ช้างในประเทศไทย
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ในปัจจุบัน ช้างเอเชียนอกจากจะเป็นสัตว์ประจำชาติไทยแล้ว ยังมีอิทธิพลต่อประเทศไทย ดังนี้
ช้างไทยในสงครามประวัติศาสตร์
[แก้]- เจ้าพระยาปราบหงสาวดี (ชื่อก้านกล้วยในภาพยนตร์)
- เจ้าพระยาปราบไตรจักร
ช้างไทยในพระราชพิธี
[แก้]ช้างในวรรณคดีและวรรณกรรมไทย
[แก้]ช้างไทยในประวัติศาสตร์
[แก้]สมัยกรุงสุโขทัย
[แก้]ในศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวว่าพ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ชนช้างชนะขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด และยังมีอีกตอนที่กล่าวถึงช้างเผือกตัวโปรดของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชที่ชื่อรุจาครี ซึ่งช้างเผือกตัวนี้ทรงให้แต่งด้วยเครื่องคชาภรณ์ แล้วทรงนำราษฎรออกบำเพ็ญกุศลตามพระอารามในอรัญญิกเมื่อครั้งที่ทรงครองกรุงสุโขทัย
สมัยกรุงศรีอยุธยา
[แก้]ในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้มีช้างเผือกที่มีลักษณะพิเศษที่นำมาเป็นสัตว์คู่บารมีของพระมหากษัตริย์แต่ละรัชกาล
- ในสมัยสมเด็จพระอินทราชา ได้ช้างเผือกมา 1 เชือก
- ในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช ได้ปรากฏช้างเผือกที่ชื่อพระฉัททันต์ขึ้น
- ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ซึ่งถือได้ว่าเป็นรัชสมัยเริ่มต้นที่ให้ความสำคัญกับช้างเผือกมากที่สุด พร้อมทั้งยังมีช้างเผือกประจำรัชกาลนี้ถึง 7 เชือก คือ พระคเชนทโรดม พระรัตนากาศ พระแก้วทรงบาศ ช้างเผือกพังแม่และพังลูก พระบรมไกรสร พระสุริยกุญชร
- ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 (สมเด็จพระนารายณ์มหาราช) ได้ช้างเผือกมา 2 เชือก คือ พระอินทร์ไอยราวรรณ และเจ้าพระยาบรมคเชนทรฉัททันต์
- ในสมัยสมเด็จพระเพทราชา ได้ช้างเผือกมา 2 เชือก คือ พระอินทรไอราพต และ พระบรมรัตนากาศ
- ในสมัยสมเด็จพระสรรเพชญที่ 8 (พระเจ้าเสือ) ได้ช้างเผือกชื่อ พระบรมไตรจักร
- ในสมัยสมเด็จพระบรมราชาที่ 3 (พระบรมโกศ)ได้ช้างเผือกมา 6 เชือก คือ พระวิเชียรหัสดิน พระบรมราชนาเคนทร พระบรมวิไชยคเชนทร พระบรมกุญชร พระบรมจักรพาลหัตถี พระบรมคชลักษณ์
สมัยกรุงธนบุรี
[แก้]สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ช้างพังเผือกมา 1 เชือก ได้เมื่อครั้งนำกองทัพกรุงไปล้อมเมืองฝาง เจ้าพระฝางหนีพาช้างไปด้วย หลวงคชชาติกองพญาอินท์วิชิตติดตามได้ลูกช้างนำมาถวาย ปรากฏชื่อตามพงศาวดารว่า นางช้างพญามงคลเสวตคชสารศรีเมืองตัวประเสริฐ, พระยาเศวตรกริณี[1]
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
[แก้]- พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
- ได้ช้าง 10 เชือก คือ พระบรมไกรสร (บวรสุประดิษฐ) พระบรมไกรสร (บวรบุษปทันต์) พระอินทรไอยรา พระเทพกุญชร พระบรมฉัททันต์ พระบรมนัขมณี พระบรมคชลักษณ์ (อรรคคเชนทร์) พระบรมนาเคนทร์ พระบรมคชลักษณ์ (อรรคชาติดามพหัตถี) พระบรมเมฆเอกทนต์
- พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
- มีช้าง 6 เชือก คือ พระยาเศวตกุญชร พระบรมนาเคนทร์ พระบรมหัศดิน พระบรมนาเคนทร์ (คเชนทรธราธาร) พระยาเศวตไอยรา พระยาเศวตคชลักษณ์
- พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
- มีช้างเผือกอยู่ 20 เชือก คือ พระบรมคชลักษณ์ พระบรมไอยรา พระบรมนาเคนทร์ พระบรมเอกทันต์ พระยามงคลหัสดิน พระยามงคลนาคินทร์ พระบรมไกรสร พระบรมกุญชร พังหงษาสวรรค์ พระนัขนาเคนทร์ พระบรมไอยเรศ พระบรมสังขทันต์ พระบรมคชลักษณ์ (ศักดิสารจุมประสาท) พระบรมนขาคเชนทร์ พระนาเคนทรนขา พระบรมทัศนขา ช้างพลายสีประหลาด พระบรมศุภราช พระยามงคลคชพงศ์ ช้างพลายกระจุดดำ
- พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
- มีช้าง 15 เชือก คือ พระบรมนัขสมบัติ พระวิมลรัตนกิริณี พระบรมคชรัตน พระวิสูตรรัตนกิริณี พระพิไชยนิลนัข พระพิไชยกฤษณาวรรณ พระศรีสกลกฤษณ์ พระมหาศรีเศวตวิมลวรรณ ช้างพังเผือกเอก พระเศวตสุวรรณาภาพรรณ ช้างพังเผือกเอก พระเทวสยามมหาพิฆเนศวร ช้างสีประหลาด เจ้าพระยาปราบไตรจักร พระยาไชยานุภาพ
- พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
- มีช้าง 19 เชือก คือ พระเศวตวรวรรณฯ พระมหารพีพรรณคชพงษ์ พระเศวตสุวภาพรรณ พระเทพคชรัตนกิริณี พระศรีสวัสดิเศวตวรรณ พระบรมทันตวรลักษณ์ พระเศวตวรลักษณ์ พระเศวตวรสรรพางค์ พระเศวตวิสุทธิเทพา พระเศวตสุนทรสวัสดิ์ พระเศวตสกลวโรภาศ พระเศวตรุจิราภาพรรณ พระเศวตวรนาเคนทร์ ช้างพลายเผือกเอก พระศรีเศวตวรรณิภา พระเศวตอุดมวารณ์ ช้างพลายสีประหลาด 2 เชือก เจ้าพระยาไชยานุภาพ
สมัยรัชกาลที่ 9
[แก้]สมัยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พบช้างเผือก 21 ช้าง เหลือ 10 ช้าง คือ
- พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ
- พระเศวตวรรัตนกรีฯ
- พระเศวตสุรคชาธารฯ
- พระศรีเศวตศุภลักษณ์ฯ
- พระเศวตศุทธวิลาศฯ
- พระวิมลรัตนกิริณีฯ
- พระศรีนรารัฐราชกิริณีฯ
- พระเศวตภาสุรคเชนทร์ฯ
- พระเทพวัชรกิริณีฯ
- พระบรมนขทัศฯ
การใช้ช้างเป็นตราประจำจังหวัดของไทย
[แก้]ตราประจำจังหวัด | จังหวัด | คำอธิบายตรา |
---|---|---|
จังหวัดในปัจจุบัน | ||
กรุงเทพมหานคร | รูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ตามแบบภาพฝีพระหัตถ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ | |
เชียงราย | รูปช้างสีขาวกับเมฆ ลายที่ขอบตรามีรูปนาคเกี้ยว | |
เชียงใหม่ | รูปช้างเผือกยืนอยู่ในเรือนแก้ว | |
ตาก | รูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงหลั่งทักษิโณทกเหนือคอช้าง | |
แม่ฮ่องสอน | รูปช้างเล่นน้ำ | |
นครนายก | รูปช้างชูรวงข้าว เบื้องหลังเป็นลอมฟาง | |
สุพรรณบุรี | รูปการทำยุทธหัตถี ระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และพระมหาอุปราชมังกะยอชวา ที่ตำบลหนองสาหร่าย เมื่อ พ.ศ. 2135 | |
นราธิวาส | รูปเรือกอและกางใบแล่นรับลมเต็มที่ ภายในใบเรือเป็นรูปช้างเผือกทรงเครื่องคชาภรณ์ รูปช้างนั้นหมายถึงพระศรีนรารัฐราชกิริณีฯ ช้างสำคัญซึ่งจังหวัดนราธิวาสได้น้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อ พ.ศ. 2520 | |
จังหวัดในอดีต | ||
ลานช้าง | รูปโขลงช้างยืนอยู่กลางลานกว้าง |
ช้างในภาพยนตร์
[แก้]ยังมีภาพยนตร์ไทยที่กล่าวถึงความสำคัญของช้างอีกมากมาย แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของช้างที่เป็นสัญลักษณ์ของชาติไทย เช่น
- คนเลี้ยงช้าง (พ.ศ. 2533)
- ช้างเพื่อนแก้ว ภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับการผจญภัยของช้างกับเด็ก แสดงให้เห็นถึงความฉลาด น่ารัก แสนรู้ของช้าง
- ก้านกล้วย ภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่องที่สองของไทย มีเนื้อหาเกี่ยวกับช้าง
- ต้มยำกุ้ง ภาพยนตร์แอคชั่น มีเนื้อหาเกี่ยวกับการลักพาช้างออกนอกประเทศ พระเอกในเรื่องซึ่งเป็นเจ้าของช้างได้ไปตามทวงคืนมา แสดงให้เห็นถึงความรักและหวงแหนช้าง สัตว์ประจำชาติของชาติไทย
- องค์บาก 2 ภาพยนตร์แอคชั่น ซึ่งมีช้างเป็นกองกำลังสมทบ
- ภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์หลายเรื่องที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสงคราม มักมีการนำช้างมาใช้ในฉากสงคราม
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), ๒๕๔๒ : ๔๙๔, พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา (ภาคจบ), ๒๕๐๕ : ๓๓๖-๓๓๗