็นลำดับที่ 10/2561 เมื่อวันศุกร์ ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2561[2]
ประวัติ
[แก้]พรรคเศรษฐกิจใหม่ได้ยื่นก่อตั้งเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2561 และเมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2561 นายทะเบียนพรรคการเมืองได้ออกหนังสือรับจดแจ้งจัดตั้งพรรคการเมืองให้กับพรรคเศรษฐกิจใหม่ เพื่อให้ทางพรรคดำเนินการประชุมพรรคเพื่อเลือกหัวหน้าพรรค เลขาธิการพรรคและคณะกรรมการบริหารพรรค และดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งพรรคภายใน 180 วัน
พรรคเศรษฐกิจใหม่ได้จัดการประชุมจัดตั้งพรรคเป็นครั้งแรกเพื่อเลือกหัวหน้าพรรค เลขาธิการพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรคเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2561 ปรากฏว่า นายสุภดิช อากาศฤกษ์ ได้รับเลือกเป็นหัวหน้าพรรคคนแรก
ต่อมา กกต. ได้มีมติเห็นชอบการจัดตั้งพรรคเศรษฐกิจใหม่ เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ได้รับการจดทะเบียนในทะเบียนพรรคการเมือง เลขที่ 24/2561 เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2561 และลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2562[3]
วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2562 นายสุภดิช อากาศฤกษ์ ได้ยื่นใบลาออกจากหัวหน้าพรรค เป็นผลทำให้คณะกรรมการบริหารพรรคทั้งชุดหมดวาระ พรรคเศรษฐกิจใหม่จึงจัดให้มีการประชุมวิสามัญ เพื่อเลือกตั้งหัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ โดยนาย มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าพรรค และที่ประชุมใหญ่ มีมติเป็นเอกฉันท์ เสนอชื่อนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ เป็นว่าที่ นายกรัฐมนตรี ในนามพรรคเศรษฐกิจใหม่ เพียงคนเดียว ในการเลือกตั้งในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562
การเลือกตั้ง พ.ศ. 2562
[แก้]พรรคเศรษฐกิจใหม่ ได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จำนวน 6 ที่นั่ง ในระบบบัญชีรายชื่อ และได้ประกาศเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับพรรคร่วมฝ่ายค้าน ซึ่งนำโดยพรรคเพื่อไทย ต่อมาในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 นายมิ่งขวัญได้ยื่นใบลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค ส่งผลให้ นายสุภดิช อากาศฤกษ์ รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าพรรค
ต่อมากรรมการบริหารพรรคเศรษฐกิจใหม่ มีมติถอนตัวจากการเป็นพรรคร่วมฝ่ายค้าน[4] ส่งผลให้นายมิ่งขวัญ ออกมาประกาศแยกการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองแต่ไม่ลาออกจากพรรคเศรษฐกิจใหม่[5] ต่อมาในปี 2565 นายมิ่งขวัญ ได้ขอลาออกจากสมาชิกภาพ ส.ส.หลังการอภิปรายทั่วไปในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565
ในวันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ทางพรรคเศรษฐกิจใหม่มีการประชุมใหญ่เลือก มนูญ สิวาภิรมย์รัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อของพรรค เป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่ส่วนตำแหน่งเลขาธิการพรรคยังเป็นของ นายภาสกร เงินเจริญกุล[6]
การเลือกตั้ง 2566
[แก้]ในวันที่ 20 มีนาคม 2566 นายมนูญได้ยื่นหนังสือลาออกจากสมาชิกพรรคโดยให้มีผลในวันเดียวกัน ส่งผลให้พ้นจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคและทำให้คณะกรรมการบริหารพรรคที่เหลืออยู่ต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ โดยพรรคได้จัดประชุมใหญ่สามัญ ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2566 เพื่อแก้ไขข้อบังคับพรรคและเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่จำนวน 9 คน ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกนายมนตรี สันติไชยกุล อดีตเลขาธิการพรรคเป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่ และนายปริพัตร บูรณสิน อดีตรองเลขาธิการพรรคเป็นเลขาธิการพรรคคนใหม่[7]
ส่วนในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม 2566 พรรคเศรษฐกิจใหม่ไม่ได้เลยแม้แต่ที่นั่งเดียว
ผู้บริหารพรรค
[แก้]พรรคเศรษฐกิจใหม่ มีผู้บริหารพรรคที่ กกต. รับรองและประกาศแล้ว ดังนี้
หัวหน้าพรรค
[แก้]ลำดับ | รูป | ชื่อ | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | หมายเหตุ |
1 | สุภดิช อากาศฤกษ์ | 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 | 30 มกราคม พ.ศ. 2562 | ลาออก | |
2 | มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ | 30 มกราคม พ.ศ. 2562[8] | 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 | ลาออก[9], สุภดิชฯ รักษาการ | |
3 | มนูญ สิวาภิรมย์รัตน์ | 26 ธันวาคม พ.ศ. 2564 | 20 มีนาคม พ.ศ. 2566 | ลาออก | |
4 | มนตรี สันติไชยกุล | 23 เมษายน พ.ศ. 2566 | ปัจจุบัน | - |
เลขาธิการพรรค
[แก้]ผลการเลือกตั้งทั่วไป
[แก้]การเลือกตั้ง | จำนวนที่นั่ง | คะแนนเสียงทั้งหมด | สัดส่วนคะแนนเสียง | ที่นั่งเปลี่ยน | สถานภาพพรรค | ผู้นำเลือกตั้ง |
---|---|---|---|---|---|---|
2562 | 6 / 500
|
486,273 | 1.37% | 6 | ฝ่ายค้าน (2562-2563) | มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ |
ร่วมรัฐบาล (2563-2566)[10] |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ ณ วันที่ 1 ธันวาคม 2565
- ↑ "กกต.รับรองอีก4พรรค'พลังประชารัฐ'เลิกเป็นวุ้น". ThaiPost. 6 Nov 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดทะเบียนจัดตั้งพรรคเศรษฐกิจใหม่
- ↑ "'เศรษฐกิจใหม่' ประกาศแยกตัวจากพรรคร่วมฝ่ายค้าน - The Bangkok Insight". www.thebangkokinsight.com. 2020-01-31.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ""มิ่งขวัญ" ย้ำ แม้เหลือคนเดียวก็อยู่ฝ่ายค้าน ลั่น แยกทางกับเศรษฐกิจใหม่". www.thairath.co.th. 2020-02-03.
- ↑ "มิ่งขวัญ" ลาออกหัวหน้าพรรคเศรษฐกิจใหม่
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคและคณะกรรมการบริหารพรรคเศรษฐกิจใหม่
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคเศรษฐกิจใหม่
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคเศรษฐกิจใหม่
- ↑ "เศรษฐกิจใหม่ ลั่นฝ่ายอิสระไม่มีอยู่จริง แจงทิ้ง6พรรคฝ่ายค้านซบรัฐบาล". ThaiPost. 25 May 2020.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- New Economics Party (NEP)เก็บถาวร 2019-02-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน