ข้ามไปเนื้อหา

ตัวหนังสือวาดาอัด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผ่นหินที่เขียนด้วยตัวหนังสือวาดาอัดในคริสต์ศตวรรษที่ 14

ตัวหนังสือวาดาอัด (อังกฤษ: Wadaad's writing) หรือ อักษรอาหรับวาดาอัด (wadaad's Arabic; โซมาลี: Far Wadaad, แปลตรงตัว'ลายมือของหมอสอนศาสนา') เป็นภาษาอาหรับที่ดัดแปลงไว้เขียนภาษาโซมาลี[1][2] หรือการใช้อักษรอาหรับมาถอดความภาษาโซมาลีในอดีต[3] แต่เดิมนั้น หมายถึงภาษาอาหรับที่ไม่ถูกไวยากรณ์โดยมีคำจากภาษาโซมาลีปนอยู่ โดยสัดส่วนของคำศัพท์ภาษาโซมาเลียแตกต่างกันไปตามบริบท[4] นอกจากภาษาอาหรับมาตรฐานแล้ว ตัวหนังสือวาดาอัดใช้โดยบรรดาผู้รู้ศาสนาชาวโซมาลี (วาดาอาโด) เพื่อบันทึกคำร้อง xeer (กฎหมายจารีตประเพณี) และเขียนเกาะศีดะฮ์[2][5] บรรดาวาณิชใช้ตัวหนังสือนี้ในการค้าและเขียนจดหมาย[5] ต่อมามีนักวิชาการชาวโซมาลีหลานคนพัฒนาและปรับอักษรอาหรับสำหรับใช้กับภาษาโซมาลี โดยราวคริสต์ทศวรรษ 1930 ผลงานของ Mahammad 'Abdi Makaahiil ทำให้เครื่องหมายเสริมสัทอักษรสระและรูปอักขรเป็นมาตรฐาน และในคริสต์ทศวรรษ 1950 Musa Haji Ismail Galal ให้ข้อเสนอที่มีข้อโต้แย้งด้วยการดัดแปลงรูปอักษรและสร้างอักษรสำหรับเสียงสระ[6][3]

เมื่อมีการใช้อักษรละตินเป็นอักษรราชการใน ค.ศ. 1972 กระบวนการทำให้อักขรวิธีอาหรับโซมาลีเป็นมาตรฐานจึงหยุดลง รูปแบบอักขรวิธีของ Makaahiil ยังคงเป็นรูปแบบสุดท้ายที่โดดเด่นที่สุดในปัจจุบัน

ประวัติ

[แก้]

อักษรอาหรับนำเข้าสู่ประเทศโซมาเลียในคริสต์ศตวรรษที่ 13 โดยชัยค์ ยูซุฟ บิน อะห์มัด อัลกาวนัยน์[7][8] ชายที่ได้รับการกล่าวถึงเป็น "นักบุญที่โดดเด่นที่สุดในประเทศโซมาเลีย"[9] ที่มีเชื้อสายโซมาลี เขาจัดตั้งการสอนอัลกุรอาน[8] และพัฒนาการระบบการตั้งชื่อภาษาโซมาลีสำหรับสระอาหรับที่ทำให้ลูกศิษย์สามารถอ่านและเขียนในภาษาอาหรับได้[10]

แม้ว่าตัวหนังสือวาดาอัดโซและนักวิชาการชาวโซมาเลียหลายคนเคยใช้อักษรอาหรับไว้เขียนภาษาโซมาลีมานานหลายศตวรรษ แต่ก็ยังไม่มีการพัฒนาจนกกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่ ชัยค์ อุวัยส์ อัลบะรอวี นักบุญสายอัลกอดิรียะฮ์แห่งตระกูล Digil และ Mirifle พัฒนาอักษรอาหรับสำหรับภาษาโซมาลี โดยใช้สำเนียงมาอาย (Maay) จากโซมาเลียใต้ ซึ่งในเวลานั้นใกล้เคียงกับสำเนียงมาตรฐานของภาษาโซมาลี อัลบะรอวีดัดแปลงอักษรของเขาตามการถอดเสียงภาษาอาหรับที่ Amrani แห่ง Barawa (Brava) นำมาใช้ เพื่อเขียน Bravanese ภาษาย่อยของภาษาสวาฮิลี[11][12]

นักเรียนชาวโซมาเลียที่เรียนภาษาอาหรับมาตรฐานในโรงเรียนรัฐบาลมักไม่เข้าใจตัวหนังสือวาดาอัด[13] ในคริสต์ทศวรรษ 1930 ในบริติชโซมาลีแลนด์ตะวันตกเฉียงเหนือ มาฮัมหมัด อับดี มากาฮีอิล (Mahammad 'Abdi Makaahiil) พยายามปรับมาตรฐานอักขรวิธีในหนังสือ The Institution of Modern Correspondence in the Somali language

มายัล/มากาฮีอิล

[แก้]

อักขรวิธีที่มากาฮีอิลเสนอใช้อักษรเดียวกันกับอักษรอาหรับ โดยเพิ่มอักษรใหม่สองตัว คือ ڎ‎ สำหรับเสียง /ɖ/ และ گ‎ สำหรับเสียง /g/ นอกจากนี้ ยังมีพยัญชนะ 8 ตัวในอักษรอาหรับที่ไม่มีในภาษาโซมาลี (ยกเว้นในคำยืมภาษาอาหรับ) ได้แก่ thāʼ (ث), dhal (ذ), zāy (ز), ṣād (ص), ḍād (ض), ṭāʾ (ط), ẓāʾ (ظ) และ ghayn (غ)

รูปเขียนนี้ใช้เครื่องหมายเสริมสัทอักษรสระ

พยัญชนะ

[แก้]
ชุดตัวอักษรอาหรับโซมาลี
ชื่อ รูปเขียน แทนเสียง เทียบอักษรละติน หมายเหตุ
เดี่ยว ท้าย กลาง ต้น
ʾalif
الف
ا ـا - / /a/ - อักษร ʾalif มีวิธีใช้งาน 2 แบบ แบบแรกแทนเสียงสระที่ต้นคำ แบบที่สองแทนสระเสียงยาว "aa"
bāʾ
باء
ب ـب ـبـ بـ /b/ b
tāʾ
تاء
ت ـت ـتـ تـ /t/ t
thāʼ
ثاء
ث ـث ـثـ ثـ /s/ s ไม่พบในภาษาโซมาลี ส่วนใหญ่ใช้ในคำยืมภาษาอาหรับ
jīm
جيم
ج ـج ـجـ جـ /d͡ʒ/ j
ḥāʾ
حاء
ح ـح ـحـ حـ /ħ/ x
khāʾ
خاء
خ ـخ ـخـ خـ /χ/ kh
dāl
دال
د ـد /d/ d
dhāl
ذال
ذ ـذ /d/ d ไม่พบในภาษาโซมาลี ส่วนใหญ่ใช้ในคำยืมภาษาอาหรับ
dhā
ڎا
ڎ ـڎ /ɖ/ dh อักษรเพิ่มเติมที่ไม่พบในอักษรอาหรับ
เคยแทนด้วยอักษร ط
rāʾ
راء
ر ـر /r/ r
zāʾ
زاي
ز ـز /z/ z
sīn
سين
س ـس ـسـ سـ /s/ s
shīn
شين
ش ـش ـشـ شـ /ʃ/ sh
ṣād
صاد
ص ـص ـصـ صـ /s/ s ไม่พบในภาษาโซมาลี ส่วนใหญ่ใช้ในคำยืมภาษาอาหรับ
ḍād
ضاد
ض ـض ـضـ ضـ /d/ d ไม่พบในภาษาโซมาลี ส่วนใหญ่ใช้ในคำยืมภาษาอาหรับ
ṭāʾ
طاء
ط ـط ـطـ طـ /t/, /ɖ/ t, dh ไม่พบในภาษาโซมาลี ส่วนใหญ่ใช้ในคำยืมภาษาอาหรับ
ก่อนใช้แทนอักษร ڎ‎ อักษรนี้เคยใช้แทนอักษร "dh"
ẓāʾ
ظاء
ظ ـظ ـظـ ظـ /d/~/z/ d, z ไม่พบในภาษาโซมาลี ส่วนใหญ่ใช้ในคำยืมภาษาอาหรับ คำยืมบางคำเขียนด้วยอักษรละติน "z" บางคำเขียนด้วยอักษร "d"
ʿayn
عين
ع ـع ـعـ عـ /ʕ/ c
ghayn
غين
غ ـغ ـغـ غـ /ɣ/~/g/ g ไม่พบในภาษาโซมาลี ส่วนใหญ่ใช้ในคำยืมภาษาอาหรับ
fāʾ
فاء
ف ـف ـفـ فـ /f/ f
qāf
قاف
ق ـق ـقـ قـ /q/ q
kāf
كاف
ك ـك ـكـ كـ /k/ k
gāʾ
گاء
گ ـگ ـگـ گـ /ɡ/ g อักษรเพิ่มเติมที่ไม่พบในอักษรอาหรับ
lām
لام
ل ـل ـلـ لـ /l/ l
mīm
ميم
م ـم ـمـ مـ /m/ m
nun
نون
ن ـن ـنـ نـ /n/ n
wāw
واو
و ـو /w/
/ɞ:/, /ɔ:/, /ʉ:/, /u:/
w กับ oo, uu อักษร wāw มีวิธีใช้งาน 2 แบบ แบบแรกคือสระ แทนเสียง [w] แบบที่สองใช้เขียนสระเสียงยาว "oo" และ "uu"
hāʾ
هاء
ه ـه ـهـ هـ /h/ h
yāʾ
ياء
ي ـي ـيـ يـ /j/
/e:/, /ɛ:/, /i:/, /ɪ:/
y, ee, ii อักษร yāʾ มีวิธีใช้งาน 2 แบบ แบบแรกคือสระ แทนเสียง [j] แบบที่สองใช้เขียนสระเสียงยาว "ee" และ "ii"
hamzah
همزة
ء /ʔ/

สระ

[แก้]
สระยาว
-aa -ee -ii -oo -uu
ـا ◌َِيـ / ◌َِي يـ / ي ◌ٗو و / ـو
สระที่ต้นคำศัพท์ในชุดตัวอักษรอาหรับโซมาลี
สระสั้น สระยาว
A E I O U Aa Ee Ii Oo Uu
اَ اَِ اِ اٗ اُ آ اَِيـ / اَِي اي اٗو او

ตัวอย่าง

[แก้]

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อที่ 1

แปลไทย อักษรละติน ตัวหนังสือวาดาอัด (มายัล/มากาฮีอิล)
มนุษย์ทั้งปวงเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในศักดิ์ศรี และสิทธิ ต่างในตนมีเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันด้วยจิตวิญญาณแห่งภราดรภาพ Aadanaha dhammaantiis wuxuu dhashaa isagoo xor ah kana siman xagga sharafta iyo xuquuqada Waxaa Alle (Ilaah) siiyay aqoon iyo wacyi, waana in qof la arkaa qofka kale ula dhaqmaa si walaaltinimo ah. آدَنَهَ ڎَمّانْتيسْ وُحو ڎَشا اِسگٗو حٗر اَه كَنَ سِمَن حَگَّ شَرَفتَ اِيٗ حُقوقَدَ وَحا الله سييَي اَقٗون اِيٗ وَعْيِ، وانَ اِن قٗف لَ اَركا قٗفكَ كَلَِ اُلَ ڎَقْما سِ وَلالتِنِمٗ اَه.

อ้างอิง

[แก้]
  1. Lewis 1958, pp. 135–137 [PDF pp. 2-4]: "[p.135] Anyone who devotes his life to religion is a wadaad, however slight his acquaintance with Arabic. ... [p.136] With respect to knowledge of Arabic the population may be divided into three classes, those who know a little, those who can read and write a little, and those who are expert in both reading and writing. The middle group have given rise in religion and trade to a type of writing which is known, not inappropriately, as 'wadaad's writing' (or 'wadaad's Arabic'). This is an ungrammatical Arabic containing some Somali words, the proportion of Somali naturally varying with the context. The calligraphy is usually also inexpert and often obscure. 'Wadaad's writing' is used by merchants in business, in letter-writing, in the writing of petitions, [p.137] and in the writing of qasidas by wadaads whence its name is derived.".
  2. 2.0 2.1 Lewis 1999, p. 175.
  3. 3.0 3.1 Lewis 1958, p. 139–140.
  4. Lewis 1958, p. 136.
  5. 5.0 5.1 Singh 2002, p. 59.
  6. Sheikh, Ahmed. “Somali with Arabic Script – a Linguistic Historical Study (Somaliska Med Arabisk Skrift – En Språkhistorisk Studie).” Gothenburg University Publications Electronic Archive, Winter 2019. https://gupea.ub.gu.se/bitstream/handle/2077/63249/gupea_2077_63249_1.pdf (Archive)
  7. Abdullahi 2001, p. 13.
  8. 8.0 8.1 Lewis 1958, p. 135.
  9. Lewis 1999, p. 102.
  10. Laitin 1977, p. 85.
  11. Lewis 1958, p. 139.
  12. Martin 2003, p. 163.
  13. Lewis 1958, p. 137.

ข้อมูล

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]