ชาวพม่าในประเทศไทย
ထိုင်းနိုင်ငံရှိမြန်မာမျာ | |
---|---|
ประชากรทั้งหมด | |
1,418,472 (พ.ศ. 2557)[1] | |
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ | |
ภาษา | |
ภาษาพม่า, ภาษามอญ, ภาษาไทใหญ่, ภาษาไทยถิ่นเหนือและภาษาพื้นเมืองต่างๆ ของประเทศพม่า ภาษาไทย | |
ศาสนา | |
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง | |
ชาวพม่าพลัดถิ่น พม่า กะเหรี่ยง มอญ ไทใหญ่ |
ชาวพม่าในไทย (พม่า: ထိုင်းနိုင်ငံရှိမြန်မာများ) เป็นชาวต่างชาติที่มาอาศัยอยู่ในประเทศไทยมากที่สุด จากการสำรวจใน พ.ศ. 2557 พบว่ามีชาวพม่ากว่า 1,418,472 ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย แบ่งเป็น ชาย 812,798 คน และหญิง 605,674 คน หรือคิดเป็น 70% ของชาวพม่าที่อาศัยอยู่นอกประเทศ[1] ชาวพม่าในไทยส่วนใหญ่แบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ แรงงานมีฝีมือ แรงงานไร้ฝีมือ และ ผู้อพยพหนีความขัดแย้ง
ชาวพม่าส่วนใหญ่จะเป็นแรงงานไร้ฝีมือในอุตสหกรรมการประมง โรงงานอาหารทะเลแปรรูป แรงงานก่อสร้าง อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม และงานบริการต่าง ๆ ในประเทศไทย[2] มหาวิทยาลัยแมคควอรี่ประเมินว่ามีการส่งเงินจากไทยไปพม่าเฉลี่ยมากกว่า 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี[3][4] การย้ายถิ่นฐานเข้ามาในไทยของชาวพม่าเริ่มขึ้นในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 หลังการรัฐประหารของนายพลเนวี่นที่ทำให้พม่ากลายเป็นสังคมนิยมและการพัฒนาเศรษฐกิจหยุดชะงัก[5] แรงงานชาวพม่ามีส่วนช่วยในการสร้างเศรษฐกิจไทยเป็นอย่างมาก โดยมีส่วนร่วมประมาณ 5 ถึง 6.2% ของจีดีพีประเทศไทย[6]
จังหวัดสมุทรสาครเป็นจังหวัดที่ชาวพม่าเข้ามาอาศัยอยู่มากที่สุดในประเทศไทย คาดว่ามีชาวพม่าราว 200,000 คนในจังหวัด[7][8] ส่วนพื้นที่ ๆ มีชาวพม่าอาศัยอยู่มากที่สุดรองลงมาคือ แม่สอด[9] และ ระนอง[10]
ใน พ.ศ. 2546 รัฐบาลไทยและพม่าได้ร่วมลงนามในหนังสือบันทึกข้อตกลง เพื่อให้แรงงานที่หลั่งไหลเข้ามานี้เป็นแรงงานถูกกฎหมายและแก้ปัญหาการลักลองเข้าเมืองผิดกฎหมาย มีการใช้กระบวนการพิสูจน์สัญชาติโดยแรงงานข้ามชาติจะได้รับหนังสือเดินทางชั่วคราวและใบรับรองให้ทำงานในประเทศไทยได้เป็นเวลา 2 ปี พร้อมสิทธิคุ้มครองแรงงาน[2][11]
ชาวพม่าอพยพราว 150,000 คน อาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยทางการ 9 แห่งบริเวณชายแดนไทย–พม่า[12] ค่ายที่ใหญ่ที่สุดคือค่ายผู้ลี้ภัยแม่ลาที่ก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ พ.ศ. 2527 ใน พ.ศ. 2557 รัฐบาลไทยประกาศแผนการส่งกลับผู้ลี้ภัย ที่อาศัยอยู่ในค่ายลี้ภัยช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมากลับประเทศ[13]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "The Union Report - Census Report Volume 2". The 2014 Myanmar Population and Housing Census. Department of Population, Ministry of Immigration and Population. May 2015. สืบค้นเมื่อ 18 July 2015.
- ↑ 2.0 2.1 McGann, Nora (20 February 2013). "The Opening of Burmese Borders: Impacts on Migration". Migration Policy Institute. สืบค้นเมื่อ 18 July 2015.
- ↑ "MYANMAR: Remittances support survival". IRIN. 31 December 2010. สืบค้นเมื่อ 18 July 2015.
- ↑ Turnell, Sean; Alison Vicary; Wylie Bradford. "Migrant Worker Remittances and Burma: An Economic Analysis of Survey Results" (PDF). BURMA ECONOMIC WATCH. Macquarie University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 15 May 2013. สืบค้นเมื่อ 18 July 2015.
- ↑ Vicary, Alison (2004). "ECONOMIC SURVEY OF 'BURMESE' WORKING IN THAILAND1 : AN OVERVIEW OF A BEW PROJECT" (PDF). Macquarie University. สืบค้นเมื่อ 18 July 2015.
- ↑ Brees, Inge (Winter–Spring 2010). "Burden or Boon: The Impact of Burmese Refugees on Thailand". The Whitehead Journal of Diplomacy and International Relations.
- ↑ SAW YAN NAING (3 March 2010). "Mahachai Migrants Eye Passports". The Irrawaddy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 November 2011. สืบค้นเมื่อ 18 July 2015.
- ↑ Saw Yan Naing (27 February 2010). "Burmese Official Urges Migrants in Mahachai to Register". The Irrawaddy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-02. สืบค้นเมื่อ 18 July 2015.
- ↑ "Mae Sot: Little Burma". The Irrawaddy. May 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-22. สืบค้นเมื่อ 18 July 2015.
- ↑ Moncrief, John S. (February 2001). "What's wrong in Ranong". The Irrawaddy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-22. สืบค้นเมื่อ 18 July 2015.
- ↑ MOU 3 ประเทศ พม่า ลาว กัมพูลา กระทรวงแรงงาน สืบค้น 6 มีนาคม พ.ศ.2564
- ↑ "Burmese Refugees in Thailand". US Department of State. สืบค้นเมื่อ 18 July 2015.
- ↑ SAWITTA LEFEVRE, AMY (14 July 2014). "Thai junta's pledge to send back Myanmar refugees sparks concern". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-21. สืบค้นเมื่อ 18 July 2015.