โกลหาปูระ
หน้าตา
(เปลี่ยนทางจาก Kolhapur)
โกลหาปูระ กรวีร์ | |
---|---|
นคร | |
พิกัด: 16°41′30″N 74°14′00″E / 16.69167°N 74.23333°E | |
ประเทศ | India |
รัฐ | มหาราษฏระ |
อำเภอ | โกลหาปูร์ |
ผู้ก่อตั้ง | ศิลาหารา |
การปกครอง | |
• ประเภท | องค์การเทศบาลนคร |
• องค์กร | KMC |
พื้นที่[1] | |
• นคร | 66.82 ตร.กม. (25.80 ตร.ไมล์) |
• รวมปริมณฑล | 204.12 ตร.กม. (78.81 ตร.ไมล์) |
ความสูง | 545.6 เมตร (1,790.0 ฟุต) |
ประชากร (2011)[2] | |
• นคร | 561,489 คน |
• อันดับ | ที่ 80 ของอินเดีย ที่ 11 ของรัฐ |
• ความหนาแน่น | 8,400 คน/ตร.กม. (22,000 คน/ตร.ไมล์) |
• รวมปริมณฑล[3] | 985,736 คน |
เดมะนิม | Kolhapurkar, Kolhapuri |
เขตเวลา | UTC+5:30 (IST) |
PIN | 416001-15 |
รหัสโทรศัพท์ | 0231 |
ทะเบียนพาหนะ | MH-09 |
เว็บไซต์ | Official site |
โกลหาปูระ (อักษรโรมัน: Kolhapur, ) เป็นนครในรัฐมหาราษฏระตอนใต้ ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำปัญจคงคา[4] โกลหาปูระเป็นเมืองใหญ่สุดในมหาราษฏระใต้ และเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมที่ตั้งอยูระหว่างปูเณ กับ เบงคลูรู และเป็นศูนย์กลางการปกครองของอำเภอโกลหาปูร์ เมืองยังเป็นที่รู้จักจากอัมบาบาอีมนเทียรที่เป็นที่นับถือมากในศาสนาฮินดู[5] ภูมิภาคนี้ยังเป็นที่รู้จักจากการผลิตรองเท้าแตะทำมือที่เรียกว่า โกหาปูรีจัปปัล ซึ่งมีสถานะตัวชี้วัดทางภูมิศาสตร์ ตั้งแต่ปี 2019[6] ในปรัมปราฮินดู เมืองยังเป็นที่รู้จักในชื่อ "กรวีร์" (Karvir)[4]
ก่อนอินเดียได้รับเอกราชในปี 1947 โกลหาปูร์เป็นรัฐมหาราชาภายใต้โภสาเลฉัตรบดีแห่งจักรวรรดิมราฐา และเป็นศูนย์กลางสำคัญของอุตสาหกรรมภาพยนตร์มราฐา[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "कोल्हापूरसाठी प्राधिकरण -Maharashtra Times". 17 August 2017.
- ↑ http://www.demographia.com/db-worldua.pdf [bare URL PDF]
- ↑ "कोल्हापूरसाठी प्राधिकरण". 17 August 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-22. สืบค้นเมื่อ 2022-09-03.
- ↑ 4.0 4.1 Karade, Jagan (2020-10-27). Occupational Mobility among Scheduled Castes (ภาษาอังกฤษ). Cambridge Scholars Publishing. ISBN 978-1-5275-6131-1.
- ↑ Suresh, B. N. (2021-04-17). Space and Beyond: Professional Voyage of K. Kasturirangan (ภาษาอังกฤษ). Springer Nature. p. 281. ISBN 978-981-336-510-0.
- ↑ "Kolhapuris: The famous leather chappal get Geographical Indication tag - Geographical Indication tag". The Economic Times.
- ↑ Kulkarni, Sripad Rao Laxman (2021-03-01). Bharata Darshana (ภาษาอังกฤษ). Leela Prakashana.