การเสกสมรสระหว่างราชวงศ์
การเสกสมรสระหว่างราชวงศ์ (อังกฤษ: royal intermarriage) คือการแต่งงานระหว่างสมาชิกของราชวงศ์ผู้ปกครอง[n 1]สองราชวงศ์ ซึ่งในอดีตถือเป็นยุทโธบายทางการทูตที่ใช้กันโดยทั่วไปเพื่อผลประโยชน์ของชาติ ในบางครั้งการเสกสมรสนี้เกิดขึ้นด้วยการบังคับใช้กระบวนการทางกฎหมายต่อบุคคลผู้สืบเชื้อสายราชวงศ์ และในหลาย ๆ ครั้งเกี่ยวข้องกับนโยบายทางการเมืองและ/หรือขนบธรรมเนียมของระบอบราชาธิปไตยเสียเป็นส่วนใหญ่
ในทวีปยุโรป การเสกสมรสในลักษณะนี้เป็นที่แพร่หลายอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงตั้งแต่สมัยกลางจนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ในขณะที่หลักฐานของการเสกสมรสระหว่างราชวงศ์ในส่วนอื่น ๆ ของโลก สามารถสืบค้นย้อนไปได้ไกลที่สุดถึงยุคสัมฤทธิ์[1] ซึ่งบ่อยครั้งที่พระมหากษัตริย์ในอดีตมักจะพยายามแผ่ขยายราชวงศ์ของพระองค์ออกไปทั้งในและนอกประเทศ[2] ดังนั้นสายสัมพันธ์ทางเครือญาติซึ่งเกิดจากการเสกสมรสนี้ จึงเป็นปัจจัยที่ช่วยทั้งกระตุ้นและยับยั้งความขัดแย้งและการรุกรานระหว่างรัฐ[3] ทั้งยังช่วยริเริ่ม ส่งเสริม และรับประกันสันติภาพระหว่างรัฐได้อีกด้วย นอกจากนี้สายสัมพันธ์ทางเครือญาติจากการเสกสมรสยังสามารถรักษามิตรไมตรีของสองราชวงศ์ ที่ต่างพยายามหลีกเลี่ยงภัยคุกคามจากการรุกรานและความขัดแย้งอันมีชนวนเหตุมาจากการยุยงของราชวงศ์ที่สาม[3] พร้อมเสริมสร้างโอกาสที่จะผนวกรวมดินแดนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของตนจากการอ้างสิทธิ์ทางกฎหมายเหนือราชบัลลังก์ หรือแม้กระทั่งการอ้างสิทธิ์เหนือส่วนหนึ่งของรัฐ เช่น อาณานิคม ผ่านการรับช่วงสืบทอดอำนาจการปกครองในกรณีที่รัฐนั้นเกิดปัญหาไร้รัชทายาทสืบทอดราชบัลลังก์ หรือในกรณีที่พระมหากษัตริย์องค์ก่อนหน้าไม่มีรัชทายาทเพศชายไว้สืบทอดราชสมบัติโดยปราศจากข้อกังขาได้
ในบางส่วนของทวีปยุโรป ราชวงศ์ต่าง ๆ ยังคงนิยมเสกสมรสระหว่างกันเป็นปกติ (สมาชิกราชวงศ์เสกสมรสกับตระกูลขุนนางต่าง ๆ ภายในรัฐ) ไปจนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 16 และนับแต่นั้นเป็นต้นมา จึงเริ่มหันมานิยมการเสกสมรสระหว่างราชวงศ์ของรัฐอธิปไตยต่าง ๆ มากขึ้น แต่ในส่วนอื่น ๆ ของโลก การเสกสมรสเช่นนี้กลับได้รับความนิยมน้อยกว่ามากและเริ่มลดจำนวนลงตามกาลเวลาที่ผ่านไป หรือแปรเปลี่ยนไปตามขนบธรรมเนียมและนโยบายการต่างประเทศในขณะนั้น
การเสกสมรสในฐานะนโยบายการต่างประเทศ
[แก้]ในอุดมคติของวัฒนธรรมตะวันตกร่วมสมัย การเสกสมรสคือสายสัมพันธ์อันเป็นเอกลักษณ์ระหว่างคู่รักสองคน ในขณะที่ครอบครัวซึ่งสายเลือดและการสืบสกุลคือจุดศูนย์กลางของอำนาจและมรดกตกทอด (เช่น พระราชวงศ์ของกษัตริย์) มักมองการแต่งงานในรูปแบบที่ต่างออกไป บ่อยครั้งที่มักจะมีภาระความรับผิดชอบทางการเมืองหรือที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับความรักใคร่ให้ต้องปฏิบัติตาม ดังนั้นว่าที่คู่ครองในอนาคตจึงต้องได้รับการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนในรายละเอียดเกี่ยวกับฐานะความมั่งคั่งและอำนาจบารมี เป็นผลให้การเสกสมรสด้วยเหตุผลทางการเมือง เศรษฐกิจ หรือการทูต คือรูปแบบที่พบเห็นได้โดยทั่วไปในชนชั้นผู้ปกครองของยุโรปมานานนับศตวรรษ[4]
ทวีปยุโรป
[แก้]สมัยกลางและสมัยใหม่ช่วงต้น
[แก้]การเลือกคู่อภิเษกสมรสอย่างถี่ถ้วนมีความสำคัญต่อการดำรงสถานะราชวงศ์ เช่น ในดินแดนบางแห่ง หากเจ้าชายหรือพระราชาเสกสมรสกับสามัญชนผู้ไม่มีเชื้อสายราชวงศ์ และแม้ว่าบุตรธิดาคนแรกอันประสูติแด่เจ้าชายหรือพระราชาจะเป็นรับรู้กันโดยทั่วไปแล้วก็ตาม บุตรธิดาคนดังกล่าวอาจไม่มีสิทธิ์อ้างตนเป็นเชื้อขัตติยราชสกุลตามพระบิดาได้เลย[4]
ตามประเพณีแล้ว การเสกสมรสระหว่างราชวงศ์มีปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบสำคัญหลายประการ เช่น ความกว้างใหญ่ของอาณาเขตพื้นที่ที่ราชวงศ์นั้นปกครองหรือควบคุมอยู่[4] หรือปัจจัยที่เกี่ยวข้องอีกประการหนึ่งก็คือเสถียรภาพในการปกครองดินแดนของตน เนื่องจากราชวงศ์ต่าง ๆ มักมีท่าทีบ่ายเบี่ยงหากอีกราชวงศ์ที่จะร่วมเสกสมรสด้วยนั้นเผชิญกับความไม่แน่นอนในการปกครอง[4] พันธมิตรทางการเมืองก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญ เพราะการเสกสมรสเช่นนี้คือตัวแปรสำคัญที่จะช่วยผูกมัดเอาสองราชวงศ์และประเทศเข้าไว้ด้วยกัน ทั้งในยามสงบและยามศึกสงคราม อีกทั้งยังเป็นตัวแปรที่ช่วยตัดสินความเป็นไปทางการเมืองครั้งสำคัญ ๆ ได้อีกด้วย[4][5]
นอกจากนี้การเสกสมรสระหว่างราชวงศ์ยังหมายถึงโอกาสที่ดินแดนจะตกไปอยู่การครอบครองของราชวงศ์อื่นอีกด้วย เช่นในกรณีที่รัชทายาทลำดับแรกสุดผู้ประสูติแด่พระราชบิดา-มารดาซึ่งฝ่ายหนึ่งสืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์ต่างชาติ[6][n 2][n 3] เช่นในกรณีของราชวงศ์ฮับส์บูร์ก ที่แผ่ขยายอิทธิพลของตนผ่านการเสกสมรสกับราชวงศ์ต่าง ๆ และอภิสิทธิ์ทางการเมืองเหนือดินแดนที่ต่อมารวมกันเป็นสวิตเซอร์แลนด์ในปัจจุบัน และในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 ราชวงศ์นี้ยังมุ่งเน้นนโยบายการเสกสมรสกับราชวงศ์ในอัลซาซบนและชวาเบีย[7] ซึ่งนโยบายการรวมดินแดนผ่านการเสกสมรสเช่นนี้ประสบความสำเร็จอย่างมาก จนก่อให้เกิดคำขวัญในภาษาละตินว่า Bella gerant alii, tu, felix Austria, nube! ("ปล่อยให้ผู้อื่นทำศึกสงครามไป ส่วนเธอ, ออสเตรียผู้แสนสุข, จงเสกสมรส!")[8]
แต่ในบางกรณี พระมหากษัตริย์บางพระองค์ก็จะทรงทำทุกวิถีทางเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเสกสมรสระหว่างราชวงศ์ เช่นในกรณีของเจ้าหญิงมาเรีย เทเรส พระราชธิดาในพระเจ้าเฟลีเปที่ 4 แห่งสเปน เมื่อเสกสมรสกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ทรงถูกบังคับให้สละราชสิทธิ์ในการสืบราชบัลลังก์สเปน[9] และในบางกรณีเมื่อพระมหากษัตริย์หรือรัชทายาทผู้มีสิทธิโดยตรงยอมเสกสมรสแลกกับข้อตกลงพิเศษ (บางครั้งมาในรูปแบบสนธิสัญญา) จะมีการเจรจาตกลงในประเด็นการสืบราชสมบัติไว้ล่วงหน้า เช่น ข้อตกลงในการเสกสมรสระหว่างพระเจ้าเฟลีเปที่ 2 แห่งสเปน และพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษ ที่กำหนดไว้ว่ามรดกจากฝั่งพระมารดา เช่น เบอร์กันดีและกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ จะถูกมอบให้แก่พระราชโอรส-ธิดาของทั้งสองพระองค์ในอนาคต แต่มรดกในฝั่งของพระบิดา อันประกอบไปด้วยสเปน, เนเปิลส์, ซิซิลี และมิลาน จะตกทอดไปยังดอน การ์โลส พระราชโอรสองค์แรกในพระเจ้าเฟลีเปกับพระนางมารีอา มานูเอลาแห่งโปรตุเกส ซึ่งหากดอน การ์โลส สิ้นพระชนม์โดยปราศจากรัชทายาทแล้ว มรดกฝั่งพระบิดาจึงจะตกทอดไปยังพระราชโอรส-ธิดา อันประสูติจากการเสกสมรสครั้งที่สองกับพระนางแมรี[10] ในทางกลับกัน การเสกสมรสระหว่างพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งสกอตแลนด์ กับพระเจ้าฟร็องซัวที่ 2 แห่งฝรั่งเศส (พระราชโอรสและรัชทายาทของพระเจ้าอองรีที่ 2) ในปี พ.ศ. 2101 อันเป็นผลมาจากสนธิสัญญาฝรั่งเศส-สกอตแลนด์ กำหนดว่าหากพระราชินีนาถแมรีสวรรคตโดยปราศจากรัชทายาท จะส่งผลให้ราชบัลลังก์สกอตแลนด์ถูกรวมเข้ากับราชบัลลังก์ฝรั่งเศส[10]
ศาสนามีสายสัมพันธ์อันแนบแน่นกับวงการเมืองของยุโรป เช่น บทบาทสำคัญในระหว่างการเจรจาเพื่อจัดการเสกสมรสขึ้น การเสกสมรสระหว่างเจ้าหญิงฝรั่งเศส มาร์เกอริตแห่งวาลัว กับพระเจ้าอองรีที่ 3 แห่งนาวาร์ (ผู้นำฝ่ายอูเกอโนต์ในฝรั่งเศส) ณ กรุงปารีส พ.ศ. 2105 ปรากฏชัดแจ้งว่าคือความพยายามในการ กระชับมิตร ระหว่างฝ่ายคาทอลิกและฝ่ายโปรเตสแตนท์ในฝรั่งเศส แต่ผลแท้จริงกลับเป็นเพียงกลอุบายลวงดังปรากฏเป็นเหตุการสังหารหมู่วันเซนต์บาโทโลมิว[11] และภายหลังการปฏิรูปศาสนาของอังกฤษ คู่เสกสมรสระหว่างพระมหากษัตริย์อังกฤษกับเจ้าหญิงในรีตโรมันคาทอลิกมักไม่เป็นที่นิยม โดยเฉพาะในกรณีที่พระราชินีไม่ทรงยินยอมที่จะเปลี่ยนไปเข้ารีตโปรเตสแตนท์หลังการเสกสมรส หรืออย่างน้อยที่สุดทรงแอบประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของตนแบบลับ ๆ[n 4] ซึ่งต่อมามีการผ่านพระราชบัญญัติว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ในปี พ.ศ. 2243 ที่จำกัดสิทธิ์รัชทายาทผู้เสกสมรสกับชาวคาทอลิกไม่ให้สืบราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษ[13] ส่วนราชวงส์ผู้ปกครองอื่น ๆ อาทิเช่น ราชวงศ์โรมานอฟ[n 5] และราชวงศ์ฮับส์บูร์ก[16] ที่ยินยอมให้มีการเสกสมรสก็ต่อเมื่อคู่เสกสมรสอยู่ในรีตเดียวกันอยู่แล้วหรือเต็มใจที่จะเปลี่ยนรีตของตน เช่น ในปี พ.ศ. 2469 เมื่อเจ้าหญิงอัสตริดแห่งสวีเดนเสกสมรสกับพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 3 แห่งเบลเยียม ที่ทรงตกลงว่าพระราชโอรส-ธิดาจะทรงได้รับการเลี้ยงดูแบบคาทอลิก แต่ไม่ได้กำหนดให้เจ้าหญิงอัสตริดต้องทรงสละรีตลูเทอแรนของพระองค์ แม้กระนั้นก็ยังทรงเปลี่ยนรีตในปี พ.ศ. 2473[17] นอกจากนี้คู่เสกสมรสบางคู่ถูกล้มเลิกเนื่องจากไม่สามารถประณีประนอมทางศาสนาได้ เช่น แผนการอภิเษกสมรสระหว่างพระเจ้าวลาดิสเลาสที่ 4 วาซาแห่งโปแลนด์ (โรมันคาทอลิก) กับเจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งพาลาทิเนต (ลูเทอแรน) ที่ไม่เป็นที่นิยมชมชอบเนื่องจากขุนนางส่วนมากของโปแลนด์เข้ารีตคาทอลิก ดังนั้นแผนดังกล่าวจึงถูกตีตกไปอย่างเงียบ ๆ[18]
ในบางครั้ง การเสกสมรสระหว่างราชวงศ์ผู้ปกครองกับบริวารใต้อาณัติก็สามารถพบเห็นได้ทั่วไป เช่น พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดธรรมสักขีกับอิดิธแห่งเวสเซ็กซ์ และพระเจ้าวลาดิสเลาสที่ 2 ยากีลโลแห่งโปแลนด์กับเอลิซาเบธ กรานอฟสกา ที่รู้จักกันโดยทั่วไปในยุโรปสมัยกลาง อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ราชวงศ์ต่าง ๆ เริ่มหันเข้าสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชเพื่อรักษาอำนาจบารมีและความจงรักภักดีในหมู่สมาชิกคู่แข่งของระบอบศักดินา สายสัมพันธ์ทางเครือญาติกับตระกูลขุนนางท้องถิ่นจึงค่อย ๆ หายไปในท้ายที่สุด เนื่องจากราชวงศ์ต่าง ๆ หันไปเสกสมรสกับราชวงศ์ต่างชาติมากขึ้น[19][20] การเสกสมรสกับบริวารใต้ปกครองเช่นนี้ฉุดดึงเอาพระมหากษัตริย์ลงมาอยู่ระดับเดียวกับประชาชนในปกครองของพระองค์เอง และมักจะก่อให้เกิดความมักใหญ่ใฝ่สูงของครองครัวสามัญชนคู่เสกสมรส ทั้งยังก่อให้เกิดเรื่องราวความอิจฉาริษยาและการดูหมิ่นเหยียดหยามในหมู่ขุนนางศักดินา ส่วนความคิดที่ว่าพระมหากษัตริย์ควรเสกสมรสกับราชวงศ์หรือพระมหากษัตริย์ต่างชาติเพื่อหลีกเลี่ยงและยุติภัยสงครามนั้น แต่เดิมแนวคิดนี้มีจุดกำเนิดมาจากลัทธิปฏิบัตินิยม ซึ่งในช่วงที่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์กำลังรุ่งเรือง แนวคิดนี้มีส่วนช่วยให้เกิดแนวความคิดที่ว่าการเสกสมรสระหว่างราชวงศ์ผู้ปกครองกับสามัญชนใต้ปกครองของตนคือข้อเสียเปรียบทั้งทางด้านสังคมและการเมือง ซ้ำยังเป็นการละเลยโอกาสที่จะเสกสมรสกับราชวงศ์ต่างชาติให้หลุดลอยไปโดยไร้ประโยชน์[21][22]
โรมันโบราณ
[แก้]แม้จักรพรรดิโรมันมักจะเสกสมรสกับสตรีชาวโรมันด้วยกัน แต่กระนั้นราชวงศ์ผู้ปกครองรัฐบริวารที่อยู่ใต้อาณัติของโรมในแถบตะวันออกใกล้และแอฟริกาเหนือก็มักจะจัดการเสกสรมรสระหว่างราชวงศ์ขึ้นเพื่อสั่งสมฐานอำนาจของตน[23] การเสกสมรสเหล่านี้มักจะต้องได้รับความเห็นชอบหรือในบางโอกาสจัดขึ้นตามพระราชโองการจากองค์จักรพรรดิ ฝ่ายโรมเห็นว่าการเสกสมรสเช่นนี้เท่ากับเป็นการเพิ่มพูนเสถียรภาพแก่บรรดารัฐบริวาร และช่วยป้องกันสงครามยิบย่อยที่จะเกิดขึ้นภายในท้องถิ่น อันจะส่งผลกระทบต่อสันติภาพโรมัน[24] เจ้าหญิงกลาฟีราแห่งแคปพาโดเชีย (Glaphyra of Cappadocia) ได้ชื่อว่าทรงตระเตรียมการเสกสมรสระหว่างราชวงศ์ถึงสามครั้งให้แก่ พระเจ้าจูบาที่ 2 แห่งนูมิเดีย, พระเจ้าอเล็กซานเดอร์แห่งยูเดีย และ เฮโรด อาร์เชเลาสแห่งซามาเรีย[25]
ตัวอย่างของการเสกสมรสเช่นในนี้ในสมัยโรมันได้แก่
- พระเจ้าโพเลมอนที่ 2 แห่งโพนตัส กับ เบเรนิซแห่งยูเดีย (ธิดาของเฮโรด อะกริปพาที่ 1)[26]
- พระเจ้าอะริสโตบูลัสที่ 4 แห่งยูเดีย กับ เบเรนิซแห่งยูเดีย (ธิดาของซาโลเม)[27]
- พระเจ้าอะริสโตบูลัส ไมเนอร์แห่งยูเดีย กับ ไอโอทาพาแห่งเอมีซา[28]
จักรวรรดิไบแซนไทน์
[แก้]แม้ว่าจักรพรรดิบางองค์อย่างจักรพรรดิจัสตินที่ 1 และจักรพรรดิจัสติเนียนที่ 1 จะเสกสมรสกับมเหสีผู้มีพื้นเพต่ำต่อย[n 6] แต่การเสกสมรสระหว่างราชวงศ์ก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติในจักรวรรดิไบแซนไทน์ ภายหลังการล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิล พ.ศ. 1747 ราชวงศ์ผู้ปกครองอย่างราชวงศ์ลาสคาริสและราชวงศ์พาลาโอโลกอสเห็นว่าเป็นการรอบคอบแล้วที่จะเสกสมรสกับราชวงศ์ต่างชาติ ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือการเสกสมรสระหว่างจักรพรรดิจอห์นที่ 3 ดูคาส วาตัทซีส กับพระนางคอนสแตนซ์ พระธิดาในจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เพื่อเสริมสร้างความเป็นพันธมิตรระหว่างกันให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น[31] ต่อมาจักรพรรดิมิคาเอลที่ 8 พาลาโอโลกอส ทรงเจริญสัมพันธไมตรีกับชาวมองโกลในปี พ.ศ. 1806 และจัดการเสกสมรสระหว่างพระธิดาของพระองค์กับข่านของมองโกลเพื่อเสริมสร้างสัมพันธไมตรีดังกล่าว ประกอบด้วย เจ้าหญิงยูฟรอไซน์ พาลาโอโลกีนากับนอไก ข่านแห่งโกลเดนฮอร์ด และเจ้าหญิงมารีอา พาลาโอโลกีนากับอะบาคา ข่านแห่งจักรวรรดิข่านอิล[32] ในช่วงท้ายคริสต์ศตวรรษดังกล่าว จักรพรรดิอันโดรนิคอสที่ 2 พาลาโอโลกอส ก็ทรงเจริญสัมพันธไมตรีกับกาวานแห่งจักรวรดิข่านอิล รวมถึงตอคตาและอุซเบก ข่านแห่งโกลเดนฮอร์ด นำมาซึ่งการเสกสมรสระหว่างพระธิดาของพระองค์กับบรรดาข่านเหล่านั้น[33]
ผู้ปกครองแห่งจักรวรรดิเทรบิซอนด์ได้ชื่อว่ามักจะจัดการเสกสมรสระหว่างพระธิดาของตนกับรัฐข้างเคียงในฐานะการเจริญสัมพันธไมตรีทางการทูต[n 7] เจ้าหญิงธีโอโดรา มากาเล คอมเนเน พระธิดาในจักรพรรดิจอห์นที่ 4 เสกสมรสกับอุซซุน ข่าน เจ้าแห่งอัค โคยุนลู เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างกัน ซึ่งแม้ว่าพระนางธีโอโดรา ผู้เป็นชาวคริสต์เคร่งศาสนาและจำต้องมาพำนักอยู่ในรัฐอิสลาม จะสามารถแผ่ขยายอิทธิพลของตนเหนือราชกิจของพระสวามีทั้งในและนอกประเทศได้สำเร็จ แต่สัมพันธไมตรีดังกล่าวจะไม่อาาจยับยั้งการล่มสลายของจักรวรรดิเทรบิซอนด์ได้ในท้ายที่สุดก็ตาม[35]
และแม้ว่าการเสกสมรสเช่นนี้จะเป็นการเสริมสร้างสถานะของจักรวรรดิตามปกติ แต่ก็ปรากฏการเสกสมรสข้ามราชวงศ์ที่เป็นการบั่นทอนเสถียรภาพพระราชอำนาจขององค์จักรพรรดิเป็นบางกรณี เช่น เมื่อจักรพรรดิอันโดรนิคอสที่ 2 พาลาโอโลกอส เสกสมรสกับพระเมหสีองค์ที่ 2 พระนางไอรีนแห่งมอนต์เฟอร์แรต เนื่องจากในปี พ.ศ. 1827 พระนางสร้างความแตกแยกในจักรวรรดิจากพระประสงค์ที่จะให้พระโอรสของตนสืบทอดราชสมบัติร่วมกับเจ้าชายมิคาเอล พระโอรสอันประสูติแด่การเสกสมรสครั้งแรก พระนางยังทรงขู่ด้วยว่าจะเสด็จออกจากกรุงคอนสแตนติโนเปิลอันเป็นเมืองหลวง ไปตั้งราชสำนักของตน ณ เมืองรองของจักรวรรดิอย่างเทสซาโลนีกา[31]
หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
[แก้]ในสมัยปัจจุบัน การเสกสมรสระหว่างราชวงศ์ลดจำนวนลงจากสมัยก่อนมาก โดยเฉพาะในบรรดาราชวงศ์ของยุโรป เนื่องจากสมาชิกราชวงศ์ในยุโรปหันมาเสกสมรสกับสมาชิกตระกูลขุนนางท้องถิ่นมากขึ้น เช่นในกรณีของพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร, เจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์, พระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2 แห่งเบลเยียม และเจ้าชายฮันส์-อาดัมที่ 2 แห่งลิกเตนสไตน์ หรือเสกสมรสกับสมาชิกตระกูลขุนนางที่ถูกล้มเลิก เช่น พระราชาธิบดีฟีลิปแห่งเบลเยียม, พระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก และพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์ หรือแม้กระทั่งกับสามัญชนธรรมดา เช่น พระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟแห่งสวีเดน, พระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5 แห่งนอร์เวย์, แกรนด์ดยุกอ็องรีแห่งลักเซมเบิร์ก, พระราชาธิบดีเฟลีเปที่ 6 แห่งสเปน, พระราชาธิบดีวิลเลม-อเล็กซานเดอร์แห่งเนเธอร์แลนด์, เจ้าชายวิลเลียม ดยุกแห่งเคมบริดจ์ และเจ้าชายอัลแบร์ที่ 2 แห่งโมนาโก
ในยุโรป มีเพียงพระราชาธิบดีควน การ์โลสที่ 1 แห่งสเปน, พระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร และเจ้าชายอาโลอิส เจ้าชายรัชทายาทแห่งลิกเตนสไตน์ เท่านั้นที่เสกสมรสกับสมาชิกราชวงศ์ต่างชาติ[n 8][36]
จึงกล่าวได้ว่าการเสกสมรสต่างราชวงศ์ยังคงเกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน ดังตัวอย่างต่อไปนี้
การเสกสมรสระหว่างสองราชวงศ์ปกครอง
[แก้]การเสกสมรสกับราชวงศ์ปกครอง
[แก้]- เจ้าหญิงการอลีนแห่งโมนาโก และ เจ้าชายแอนสท์ ออกุสแห่งฮาโนเวอร์ (พ.ศ. 2542)[51]
- เจ้าหญิงดอญามารีอาแห่งบูร์บง และ อาร์ชดยุกซีเมอ็องแห่งออสเตรีย (พ.ศ. 2539)[52]
- เจ้าชายอาโลอิส เจ้าชายรัชทายาทแห่งลิกเตนสไตน์ และ ดัชเชสโซฟีในบาวาเรีย (พ.ศ. 2536)[36]
- เจ้าหญิงอัสตริดแห่งเบลเยียม และ อาร์ชดยุกลอเรนซ์แห่งออสเตรีย-เอสเต (พ.ศ. 2527)[53]
- เจ้าหญิงมารี-อัสตริดแห่งลักเซมเบิร์ก และ อาร์ชดยุกคาร์ลคริสตีอันแห่งออสเตรีย (พ.ศ. 2525)[54]
- เจ้าหญิงบาร์บาราแห่งลิกเตนสไตน์ และ เจ้าชายอเล็กซานเดอร์แห่งยูโกสลาเวีย (พ.ศ. 2516)[55]
- เจ้าหญิงเบเนดิกเทอแห่งเดนมาร์ก และ เจ้าชายริชาร์ด เจ้าชายที่ 6 แห่งไซน์-วิตเกนสไตน์-เบอร์เลบูร์ก (พ.ศ. 2511) [56]
- เจ้าหญิงไอรีนแห่งเนเธอร์แลนด์ และ การ์โลส อูโก ดยุกแห่งปาร์มา (พ.ศ. 2507)[57]
- เจ้าหญิงบิร์กิตตาแห่งสวีเดน และ เจ้าชายโยฮันน์ จอร์จแห่งโฮเฮนโซลเลิร์น (พ.ศ. 2504)[58]
- เจ้าหญิงอลิกซ์แห่งลักเซมเบิร์ก และ อ็องตวน เจ้าชายที่ 13 แห่งลีเญอ (พ.ศ. 2493)[59]
กรณีตัวอย่างในปัจจุบัน
[แก้]- เจ้าชายคะนุด เจ้าชายรัชทายาทแห่งเดนมาร์ก และ เจ้าหญิงคาโรไลน์-มาทิลด์แห่งเดนมาร์ก (พ.ศ. 2476) [n 9]
และเนื่องจากการเสกสมรสระหว่างราชวงศ์นี้ ทำให้พระประมุขยุโรปในปัจจุบัน 10 พระองค์มีบรรพบุรุษพระองค์เดียวกันคือโยฮัน วิลเลม ฟรีโซ เจ้าชายแห่งออร์เรนจ์[61]
พระนาม | ประเทศ | ชั้นพระญาติ | บรรพบุรุษร่วมพระองค์ล่าสุด | วันสวรรคตของบรรพบุรุษ | ลำดับรุ่นทายาทนับจาก โยฮัน วิลเลม ฟรีโซ |
---|---|---|---|---|---|
พระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 | สหราชอาณาจักร | - | - | - | รุ่นที่ 9 |
พระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5 | นอร์เวย์ | ชั้นที่ 2 | พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร | 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2453 | รุ่นที่ 10 |
พระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 | เดนมาร์ก | ชั้นที่ 3 | พระเจ้าคริสเตียนที่ 9 แห่งเดนมาร์ก | 29 มกราคม พ.ศ. 2449 | รุ่นที่ 10 |
พระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟ | สวีเดน | ชั้นที่ 3 | พระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร | 22 มกราคม พ.ศ. 2444 | รุ่นที่ 10 |
พระราชาธิบดีเฟลีเปที่ 6 | สเปน | ชั้นที่ 3 | พระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร | 22 มกราคม พ.ศ. 2444 | รุ่นที่ 11 |
พระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2 | เบลเยียม | ชั้นที่ 3 | พระเจ้าคริสเตียนที่ 9 แห่งเดนมาร์ก | 29 มกราคม พ.ศ. 2449 | รุ่นที่ 10 |
แกรนด์ดยุกอ็องรี | ลักเซมเบิร์ก | ชั้นที่ 3 | พระเจ้าคริสเตียนที่ 9 แห่งเดนมาร์ก | 29 มกราคม พ.ศ. 2449 | รุ่นที่ 10 |
พระราชาธิบดีวิลเลม-อเล็กซานเดอร์ | เนเธอร์แลนด์ | ชั้นที่ 5 | ดยุกฟรีดริชที่ 2 ออยเกินแห่งเวือร์ทเทิมแบร์ค | 25 ธันวาคม พ.ศ. 2340 | รุ่นที่ 10 |
เจ้าชายฮันส์-อาดัมที่ 2 | ลิกเตนสไตน์ | ชั้นที่ 7 | โยฮัน วิลเลม ฟรีโซ เจ้าชายแห่งออร์เรนจ์ | 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2254 | รุ่นที่ 10 |
เจ้าชายอาลแบร์ที่ 2 | โมนาโก | ชั้นที่ 7 | โยฮัน วิลเลม ฟรีโซ เจ้าชายแห่งออร์เรนจ์ | 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2254 | รุ่นที่ 11 |
ทวีปเอเชีย
[แก้]ไทย
[แก้]ในประวัติศาสตร์ ปรากฏการเสกสมรสในหมู่พระญาติของราชวงศ์จักรีหลายครั้ง[62] แต่น้อยครั้งที่จะปรากฏการเสกสมรสระหว่างพระราชวงศ์ไทยกับชาวต่างชาติ หรือแม้แต่กับเชื้อพระวงศ์ต่างชาติ เนื่องจากกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 หมวดที่ 11 ต้องห้ามมิให้เจ้านายเชื้อพระวงศ์ที่มีพระชายาเป็นชาวต่างประเทศได้สืบราชสันตติวงศ์[63]
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระญาติชั้นที่หนึ่ง (ตามแบบตะวันตก) กับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งทั้งสองพระองค์ต่างก็เป็นพระราชนัดดา (ในกรณีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว) และพระปนัดดา (ในกรณีของสมเด็จพระบรมราชินีนาถ) ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วยกันทั้งสองพระองค์[64] เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชายาหลายพระองค์ ในจำนวนนั้นมีศักดิ์เป็นพระขนิษฐาของพระองค์เอง เช่น สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา และสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี ซึ่งล้วนแล้วแต่มีพระบิดาร่วมกันคือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[65]
จีน
[แก้]แบบแผนการเสกสมรสในประวัติศาสตร์จีนเปลี่ยนแปลงไปตามแต่ละยุคสมัยของแต่ละราชวงศ์ ในช่วงราชวงศ์ถัง (พ.ศ. 1161 - 1147) พระจักรพรรดิทรงมักจะมอบพระธิดาให้ไปเสกสมรสกับผู้ปกครองอาณาจักรข่านอุยกูร์ เพื่อเสริมสร้างสัมพันธไมตรีพิเศษทางการค้าและการทหาร หลังจากที่อาณาจักรข่านสนับสนุนจีนในการปราบปรามกบฏอันลู่เชียน[66] ปรากฏเจ้าหญิงราชวงศ์ถังอย่างน้อย 3 พระองค์ที่ได้เสกสมรสกับพระเจ้าข่านในช่วง พ.ศ. 1301 ถึง พ.ศ. 1364 ก่อนที่สัมพันธไมตรีนี้จะถูกระงับลงชั่วคราวในปี พ.ศ. 1331 ซึ่งเชื่อกันว่ามีสาเหตุมากจากเสถียรภาพภายในจักรวรรดิจีนที่มั่นคงมาก จนส่งผลให้อาณาจักรข่านถูกลดบทบาทลง อย่างไรก็ตาม ด้วยภัยคุกคามจากทิเบตทางทิศตะวันตก จักรวรรดิจีนจึงต้องรื้อฟื้นความสัมพันธ์กับข่านอุยกูร์ขึ้นมาอีกครั้ง และจัดการเสกสมรสระหว่างเจ้าหญิงไท้เห๋อกับข่านบิลเกอ[66]
ส่วนพระจักรพรรดิของราชวงศ์ถัดมาอย่างราชวงศ์ซ่ง (พ.ศ. 1503 - 1822) มีแนวโน้มที่จะเสกสมรสกับสตรีจีนมากกว่าสตรีต่างชาติ แม้ว่าในช่วงราชวงศ์ถังพระจักรพรรดินิยมเสกสมรสกับสตรีสูงศักดิ์จากตระกูลขุนนาง แต่ในราชวงศ์ซ่งกลับไม่ได้ให้ความสำคัญกับยศฐาบรรดาศักดิ์ของสตรีที่จะมาเป็นพระมเหสีมากเท่าใดนัก[67] ประมาณกันว่ามีพระมเหสีราชวงศ์ซ่งจำนวนหนึ่งในสี่เท่านั้นที่มาจากตระกูลสูงศักดิ์ ส่วนจำนวนที่เหลือล้วนแล้วแต่มีพื้นเพต่ำต่อยมาก่อน ตัวอย่างเช่น จักรพรรดินีหลิว พระอัครมเหสีในจักรพรรดิซ่งเจินจง ที่เคยเป็นนักแสดงตามท้องถนนมาก่อน หรือพระมเหสีเหมียวในจักรพรรดิซ่งเหรินจง ผู้เป็นธิดาของพระนม (แม่นม) ของพระจักรพรรดิเอง[67]
ในช่วงราชวงศ์ชิง (พ.ศ. 2187 - 2455) พระจักรพรรดิทรงเลือกพระมเหสีจากหนึ่งในตระกูลของแปดกองธงเป็นหลัก (ระบบซึ่งแบ่งแยกตระกูลชาวแมนจูพื้นเมืองออกเป็นกลุ่มกอง)[68] เพื่อดำรงไว้ซึ่งความบริสุทธิ์ในเชื้อสายชาวแมนจูของราชวงศ์ ซึ่งหลังจากที่จักรพรรดิคังซี (พ.ศ. 2205 - 2265) เสด็จสวรรคต จักรพรรดิและเจ้าชายในรุ่นต่อมาก็ทรงถูกห้ามไม่ให้เสกสมรสกับสตรีที่ไม่ใช่ชาวแมนจู[69] แต่ไม่ได้จำกัดการเสกสมรสของเจ้าหญิงตามกฏนี้แต่ประการใด แม้กระนั้นก็ตาม เจ้าหญิงหลายพระองค์ก็ทรงถูกจัดการเสกสมรสกับเจ้าชายมองโกลอยู่เสมอ ๆ ตามแบบขนบราชวงศ์ก่อนหน้า เพื่อเสริมสร้างสัมพันธไมตรีทางการเมืองและการทหาร โดยเฉพาะในช่วงต้นของราชวงศ์ที่ปรากฏการเสกสมรสกับเจ้าชายมองโกลของพระธิดาในจักรพรรดิหนูเอ่อร์ฮาชื่อจำนวน 9 พระองค์ และพระธิดาในจักรพรรดิฉงเต๋อจำนวน 12 พระองค์[69]
ญี่ปุ่นและเกาหลี
[แก้]ในสมัยอาณาจักรชิลลา มีขนบธรรมเนียมที่จำกัดการสืบราชสมบัติไว้สำหรับเชื้อพระวงศ์ในชั้น ซองกอล (กระดูกศักดิ์สิทธิ์) โดยเฉพาะ ดังนั้นเชื้อพระวงศ์ที่มีบรรดาศักดิ์ในชั้นนี้จึงต้องรักษาไว้ซึ่งบรรดาศักดิ์ของตนด้วยการเสกสมรสกับเชื้อพระวงศ์หรือสมาชิกขุนนางในชั้นเดียวกัน เช่นเดียวกับวิถีปฏิบัติในทวีปยุโรปที่เชื้อพระวงศ์มักจะเสกสมรสกับเชื้อพระวงศ์ด้วยกันเองเพื่อคงไว้ซึ่งความบริสุทธิ์ในสายพระโลหิต[70]
ส่วนในญี่ปุ่น การเสกสมรสในหมู่เชื้อพระวงศ์ด้วยกันเองและกับเชื้อพระวงศ์ต่างชาติจากจักรวรรดิเกาหลีถือเป็นเรื่องปกติและไม่ได้สร้างความด่างพร้อยต่อสายพระโลหิตอันบริสุทธิ์แต่อย่างใด[71] ตามพงศาวดารโชะคุนิฮงงิ ซึ่งถูกเขียนขึ้นโดยพระราชโองการของพระจักรพรรดิจนสำเร็จครบถ้วนในปี พ.ศ. 1340 กล่าวว่าจักรพรรดิคัมมุที่ทรงปกครองตั้งแต่ พ.ศ. 1324 ถึง พ.ศ. 1349 มีพระราชมารดาเป็นพระสนมชาวเกาหลีนามว่า พระนางนิอิงะซะแห่งทะกะโนะ ผู้สืบเชื้อสายมาจากพระเจ้ามูรยองแห่งแพ็กเจ หนึ่งในสามราชอาณาจักรเกาหลี[71]
ในยุคสมัยใหม่ ในปี พ.ศ. 2463 มกุฎราชกุมารอีอึนแห่งเกาหลี เสกสมรสกับเจ้าหญิงมะซะโกะแห่งนะชิโมะโตะ และในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2474 เจ้าชายอีกอน พระราชนัดดาในจักรพรรดิโกจง เสกสมรสกับมะซึดะอิระ โยะซิโกะ พระญาติของเจ้าหญิงมะซะโกะ ซึ่งทางการญี่ปุ่นมองว่าการเสกสมรสระหว่างเชื้อพระวงศ์ญี่ปุ่น-เกาหลีเช่นนี้จะช่วยสร้างเสถียรภาพในการปกครองอาณานิคมเกาหลีของญี่ปุ่น ทั้งยังเป็นการรวมสายพระโลหิตของราชวงศ์ญี่ปุ่นเข้ากับราชวงศ์อีของเกาหลีอีกด้วย[71]
ทวีปแอฟริกา
[แก้]การเสกสมรสในหมู่เชื้อพระวงศ์เดียวกันก็ถือเป็นเรื่องปกติในแอฟริกากลางเช่นเดียวกัน[72] การเสกสมรสระหว่างราชวงศ์สวาซิแลนด์ ราชวงศ์ชาวซูลู และราชวงศ์ชาวเทมบู ในแอฟริกาใต้ก็สามารถพบเห็นได้เป็นการทั่วไป[73] เช่น ในปี พ.ศ. 2520 เซนานี แมนเดลา เชื้อพระวงศ์เทมบูและลูกสาวของอดีตประธานาธิบดีแอฟริกาใต้ เนลสัน แมนเดลา แต่งงานกับเจ้าชายทัมบูมูซี ดลามีนี พระอนุชาในพระราชาธิบดีอึมสวาตีที่ 3 แห่งสวาซิแลนด์[74]
กรณีตัวอย่างในประวัติศาสตร์การเสกสมรสระหว่างราชวงศ์ในแอฟริกา เช่น
- มันต์ฟอมบี ดลามีนี พระขนิษฐาในพระราชาธิบดีอึมสวาตีที่ 3 แห่งสวาซิแลนด์ และพระราชาธิบดีกูดวิลล์ ซเวเลตินีแห่งซูลู (พ.ศ. 2520)[75]
- จักรพรรดิอูมาร์ ตอลล์แห่งตูคูเลอร์ และพระธิดาในสุลต่านมูฮัมเม็ด เบลโลแห่งโซโคโท[76]
โลกมุสลิม
[แก้]อัล-อันดาลัส
[แก้]ในช่วงตั้งแต่การพิชิตอิสปาเนียของอุมัยยัด (Umayyad conquest of Hispania) จนถึงช่วงเรกองกิสตา การเสกสมรสระหว่างเชื้อพระวงศ์สเปนและรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยัดถือเป็นเรื่องปกติ การเสกสมรสครั้งแรก ๆ เช่นระหว่างอับด์ อัล-อะซิส อิบน์ มูซา และเอกิโลนา ในช่วงเข้าสู่คริสต์ศตวรรษที่ 8 ที่หวังจะช่วยให้การยึดครองคาบสมุทรไอบีเรียของฝ่ายมุสลิมมีความชอบธรรม[77] ส่วนการเสกสมรสในครั้งถัด ๆ มา มีจุดประสงค์ก็เพื่อตกลงในสนธิสัญญาการค้าระหว่างพระมหากษัตริย์ในศาสนาคริสต์และเคาะลีฟะฮ์มุสลิม[78] เช่น การเสกสมรสระหว่างพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 แห่งลีออนและคาสตีล กับเซอีดาแห่งเซวิลล์ โดยเชื่อกันว่าเชื้อพระวงศ์ยุโรปส่วนมากมีบรรพบุรุษที่สามารถสืบค้นย้อนไปถึงครอบครัวของศาสดามูฮัมหมัด แต่ข้อสันนิษฐานนี้ยังคงเป็นที่ถกเถียงอยู่ในปัจจุบัน[78]
จักรวรรดิออตโตมัน
[แก้]ในจักรวรรดิออตโตมัน สุลต่านและเจ้าชายหลายพระองค์ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 และ 15 นิยมเสกสมรสดับสมาชิกราชวงศ์ปกครองของรัฐข้างเคียง[79]โดยไม่สนใจในข้อจำกัดด้านศาสนา สุลต่านออตโตมันเสกสมรสกับทั้งชาวคริสต์และมุสลิมด้วยจุดประสงค์ทางการเมืองล้วน ๆ เนื่องจากออตโตมันรายล้อมไปด้วยรัฐข้างเคียงที่อาจเป็นศัตรูได้ในอนาคต เช่น ชาวคริสต์อย่างจักรวรรดิไบแซนไทน์หรือเซอร์เบีย หรือมุสลิมด้วยกันเองอย่างราชรัฐเบย์ลิกในอานาโตเลีย (Anatolian beyliks) ต่าง ๆ อาทิเช่น ดูลกาดิช, จาร์เมียนิดส์, ซารุคานิดส์ และคารามานิดส์ ดังนั้นการเสกสมรสระหว่างราชวงศ์จึงเป็นหนทางในสร้างสัมพันธไมตรีกับรัฐเหล่านี้[79] แต่ต่อมาในปี พ.ศ. 2047 การเสกสมรสกับราชวงศ์ต่างชาติดูเหมือนจะหยุดชะงักลง โดยปรากฏการเสกสมรสเช่นนี้ครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ. 1978 ระหว่างสุลต่านมูรัดที่ 2 กับมารา บรานโควิช พระราชธิดาในพระเจ้าดูราด บรานโควิชแห่งเซอร์เบีย ซึ่ง ณ เวลานี้ จักรวรรดิออตโตมันได้สั่งสมฐานอำนาจมากพอที่จะผนวกรวมหรือปราบปรามบรรดารัฐคู่แข่งในอดีตได้สำเร็จ การเสกสมรสกับราชวงศ์ต่างชาติในฐานะเครื่องมือด้านนโยบายการต่างประเทศจึงหมดความสำคัญลง[79]
เนื่องจากหลักศาสนาอิสลาม kafa'a ไม่สนับสนุนการแต่งงานกับบุคคลจากต่างศาสนาหรือจากต่างฐานันดร[n 10] ดังนั้นผู้ปกครองของชาติมุสลิมในบริเวณใกล้เคียงจึงไม่ยอมมอบธิดาของตนให้เสกสมรสกับเจ้าชายออตโตมันไปจนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 15 หลังจากที่จักรวรรดิออตโตมันสั่งสมอำนาจจนทวีความสำคัญขึ้นมา และด้วยหลักศาสนานี้เองที่ทำให้เจ้าชายออตโตมันสามารถเสกสมรสกับสตรีชาวคริสต์ได้อย่างอิสระ ในขณะที่เจ้าหญิงมุสลิมกลับถูกกีดกันไม่ให้เสกสมรสกับเจ้าชายชาวคริสต์[81]
หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
[แก้]ในยุคสมัยใหม่ ปรากฏการเสกสมรสระหว่างสมาชิกราชวงศ์ของรัฐอิสลาม เช่น จอร์แดน โมรอคโค ซาอุดิอาระเบีย และรัฐสมาชิกในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ดังตัวอย่างได้แก่
- พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวีแห่งจักรวรรดิอิหร่าน และ เจ้าหญิงเฟาซียะห์แห่งอียิปต์ (พ.ศ. 2482 - 2491)[81]
- เชคมุฮัมมัด บิน รอชิด อัลมักตูมแห่งดูไบ และ เจ้าหญิงฮายะ บินท์ อัล ฮุสเซนแห่งจอร์แดน (พ.ศ. 2547)[82]
- เจ้าชายมูฮัมหมัด อาลี เจ้าชายแห่งซาอิด พระราชโอรสในพระเจ้าฟูอัดที่ 2 แห่งอียิปต์ และ เจ้าหญิงโนอัล ซาฮีร์ ชาห์ พระราชปนัดดาในพระเจ้าโมฮัมเหม็ด ซาฮีร์ ชาห์แห่งอัฟกานิสถาน (พ.ศ. 2556)[83]
- สุลต่านอิบราฮิม อิสมาอิลแห่งยะโฮร์ และ รายาซาริธ โซเฟียแห่งเปรัก (พ.ศ. 2525)[84]
- เจ้าหญิงเดอร์รู เชห์วาร์ พระราชธิดาในสุลต่านอับดุล เมจิดที่ 2 และ อะซัม จาห์ โอรสในอะซาฟ จาห์ที่ 7 แห่งไฮเดอราบาด (พ.ศ. 2474)[85]
การเสกสมรสต่างฐานันดร
[แก้]ในช่วงเวลาหนึ่ง หลายราชวงศ์ถือปฏิบัติตามขนบการเสกสมรสต่างราชวงศ์อย่างเคร่งครัด เช่น ราชวงศ์เบอร์นาดอตต์ ราชวงศ์ฮับส์บูร์ก ราชวงศ์ซิซิลี ราชวงศ์บูร์บงในสเปน และราชวงศ์โรมานอฟ ถึงกับตรากฎประจำราชวงศ์ขึ้นเพื่อใช้เป็นระเบียบในการเสกสมรสกับต่างราชวงศ์[86] และให้ความสำคัญอย่างมากว่าเชื้อพระวงศ์จะต้องเสกสมรสกับบุคคลจากฐานันดรเดียวกัน (เช่น เชื้อพระวงศ์ต่างชาติ) ดังนั้นจึงมีการกีดกันแม้กระทั่งขุนนางคนโตที่สุดจากตระกูลศักดินาออกไป[87]
โดยทั่วไปแล้วการแต่งงานต่างฐานันดรคือการที่บุรุษจากตระกูลสูงแต่งงานกับสตรีจากฐานันดรที่ต่ำกว่า (เช่น ธิดาจากตระกูลขุนนางระดับล่างหรือตระกูลสามัญชน)[88] และตามปกติแล้ว บุตรที่เกิดจากการแต่งงานไม่สามารถอ้างสิทธิ์ในการสืบราชสกุล บรรดาศักดิ์ ฐานันดร หรือมรดกที่ยกให้ แต่บุตรเหล่านี้ถือว่าเป็นบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมายในประเด็นอื่น ๆ และถูกใช้ห้ามปรามไม่ให้มีการพหุสมรส[89]
กรณีตัวอย่างของการเสกสมรสต่างฐานันดร เช่น
- เจ้าชายอเล็กซานเดอร์แห่งเฮสส์และโดยไรน์ และ เคาน์เตสยูเลีย โฮเคอ (พ.ศ. 2394)[90]
- ดยุกอเล็กซานเดอร์แห่งเวือร์ทเทิมแบร์ค และ เคาน์เตสโกลดีน เรดี ฟอน คิส-เรด (พ.ศ. 2378)[91]
- แกรนด์ดยุกคอนสแตนติน ปาฟโลวิชแห่งรัสเซีย และ เคาน์เตสโยฮันนา กรุดนา-กรุดชินสกา (พ.ศ. 2339)[92]
- อาร์ชดยุกฟรันซ์ แฟร์ดีนันด์แห่งออสเตรีย และ เคาน์เตสโซฟี โชเต็ค ฟอน คอทโควา อุน โวงิน (พ.ศ. 2443)[93]
การเสกสมรสในสายโลหิตเดียวกัน
[แก้]เมื่อกาลเวลาผ่านไป จำนวนยีนทั้งหมดในแหล่งหรือ ยีนพูล (Gene pool) ภายในราชวงศ์ปกครองมีจำนวนลดลง จากการเสกสมรสภายในเครือญาติเนื่องจากจำนวนคู่สมรสที่เหมาะสมมีจำนวนจำกัด (ก่อนที่สายสัมพันธ์ของราชวงศ์ต่าง ๆ ในยุโรปจะข้องเกี่ยวเป็นเครือญาติกันทั้งหมด) ส่งผลให้เชื้อพระวงศ์หลายพระองค์สืบราชสันตติวงศ์มาจากบรรพบุรุษพระองค์เดียวกันผ่านสายราชวงศ์ต่าง ๆ เช่น เชื้อพระวงศ์ยุโรปหลายพระองค์ที่สืบราชสันตติวงศ์จากพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร หรือ พระเจ้าคริสเตียนที่ 9 แห่งเดนมาร์ก[94] รวมถึงราชวงศ์ฮับส์บูร์กที่ได้ชื่อว่านิยมการเสกสมรสในสายโลหิตเดียวกัน จนนำไปตั้งเป็นชื่อของความผิดปกติที่พบได้บ่อยภายในเครือญาติอย่างภาวะคางยื่น (Prognathism) ว่า ริมฝีปากฮับส์บูร์ก (Habsburg lip) แม้จะไม่มีหลักฐานทางพันธุกรรมมายืนยันข้อสันนิษฐานดังกล่าวก็ตาม ราชวงศ์วงที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันอย่างราชวงศ์ฮับส์บูร์ก ราชวงศ์บูร์บง ราชวงศ์บรากันซา และราชวงศ์วิตเตลส์บาค[n 11] ก็มักจะจัดการเสกสมรสในหมู่พระญาติชั้นที่หนึ่งบ่อยครัง หรือในหมู่พระญาติชั้นรองระหว่างพระปิตุลา (ลุง) กับพระภาคิไนย (หลานอา) เป็นครั้งคราว[95][96]
ตัวอย่างการเสกสมรสที่ผิดประเพณีและผลกระทบที่ตามมา เช่น
- ผู้ปกครองทุกพระองค์ในราชวงศ์ทอเลมีตั้งแต่พระเจ้าทอเลมีที่ 2 เป็นต้นมา เสกสมรสกับพระเชษฐา พระอนุชา พระเชษฐภคินี หรือพระขนิษฐาของพระองค์เองทั้งสิ้น เพื่อรักษา "ความบริสุทธิ์" ของสายพระโลหิต และเพื่อดำรงไว้ซึ่งสายการสืบราชสันตติวงศ์ในหมู่พระญาติ กรณีที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือกรณีของคลีโอพัตราที่ 7 (หรือ คลีโอพัตราที่ 6) ที่เสกสมรสกับพระเจ้าทอเลมีที่ 13 ธีออส ฟิโลปาตอร์ พระอนุชาของพระองค์ และทรงปกครองอียิปต์โบราณร่วมกันหลังการสวรรคตของพระราชบิดา[97]
- ฌ็องที่ 5 แห่งอาร์มาญัก ที่ทรงคบชู้กับพระขนิษฐาของตน ซึ่งนับว่าเป็นกรณีที่พบเห็นได้ยาก[98] แต่หลังจากนั้นกลับทอดทิ้งบุตรของตนไปและเสกสมรสใหม่อีกครั้ง ทั้งนี้ไม่มีหลักฐานใดที่แสดงว่าการสมรสกับพระขนิษฐาของตนเกิดขึ้นด้วยเหตุผลการเสกสมรสต่างราชวงศ์ หากแต่ด้วยเหตุผลส่วนพระองค์[98]
- หนึ่งในตัวอย่างที่โด่งดังที่สุดของลักษณะทางพันธุกรรมอันเกิดจากการเสกสมรสในหมู่ราชวงศ์เดียวกันคือ ภาวะคางยื่นของราชวงศ์ฮับส์บูร์ก หรือ ฮับสบูร์กาอุนทาลิพเพอ (Habsburger Unter Lippe; ริมฝีปากฮับส์บูร์ก หรือขากรรไกรฮับส์บูร์ก) ซึ่งปรากฏในหมู่พระญาติและเชื้อพระวงศ์ฮับส์บูร์กหลายพระองค์ตลอดช่วงหกศตวรรษ[99]
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ ราชวงศ์ผู้ปกครอง (อังกฤษ: Reigning houses, Ruling houses) คือราชวงศ์ที่ดำรงสถานะเป็นพระประมุขแห่งรัฐอธิปไตยหนึ่งแห่งขึ้นไป
- ↑ พระเจ้าจอร์จที่ 1 เสวยราชย์ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งบริเตนใหญ่ด้วยราชสันตติวงศ์ของพระราชมารดา โซเฟียแห่งฮาโนเวอร์ ซึ่งสืบราชสันตติวงศ์มาจากพระเจ้าเจมส์ที่ 6 และที่ 1
- ↑ ราชบัลลังก์แห่งอารากอนและคาสตีลถูกรวมเข้าด้วยกันภายใต้การปกครองของราชวงศ์ฮับส์บูร์ก เมื่อจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ขึ้นเสวยราชบัลลังก์ของทั้งสองอาณาจักรด้วยราชสันตติวงศ์ของพระราชบิดา-มารดา พระเจ้าเฟลีเปที่ 1 แห่งคาสตีล (กษัตริย์แห่งคาสตีล) และโจแอนนาแห่งอารากอน สมเด็จพระราชินีแห่งคาสตีล (กษัตริย์แห่งอารากอน)[6]
- ↑ ตัวอย่างที่ชัดเจนคือกรณีการเสกสมรสระหว่างพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ กับเจ้าหญิงคาทอลิก เฮนเรียตตา มาเรียแห่งฝรั่งเศส เมื่อพระนางเฮนเรียตตาทรงประกอบพิธีกรรมทางศาสนาแบบคาทอลิดอย่างเปิดเผยและยืนกรานที่จะคงผู้ติดตามชาวคาทอลิกของพระองค์ไว้ ซึ่งในขณะนั้นเป็นช่วงขันติธรรมทางศาสนาในสังคมอังกฤษ ทำให้พระนางเป็นพระราชินีที่สาธารณชนไม่นิยมชมชอบ[12]
- ↑ เชื้อพระวงศ์รัสเซียมักเสกสมรสกับเจ้าหญิงต่างชาติก็ต่อเมื่อทรงเปลี่ยนมาเข้ารีตออร์โธดอกซ์รัสเซียเท่านั้น[14] เช่น เจ้าหญิงอลิกซ์แห่งเฮสส์ พระมเหสีในซาร์นิโคลัสที่ 2 ที่ทรงเปลี่ยนจากลูเทอแรน[15]
- ↑ ว่ากันว่าพระมเหสีจักรพรรดิจัสตินที่ 1 นามว่าพระนางยูเฟเมีย เคยเป็นทั้งทาสและอนารยชนมาก่อน[29] ส่วนพระเมสีของจักรพรรดิจัสติเนียนที่ 2 พระนางธีโอโดรา เคยเป็นนักแสดง บ้างก็อ้างว่าเป็นโสเภณีอีกด้วย[30]
- ↑ โดนัลด์ แมคกิลลิฟเรย์ นิคอล กล่าวไว้ในหนังสือ The Last Centuries of Byzantium 1261–1453 ว่า "บรรดาพระธิดาของจักรพรรดิอะเล็กซิออสที่ 2 แห่งเทรบิซอนด์ เสกสมรสกับเอมีร์แห่งซีโนปและเอร์ซินจาน ส่วนบรรดาพระนัดดาของพระองค์ก็เสกสมรสเอมีร์แห่งชาลิเบีย ในขณะที่บรรดาพระปนัดดาของพะรองค์ (พระธิดาในจักรพรรดิอะเล็กซิออสที่ 3 ผู้สวรรคตในปี พ.ศ. 1933) ก็ถวายตัวรับใช้จักวรรดิเช่นเดียวกัน"[34]
- ↑ ทั้งพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร และพระราชาธิบดีควน การ์โลสที่ 1 แห่งสเปน ต่างก็เสกสมรสกับสมาชิกราชวงศ์กรีก ได้แก่ เจ้าชายฟิลิปแห่งกรีซและเดนมาร์ก และเจ้าหญิงโซเฟียแห่งกรีซและเดนมาร์ก ตามลำดับ ในปี พ.ศ. 2536 เจ้าชายอาโลอิส รัชทายาทแห่งลิกเตนสไตน์ เสกสมรสกับดัชเชสโซฟีในบาวาเรีย สมาชิกราชวงศ์วิตเตลส์บาค[36] ซึ่งทั้งราชวงศ์กรีก (ราชวงศ์กลึคสบวร์ก) และราชวงศ์วิตเตลส์บาคต่างก็ไม่ได้ปกครองรัฐอธิปไตยเช่นในอดีต
- ↑ เจ้าชายคะนุด เจ้าชายรัชทายาทแห่งเดนมาร์ก เสกสมรสกับเจ้าหญิงคาโรไลน์-มาทิลด์แห่งเดนมาร์กในปี พ.ศ. 2476 ซึ่งทั้งสองพระองค์ต่างก็เป็นพระญาติชั้นที่หนึ่งของกันและกัน ทั้งยังเป็นสมาชิกราชวงศ์กลึคสบวร์กและพระนัดดาของสมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 8 แห่งเดนมาร์กร่วมกัน[60]
- ↑ คาโรลีน เฟลอห์-ลอบบาน อธิบายในบทความ Islamic Law and Society in the Sudan ว่า "เป็นการดีกว่าที่สตรีชาวมุสลิมจะเปลี่ยนศาสนาไปเป็นอิสลามก่อนการสมรสกับชายชาวมุสลิม แต่ถึงกระนั้นก็ไม่ถึงกับว่าจำเป็นต้องทำทุกครั้งเสมอไป ในขณะที่ชายที่ไม่ใช่มุสลิมกลับจำเป็นต้องเปลี่ยนศาสนาก่อนการสมรสกับสตรีชาวมุสลิมทุกครั้ง"[80]
- ↑ เชื้อพระวงศ์วิตเตลส์บาคหลายพระองค์ประสบกับภาวะวิกลจริต ส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากการเสกสมรสในเครือญาติบ่อยครั้ง สมาชิกราชวงศ์หลายพระองค์ประสบกับทั้งภาวะผิดปกติทั้งทางร่างกายและทางจิตใจเช่นเดียวกับโรคลมชัก[95]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Cohen, p.165
- ↑ Thomson, pp.79–80
- ↑ 3.0 3.1 Bucholz, p.228
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 Fleming
- ↑ Beeche (2009), p.1
- ↑ 6.0 6.1 'Charles V', Encyclopædia Britannica
- ↑ Heimann, pp.38–45
- ↑ Christakes, p.437
- ↑ Maland, p.227
- ↑ 10.0 10.1 Verzijl, p.301
- ↑ anselme, p.145
- ↑ Griffey, p.3
- ↑ BAILII, 'Act of Settlement 1700'
- ↑ Mandelstam Balzer, p.56
- ↑ Rushton, p.12
- ↑ Curtis, p.271
- ↑ Beéche, p.257
- ↑ Czaplinski, pp.205-208
- ↑ Durant, pp.552–553, 564–566, 569, 571, 573, 576
- ↑ Prazmowska, p.56
- ↑ Beeche (2010), p.24
- ↑ Greenfeld, p.110
- ↑ Warwick, p.36
- ↑ Salisbury, p.137
- ↑ Roller, p.251
- ↑ Schürer, Millar & Fergus. p.474
- ↑ Morgan Gilman, p.1
- ↑ William, p.301
- ↑ Garland, p.14
- ↑ Frassetto, p.332
- ↑ 31.0 31.1 Ostrogorsky, p.441
- ↑ Nicol, p.304
- ↑ Jackson, p.203
- ↑ Nicol, p.403
- ↑ Bryer, p.146
- ↑ 36.0 36.1 36.2 Beeche (2009), p.13
- ↑ 37.0 37.1 deBadts de Cugnac, pp.680–681
- ↑ 'Queen Anna Maria', The Greek Monarchy
- ↑ 'End of a Royal romance? Spain's King and Queen to shun Golden Wedding celebration sparking rumours the pair are 'estranged, The Daily Mail
- ↑ 'Life Goes to a Twice Royal Wedding: Luxembourg Prince Marries a Princess', Life
- ↑ deBadts de Cugnac, pp.514–515, 532
- ↑ deBadts de Cugnac, pp.534, 873
- ↑ deBadts de Cugnac, p.354
- ↑ deBadts de Cugnac, pp.509, 529
- ↑ deBadts de Cugnac, p.620
- ↑ deBadts de Cugnac, p.333
- ↑ deBadts de Cugnac, p.710
- ↑ deBadts de Cugnac, p.290
- ↑ deBadts de Cugnac, p.845
- ↑ deBadts de Cugnac, p.870”
- ↑ 'Andrea Casiraghi, second in line to Monaco's throne, weds Colombian heiress', The Telegraph
- ↑ Verlag, p.105
- ↑ 'Princess Astrid', The Belgian Monarchy
- ↑ deBadts de Cugnac, pp.195, 680–681
- ↑ deBadts de Cugnac, pp.641, 876
- ↑ deBadts de Cugnac, p.335
- ↑ deBadts de Cugnac, pp.590–591, 730
- ↑ deBadts de Cugnac, p.849
- ↑ deBadts de Cugnac, p.678
- ↑ Thomas, p.91
- ↑ "Roglo Genealogical database".
- ↑ Dobbs
- ↑ Liu & Perry
- ↑ Thailand Country Study
- ↑ Stengs, p.275
- ↑ 66.0 66.1 Veit, p.57
- ↑ 67.0 67.1 Zhao, p.34
- ↑ Walthall, p.138
- ↑ 69.0 69.1 Walthall, p.149
- ↑ Kim, p.56
- ↑ 71.0 71.1 71.2 Kowner, p.478
- ↑ Dobbs, David
- ↑ 'Wedding Brings Xhosa, Zulu Tribes Together', LA Times
- ↑ Keller
- ↑ 'Nelson Mandela: A Unique World Leader Dies At 95', Nigerian Echo
- ↑ Kobo, p.46
- ↑ Schaus, p.593
- ↑ 78.0 78.1 Albany & Salhab, pp.70–71
- ↑ 79.0 79.1 79.2 Peirce, pp.30–31
- ↑ Fluehr-Lobban
- ↑ 81.0 81.1 Magill, p.2566
- ↑ 'Biographies: HRH Princess Haya',Office of HRH Princess Haya Bint Al Hussein
- ↑ 'Prince Muhammed Ali of Egypt and Princess Noal Zaher of Afghanistan Prepare for their Royal Wedding', Hello!
- ↑ 'Tribute to mothers’ caring nature', The Star
- ↑ Sarma, 'Bella Vista'
- ↑ deBadts de Cugnac, p.833, 173–175, 368, 545, 780–782
- ↑ Beeche (2010), p.vi-x
- ↑ Diesbach, pp.25–26
- ↑ Diesbach, p.35
- ↑ Thornton, p.162
- ↑ Vork, p.13
- ↑ Wortman, p.123
- ↑ Cecil, p.14
- ↑ Beeche (2009), p.7
- ↑ 95.0 95.1 Owens, p.41
- ↑ Ruiz, p.47
- ↑ Bevan
- ↑ 98.0 98.1 Guyenne, p.45
- ↑ 'Topics in the History of Genetics and Molecular Biology: The Habsburg Lip', Michigan State University
บรรณานุกรม
[แก้]- Albany, HRH Prince Michael of; Salhab, Walid Amine (2006). The Knights Templar of the Middle East (1st ed.). MA, USA: Weister Books. ISBN 9781578633463.
- Alexander, Harriet (31 August 2013). "Andrea Casiraghi, second in line to Monaco's throne, weds Colombian heiress". The Telegraph. สืบค้นเมื่อ 4 June 2014.
- Anselme, Père (1967). Histoire de la Maison Royale de France (ภาษาฝรั่งเศส). Vol. I. Paris: Editions du Palais-Royal. p. 145.
- deBadts de Cugnac, Chantal; Coutant de Saisseval, Guy (2002). Le Petit Gotha [The Little Gotha] (ภาษาฝรั่งเศส). Paris, France: Nouvelle Imprimerie Laballery. ISBN 2950797431.
- "Act of Settlement 1700". BAILII. n.d. สืบค้นเมื่อ 20 October 2011.
- Ball, Warwick (2000). Rome in the East: The Transformation of an Empire. New York, USA: Routledge. ISBN 9780415243575.
- Beeche, Arturo (2009). The Gotha: Still a Continental Royal Family, Vol. 1. Richmond, US: Kensington House Books. ISBN 9780977196173.
- Beeche, Arturo (2013). The Coburgs of Europe. Richmond, US: Eurohistory. ISBN 9780985460334.
- Beeche, Arturo (2010). The Grand Dukes. Berkeley, CA, US. ISBN 9780977196180.
- Bevan, E.R. "House of Ptolomey, The". uchicago.edu.
- "Biographies: HRH Princess Haya". Office of HRH Princess Haya Bint Al Hussein. n.d. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-04. สืบค้นเมื่อ 4 June 2014.
- Bryer, Anthony (1975). "Greeks and Türkmens: The Pontic Exception". Dumbarton Oak Papers. 29: 113–148. doi:10.2307/1291371. JSTOR 1291371.
- Bucholz, Robert; Key, Newton (2009). Early Modern England 1485–1714: A Narrative History. Oxford. ISBN 9781405162753.
- Cecil, Lamar (1996). Wilhelm II: Emperor and exile, 1900–1941. North Carolina, US: The University of North Carolina Press. ISBN 9780807822838.
- de Ferdinandy, Michael (n.d.). "Charles V". Encyclopaedia Britannica. สืบค้นเมื่อ 30 May 2014.
- Christakes, George (2010). Integrative Problem-Solving in a Time of Decadence. Springer. p. 437. ISBN 9789048198894. สืบค้นเมื่อ 27 June 2014.
- Cohen, Raymond; Vestbrook, Raymond (2000). Amarna Diplomacy: The Beginnings of International Relations. Baltimore. ISBN 9780801861994.
- Curtis, Benjamin (2013). The Habsburgs: The History of a Dynasty. London, UK: Bloomsbury Publishing Inc. ISBN 9781441150028.
{{cite book}}
:|access-date=
ต้องการ|url=
(help) - Czaplinski, Władysław (1976). Władysław IV i jego czasy [Władysław IV and His Times] (ภาษาโปแลนด์). Warsaw, Poland: Wiedza Poweszechna.
- Diesbach, Ghislain (1967). Secrets of the Gotha: Private Lives of Royal Families of Europe. London, UK: Chapman & Hall. ISBN 9783928741200.
- Dobbs, David (2011). "The Risks and Rewards of Royal Incest". National Geographic Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-23. สืบค้นเมื่อ 24 June 2014.
- Durant, Will (1950). The Story of Civilzation: The Age of Faith. Vol. IV. New York, USA: Simone and Schuster. ISBN 9781451647617.
- "End of a Royal romance? Spain's King and Queen to shun Golden Wedding celebration sparking rumours the pair are 'estranged'". The Daily Mail. 10 May 2012. สืบค้นเมื่อ 5 June 2014.
- Fleming, Patricia H. (1973). "The Politics of Marriage Among Non-Catholic European Royalty". Current Anthropology. 14 (3): 231. doi:10.1086/201323.
{{cite journal}}
:|access-date=
ต้องการ|url=
(help) - Fluehr-Lobban, Carolyn (1987). "Islamic Law and Society in the Sudan". 26 (3 ed.). Islamabad, Pakistan: Islamic Research Institute, International Islamic University. สืบค้นเมื่อ 6 June 2014.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - Frassetto, Michael (2003). Encyclopedia of Barbarian Europe: Society in Transformation. California, US: ABC-CLIO Ltd. ISBN 9781576072639.
- Garland, Lynda (2002). Byzantine Empresses: Women and Power in Byzantium AD 527–1204. Oxford, UK: Routledge. ISBN 9781134756391.
- Guyenne, Valois (2001). Incest and the Medieval Imagination. Oxford: Oxford University Press. ISBN 9780861932269.
- Greenfeld, Liah (1993). Nationalism: Five Roads to Modernity. USA: Harvard University Press. ISBN 9780674603196.
- Griffey, Erin (2008). Henrietta Maria: piety, politics and patronage. Aldershot, UK: Ashgate Publishing. ISBN 9780754664208.
{{cite book}}
:|access-date=
ต้องการ|url=
(help) - Haag, Michael (2003). The Rough Guide History of Egypty. London, UK: Rough Guides Ltd. ISBN 9781858289403. สืบค้นเมื่อ 27 June 2014.
- Heimann, Heinz-Dieter (2010). Die Habsburger: Dynastie und Kaiserreiche [The Habsburgs: dynasty and empire] (ภาษาเยอรมัน). ISBN 9783406447549.
- Jackson, Peter. The Mongols and the West, 1221-1410. Harlow, UK: Pearson Longman. ISBN 0582368960.
- Keller, Bill (1990). "Zulu King Breaks Ties To Buthelezi". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 28 April 2008.
- Kelly, Edmond (1991). Revolutionary Ethiopia: From Empire to People's Republic. Bloomington, US: Indiana University Press. ISBN 9780253206466.
- Kim, Jinwung (2012). A History of Korea: From "Land of the Morning Calm" to States in Conflict. University of Indiana Press. ISBN 9780253000248.
- Kobo, Ousman (2012). Unveiling Modernity in Twentieth-Century West African Islamic Reforms. Leiden, Netherlands: Kononklijke Brill. ISBN 9789004233133.
- Kowner, Rotem (2012). Race and Racism in Modern East Asia: Western and Eastern Constructions. Leiden: Brill. ISBN 9789004237292.
- Liu, Caitlin; Perry, Tony (2004). "Thais Saddened by the Death of Young Prince". LA Times. สืบค้นเมื่อ 29 April 2014.
- "Life Goes to a Twice Royal Wedding: Luxembourg Prince Marries a Princess". Life. 1953.
{{cite web}}
:|access-date=
ต้องการ|url=
(help);|url=
ไม่มีหรือว่างเปล่า (help) - Macurdy, Grace H.; Forrer, Leonard (1993). Two Studies on Women in Antiquity. Illinois, US: Ares Publishers. ISBN 9780890055434.
- Magill, Frank (2014). The 20th Century: Dictionary of World Biography. Vol. 8. London, UK: Routledge. ISBN 9781317740605.
- Maland, David (1991). Europe in the Seventeenth Century (Second ed.). London, UK: Macmillan. ISBN 0333335740.
- Mandelstam Balzer, Marjorie (2010). Religion and Politics in Russia. New York, US: M.E. Sharpe, Inc. ISBN 9780765624147.
{{cite book}}
:|access-date=
ต้องการ|url=
(help) - Morgan Gilman, Florence (2003). Herodias: At Home in that Fox's Den. US: Liturgical Press. ISBN 9780814651087.
- Nicol, Donald MacGillivray (2004). The Last Centuries of Byzantium 1261–1453. Cambridge, UK: Cambridge University Press. ISBN 9780521439916.
- Opeyemi, Oladunjo (6 December 2013). "Nelson Mandela: A Unique World Leader Dies At 95". Nigerian Echo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-08. สืบค้นเมื่อ 2 July 2014.
- Ostrogorsky, George (1969). History of the Byzantine State. New Brunswick, Canada: Rutgers University Press. ISBN 9780521439916.
- Owens, Karen (2013). Franz Joseph and Elisabeth: The Last Great Monarchs of Austria-Hungary. North Carolina, US: McFarland & Co Inc. ISBN 9780786476749.
- Peirce, Leslie P. (1994). The Imperial Harem: Women and Sovereignty in the Ottoman Empire. Oxford, UK: Oxford University Press. ISBN 9780195086775. สืบค้นเมื่อ 6 June 2014.
- Prazmowska, Anita (2011) [2004]. A History of Poland (2 ed.). New York, US: Palgrave Macmillan. ISBN 9780230252356.
- "Prince Muhammed Ali of Egypt and Princess Noal Zaher of Afghanistan Prepare for their Royal Wedding". Hello!. 2013. สืบค้นเมื่อ 26 November 2013.
- "Princess Astrid". The Belgian Monarchy. n.d. สืบค้นเมื่อ 4 July 2014.
- Qingzhi Zhao, George (2008). Marriage as Political Strategy and Cultural Expression: Mongolian Royal Marriages from World Empire to Yuan Dynasty. New York. ISBN 9781433102752.
- Roller, Duane (1998). The Building Program of Herod the Great. California, US: University of California Press.
- Ruiz, Enrique (2009). Discriminate Or Diversify. Positivepsyche.Biz crop. ISBN 9780578017341.
- Rushton, Alan R. (2008). Royal Maladies: Inherited Diseases in the Ruling Houses of Europe. BC, Canada: Trafford Publishing. ISBN 9781425168100.
{{cite book}}
:|access-date=
ต้องการ|url=
(help) - Salisbury, Joyce E. (2001). Encyclopedia of Women in the Ancient World. California, US: ABC-CLIO Inc. ISBN 9781576070925.
- Sarma, Rani (2008). "Bella Vista". The Deodis of Hyderabad a Lost Heritage. New Delhi, Inda: Rupa Co. ISBN 9788129127839.
- Schaus, Margaret (2006). Women and Gender in Medieval Europe: An Encyclopedia. New York, US: Routledge. ISBN 9781135459604.
- Schürer, Emil; Millar, Fergus; Vermes, Geza (2014) [1973]. The History of the Jewish People in the Ages of Jesus Christ. Vol. 1. IL, US: Bloomsbury Publishing Plc.
- Smith, William (1860). Dictionary of Greek and Roman Biography and Mythology. Vol. 1. US: Harvard University. ISBN 9781845110024.
- Stengs, Irene (2009). Worshipping the Great Moderniser: King Chulalongkporn, Patron Saint of the Thai Middle Class. Washington, US: University of Washington Press. ISBN 9780295989174.
{{cite book}}
:|access-date=
ต้องการ|url=
(help) - Thailand Country Study Guide (4th ed.). Washington DC, US: International Business Publications USA. 2007. ISBN 9781433049194.
{{cite book}}
:|access-date=
ต้องการ|url=
(help) - Thornton, Michael (1986). Royal Feud: The Dark Side of the Love Story of the Century. New York, US: Random House Publishing. ISBN 9780345336828.
- Thomas, Alastair H. (2010). The A to Z of Denmark. Washington DC, US: Scarecrow Press. ISBN 9781461671848.
- Thomson, David (1961). Europe Since Napoleon. New York: Knopf. ISBN 9780140135619.
- "Topics in the History of Genetics and Molecular Biology: The Habsburg Lip". Michigan State University. 2000. สืบค้นเมื่อ 4 June 2014.
- "Tribute to mothers' caring nature". The Star. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-08. สืบค้นเมื่อ 25 June 2014.
- "Queen Anne Marie". The Greek Monarchy. n.d. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 5 June 2014.
- Veit, Veronika (2007). The Role of Women in the Altaic World. Germany: Harrassowitz. ISBN 9783447055376.
- Verlag, Starke (1997). Genealogisches Handbuch des Adels, Fürstliche Häuser XV [Genealogical Handbook of the nobility, Princely houses XV] (ภาษาเยอรมัน). ISBN 9783798008342.
- Verzijl, J. H. W. International Law in Historical Perspective. Nova et Vetera Iuris Gentium. Vol. III.
- Vork, Justin (2012). Imperial Requiem: Four Royal Women and the Fall of the Age of Empires. Bloomington, US: iUniverse.com. ISBN 9781475917499.
- Walthall, Anne (2008). Servants of the Dynasty: Palace Women in World History. London. ISBN 9780520254442.
- "Wedding Brings Xhosa, Zulu Tribes Together". Los Angeles Times. California. 2002. สืบค้นเมื่อ 7 April 2013.
- Wortman, Richard (2013). Scenarios of Power: Myth and Ceremony in Russian Monarchy from Peter the Great to the Abdication of Nicholas II. New Jersey, US: Princeton University Press. ISBN 9781400849697.