อักษรตุรกีออตโตมัน
อักษรตุรกีออตโตมัน | |
---|---|
ชนิด | |
ช่วงยุค | ค.ศ. 1299–1928 |
ทิศทาง | ขวาไปซ้าย |
ภาษาพูด | ตุรกีออตโตมัน |
อักษรที่เกี่ยวข้อง | |
ระบบแม่ | |
ISO 15924 | |
ISO 15924 | Arab (160), Arabic |
ยูนิโคด | |
ยูนิโคดแฝง | Arabic |
ช่วงยูนิโคด |
อักษรอาหรับสำหรับภาษาตุรกีออตโตมัน (ตุรกีออตโตมัน: الفبا, elifbâ) เป็นรูปแบบของ อักษรอาหรับ ที่เพิ่มอักษรบางตัวจาก อักษรเปอร์เซีย ใช้เขียนภาษาตุรกีออตโตมัน ในสมัยจักรวรรดิออตโตมัน และในช่วงแรกๆของสาธารณรัฐตุรกี จนถึง พ.ศ. 2471 แม้ว่าในสมัยออตโตมันจะใช้อักษรนี้ แต่กลุ่มชนที่ไม่ใช่มุสลิมในจักรวรรดิออตโตมันจะใช้อักษรอื่น เช่น อักษรอาร์เมเนีย อักษรกรีก อักษรละติน และอักษรฮีบรู
อักษร
[แก้]เดี่ยว | ท้าย | กลาง | หน้า | อักษรลาติน | ชื่อ | ตุรกีสมัยใหม่ | ALA-LC[1] | สัทอักษรสากล[2] |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ا | ـا | — | a | elif | a, e | —, ā, ' | æ, e, —, (ʔ) | |
ء | — | hemze | —, ' | —, ' | —, [ʔ] | |||
ب | ـب | ـبـ | بـ | b | be | b (p) | b | b (p) |
پ | ـپ | ـپـ | پـ | b̗ | pe | p | p | p |
ت | ـت | ـتـ | تـ | t | te | t | t | t |
ث | ـث | ـثـ | ثـ | ṯ | se | s | s̠ | s |
ج | ـج | ـجـ | جـ | g | cim | c | c | d͡ʒ |
چ | ـچ | ـچـ | چـ | g̗ | çim | ç | ç | t͡ʃ |
ح | ـح | ـحـ | حـ | h | ha | h | ḥ | h |
خ | ـخ | ـخـ | خـ | ẖ | hı | h | ḫ | x |
د | ـد | — | d | dal | d | d | d | |
ذ | ـذ | — | ḏ | zel | z | z̠ | z | |
ر | ـر | — | r | re | r | r | ɾ | |
ز | ـز | — | z | ze | z | z | z | |
ژ | ـژ | — | z̗ | je | j | j | ʒ | |
س | ـس | ـسـ | سـ | s | sin | s | s | s |
ش | ـش | ـشـ | شـ | š | şın | ş | ș | ʃ |
ص | ـص | ـصـ | صـ | ṣ | sad | s | ṣ | s |
ض | ـض | ـضـ | ضـ | s̭ | dad | d, z | ż | z (d) |
ط | ـط | ـطـ | طـ | ṭ | tı | t | ṭ | t, d |
ظ | ـظ | ـظـ | ظـ | ṱ | zı | z | ẓ | z |
ع | ـع | ـعـ | عـ | o | ayn | ', — | ‘ | —, ʔ |
غ | ـغ | ـغـ | غـ | o̱ | gayn | g, ğ, (v) | ġ | [ɣ → g], ◌ː, (v), |
ف | ـف | ـفـ | فـ | p | fe | f | f | f |
ق | ـق | ـقـ | قـ | q | qaf | k | q | k, [q] |
ك | ـك | ـكـ | كـ | k | kef | k | k | k |
گ | ـگ | ـگـ | گـ | k̆ | gef (1), kāf-ı fārsī | g, ğ, (v) | g | [g → ɟ], j, (v) |
ڭ | ـڭ | ـڭـ | ڭـ | ǩ | nef, ñef, sağır kef (1), kāf-ı nūnī | n | ñ | n, [ŋ] |
ل | ـل | ـلـ | لـ | l | lam | l | l | l |
م | ـم | ـمـ | مـ | m | mim | m | m | m |
ن | ـن | ـنـ | نـ | n | nun | n | n | n |
و | ـو | — | w | vav | v, o, ö, u, ü | v, ū, aw, avv, ūv | v, o, œ, u, y | |
ه | ـه | ـهـ | هـ | e | he (3) | h, e, a | h (2) | h, æ, e, (t) |
ی | ـی | ـیـ | یـ | j | ye | y, ı, i | y, ī, ay, á, īy | j, ɯ, i |
หมายเหตุ
[แก้]- ในอักษรส่วนใหญ่ kef, gef และ sağır kef เขียนในแบบเดียวกัน[2] ถึงแม้ว่าจะมี gef อีกรูปแบบที่เป็น "kaf-เล็ก" ของ ﻙ เช่นเดียวกันกับเส้นบนสองเส้นบน گ โดยทั่วไป เสียง /g/ และ /ŋ/ แสดงด้วยรูปอักษร kef ك[3]
- หอสมุดรัฐสภาแนะนำว่า รูป he (هـ) ในคำส่วนฐานโครงสร้าง (construct state) ทับศัพท์เป็น t และคำที่ลงท้ายด้วย he ที่ใช้ในแบบคำวิเศษณ์ ควรทับศัพท์เป็น tan
- ภาษาเปอร์เซียและออตโตมันใช้รูปแบบ vāv, he, ye ในขณะที่ภาษาอาหรับใช้รูปแบบ he, vāv, ye[3]
- อีกสัญลักษณ์หนึ่ง ซึ่งไม่ถือว่าเป็นอักษร มีชื่อว่า te merbūṭa ('t เชื่อม') ซึ่งบ่งบอกถึงตัวท้ายที่เป็นเอกพจน์หญิงในภาษาอาหรับ และมักพบในข้อความออตโตมัน Te merbūṭa อยู่ตรงท้ายคำเสมอ
อักษรอื่นๆ
[แก้]อักษรอื่นสำหรับผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมใช้เขียนภาษาตุรกีออตโตมันมีหลายชนิด นวนิยายเรื่องแรกที่เขียนในสมัยจักรวรรดิออตโตมันคือเรื่อง Akabi เขียนด้วยอักษรอาร์เมเนีย เมื่อครอบครัวชาวอาร์เมเนียเข้ามาในออตโตมันสมัยสุลต่านอับดุลเมจิดที 1 ยังคงบันทึกภาษาตุรกีออตโตมันด้วยอักษรอาร์เมเนีย[4] ชาวกรีกและชาวยิวในจักรวรรดิออตโตมันใช้อักษรกรีกและอักษรฮีบรูแบบราชี แต่ชาวกรีกที่นับถือศาสนาอิสลามจะเขียนภาษากรีกด้วยอักษรอาหรับ
ตัวเลข
[แก้]ภาษาตุรกีออตโดตมันใช้ตัวเลขอาหรับตะวันออก ต่อไปนี้เป็นตัวเลขและการสะกดในภาษาตุรกีสมัยใหม่:
รูปอาหรับ | ตัวเลข | ตุรกีออตโตมัน[5] | ตุรกีสมัยใหม่ |
---|---|---|---|
٠ | 0 | sıfır | |
١ | 1 | bir | |
٢ | 2 | iki | |
٣ | 3 | üç | |
٤ | 4 | dört | |
٥ | 5 | beş | |
٦ | 6 | altı | |
٧ | 7 | yedi | |
٨ | 8 | sekiz | |
٩ | 9 | dokuz | |
١٠ | 10 | on |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Ottoman script" (PDF). Library of Congress. (166 KB), Library of Congress. Retrieved January 14, 2012.
- ↑ 2.0 2.1 V. H. Hagopian, Ottoman-Turkish Conversation-Grammar, London and Heidelberg, 1907, p. 1-25 full text
- ↑ 3.0 3.1 Buğday, Korkut M. (2009). The Routledge introduction to literary Ottoman. Routledge. ISBN 9780415493383. OCLC 281098978.
- ↑ Mansel, Philip (2011). Constantinople. Hachette UK. ISBN 1848546475.
- ↑ "Ottoman-Turkish conversation-grammar; a practical method of learning the Ottoman-Turkish language". Heidelberg, J. Groos; New York, Brentano's [etc., etc.] 1907.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Simon Ager, Turkish alphabet, Omniglot