ปางเสวยมธุปายาส
หน้าตา
ปางเสวยมธุปายาส เป็นพระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ ประคองถาดมธุปายาส
ประวัติ
[แก้]เมื่อนางสุชาดาผู้ถวายข้าวมธุปายาสทูลลากลับไปแล้ว พระโพธิสัตว์เสด็จออกจากร่มไทร ทรงถือถาดข้ามธุปายาส เสด็จไปยังริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา สรงพระวรกาย (อาบน้ำ) แล้วประทับริมฝั่งแม่น้ำ หันพระพักตร์สู่ทิศตะวันออก ทรงแบ่งข้าวมธุปายาส ออกเป็น 49 ส่วน แล้วปั้นเป็นก้อน 49 ก้อน แล้วเสวยจนหมด ถือเป็นอาหารทิพย์ที่จะคุ้มได้ถึง 49 วัน ในการเสวยวิมุตติสุขภายหลังการตรัสรู้ ณ สัตตมหาสถาน (สถานที่ 7 แห่งที่พระพุทธองค์ใช้เวลาประทับอยู่แห่งละหนึ่งสัปาดาห์หลังบรรลุพระโพธิญาณ)
ความเชื่อและคตินิยม
[แก้]เป็นพระพุทธรูปประจำปีระกา เช่นเดียวกับปางทรงรับมธุปายาส
อ้างอิง
[แก้]- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. ตำนานพุทธเจดีย์. ธนบุรี: ศิลปาบรรณาคาร โรงพิมพ์รุ่งวัฒนา, 2513.
- เรื่องพระพุทธรูปปางต่างๆ หลวงบริบาลบุรีรัตน์ และนายเกษมบุญศรี (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์ขึ้นเพื่อพระราชทานในงานพระราชกุศลราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2500)
- สกุลศิลปพระพุทธรูปในประเทศไทย อาจารย์จิตร บัวบุศย์
- ศิลปในประเทศไทย ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิสกุล