เอโนค
เอโนค | |
---|---|
เอโนคจากภาพจิตรกรรมในโปแลนด์ คริสต์ศตวรรษที่ 17 | |
อัครบิดาก่อนสมัยน้ำท่วมโลก | |
นับถือ ใน | ศาสนาคริสต์[i] ศาสนาอิสลาม ศาสนายูดาห์[ii] ขบวนการศาสนาใหม่[iii] |
วันฉลอง | วันอาทิตย์[iv] ก่อนวันประสูติของพระคริสต์ในคริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ 22 มกราคมในคริสตจักรคอปติกออร์ทอดอกซ์ 19 กรกฎาคม (วันขึ้นสู่สวรรค์ในคริสตจักรคอปติกออร์ทอดอกซ์)[1] |
เอโนค (อังกฤษ: Enoch; /ˈiːnək/ ( ฟังเสียง); ฮีบรู: חֲנוֹךְ, ใหม่: Ḥanōḵ, ไทบีเรียน: Ḥănōḵ; กรีก: Ἑνώχ Henṓkh; อาหรับ: أَخْنُوخ ʼAkhnūkh) เป็นบุคคลในคัมภีร์ไบเบิลและเป็นอัครบิดาก่อนสมัยน้ำท่วมโลกของโนอาห์ เป็นบุตรชายของยาเรดและเป็นบิดาของเมธูเสลาห์
ความในหนังสือปฐมกาลระบุว่าเอโนคมีอายุ 365 ปีก่อนที่พระเจ้าจะรับเอโนคไป ความกล่าวว่าเอโนค "ดำเนินกับพระเจ้าแล้วก็หายไปเพราะพระเจ้าทรงรับเขาไป" (ปฐมกาล 5:21 -24) ซึ่งตีความได้ว่าเอโนคขึ้นสวรรค์ขณะมีชีวิตในบางประเพณีของศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต์ ในขณะที่ประเพณีอื่น ๆ มีการตีความแตกต่างกันไป
เอโนคเป็นบุคคลสำคัญในประเพณีของศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต์จำนวนมาก ถือกันว่าเอโนคเป็นผู้เขียนหนังสือเอโนค[2] และยังเรียกว่าเป็นอาลักษณ์แห่งการพิพากษา[3] ในพันธสัญญาใหม่ เอโนคถูกกล่าวถึงในพระวรสารนักบุญลูกา, จดหมายถึงชาวฮีบรู และจดหมายของนักบุญยูดา จดหมายของนักบุญยูดายังอ้างอิงความจากหนังสือเอโนค[4] ในคริสตจักรโรมันคาทอลิก, อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ เอโนคได้รับการยกย่องเป็นนักบุญ
ชื่อของเอโนค (ฮีบรู: חֲנוֹךְ Ḥănōḵ) มาจากรากศัพท์ภาษาฮีบรู חנך (ḥ-n-ḵ) มีความหมายว่า ฝึกฝน, ริเริ่ม, อุทิศ, เปิดฉาก[5] โดย חֲנוֹךְ/חֲנֹךְ (Ḥănōḵ) เป็นรูปคำสั่งของคำกริยา[6][7]
พงศาวลี
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 ปฐมกาล 4:1
- ↑ ปฐมกาล 4:25; 5:3
- ↑ ปฐมกาล 4:17
- ↑ ปฐมกาล 4:26; 5:6–7
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 ปฐมกาล 4:18
- ↑ ปฐมกาล 5:9–10
- ↑ ปฐมกาล 5:12–13
- ↑ ปฐมกาล 5:15–16
- ↑ 9.0 9.1 ปฐมกาล 4:19
- ↑ ปฐมกาล 5:18–19
- ↑ ปฐมกาล 4:20
- ↑ ปฐมกาล 4:21
- ↑ 13.0 13.1 ปฐมกาล 4:22
- ↑ ปฐมกาล 5:21–22
- ↑ ปฐมกาล 5:25–26
- ↑ ปฐมกาล 5:28–30
- ↑ 17.0 17.1 17.2 ปฐมกาล 5:32
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ โรมันคาทอลิก
ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์
อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์
ศาสนาคริสต์นิกายเอโนค - ↑ ศาสนายูดาห์รับบีสมัยกลาง
- ↑ ศาสนาบาไฮ
ลัทธิยุคใหม่ที่อุทิศให้กับทูตสวรรค์วิทยา - ↑ 30 กรกฎาคม
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Enoch the Patriarch". 27 November 2018.
- ↑ August Dillmann and R. Charles (1893). The Book of Enoch, translation from Geez.
- ↑ 1 เอโนค บทที่ 12
- ↑ ลูกา 3:37 , ฮีบรู 11:5 , ยูดา 1:14 -15
- ↑ "Strong's Hebrew Concordance - 2596. chanak". Bible Hub.
- ↑ "Strong's Hebrew Concordance - 2596. ḥănōḵ". Bible Hub.
- ↑ "Conjugation of לַחֲנוֹךְ". Pealim.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- The Descendants of Adam, The Legacy of Cain, The Souls Elijah and Enoch
- Catholic Encyclopedia Henoch (1914)
- Andrei A. Orlov essays on 2 Enoch: Enoch as the Heavenly Priest, Enoch as the Expert in Secrets, Enoch as the Scribe and Enoch as the Mediator
- Ed. Philip P. Wiener Dictionary of the History of Ideas: Cosmic Voyages (1973)
- Dr. Reed C. Durham, Jr. Comparison of Masonic legends of Enoch and Mormon scriptures description of Enoch (1974)