ปางแสดงโอวาทปาฏิโมกข์
หน้าตา
ปางแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ เป็นพระพุทธรูปที่อยู่ในอิริยาบถประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้งสองยกขึ้น จีบนิ้วพระหัตถ์ไว้เสมอพระอุระ (อก) เป็นกิริยาทรงประทานโอวาทปาติโมกข์
ประวัติ
[แก้]ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร กรุงราชคฤห์ หลังจากที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วประมาณ 9 เดือน ได้เกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่า "จาตุรงคสันนิบาต" คือ การประชุมที่ครบองค์ 4 ได้แก่
- วันนั้นเป็นวันดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (วันเพ็ญเดือน 3)
- พระสงฆ์ 1,250 รูป มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย
- พระสงฆ์ทั้งหมดล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ได้อภิญญา 6
- พระสงฆ์ทั้งหมดเป็นเอหิภิกขุ คือ เป็นผู้ที่พระพุทธองค์ประทานอุปสมบทด้วยพระองค์เอง
ในวันนั้นพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ ซึ่งเป็นหลักสำคัญแห่งพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นแนวทางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ใจความสำคัญแห่งพระโอวาทนั้น ได้แก่ ละเว้นความชั่วทั้งปวง ทำความดีให้ถึงพร้อม ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส วันเพ็ญเดือน 3 ถือเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เรียกว่า "วันมาฆบูชา"
ความเชื่อและคตินิยม
[แก้]- เป็นพระพุทธรูปประจำเดือน 3
อ้างอิง
[แก้]- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. ตำนานพุทธเจดีย์. ธนบุรี: ศิลปาบรรณาคาร โรงพิมพ์รุ่งวัฒนา, 2513.
- เรื่องพระพุทธรูปปางต่างๆ หลวงบริบาลบุรีรัตน์ และนายเกษมบุญศรี (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์ขึ้นเพื่อพระราชทานในงานพระราชกุศลราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2500)
- สกุลศิลปพระพุทธรูปในประเทศไทย อาจารย์จิตร บัวบุศย์
- ศิลปในประเทศไทย ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิสกุล