โกฬิกโกฏ
โกฬิกโกฏ แคลิคัต | |
---|---|
ตามเข็มจากบน: ห้างฮีไลต์, ป้ายรถ KSRTC, มินิบายพาส, หุบเขากักกายัม, อ่าวจาลิยัม, หาดโกฬิกโกฏ, ไอไอเอ็มโกฏิกโกฏ, ทิวนครบริเวณริมหาด | |
สมญา: | |
พิกัด: 11°15′N 75°46′E / 11.25°N 75.77°E | |
ประเทศ | อินเดีย |
รัฐ | เกรละ |
อำเภอ | โกฬิกโกฏ |
การปกครอง | |
• ประเภท | เทศบาล |
• นายกเทศบาล | Beena Philip (CPI (M)) |
พื้นที่[4] | |
• มหานคร | 231 ตร.กม. (89 ตร.ไมล์) |
• รวมปริมณฑล | 518 ตร.กม. (200 ตร.ไมล์) |
ความสูง | 1 เมตร (3 ฟุต) |
ประชากร (2011) | |
• มหานคร | 1,808,056 คน |
• ความหนาแน่น | 7,800 คน/ตร.กม. (20,000 คน/ตร.ไมล์) |
• รวมปริมณฑล[5] | 3,091,984 คน |
เขตเวลา | UTC+5:30 (IST) |
PIN | 673 xxx |
รหัสโทรศัพท์ | 91 (0) 495 , 496 |
ทะเบียนพาหนะ | KL 11, KL 18, KL 56, KL 57, KL 76, KL 77, KL 85, KLD & KLZ (Historical) |
สัดส่วนเพศ | 1.093 ♀/♂[6] |
การรู้หนังสือ | 96.8%[6] |
เว็บไซต์ | www |
โกฬิกโกฏ (อักษรโรมัน: Kozhikode, มลยาฬัม: കോഴിക്കോട്; koḻikkoṭ; แม่แบบ:IPA-ml) หรืออีกชื่อในภาษาอังกฤษว่า แคลิคัต (อักษรโรมัน: Calicut) เป็นนครบนชายฝั่งมะละบาร์ รัฐเกรละ ประเทศอินเดีย มีประชากรรวมทั้งปริมณฑลมากกว่า 2 ล้านคน ถือเป็นเขตมหานครที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของเกรละ และที่ 19 ในประเทศ[7] โกฬิกโกฏจัดเป็นนครระดับสองโดยรัฐบาลอินเดีย[8]
โกฬิกโกฏถือเป็นเมืองใหญ่สุดในภูมิภาคมะละบาร์ และเป็นราชธานีของแคว้นมะละบาร์ในสมัยใต้ปกครองอังกฤษ ในสมัยโบราณและยุคกลาง โกฬิกโกฏได้รับการขนานนามเป็น "นครแห่งเครื่องเทศ" เนื่องมาจากบทบาทสำคัญของเมืองในฐานะจุดค้าขายเครื่องเทศ[1] และในสมัยโบราณเป็นราชธานีของชาวสมูติรี ท่าเรือที่โกฏิกโกฏเป็นดั่งประตูสู่ชายฝั่งอินเดียใต้ในยุคกลาง ให้กับนักเดินเรือชาวจีน เปอร์เซีย และอาหรับ ตลอดถึงชาวยุโรป ข้อมูลจากการศึกษาของอินดิคัสอะนาลัยติกส์จากปี 2009 ระบุให้โกฬิกโกฏเป็นเมืองที่ดีที่สุดสำหรับการอยู่อาศัยอันดับสองของประเทศอินเดียจากการศึกษาบริบทของผู้อยู่อาศัย รายรับ และการลงทุน[9]
ศัพทมูล
[แก้]ที่มาแน่ชัดของชื่อโกฏิกโกฏไม่เป็นที่ทราบชัดเจน ข้อมูจากหลายแหล่งเชื่อว่าชื่อนี้มาจากคำว่า โกยิล-โกฏ ซึ่งแปลว่า วังอันมีป้อมล้อมรอบ[10] โกยิล เป็นคำในภาษามลยาฬัมและภาษาทมิฬ ในปัจจุบันนิยมใช้เรียกโบสถ์พราหมณ์ ส่วนในชื่อนี้อาจหมายถึงฏาฬีศิวโกยิล[11] ต่อมาชื่อนี้จึงกร่อนเหลือ โกฬิโกฏ หรือชาวอาหรับเรียกว่า กาลิกูต (Qāliqūṭ)[12] ที่ซึ่งกลายมาเป็นรูปภาษาอังกฤษว่า แคลิคัต (Calicut)[13] ในเอกสารของจีนโบราณเรียกเมืองนี้ว่า จูฟันจี้ (จีน: 诸番志; zhū fān zhì) ส่วนชาวทมิฬเรียกว่า กัฬฬิโกฏไฏ (Kallikottai) [14]
คำว่า คาลิโก ซึ่งเป็นคำเรียกชนิดหนึ่งของผ้าฝ้ายทอมือชั้นดีที่ในอดีตส่งออกมาจากโกฬิกโกฏ ที่ซึ่งต่อมาถูกนำมาใช้เรียกแมวสามสีหรือแมวคาลิโก เข้าใจว่าน่าจะมาจากคำว่า Calicut[15][16][17]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Lectures 26-27". 16 July 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 July 2009. สืบค้นเมื่อ 22 June 2019.
- ↑ M. G. S. Narayanan (2006). The City of Truth Revisited. University of Calicut. p. 350. ISBN 978-8177481044.
- ↑ "Kozhikode to be 'city of sculptures'". The Hindu. 6 June 2012.
- ↑ "ആമുഖം | കോഴിക്കോട് മുനിസിപ്പല് കോര്പ്പറേഷന്". kozhikodecorporation.lsgkerala.gov.in.
- ↑ "Urban Agglomerations/Cities having population 1 million and above" (PDF). The Registrar General & Census Commissioner, India. สืบค้นเมื่อ 19 November 2011.
- ↑ 6.0 6.1 "Provisional Population Totals, Census of India 2011; Cities having population 1 lakh and above" (PDF). Office of the Registrar General & Census Commissioner, India. สืบค้นเมื่อ 26 March 2012.
- ↑ "Urban Agglomerations/Cities having population 1 million and above" (PDF). Office of the Registrar General & Census Commissioner, India. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 15 December 2011.
- ↑ "Tier I and Tier II Cities of India, Classification of Indian Cities". Mapsofindia.com. สืบค้นเมื่อ 1 March 2022.
- ↑ "Best cities to live, invest and earn in". Ibnlive.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-24. สืบค้นเมื่อ 23 September 2009. Indicus considered six parameters: health, education, environment, safety, public facilities and entertainment
- ↑ Menon, A. Sreedhara (1965). Kerala District Gazetteers: Kozhikode - Gazetteer of India, Volume 5 of Kerala District Gazetteers, Kerala (India) . Superintendent of Govt. Presses.
- ↑ Menon, A. Sreedhara (2011). Kerala History and Its Makers. DC Books. p. 252. ISBN 9788126437825.
- ↑ Hermann Kulke, Dietmar Rothermund (2010). "18. Ibn Battuta: International Trade at the Malabar Coast". A History of India. Routledge. ISBN 9780415485432. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 October 2015. สืบค้นเมื่อ 4 September 2015.
Thence we travelled to the town of Qāliqūṭ. [Calicut], which is one of the chief ports in Mulaibār.
- ↑ Ayyar, K. V. Krishna (1938). The Zamorins of Calicut: From the Earliest Times Down to A.D. 1806. Publication Division, University of Calicut; University of Michigan.
- ↑ Chandran 2018, p. 366.
- ↑ Encyclopædia Britannica (2008). calico
- ↑ "You searched for calico, Muslin, gauze".
- ↑ "Calico definition and meaning". Collins English Dictionary. สืบค้นเมื่อ 10 February 2023.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ โกฏิกโกฏ