ข้ามไปเนื้อหา

พรรคอิสระ (พ.ศ. 2512)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พรรคอิสระ
หัวหน้าโกศล ไกรฤกษ์
รองหัวหน้าเลิศ ชินวัตร
สมพงษ์ อยู่หุ่น
เลขาธิการบุญธรรม ชุมดวง
คำขวัญประโยชน์ของชาติเหนือสิ่งอื่นใด
ก่อตั้ง15 เมษายน 2512
ถูกยุบ17 พฤศจิกายน 2514
ที่ทำการ26 ซอยเสนาร่วม ถนนพหลโยธิน ตำบลบางซื่อ อำเภอดุสิต จังหวัดพระนคร
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

พรรคอิสระ (อังกฤษ: The Liberal Party) พรรคการเมืองไทยที่ได้จดทะเบียนก่อตั้งตามพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2511 เป็นลำดับที่ 13/2512

ประวัติ

[แก้]

พรรคอิสระได้ยื่นจดทะเบียนก่อตั้งพรรคต่อนายพ่วง สุวรรณรัฐ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2512 โดยมีโกศล ไกรฤกษ์เป็นหัวหน้าพรรค บุญธรรม ชุมดวง เป็นเลขาธิการพรรค ส่วนบุญเลิศ ชินวัตร และ สมพงษ์ อยู่หุ่น เป็นรองหัวหน้าพรรค[1]

โดยมีคณะกรรมการบริหารพรรคชุดแรก ประกอบด้วย

  • นายโกศล ไกรฤกษ์ หัวหน้าพรรค
  • นายบุญเลิศ ชินวัตร รองหัวหน้าพรรค
  • นางสมพงษ์ อยู่หุ่น รองหัวหน้าพรรค
  • นายบุญธรรม ชุมดวง เลขาธิการพรรค
  • นายเลิศสิน หงษ์แสงไทย รองเลขาธิการพรรค
  • กรรมการบริหารพรรค

การเลือกตั้ง

[แก้]

พรรคอิสระ ได้รวบรวมผู้ที่ได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512 จำนวน 17 ที่นั่ง ได้แก่

  • นายโกศล ไกรฤกษ์ พิษณุโลก
  • นายสุชน ชามพูนท พิษณุโลก
  • นายบุญธรรม ชุมดวง สุโขทัย
  • นายสุธรรม ธรรมสุนทรา สุโขทัย
  • นายบุญเลิศ ชินวัตร เชียงใหม่
  • นายผจญ ผาทอง แพร่
  • นายสุธรรม สายศร แพร่
  • นายสุปัน พูลพัฒน์ กาศสินธุ์
  • นายชาญยุทธ์ ไชยคำมิ่ง กาฬสินธุ์
  • นางสมพงษ์ อยู่หุ่น กาฬสินธุ์
  • นายเลิศสิน หงษ์แสงไทย ขอนแก่น
  • นายสมพล เกยุราพันธุ์ นครราชสีมา
  • นายประชา บุนยเนตร เลย
  • นายวิชัย โกมลวิชญ์ อุบลราชธานี
  • นายอนันต์ ฉายแสง ฉะเชิงเทรา
  • นายประสงค์ เนื่องจำนงค์ ชลบุรี
  • นายพานิช สัมภวคุปต์ เพชรบุรี

ยุบพรรค

[แก้]

พรรคอิสระถูกยุบพร้อมกับพรรคการเมืองอื่น ๆ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 ตามคำสั่งคณะปฏิวัติที่มีจอมพล ถนอม กิตติขจร เป็นหัวหน้าคณะ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 9 มีผลให้บรรดาพรรคการเมืองที่มีอยู่เป็นอันสิ้นสุดลง[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จดทะเบียนพรรคการเมือง
  2. ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ ๙ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๘ ตอน ๑๒๖ ก พิเศษ หน้า ๓ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514