ข้ามไปเนื้อหา

เทือกเขาฆาฏตะวันตก

พิกัด: 10°10′N 77°04′E / 10.167°N 77.067°E / 10.167; 77.067
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ฆาตตะวันตก)
ฆาฏตะวันตก
Sahyadri
เทือกเขาฆาฏตะวันตก มองจากเมือง Gobichettipalayam รัฐทมิฬนาฑู
จุดสูงสุด
ยอดAnamudi, รัฐเกรละ (Eravikulam National Park)
ความสูง
เหนือระดับน้ำทะเล
2,695 เมตร (8,842 ฟุต)
พิกัด10°10′N 77°04′E / 10.167°N 77.067°E / 10.167; 77.067
ข้อมูลเชิงขนาด
ยาว1,600 กม. (994 ไมล์) เหนือ–ใต้
กว้าง100 กม. (62 ไมล์) ตะวันออก–ตะวันตก
พื้นที่Invalid unit
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์
ประเทศอินเดีย
รัฐ
ภาคภาคตะวันตกของประเทศอินเดีย และ ภาคใต้ของประเทศอินเดีย
เมือง
ชีวนิเวศTropical and subtropical moist broadleaf forests
ข้อมูลทางธรณีวิทยา
อายุหินซีโนโซอิก
ประเภทหินหินบะซอลต์, ศิลาแลง และ หินปูน
เกณฑ์พิจารณาNatural: ix, x
อ้างอิง1342
ขึ้นทะเบียน2012 (สมัยที่ 36th)
พื้นที่795,315 ha

ฆาฏตะวันตก (อังกฤษ: Western Ghats; ฮินดี: पश्चिमी घाट) เป็นเทือกเขาที่พาดขนานไปกับชายฝั่งทิศตะวันตกของคาบสมุทรอินเดีย โดยอยู่ในประเทศอินเดียโดยทั้งหมด ได้รับการบรรจุอยู่ในมรดกโลกของยูเนสโก และเป็นหนึ่งในแปด "พื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงที่สุด" ของโลก[1][2] บางครั้งเรียกผาใหญ่แห่งอินเดีย[3] เทือกเขาพาดผ่านจากเหนือไปใต้ควบคู่ไปกับขอบปลายทางตะวันตกของที่ราบสูงเดกกัน และแยกจากที่ราบสูงโดยที่ราบชายขอบแคบ ๆ เรียกว่า กอนกัน และเรียบไปกับทะเลอาหรับ ยังเป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และป่าสงวน 39 แห่ง ที่บรรจุอยู่ในรายชื่อมรดกโลก โดยมี 21 แห่งในรัฐเกรละ, 10 แห่งในรัฐกรณาฏกะ, 5 แห่งในรัฐทมิฬนาฑู และ 4 แห่งในรัฐมหาราษฏระ[4][5]

เทือกเขาเริ่มต้นใกล้เมืองโสนคาธในรัฐคุชราตทางใต้ของแม่น้ำตาปตีและมีความยาวราว 1,600 km (990 mi) โดยพาดผ่านรัฐมหาราษฏระ รัฐกัว รัฐกรณาฏกะ รัฐเกรละ และรัฐทมิฬนาฑู สิ้นสุดที่มรุนธุวัซห์มาลัยที่สวามิโทปใกล้ปลายทางใต้ของอินเดีย เทือกเขาเหล่านี้ครอบคลุมพื้นที่ 160,000 km2 (62,000 sq mi) และมีพื้นที่รองรับน้ำของธารน้ำเป็นเกือบร้อยละ 40 ของอินเดีย ฆาฏตะวันตกยังช่วยสกัดกั้นลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ให้เข้าถึงที่ราบสูงเดกกันได้[6] ความสูงโดยเฉลี่ยคือ 1,200 m (3,900 ft)[7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Biodiversity hotspots for conservation priorities". Nature. 403. สืบค้นเมื่อ 16 Nov 2013.
  2. "UN designates Western Ghats as world heritage site". Times of India. 2 July 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-31. สืบค้นเมื่อ 2 July 2012.
  3. Migon, Piotr (12 May 2010). Geomorphological Landscapes of the World. Springer. p. 257. ISBN 978-90-481-3054-2.
  4. "Western Ghats". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 3 January 2013.
  5. Lewis, Clara (3 July 2012). "39 sites in Western Ghats get world heritage status". Times of India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-07. สืบค้นเมื่อ 21 February 2013.
  6. Vijayan, V.S. "Research needs for the Western Ghats" (PDF). Ashoka Trust for Research in Ecology and the Environment (ATREE). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 11 พฤษภาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2007. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  7. "The Peninsula". Asia-Pacific Mountain Network. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 August 2007. สืบค้นเมื่อ 19 March 2007.