ข้ามไปเนื้อหา

อักษรซูราเบ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อักษรโซราเบ)
อักษรซูราเบ
سُرَبِ
เอกสารตัวเขียนในอักษรซูราเบ
ชนิด
ช่วงยุค
ประมาณ ค.ศ. 1400 ถึงปัจจุบัน
ทิศทางขวาไปซ้าย
ภาษาพูดภาษามาลากาซี
อักษรที่เกี่ยวข้อง
ระบบแม่
ระบบพี่น้อง
อักษรเปโกน, อักษรยาวี
 บทความนี้ประกอบด้วยสัญกรณ์การออกเสียงในสัทอักษรสากล (IPA) สำหรับคำแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับสัญลักษณ์ IPA โปรดดู วิธีใช้:สัทอักษรสากล สำหรับความแตกต่างระหว่าง [ ], / / และ ⟨ ⟩ ดูที่ สัทอักษรสากล § วงเล็บเหลี่ยมและทับ
ข้อความภาษามาลากาซีในอักษรซูราเบ

อักษรซูราเบ (มาลากาซี: Sorabe หรือ Sora-be, سُرَبِ, ออกเสียง [suˈrabe]) เป็นอักษรอาหรับที่ใช้เขียนภาษามาลากาซีในช่วงประมาณพุทธศตวรรษที่ 20[3] คำว่าซูราเบนั้นแปลตรงตัวว่าการเขียนใหญ่ โดยมาจากภาษาอาหรับ "sura" (การเขียน) และภาษามาลากาซี "be" (ใหญ่) ระบบการเขียนนี้ถูกนำเข้ามาผ่านทางการค้ากับชาวอาหรับมุสลิม[4] แต่นักวิชาการบางกลุ่มเห็นว่าอาจจะได้รับจากมุสลิมชาวชวา[5][6] เนื่องจากมีความคล้ายคลึงระหว่างอักษรซูราเบกับอักษรเปโกนที่ใช้เขียนภาษาชวา อักษรนี้ที่เป็นลายมือเขียนราว 200 ชิ้นนั้นพบว่าไม่มีอันที่เขียนก่อนพุทธศตวรรษที่ 22[4]

อักษร

[แก้]

ตารางข้างล่างแสดงพยัญชนะทั้งหมดในอักษรซูราเบ อักษรเหล่านี้ไม่ได้แสดงถึงสัทวิทยาทุกแบบของภาษามาลากาซีทั้งหมดอย่างสมบูรณ์

ชุดตัวอักษรซูราเบ
เดี่ยว ท้าย กลาง ต้น สัทอักษรสากล อักษร
ละติน
ا ـا ا /ʔ/ -
ب ـب ـبـ بـ /b, ᵐb/ b / mb
ت ـة ـتـ تـ /ts, ⁿts/ ts / nts
ج ـج ـجـ جـ /dz, ⁿdz/ j / nj
ر ـر ر /r/ r
رّ ـرّ رّ /ɖʳ, ᶯɖʳ, ʈʳ, ᶯʈʳ/ dr / ndr / tr / ntr
س ـس ـسـ سـ /s/ s
ط ـط ـطـ طـ /t, ⁿt/ t / nt
ع ـع ـعـ عـ /ŋ/
غ ـغ ـغـ غـ /g, ᵑɡ/ g / ng
ٯ ـٯ ـڧـ ڧـ /f/ f
ٯّ ـٯّ ـڧّـ ڧّـ /p, ᵐp/ p / mp
ك ـك ـكـ كـ /k, ᵑk/ k / nk
ل ـل ـلـ لـ /l/ l
م ـم ـمـ مـ /m/ m
ن ـن ـنـ نـ /n/ n
و ـو و /v/ v
ه ـه ـهـ هـ /h/ h
ي ـي ـيـ يـ /z/ z

สระ

[แก้]
เครื่องหมายเสริมสัทอักษรในอักษรซูราเบ
ซุกูน
(ไม่มีสระ)
-a -e / -i / -y -o ( -u)
◌ْ ◌َ ◌ِ ◌ُ
สระในตำแหน่งต้นของคำ
A E / I O
اَ اِ اُ
สระที่ตามหลังพยัญชนะ
B Ba Be / Bi / By Bo
بْـ / بْ بَـ / بَ بِـ / بِ بُـ / بُ
Dr Dra Dre / Dri / Dry Dro
رّْ رَّ رِّ رُّ

ตัวอย่าง

[แก้]

ข้อความข้างล่างมาจากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้อที่ 1 ในภาษามาลากาซี[7]

อักษรละติน Teraka afaka sy mitovy zo sy fahamendrehana ny olombelona rehetra. Samy manan-tsaina sy fieritreretana ka tokony hifampitondra ampirahalahiana.
อักษรซูราเบ طِرَكَ اَفَكَ سِ مِطُوِ زُ سِ فَهَمِرِّهَنَ نِ اُلُبِلُنَ رِهِرَّ. سَمِ مَنَنْتَيْنَ سِ فِيْرِرِّرِطَنَ كَ طُكُنِ هِفَفِّطُرَّ اَفِّرَهَلَهِيْنَ.

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Adelaar K.A. & Himmelmann N. (2004)
  2. Simon P. (2006)
  3. Kasanga Fernand (1990)
  4. 4.0 4.1 Ferrand, Gabriel (1905)
  5. Adelaar K.A. & Himmelmann N. (2004)
  6. Simon P. (2006)
  7. "OHCHR | Universal Declaration of Human Rights - Javanese". OHCHR (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-01-31.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • (ในภาษาอังกฤษ) Adelaar K.A. & Himmelmann N. (2004), The Austronesian Language of Asia and Madagascar, Routledge [1] .
  • (ในภาษาฝรั่งเศส) Ferrand, Gabriel (1905). Les migrations musulmanes et juives à Madagascar. Paris: Revue de l'histoire des religions.
  • Mr. Kasanga Fernand (1990), Fifindra-monina, Librairie FLM, Antananarivo.
  • (ในภาษาฝรั่งเศส) Simon P. (2006) La langue des ancêtres. Ny Fitenin-drazana. Une périodisation du malgache des origines au XVe siècle, L'Harmattan [2].

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]