ปลาพรม
ปลาพรม | |
---|---|
ปลาพรมหัวเหม็นที่เชียงใหม่ ซู อควาเรียม ภายในสวนสัตว์เชียงใหม่ | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอตา Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | ปลาที่มีก้านครีบ Actinopterygii |
อันดับ: | ปลาตะเพียน |
วงศ์: | วงศ์ปลาตะเพียน |
สกุล: | ปลาสร้อยนกเขาน้ำจืด (Bleeker, 1852) |
สปีชีส์: | Osteochilus melanopleura |
ชื่อทวินาม | |
Osteochilus melanopleura (Bleeker, 1852) | |
ชื่อพ้อง | |
Rohita melanopleura Bleeker, 1852[2] |
ปลาพรม หรือ ปลาพรมหัวเหม็น (ชื่อวิทยาศาสตร์: Osteochilus melanopleura) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) จากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[2][4] มีขนาดใหญ่ที่สุดในสกุลปลาสร้อยนกเขา มีขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 60 เซนติเมตร แต่ขนาดโดยทั่วไปคือ 40 เซนติเมตร มีลำตัวกว้างและแบนข้าง หลังโค้ง ท่อนหางสั้น เกล็ดมีขนาดเล็ก ลำตัวมีเทาปนเงิน ลำตัวตอนเหนือครีบอกมีลายสีดำจาง ๆ ขวางลำตัวเป็นลักษณะเด่น นัยน์ตาเป็นสีแดง
พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เช่น แม่น้ำ คลอง หรืออ่างเก็บน้ำทั่วไปในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค เป็นปลาที่หากินรวมกันเป็นฝูง ใช้ปากแทะตะไคร่น้ำตามโขดหินหรือตอไม้ใต้น้ำเป็นอาหารหลัก รวมทั้งกินสัตว์น้ำขนาดเล็ก เช่น กุ้งหรือแมลง เป็นอาหารด้วย ฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธ นักมีนวิทยาชาวอเมริกันได้บันทึกไว้ว่า การตกปลาชนิดนี้ใช้เบ็ดเกี่ยวที่เป็นข้าวสุกปั้นเป็นก้อนกลม หรือใช้กุ้งหรือแมลงตกในแม่น้ำเจ้าพระยา
เหตุที่ได้ชื่อว่า "พรมหัวเหม็น" เนื่องจากเนื้อโดยเฉพาะส่วนหัวมีกลิ่นเหม็นคาวเหม็นเขียว ถึงกระนั้น ส่วนเนื้อลำตัวก็ยังใช้ประกอบอาหารได้ดีทั้งเป็นอาหารสดและทำเป็นปลาแห้ง นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Lumbantobing, D.; Vidthayanon, C. (2021). "Osteochilus melanopleura". IUCN Red List of Threatened Species. 2021: e.T180985A89813360. doi:10.2305/IUCN.UK.2021-1.RLTS.T180985A89813360.en. สืบค้นเมื่อ 20 November 2021.
- ↑ 2.0 2.1 Eschmeyer, W. N. (2 June 2015). "Catalog of Fishes". California Academy of Sciences. สืบค้นเมื่อ 24 June 2015.
- ↑ Kottelat, M. (2013). "The fishes of the inland waters of Southeast Asia: a catalogue and core bibliography of the fishes known to occur in freshwaters, mangroves and estuaries". Raffles Bulletin of Zoology. Suppl. 27: 1–663. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-22. สืบค้นเมื่อ 2015-06-24.
- ↑ Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2014). "Osteochilus melanopleurus" in FishBase. November 2014 version.
- ↑ หน้า 124, สาระน่ารู้ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๑ โดย สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์ (พ.ศ. 2547) ISBN 974-00-8701-9