ข้ามไปเนื้อหา

เทศบาลตำบลท่าเดื่อ-มืดกา

พิกัด: 17°57′02.7″N 98°41′20.8″E / 17.950750°N 98.689111°E / 17.950750; 98.689111
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลตำบลท่าเดื่อ-มืดกา
ทต.ท่าเดื่อ-มืดกาตั้งอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่
ทต.ท่าเดื่อ-มืดกา
ทต.ท่าเดื่อ-มืดกา
พิกัด: 17°57′02.7″N 98°41′20.8″E / 17.950750°N 98.689111°E / 17.950750; 98.689111
ประเทศ ไทย
จังหวัดเชียงใหม่
อำเภอดอยเต่า
พื้นที่
 • ทั้งหมด20.0 ตร.กม. (7.7 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)[1]
 • ทั้งหมด4,185 คน
 • ความหนาแน่น209.25 คน/ตร.กม. (542.0 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.05501701
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 374 หมู่ 3 ถนนฮอด–ดอยเต่า–แม่ตืน ตำบลท่าเดื่อ อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ 5026
เว็บไซต์www.thadueamuedka.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ท่าเดื่อ-มืดกา เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลตำบลในอำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ เป็นที่ตั้งของศูนย์ราชการของอำเภอดอยเต่า พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตนิคมสร้างตนเองเขื่อนภูมิพล[2]

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

เทศบาลตำบลท่าเดื่อ–มืดกา มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้[3]

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเดื่อ
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลดอยเต่า
  • ทิศใต้ ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเดื่อ
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเดื่อ

ประวัติ

[แก้]

พื้นที่ตำบลท่าเดื่อ เป็นเขตน้ำท่วมของเขื่อนภูมิพล[4] พ.ต.อ.นิรันดร ชัยนาม ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ และพลเอก ป. จารุเสถียร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยขณะนั้น และกรมประชาสงเคราะห์จะจัดตั้งนิคมสร้างตนเองเขื่อนภูมิพลขึ้นในปี พ.ศ. 2506[2] เพื่อจัดสรรพื้นที่รองรับที่อยู่อาศัยและทำกินของประชาชน 2,400 ครอบครัว โดยให้ครอบครัวละ 5 ไร่ ก่อนที่ในปี พ.ศ. 2515 ทางราชการประกาศแยกพื้นที่ขึ้นเป็น กิ่งอำเภอดอยเต่า[5] โดยตั้งที่ว่าการกิ่งอำเภอที่ตำบลท่าเดื่อ และยกฐานะเป็น อำเภอดอยเต่า เมื่อปี พ.ศ. 2522[6]

ปี พ.ศ. 2526 เป็นที่ตั้งของสถานีตำรวจ ไปรษณีย์โทรเลข รวมทั้งศูนย์ราชการของอำเภอ เป็นที่ประชุมชนมากขึ้น จึงกำหนดเขตพื้นที่หมู่ 1 บ้านแปลง 2, หมู่ 2 บ้านแปลง 1, หมู่ 3 บ้านแปลง 4 ของตำบลมืดกา กับหมู่ 5 บ้านแปลง 3, หมู่ 6 บ้านแปลง 8, หมู่ 7 บ้านแปลง 5 ของตำบลท่าเดื่อ (ในขณะนั้น) ตั้งเป็น สุขาภิบาลท่าเดื่อ[7] ในปี พ.ศ. 2542 สุขาภิบาลท่าเดื่อได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นเทศบาลตำบล[8] ด้วยผลของกฎหมาย

ปี พ.ศ. 2554 ได้เปลี่ยนแปลงเขตปกครอง โดยรับพื้นที่บางส่วนขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าเดื่อ คือ พื้นที่บางส่วนของหมู่ 2 บ้านแปลง 8 เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพข้อเท็จจริงของพื้นที่[9] กับเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาล[10] ต่อมาประชาชนในพื้นที่ยื่นเรื่องขอเปลี่ยนชื่อเทศบาลจากชื่อ ท่าเดื่อ เป็น "ท่าเดื่อ–มืดกา" เนื่องจากเทศบาลครอบคลุมพื้นที่ 2 ตำบล คือ ตำบลท่าเดื่อ และตำบลมืดกา เพื่ออนุรักษ์ชื่อตำบลมืดกา อันเป็นตำบลเก่าแก่ตั้งแต่ครั้งยังขึ้นอยู่กับอำเภอฮอดเอาไว้ และเพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติของบรรพบุรุษที่ก่อบ้านสร้างเมือง[11] โดยผ่านความเห็นชอบจากนายอำเภอดอยเต่า และหม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่

ประชากร

[แก้]

จากการสำรวจ เทศบาลตำบลท่าเดื่อ–มืดกามีประชากรตามทะเบียนราษฎร์ทั้งสิ้น 4,185 คน รายละเอียดจำแนกตามเพศและเขตการปกครองตามตารางด้านล่าง แบ่งเป็นชาย 2,019 คน หญิง 2,166 คน[12]

ส่วน ชาย หญิง รวม
ตำบลท่าเดื่อในเขตเทศบาลตำบลท่าเดื่อ–มืดกา 921 1,004 1,925
ตำบลมืดกาในเขตเทศบาลตำบลท่าเดื่อ–มืดกา 1,098 1,162 2,260
รวม 2,019 2,166 4,185
ข้อมูล:[12] กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประชากรในเขตท้องถิ่นเทศบาลตำบลท่าเดื่อ-มืดกา อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
  2. 2.0 2.1 "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสร้างตนเอง ในท้องที่อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๕๑๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 86 (86 ก): (ฉบับพิเศษ) 53-55. วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2512
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (ตอนพิเศษ 68 ง): 119–131. วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2540
  4. "พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลบ้านแปะ อำเภอจอมทอง ตำบลหางดง ตำบลฮอด ตำบลบ้านแอ่น ตำบลท่าเดื่อ ตำบลมืดกา อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ และตำบลก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน พ.ศ. ๒๕๐๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 76 (96 ก): 450–453. วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2502
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอดอยเต่า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (155 ง): 2598. วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2515
  6. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอหนองกุงศรี อำเภอไทรงาม อำเภอบ้านฝาง อำเภออุบลรัตน์ อำเภอเวียงชัย อำเภอดอยเต่า อำเภอนิคมคำสร้อย อำเภอนาหว้า อำเภอเสิงสาง อำเภอศรีสาคร อำเภอบึงสามพัน อำเภอนาดูน อำเภอค้อวัง อำเภอโพธิ์ชัย อำเภอเมืองสรวง อำเภอปลวกแดง อำเภอยางชุมน้อย อำเภอกาบเชิง อำเภอสุวรรณคูหา และอำเภอกุดข้าวปุ้น พ.ศ. ๒๕๒๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 96 (42 ก): (ฉบับพิเศษ) 19-23. วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2522
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลท่าเดื่อ อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (19 ง): 501–503. วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2526
  8. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเดื่อ อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ แยกพื้นที่บางส่วนไปรวมกับเทศบาลตำบลท่าเดื่อ อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 128 (ตอนพิเศษ 130 ง): 21. วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลตำบลท่าเดื่อ อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 128 (ตอนพิเศษ 130 ง): 22. วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่ิอง เปลี่ยนชื่อเทศบาลตำบลท่าเดื่อ อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ ไปเป็น เทศบาลตำบลท่าเดื่อ-มืดกา". กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. 129: 1. วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
  12. 12.0 12.1 กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.