ข้ามไปเนื้อหา

ตำบลฮอด

พิกัด: 18°07′06.4″N 98°36′11.6″E / 18.118444°N 98.603222°E / 18.118444; 98.603222
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตำบลฮอด
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Hot
ประเทศไทย
จังหวัดเชียงใหม่
อำเภอฮอด
พื้นที่
 • ทั้งหมด51.00 ตร.กม. (19.69 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด3,042 คน
 • ความหนาแน่น59.64 คน/ตร.กม. (154.5 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 50240
รหัสภูมิศาสตร์501602
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
องค์การบริหารส่วนตำบลฮอด
อบต.ฮอดตั้งอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่
อบต.ฮอด
อบต.ฮอด
ที่ตั้งที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลฮอด
พิกัด: 18°07′06.4″N 98°36′11.6″E / 18.118444°N 98.603222°E / 18.118444; 98.603222
ประเทศ ไทย
จังหวัดเชียงใหม่
อำเภอฮอด
พื้นที่
 • ทั้งหมด51.00 ตร.กม. (19.69 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด3,042 คน
 • ความหนาแน่น59.64 คน/ตร.กม. (154.5 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.06501607
ที่อยู่ที่ทำการเลขที่ 64 หมู่ 1 ถนนฮอด-วังลุง ตำบลฮอด อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ 50240
เว็บไซต์www.hod.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ฮอด เป็นตำบลในอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม บางส่วนเป็นป่าและภูเขาสูง ส่วนใหญ่อยู่ในเขตน้ำท่วมของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต และเขตอุทยานแห่งชาติออบหลวง[1]

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

ตำบลฮอดมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้[2]

ประวัติ

[แก้]

เมืองฮอด มาจากคำว่า หอด ภาษาล้านนาหมายถึง หิว อดอยาก กระหายน้ำ ในระหว่างการเดินทางอันยาวไกลนี้ ไพร่พลรู้สึกเหนื่อยและหิวมาก กระบวนเสด็จของพระนางจามเทวีได้ผ่านความอดอยากมากมาย กว่าจะถึงจุดหมายปลายทาง เมื่อมาถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่งจึงเรียกชื่อว่า เมืองหอด อาจเป็นไปได้ว่า คำว่าหอด ฟังแล้วเป็นนามที่ค่อนไปทางอวมงคล ทำให้เมื่อวันเวลาผ่านไปหลายศตวรรษ การเรียกชื่อจึงเพี้ยนไปเป็น ฮอด ทำให้ความหมายเปลี่ยนจากเดิม เพราะคำว่า ฮอด แปลว่า ถึงหรือบรรลุ เพื่อให้ความหมายเป็นสิริมงคลมากขึ้น[3]

กระทรวงมหาดไทยได้แยกพื้นที่หมู่ 1 บ้านแม่ลอง, หมู่ 2 บ้านท่าข้าม, หมู่ 3 บ้านหางดง, หมู่ 4 บ้านผาแตน, หมู่ 5 บ้านแม่ทัง และหมู่ 6 บ้านกองหิน รวม 6 หมู่บ้านของตำบลฮอด ตั้งเป็น ตำบลหางดง[4] ต่อมาปี พ.ศ. 2500 นายประเสริฐ กาญจนดุล ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่พิจารณาว่าที่ว่าการอำเภอฮอด เป็นที่ตั้งศูนย์ราชการ สุขศาลา สถานีตำรวจ ตลาด ชุมชนหนาแน่นบริเวณริมแม่น้ำปิง จึงตั้งเป็น สุขาภิบาลฮอด[5].

ต่อมามีการกำหนดพื้นที่ตำบลฮอด เป็นเขตน้ำท่วมของเขื่อนภูมิพล[6] ทำให้พ.ต.อ.นิรันดร ชัยนาม ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ และพลเอก ป. จารุเสถียร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น พิจารณาย้ายที่ว่าการอำเภอฮอด ออกจากพื้นที่น้ำท่วมของเขื่อนภูมิพล โดยได้สร้างที่ว่าการอำเภอฮอดแห่งใหม่ที่หมู่ 2 บ้านท่าข้าม ตำบลหางดง และเปิดใช้ในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2505[7]

จากการย้ายที่ว่าการอำเภอ ทำให้พื้นที่ตำบลฮอดถูกลดความสำคัญลง ชุมชนย้ายไปที่บ้านท่าข้าม ทำให้เกิดพื้นที่ศูนย์กลางทางราชการ และความเจริญแห่งใหม่ เป็น สุขาภิบาลท่าข้าม ในปี พ.ศ. 2506[8] ทำให้ในปี พ.ศ. 2507 ประชาชนย้ายออกและมีประชาชนอยู่ในเขตสุขาภิบาลฮอดน้อย พ.ต.อ.นิรันดร ชัยนาม ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ และศาสตราจารย์ ทวี แรงขำ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงพิจารณายุบสุขาภิบาลฮอดลง[9]

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

พื้นที่ตำบลฮอดประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 5 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 3,042 คน แบ่งเป็นชาย 1,473 คน หญิง 1,569 คน (เดือนธันวาคม 2566)[10] เป็นตำบลที่มีจำนวนประชากรน้อยที่สุดในอำเภอฮอด

      หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน

* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก

หมู่บ้าน พ.ศ. 2566[11] พ.ศ. 2565[12] พ.ศ. 2564[13] พ.ศ. 2563[14] พ.ศ. 2562[15] พ.ศ. 2561[16] พ.ศ. 2560[17]
แพะดินแดง 905 921 932 943 954 955 968
ดงดำ 854 856 856 856 852 848 852
แควมะกอก 575 580 576 578 580 578 576
วังลุง 554 562 567 580 588 589 580
ห้วยทราย 154 182 187 193 196 196 190
รวม 3,042 3,101 3,118 3,150 3,170 3,166 3,166

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ตำบลฮอดเดิมมีฐานะเป็นสภาตำบลฮอด ในปี พ.ศ. 2516[18] ต่อมาปี พ.ศ. 2538 สภาตำบลฮอดมี 5 หมู่บ้าน พื้นที่ 51.00 ตารางกิโลเมตร ประชากร 3,200 คน และ 917 ครัวเรือน[19] ปี พ.ศ. 2539 กระทรวงมหาดไทยจึงพิจารณาให้สภาตำบลฮอดอยู่ในเงื่อนไขที่จะจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลได้ จึงได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลฮอด[20]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าจอมทอง ป่าแม่แจ่ม และป่าแม่ตื่น ในท้องที่ตำบลดอยแก้ว ตำบลสบเตี๊ยะ ตำบลแม่สอย ตำบลบ้านแปะ อำเภอจอมทอง ตำบลท่าผา อำเภอแม่แจ่ม และตำบลหางดง ตำบลฮอด ตำบลบ่อหลวง ตำบลนาคอเรือ อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (211 ก): (ฉบับพิเศษ) 21-24. วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2534
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (ตอนพิเศษ 68 ง): 53–69. วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2540
  3. "เวียงหอด" หรือ "เวียงฮอด" ประวัติชื่อของอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ - องค์การบริหารส่วนตำบลฮอด อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2567
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลฮอด อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (4 ง): (ฉบับพิเศษ) 39-40. วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2500
  6. "พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลบ้านแปะ อำเภอจอมทอง ตำบลหางดง ตำบลฮอด ตำบลบ้านแอ่น ตำบลท่าเดื่อ ตำบลมืดกา อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ และตำบลก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน พ.ศ. ๒๕๐๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 76 (96 ก): 450–453. วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2502
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การย้ายที่ว่าการอำเภอฮอด" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 79 (62 ง): 1522. วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2505
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลท่าข้าม อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (73 ง): 1819–1820. วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2506
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบสุขาภิบาลฮอด อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 81 (110 ง): 2800–2801. วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2507
  10. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  11. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  12. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
  13. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [4] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
  14. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
  15. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
  16. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
  17. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.
  18. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (108 ง): (ฉบับพิเศษ) 1–72. วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2516
  19. ประชากรรายตำบลในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2538 (เขตตำบลฮอด อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567
  20. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 52 ง): 1–365. วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539