ข้ามไปเนื้อหา

ปลด ปลดปรปักษ์ พิบูลภานุวัธน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ขุนปลดปรปักษ์)
ปลด ปลดปรปักษ์ พิบูลภานุวัธน์
รัฐมนตรีที่ไม่ได้ประจำกระทรวง
ดำรงตำแหน่ง
28 มิถุนายน พ.ศ. 2492 – 16 มกราคม พ.ศ. 2493
นายกรัฐมนตรีจอมพล แปลก พิบูลสงคราม
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
16 มกราคม พ.ศ. 2493 – 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494
นายกรัฐมนตรีจอมพล แปลก พิบูลสงคราม
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด13 มิถุนายน พ.ศ. 2445
อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
เสียชีวิต22 ธันวาคม พ.ศ. 2496

พลโท ปลด ปลดปรปักษ์ พิบูลภานุวัธน์ หรือ ขุนปลด ปรปักษ์ เป็นอดีต รัฐมนตรีที่ไม่ได้ประจำกระทรวง อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลจอมพลแปลก พิบูลสงคราม อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนคร

ประวัติ

[แก้]

ปลด ปลดปรปักษ์ พิบูลภานุวัธน์ เป็นบุตรของนายฟื้น กับนางปุ่น ภาณุสะวะ เกิดเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2445 ที่อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เขาสมรสกับนางแอร่ม (สกุลเดิม ฉายอุไรกร) มีบุตรธิดา 6 คน

พล.ท.ปลด เข้ารับการศึกษาในโรงเรียนนายร้อยทหารบก เมื่อปี พ.ศ. 2461 ได้รับยศเป็นนายสิบตรีในกรมยุทธศึกษาทหารบก เมื่อปี พ.ศ. 2465 จนจบชั้นสูงสุดของโรงเรียนนายร้อยทหารบก ในปี พ.ศ. 2466 จึงเข้าประจำกรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ จนได้เลื่อนยศและดำรงตำแหน่งสำคัญ อาทิ เจ้ากรมป้องกันต่อสู้อากาศยาน ผู้บังคับการมณฑลทหารบกที่ 1 ตำแหน่งสุดท้ายคือ ประจำกรมเสนาธิการทหาร อัตราพลตรี

ในปี พ.ศ. 2477 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 2 ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 1[1] และเป็นราชองครักษ์เวร ในปี พ.ศ. 2480 และได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 2 อีกสมัย ในปี พ.ศ. 2483 ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 3 และเป็นสมาชิกในพฤฒสภา พ.ศ. 2489[2]

ในปี พ.ศ. 2492 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีที่ไม่ประจำกระทรวง[3] และในปีต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม[4] และในปี พ.ศ. 2492 พล.ท.ปลด ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนคร ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2492 และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ในปี พ.ศ. 2494[5] รวมทั้งได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2495 จนกระทั่งถึงแก่อนิจกรรมในตำแหน่งดังกล่าว

พล.ท.ปลด เคยปฏิบัติราชการในการสงครามถึง 2 ครั้ง คือ สงครามอินโดจีน พ.ศ. 2483 และสงครามมหาเอเชียบูรพา พ.ศ. 2488[6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. แต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 2 ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 1
  2. วุฒิสภา ชุดที่ ๑ (สมาชิกพฤฒสภา พ.ศ. ๒๔๘๙)[ลิงก์เสีย]
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง (จำนวน ๗ ราย)
  5. ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ ๒
  6. วิวัฒนาการแห่งวัฒนธรรม เก็บถาวร 2021-10-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนหนังสือในงานพระราชทานเพลิงศพ พลโท 'ปลด ปลดปรปักษ์ พิบูลภานุวัธน์
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๖๖ ตอนที่ ๖๘ ง หน้า ๕๕๓๓, ๒๐ ธันวาคม ๒๔๙๒
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๕๙ ตอนที่ ๖๑ ง หน้า ๒๑๐๙, ๑๘ กันยายน ๒๔๘๕
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๙๑๔, ๒๙ เมษายน ๒๔๘๔
  10. ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๒๕๒, ๗ ตุลาคม ๒๔๗๗
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๕ ง หน้า ๒๗๘๗, ๓๑ สิงหาคม ๒๔๘๖
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๕๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๐๓๖, ๕ ตุลาคม ๒๔๘๒