ข้ามไปเนื้อหา

ชนิดย่อย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สปีชีส์ย่อย)
เสือดาวแอฟริกา (Panthera pardus pardus) เป็น ชนิดย่อยต้นแบบ (nominotypical subspecies) ของ เสือดาว ซึ่งเป็นสัตว์ประจำถิ่นของแอฟริกา[1]
เสือโคร่งชวาและเสือโคร่งสุมาตรา (P. tigris sondaica) เป็นชนิดย่อยของเสือโคร่ง และเป็นสัตว์ประจำถิ่นของหมู่เกาะซุนดา[1]

ชนิดย่อย หรือ สปีชีส์ย่อย (อังกฤษ: subspecies, ย่อ: subsp. หรือ ssp.) ในการจำแนกทางชีววิทยาหมายถึง กลุ่มประชากรหนึ่งในสองกลุ่มหรือมากกว่าของสิ่งมีชีวิตชนิด (species) เดียวกัน ที่อาศัยอยู่ในเขตย่อยที่แตกต่างกัน (ภายในเขตกระจายพันธุ์ของชนิดนั้น) และมีความแตกต่างกันของลักษณะทางสัณฐานวิทยาปลีกย่อยต่างกัน[2][3] ซึ่งไม่สามารถจำแนกชนิดย่อยเดี่ยวออกเป็นชนิดใหม่ได้อย่างอิสระ ความแตกต่างของชนิดย่อยมักอยู่ที่ลวดลาย สีสัน หรือขนาดลำตัว อันเนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่อยู่ที่แตกต่างกัน ตามระเบียบสากลของระบบการตั้งชื่อชนิดย่อยของสัตว์ใช้ชื่อตรีนาม ในทางพฤกษศาสตร์ กิณวิทยา และวิทยาแบคทีเรีย ใช้คำย่อ "subsp." หรือ "ssp." ตามด้วยชื่อชนิดย่อย

สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งอาจได้รับการระบุว่าไม่มีชนิดย่อยเลย หรือมีอย่างน้อยสองชนิดย่อยซึ่งรวมทั้งที่สูญพันธุ์แล้ว

ในการจำแนกชนิดย่อย นักอนุกรมวิธานตัดสินใจจากเกณฑ์อย่างง่ายในการจำแนกกลุ่มประชากรที่แตกต่างกันสองกลุ่มให้เป็นชนิดย่อยหรือชนิด คือความสามารถในการผสมข้ามพันธุ์ (หากผสมข้ามกันได้แม้ว่าทายาทตัวผู้บางตัวอาจเป็นหมัน อาจนับเป็นชนิดย่อย)[4] ในธรรมชาติชนิดย่อยจะไม่ผสมข้ามพันธุ์กันเนื่องจากความโดดเดี่ยวทางภูมิศาสตร์หรือการเลือกทางเพศ ความแตกต่างระหว่างชนิดย่อยมักจะแตกต่างกันน้อยกว่าความแตกต่างระหว่างชนิด

ระบบการตั้งชื่อ

[แก้]

ชื่อวิทยาศาสตร์ในลำดับขั้นชนิด (สปีชีส์) ใช้การตั้งชื่อแบบทวินาม (binomial nomenclature) ซึ่งชื่อทวินามประกอบด้วยคำภาษาละตินสองคำ โดยคำแรกแสดงถึงชื่อสกุลและคำที่สองคือชื่อเฉพาะแสดงลักษณะเด่นของชนิด[5]

ในทางสัตววิทยา ภายใต้ระเบียบสากลของระบบการตั้งชื่อทางสัตววิทยา (International Code of Zoological Nomenclature (ICZN)) การตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ของชนิดย่อยในแบบ ชื่อตรีนาม (trinomen) ประกอบด้วยคำละตินสามคำคือ สองคำแรกจากชื่อทวินาม (binomen) ตามด้วยคำที่สามที่เป็นชื่อของชนิดย่อย[6] ตัวอย่างเช่น เสือดาว ทวินามคือ Panthera pardus และตรีนาม ได้แก่ Panthera pardus delacouri คือ เสือดาวอินโดจีน, Panthera pardus fusca คือ เสือดาวอินเดีย เป็นต้น ชื่อตรีนามเขียนด้วยตัวเอียงทั้งสามส่วน[7]

ในทางพฤกษศาสตร์และกิณวิทยา ตามระเบียบสากลของระบบการตั้งชื่อทางพฤกษศาสตร์ (ICBN) ชนิดย่อยเป็นหนึ่งในลำดับขั้นที่ต่ำกว่าชนิด ซึ่งได้แก่ ชนิดย่อย (subspecies), พันธุ์ (variety), พันธุ์ย่อย (subvariety), รูป (form) และรูปย่อย (subform) ตามลำดับ[8] ในการระบุชื่อเฉพาะชนิดย่อยต้องนำหน้าด้วย "subspecies" (ซึ่งสามารถย่อมาจาก "subsp." หรือ "ssp.") ตัวอย่างเช่น Schoenoplectus californicus subsp. tatora[9]

ในวิทยาแบคทีเรีย ลำดับขั้นเดียวที่ต่ำกว่าชนิดภายใต้ระบบชื่ออนุกรมวิธานคือ ชนิดย่อยเท่านั้น การระบุลำดับชั้นที่ย่อยลงมาจากชนิด (infrasubspecific taxon) มีความสำคัญอย่างยิ่งในวิทยาแบคทีเรียแต่ยังไม่มีระบบที่ชัดเจน ในภาคผนวกที่ 10 ของระเบียบสากลของระบบการตั้งชื่อโพรแคริโอตได้ระบุคำแนะนำให้ชื่อที่ตีพิมพ์ก่อนปี ค.ศ. 1992 ในลำดับของพันธุ์ (variety) ให้ถือเป็นชื่อของชนิดย่อย[10] และให้ใช้โครงสร้างของชื่อตามแบบชื่อชนิดย่อยในทางพฤกษศาสตร์ คือ มีคำย่อ "subsp." ตัวอย่างเช่น Bacillus subtilis subsp. spizizenii[11]

ชนิดย่อยต้นแบบ

[แก้]

เรียก "ชนิดย่อยต้นแบบ" (nominotypical subspecies) ทางสัตววิทยา และ เรียก "ชนิดย่อยอัตนาม" (subspecies autonyms) ในทางพฤกษศาสตร์

ในระบบการตั้งชื่อทางสัตววิทยา เมื่อชนิดถูกแบ่งออกเป็นชนิดย่อยประชากรที่ระบุชนิดไว้ครั้งแรกจะได้รับการระบุเป็น "ชนิดย่อยต้นแบบ" (nominotypical subspecies)[12] หรือ "ชนิดย่อยที่ถูกเสนอชื่อ (ครั้งแรก)" ซึ่งใช้คำที่สามเป็นชื่อเดียวกันกับชื่อชนิด ตัวอย่างเช่น Lonchura punctulata punctulata (มักเรียกย่อว่า L.p. punctulata) เป็นชนิดย่อยต้นแบบของนกกระติ๊ดขี้หมู (Lonchura punctulata)

ในระบบการตั้งชื่อทางพฤกษศาสตร์ ชื่อของชนิดย่อยถูกสร้างขึ้นโดยใช้ซ้ำชื่อชนิดนั้น ซึ่งเรียก "อัตนาม" (autonym) และอนุกรมวิธานต่ำกว่าชนิดเป็น "ชนิดย่อยที่ชื่อถูกสร้างขึ้นโดยอัตโนมัติ" (autonymous subspecies)[13]

กรณีที่กำกวม

[แก้]

เมื่อนักสัตววิทยาไม่เห็นด้วยกับการระบุชนิดของประชากรบางกลุ่มให้เป็นชนิดหรือชนิดย่อย ส่วนของชื่อชนิดอาจเขียนในวงเล็บ ตัวอย่างเช่น Larus (argentatus) smithsonianus (นกนางนวลแฮร์ริ่งอเมริกัน) ชื่อชนิดในวงเล็บหมายความถึง นักสัตววิทยาบางคนคิดว่าประชากรนกกลุ่มนี้เป็นชนิดย่อยของนกนางนวลแฮร์ริ่ง (Larus argentatus) จึงเรียกนกนางนวลแฮร์ริ่งอเมริกันว่า Larus argentatus smithsonianus ในขณะที่นักสัตววิทยาคนอื่นมองว่านกนางนวลแฮร์ริ่งอเมริกันเป็นชนิดที่แยกต่างหาก จึงเรียก Larus smithsonianus

ชนิดโมโนไทป์และโพลีไทป์

[แก้]
แรดอินเดีย (Rhinoceros unicornis) เป็นชนิดโมโนไทป์ มีเพียงชนิดย่อยเดียว

ชนิดโมโนไทป์ (monotypic species) คือชนิดที่มีเพียงชนิดย่อยเดียว และชนิดโพลีไทป์ (polytypic species) คือชนิดที่มีตั้งแต่สองชนิดย่อยหรือมากกว่า

ในแง่ชีววิทยา การตั้งชื่อชนิดย่อยเป็นไปตามความต่างกันทางพันธุกรรมและฟีโนไทป์ของสองกลุ่มประชากรหรือมากกว่านั้น กลุ่มประชากรที่แตกต่างกันเหล่านี้ไม่อาจผสมข้ามพันธุ์ได้ตามธรรมชาติเนื่องจากแยกออกจากกันอย่างสิ้นเชิงด้วยภูมิศาสตร์ แต่ยังคงความสามารถในการผสมข้ามพันธุ์และมีลูกหลานที่เจริญพันธุ์ได้ (เมื่อนำมาเพาะเลี้ยงในที่กักขัง หรือมีการเปลี่ยนแปลงทางภูมิประเทศและภูมิอากาศทำให้เกิดพื้นที่รอยต่อระหว่างกลุ่มประชากร) ชนิดย่อย พันธุ์ หรือกลุ่มประชากรเหล่านี้ มักถูกอธิบายและตั้งชื่อโดยนักสัตววิทยา นักพฤกษศาสตร์ และนักจุลชีววิทยา

ในชนิดโมโนไทป์ ประชากรทั้งหมดมีลักษณะทางพันธุกรรมและฟีโนไทป์เหมือนกัน ชนิดโมโนไทป์สามารถเกิดขึ้นได้หลายวิธีได้แก่

  • สมาชิกทั้งหมดของชนิด มีความคล้ายคลึงกันมากและไม่สามารถแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ย่อยที่มีนัยสำคัญทางชีววิทยาอย่างสมเหตุสมผล
  • แต่ละชีวิตมีความแตกต่างกันมาก แต่ความผันแปรนั้นสุ่มโดยพื้นฐานและไร้ความหมายทางพันธุกรรม ตราบเท่าที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมของการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้
  • ความผันแปรระหว่างชีวิตสามารถสังเกตได้และเป็นไปตามรูปแบบ แต่ไม่มีเส้นแบ่งที่ชัดเจนระหว่างกลุ่มที่แยกจากกัน ได้แก่ ความแตกต่างที่ลดหายไปจากกันและกัน การแปรผันโน้มตามทางพันธุกรรมดังกล่าวมักบ่งชี้ถึงการไหลของยีนจำนวนมากในกลุ่มที่แยกจากกันอย่างชัดเจนซึ่งประกอบเป็นประชากร ประชากรที่มีการไหลของยีนที่มั่นคงและสม่ำเสมอในหมู่พวกเขามักจะเป็นตัวแทนของสปีชีส์ monotypic แม้ว่าจะมีความแปรปรวนทางพันธุกรรมในระดับกลาง ๆ ก็ตาม

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Kitchener, A. C.; Breitenmoser-Würsten, C.; Eizirik, E.; Gentry, A.; Werdelin, L.; Wilting, A.; Yamaguchi, N.; Abramov, A. V.; Christiansen, P.; Driscoll, C.; Duckworth, J. W.; Johnson, W.; Luo, S.-J.; Meijaard, E.; O’Donoghue, P.; Sanderson, J.; Seymour, K.; Bruford, M.; Groves, C.; Hoffmann, M.; Nowell, K.; Timmons, Z.; Tobe, S. (2017). "A revised taxonomy of the Felidae: The final report of the Cat Classification Task Force of the IUCN Cat Specialist Group". Cat News. Special Issue 11: 66−69. hdl:10088/32616.
  2. Mayr, E. (1982). "Of what use are subspecies?". The Auk. 99 (3): 593−595.
  3. Monroe, B. L. (1982). "A modern concept of the subspecies". The Auk. 99 (3): 608−609.
  4. "Species - Speciation". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-04-20.
  5. Linné, C. (1735). Systema naturae, sive, Regna tria naturae systematice proposita per classes, ordines, genera, & species. Lugduni Batavorum: Theodor Haak.
  6. Ride, W. D. L.; Corliss, J. O., บ.ก. (1999). International Code of Zoological Nomenclature: Adopted by the International Union of Biological Sciences (PDF) (Fourth ed.). London: The International Trust for Zoological Nomenclature. ISBN 0853010064.
  7. "Scientific Nomenclature". cdc.gov. Centers for Disease Control and Prevention. สืบค้นเมื่อ 20 January 2021.
  8. อ่อนหวาน, นายสุขเกษม. "ชนิด-Species". www.nsm.or.th.
  9. James, Mallet. "Subspecies, semispecies, superspecies" (PDF). ucl.ac.uk. สืบค้นเมื่อ 27 April 2018.
  10. "Chapter 3: Rules of Nomenclature with Recommendations". National Center for Biotechnology Information. Retrieved January 17, 2013.
  11. Parker, Charles T.; Tindall, Brian J.; Garrity, George M. (20 November 2015) [2008]. "International Code of Nomenclature of Prokaryotes (2008 Revision)". International Journal of Systematic and Evolutionary Microbiology (ICSP Matters ed.). 69. "Names of Subspecies: Rule 13a". doi:10.1099/ijsem.0.000778. PMID 26596770. Full text available from PDF link at this page; direct URL to PDF is auto-generated and expires.
  12. International Code of Zoological Nomenclature, Art. 47
  13. McNeill, J.; Barrie, F. R.; Buck, W. R.; Demoulin, V.; Greuter, W.; Hawksworth, D. L.; Herendeen, P. S.; Knapp, S.; Marhold, K.; Prado, J.; Prud'homme Van Reine, W.F.; Smith, G. F.; Wiersema, J. H.; Turland, N. J. (2012). International Code of Nomenclature for algae, fungi, and plants (Melbourne Code) adopted by the Eighteenth International Botanical Congress Melbourne, Australia, July 2011. Vol. Regnum Vegetabile 154. A.R.G. Gantner Verlag KG. ISBN 978-3-87429-425-6. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-04. สืบค้นเมื่อ 2021-08-02.