ข้ามไปเนื้อหา

ปางโปรดพกาพรหม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระพุทธรูปปางโปรดพกาพรหม ณ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร

ปางโปรดพกาพรหม เป็นพระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถยืนบนเศียรพกาพรหมซึ่งประทับบนหลังโคอุสุภราช พระหัตถ์ทั้งสองวางทาบบนพระเพลา ( ตัก ) บางแบบพระหัตถ์ประสานกันอยู่ระหว่างพระเพลา พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย ทอดพระเนตรลงเบื้องต่ำ

ประวัติ

[แก้]

ท้าวพกาพรหมมีความเห็นว่าสิ่งทั้งหลายเป็นของเที่ยงแท้ไม่แปรผัน ซึ่งขัดต่อคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ว่าสรรพสิ่งย่อมไม่เที่ยง เป็นไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พระพุทธองค์โปรดให้ท้าวพกาพรหมแสดงฤทธิ์โดยให้ไปซ่อนตัว แต่ไปซ่อนที่ใด พระพุทธองค์ก็ทรงทราบ ต่อมาพระพุทธองค์ทรงทำปาฏิหาริย์อันตรธารหายไป และทรงแสดงพระธรรมเทศนาให้ได้ยินแต่พระสุรเสียง และทรงตรัสว่ากำลังเดินจงกรมอยู่บนเศียรของท้าวพกาพรหม ท้าวพกาพรหมหมดทิฐิมานะ จึงตั้งใจฟังธรรมเทศนาจนได้บรรลุโสดาปัตติผลเป็นพระโสดาบัน

ลักษณะพระพุทธรูปปางโปรดพกาพรหม

[แก้]

ความเชื่อและคตินิยม

[แก้]

เป็นพระพุทธรูปประจำปีขาล

อ้างอิง

[แก้]
  • สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. ตำนานพุทธเจดีย์. ธนบุรี  : ศิลปาบรรณาคาร โรงพิมพ์รุ่งวัฒนา, 2513.
  • เรื่องพระพุทธรูปปางต่างๆ หลวงบริบาลบุรีรัตน์ และนายเกษมบุญศรี (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์ขึ้นเพื่อพระราชทานในงานพระราชกุศลราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2500)
  • สกุลศิลปพระพุทธรูปในประเทศไทย อาจารย์จิตร บัวบุศย์
  • ศิลปในประเทศไทย ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิสกุล