การทำลายถิ่นฐานธรรมชาติ
การทำลายถิ่นฐานธรรมชาติ (อังกฤษ: Habitat destruction) หมายถึงกระบวนการที่ถิ่นฐานธรรมชาติถูกทำให้กลายเป็นถิ่นฐานที่ไม่อาจจะสนับสนุนหรือไม่อาจจะใช้ในการการดำรงชีวิตของสปีชีส์ที่เคยดำรงชีวิต ณ ถิ่นฐานนั้นแต่เดิมได้ กระบวนการดังว่านี้เป็นการกำจัดโดยการทำให้ต้องเคลื่อนย้ายหรือทำลายสิ่งที่มีชีวิตจากถิ่นฐานที่เดิมเคยดำรงชีวิตอยู่ ซึ่งเป็นการลดความหลาหลายของชีวภาพ (biodiversity) การทำลายถิ่นฐานธรรมชาติโดยมนุษย์ส่วนใหญ่เป็นการทำเพื่อการขยายตัวทางเกษตรกรรม, การขยายตัวทางอุตสาหกรรม และ การขยายตัวของเมือง กิจการอื่นที่ทำลายถิ่นฐานธรรมชาติก็ได้แก่การทำเหมือง การขุดลอกคลองและพื้นที่ชุ่มน้ำ และ การถางป่า
การทำลายถิ่นฐานธรรมชาติเป็นสาเหตุลำดับหนึ่งในการสร้างการสูญพันธุ์ให้แก่สปีชีส์ต่างๆ ทั่วโลก[1] ที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อความเปลี่ยนแปลงที่มีต่อการวิวัฒนาการ และการอนุรักษ์ชีวภาพ สาเหตุอื่นๆ ที่มีผลต่อการทำลายสปีชีส์ก็ได้แก่การสร้างความแตกแยกแก่ถิ่นฐานธรรมชาติ (habitat fragmentation), ความเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยา, ความเปลี่ยนแปลงทางสภาวะอากาศ, การรุกรานของสปีชีส์อื่น, ความเปลี่ยนแปลงของอาหารในสิ่งแวดล้อม
คำอื่นที่มีความหมายใกล้เคียงกันที่ใช้ก็ได้แก่ “การสูญเสียถิ่นฐานธรรมชาติ” (loss of habitat) หรือ “การลดบริเวณถิ่นฐานธรรมชาติ” (habitat reduction) ที่มีความหมายที่กว้างออกไปที่รวมทั้งการสูญเสียถิ่นฐานที่เกิดจากปัจจัยอื่นๆ เช่นจาก น้ำเสีย และ noise pollution
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Pimm & Raven, 2000, pp. 843-845