พานิช สัมภวคุปต์
พานิช สัมภวคุปต์ | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบุรี | |
ดำรงตำแหน่ง 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 – 16 กันยายน พ.ศ. 2500 | |
ดำรงตำแหน่ง 15 ธันวาคม พ.ศ. 2500 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 | |
ดำรงตำแหน่ง 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 | |
ดำรงตำแหน่ง 4 เมษายน พ.ศ. 2519 – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 | |
ดำรงตำแหน่ง 22 เมษายน พ.ศ. 2522 – 19 มีนาคม พ.ศ. 2526 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 เมษายน พ.ศ. 2458 อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี |
เสียชีวิต | 10 ธันวาคม พ.ศ. 2535 (77 ปี) |
พานิช สัมภวคุปต์ (1 เมษายน พ.ศ. 2458 – 10 ธันวาคม พ.ศ. 2535) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบุรี 5 สมัย
ประวัติ
[แก้]พานิช สัมภวคุปต์ เกิดเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2458[1] เป็นบุตรชายของหลวงมหาภรณ์พิทักษ์ (สำเภา สัมภวคุปต์) และ จำเนียร สัมภวคุปต์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ธรรมศาสตรบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง สมรสครั้งแรกกับสงวน ลักษณา มีบุตร-ธิดา 3 คน และได้สมรสครั้งที่สองกับพวงแข วีระทัต มีบุตร-ธิดา 3 คน รวมมีบุตร-ธิดาทั้งสิ้น 6 คน
งานการเมือง
[แก้]พานิช ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายหลังสำเร็จการศึกษา และ ได้ร่วมทำธุรกิจกับเพื่อนร่วมคณะ จนประสบความสำเร็จในฐานะนักธุรกิจ ก่อนที่ต่อมาจะเข้าสู่วงการการเมือง ด้วยการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500[2] สังกัดพรรคเสรีมนังคศิลา และได้รับเลือกเรื่อยมาจนถึง พ.ศ. 2522 รวม 5 สมัย
พานิช สัมภวคุปต์ เคยเป็นกรรมการบริหารพรรคอิสระ เมื่อปี พ.ศ. 2512[3] และพรรคสังคมชาตินิยม เมื่อปี พ.ศ. 2518[4]
พานิช วางมือทางการเมือง หลังจากที่ไม่ได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526[5]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]พานิช สัมภวคุปต์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 5 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 จังหวัดเพชรบุรี สังกัดพรรคเสรีมนังคศิลา
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ธันวาคม พ.ศ. 2500 จังหวัดเพชรบุรี ไม่สังกัดพรรคการเมือง[6]
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512 จังหวัดเพชรบุรี สังกัดพรรคอิสระ (พ.ศ. 2512)
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 จังหวัดเพชรบุรี สังกัดพรรคธรรมสังคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 จังหวัดเพชรบุรี ไม่สังกัดพรรคการเมือง
ถึงแก่อนิจกรรม
[แก้]พานิช สัมภวคุปต์ ถึงแก่อนิจกรรมด้วยอาการหัวใจวายกระทันหัน เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2535 สิริอายุรวม 77 ปี มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2536 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2533 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2530 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ นักการเมืองถิ่นจังหวัดเพชรบุรี. ณัชชานุช พิชิตธนารัตน์ สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2554
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จดทะเบียนพรรคการเมือง
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งพรรคการเมือง เก็บถาวร 2011-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอนที่ 193 วันที่ 18 กันยายน 2517
- ↑ นักการเมืองถิ่นจังหวัดเพชรบุรี. ณัชชานุช พิชิตธนารัตน์ สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2554
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป พ.ศ. ๒๕๐๐ ครั้งที่ ๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๔๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘, ๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2458
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2535
- บุคคลจากอำเภอบ้านแหลม
- ทนายความชาวไทย
- นักธุรกิจชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบุรี
- สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบแต่งตั้ง
- พรรคเสรีมนังคศิลา
- พรรคอิสระ (พ.ศ. 2512)
- พรรคสังคมชาตินิยม
- พรรคธรรมสังคม
- พรรคชาติไทย
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.