ข้ามไปเนื้อหา

อุมัร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อุมัร
عمر
เคาะลีฟะฮ์องค์ที่ 2 แห่งรัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดีน
ครองราชย์23 สิงหาคม ค.ศ. 634 – 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 644
ก่อนหน้าอะบูบักร์
ถัดไปอุษมาน อิบน์ อัฟฟาน
ประสูติป. ค.ศ. 583 หรือ 584
มักกะฮ์ ฮิญาซ คาบสมุทรอาหรับ
สวรรคตพฤศจิกายน ค.ศ. 644 (ษุลฮิจญ์ญะฮ์ ฮ.ศ. 23/มุฮัรร็อม ฮ.ศ. 24) (60–61 พรรษา)
มะดีนะฮ์ ฮิญาซ รัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดีน
ฝังพระศพมัสยิดอันนะบะวี มะดีนะฮ์
คู่อภิเษก
พระราชบุตร
(กับคนอื่น ๆ)
ราชวงศ์กุร็อยช์ (บะนูอะดี)
พระราชบิดาอัลค็อฏฏอบ อิบน์ นุฟัยล์
พระราชมารดาฮันตะมะฮ์ บินต์ ฮิชาม
ศาสนาอิสลาม
ลายพระอภิไธย

อุมัร อิบน์ อัลค็อฏฏอบ (อาหรับ: عمر بن الخطاب; ป. ค.ศ. 583/584 – 644) เป็นเคาะลีฟะฮ์รอชิดีนองค์ที่ 2 ที่ครองราชย์ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 634 จนกระทั่งถูกลอบสังหารใน ค.ศ. 644 เขาเป็นผู้ติดตามอาวุโสกับพ่อตาของศาสดามุฮัมมัด และยังเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านกฎหมายมุสลิมที่เคร่งศาสนาและเที่ยงธรรม จนได้รับฉายา อัลฟารูก ("ผู้แยกแยะ (ระหว่างความจริงกับความเท็จ)")

เดิมทีอุมัรเคยต่อต้านมุฮัมมัด ผู้เป็นญาติห่าง ๆ และภายหลังเป็นลูกเขยจากเผ่ากุร็อยช์ หลังเข้ารับอิสลามใน ค.ศ. 616 เขากลายเป็นมุสลิมคนแรกที่ละหมาดอย่างเปิดเผยที่กะอ์บะฮ์ อุมัรเข้าร่วมสงครามและการเดินทางเกือบทั้งหมดของมุฮัมมัด ผู้ให้ตำแหน่ง อัลฟารูก ('ผู้แยกแยะ') แก่อุมัรจากการตัดสินของเขา หลังมุฮัมมัดเสียชีวิตในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 632 อุมัรให้สัตยาบันต่ออะบูบักร์ (ค. 632 – 634) เป็นเคาะลีฟะฮ์องค์แรก และทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาใกล้ชิด จนกระทั่งเดือนสิงหาคม ค.ศ. 634 เมื่ออะบูบักร์ตอนใกล้สวรรคตเสนอให้อุมัรเป็นผู้สืบทอดต่อ

ในรัชสมัยของอุมัร รัฐเคาะลีฟะฮ์ได้ขยายในอัตราที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยพิชิตจักรวรรดิซาเซเนียนและพื้นที่มากกว่าสองในสามของจักรวรรดิไบแซนไทน์[3] การโจมตีของพระองค์ต่อจักรวรรดิซาเซเนียนก่อให้เกิดการพิชิตจักรวรรดิเปอร์เซียภายในเวลาไม่เกินสองปี (642–644) ตามข้อมูลจากธรรมเนียมยิว อุมัรหยุดการห้ามชาวยิวของชาวคริสต์ และอนุญาตให้พวกเขาเดินทางไปเยรูซาเลมเพื่อทำพิธีตามศาสนาของตนเองได้[4] อุมัรถูกลอบสังหารจากทาสชาวเปอร์เซียนามอะบูลุอ์ลุอะฮ์ ฟีรูซใน ค.ศ. 644

นักประวัติศาสตร์โดยทั่วไปมองอุมัรเป็นหนึ่งในเคาะลีฟะฮ์มุสลิมที่มีอำนาจและอิทธิพลมากที่สุดในประวัติศาสตร์[5] โดยฝ่ายซุนนียกย่องเขาเป็นผู้ปกครองที่ยิ่งใหญ่และมีคุณธรรมของอิสลาม[6] และบางฮะดีษระบุเขาเป็นเศาะอาบะฮ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนที่สอง (รองจากอะบูบักร์)[7][8] ส่วนฝั่งชีอะฮ์สิบสองอิมามมองเขาในแง่ลบ[9]

ชีวิตช่วงต้น

[แก้]

อุมัรเกิดในที่มักกะฮ์ จากตระกูลอะดี ซึ่งรับผิดชอบในอนุญาโตตุลาการระหว่างชนเผ่า[10] ในวัยเด็ก เขาเคยเลี้ยงอูฐของพ่อในพื้นที่ราบใกล้มักกะฮ์ พ่อผู้มีอาชีพพ่อค้ามีชื่อเสียงในด้านความเฉลียวฉลาดในชนเผ่าของเขา[11] อุมัรเคยกล่าวว่า: "อัลค็อฏฏอบ พ่อของผม เป็นผู้ชายที่โหดเหี้ยม เขาเคยใช้ให้ผมทำงานหนัก ถ้าผมไม่ทำงาน เขาก็จะตีผม และเขาใช้งานผมจนเหนื่อย"[12]

อุมัรเรียนรู้การอ่านและเขียนในวัยเด็ก แม้ว่าการรู้หนังสือไม่เป็นสิ่งที่พบได้ทั่วไปในอาระเบียก่อนอิสลาม ตอนโตขึ้น เขารักบทกวีและวรรณกรรม แม้จะไม่ใช่นักกวีก็ตาม[13] รายงานจากธรรมเนียมของกุร็อยช์ ตอนอยู่ในช่วงวัยรุ่น อุมัรเรียนรู้ในด้านศิลปะการต่อสู้, การขี่ม้า และมวยปล้ำ เขามีรูปร่างสูงใหญ่ แข็งแรง และเป็นนักมวยปล้ำที่มีชื่อเสียง[13][14] เขายังเป็นนักพูดที่มีพรสวรรค์ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ชี้ขาดระหว่างชนเผ่าต่าง ๆ ต่อจากพ่อ[15]

อุมัรกลายเป็นพ่อค้าและเดินทางไปยังโรมและเปอร์เซีย โดยได้พบนักวิชาการหลายคน และวิเคราะห์สังคมในโรมันกับเปอร์เซีย แต่ตอนเป็นพ่อค้ากลับไม่ประสบความสำเร็จ[13][16] เขาชอบดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เหมือนกับคนอื่น ๆ ในช่วงก่อนเข้ารับอิสลาม[17]

อาชีพการทหารช่วงต้น

[แก้]

ต่อต้านอิสลาม

[แก้]

ใน ค.ศ. 610 มุฮัมมัดเริ่มเผยแผ่หลักคำสอนของอิสลาม อย่างไรก็ตาม อุมัรต่อต้านอิสลามเหมือนกันคนอื่น ๆ ในมักกะฮ์และถึงกับขู่ว่าจะฆ่ามุฮัมมัด เขาตัดสินใจที่จะปกป้องศาสนาพหถเทวนิยมแบบดั้งเดิมของอาระเบีย เขายืนหยัดและต่อต้านมุฮัมมัดอย่างโหดร้าย และมีชื่อเสียงอย่างมากในการกดขี่มุสลิม[18] เขาแนะนำให้ฆ่ามุฮัมมัด[19] เขาเชื่อมั่นในความเป็นเอกภาพของเผ่ากุร็อยช์อย่างมั่นคง และมองความเชื่อใหม่ของอิสลามเป็นสาเหตุในความแตกแยกและความร้าวฉาน[18]

ในช่วงที่มีการกดขี่ มุฮัมมัดสั่งให้ผู้ติดตามบางส่วนอพยพไปยังอะบิสซิเนีย เมื่องมุสลิมกลุ่มเล็กอพยพออกไปแล้ว อุมัรเริ่มกังวลต่อความเป็นเอกภาพของกุร็อยช์ในอนาคต และตัดสินใจลงมือลอบสังหารมุฮัมมัด[20]

เข้ารับอิสลามและรับใช้มุฮัมมัด

[แก้]

อุมัรเข้ารับอิสามใน ค.ศ. 616 หนึ่งปีหลังการอพยพไปยังอะบิสซีเนีย เรื่องราวนี้พบใน Sīrah ของอิบน์ อิสฮาก ว่า ขณะที่เขากำลังเดินทางไปฆ่ามุฮัมมัด อุมัรพบกับนัอัยม์ อิบน์ อับดุลลอฮ์ เพื่อนใกล้ชิดของอุมัรผู้เข้ารับอิสลามอย่างลับ ๆ เมื่ออุมัรบอกเขาว่าตนจะไปฆ่ามุฮัมมัด นุอัยม์จึงบอกว่า “...โอ้ อุมัร! เจ้าคิดว่าบะนูอับดุลมะนาฟจะปล่อยให้เจ้าวิ่งหนีทั้งเป็นเมื่อเจ้าได้สังหารมุฮัมมัด ลูกชายของพวกเขาหรือ? ทำไมเจ้าไม่กลับบ้านและจัดการให้เสร็จก่อนเล่า?"[21]

นุอัยม์บอกอุมัรให้ไปสอบปากคำคนในบ้านของเขา เนื่องจากน้องสาวกับสามีของเธอแอบเข้ารับอิสลาม ก่อนเข้าบ้าน อุมัรพบน้องสาวกับน้องเขย ซะอีด อิบน์ ซัยด์ (ลูกพี่ลูกน้องของอุมัร) อ่านโองการในซูเราะฮ์ฏอฮอจากกุรอาน[22] เขาเริ่มทะเลาะกับน้องเขย เมื่อน้องสาวพยายามช่วยสามี เขาก็เริ่มทะเลาะกับเธอ แต่ทั้งคู่ยังคงตอบว่า "เจาอาจฆ่าเรา แต่เราจะไม่ยอมละทิ้งอิสลาม" หลังได้ยินประโยคนี้ อุมัรตบหน้าน้องสาวอย่างแรงจนเลือดไหลออกทางปาก จากนั้นเขาจึงรู้สึกผิดแล้วใจเย็นลง และถามให้น้องสาวเอาสิ่งที่เธออ่านให้เขาดู เธอจึงตอบว่า "เจ้ายังไม่สะอาด และคนที่ไม่สะอาดไม่สมควรแตะต้องคัมภีร์" เขายื่นกราน แต่น้องสาวไม่อนุญาตให้เขาแตะจนกว่าจะชำระล้างร่างกายก่อน อุมัรจึงไปชำระร่างกายแล้วเริ่มอ่านโองการในอัลกุรอาน ซูเราะห์ฏอฮา อายะห์ที่1-6 (กุรอาน 20:1-6) เขาร่ำไห้และประกาศว่า "แน่แท้ นี่คือพระดำรัสจากอัลลอฮ์ ข้อขอปฏิญาณว่ามุฮัมมัดคือศาสทูตของอัลลอฮ์" หลังได้ยินสิ่งนี้ ค็อบบาบจึงออกจากที่ซ่อนและบอกเขาว่า: "โอ้ อุมัร! ขอแสดงความยินดีด้วย เมื่อวานมุฮัมมัดได้ขอต่ออัลลอฮ์ว่า 'โอ้ อัลลอฮ์! ขอทรงโปรดทำให้อิสลามมั่นคงด้วยอุมัรหรืออะบูญะฮัล'..."[23]

อุมัรเดินทางไปหามุฮัมมัดด้วยดาบเล่มเดียวกันที่เขาเคยตั้งใจฆ่า จากนั้นจึงหันมาเข้ารับอิสลามต่อหน้าท่านกับผู้ติดตาม ตอนเข้ารับอิสลาม เขามีอายุ 39 ปี.[24]

รายงานหนึ่งบันทึกว่า หลังเข้ารับอิสลาม อุมัรละหมาดอย่างเปิดเผยที่กะอ์บะฮ์ โดยที่อะบูญะฮัลกับอะบูซุฟยานมองดูด้วยความโกรธ[25]

อพยพไปมะดีนะฮ์

[แก้]

ใน ค.ศ. 622 หลังชาวยัษริบ (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นมะดีนะตุนนะบี หรือสั้น ๆ ว่า มะดีนะฮ์) เสนอให้ความปลอดภัยแก่ท่าน มุฮัมมัดจึงสั่งให้ผู้ติดตามอพยพไปยังมะดีนะฮ์ มุสลิมส่วนใหญ่อพยพในเวลากลางคืนเนื่องจากกลัวการต่อต้านของพวกกุร็อยช์ แต่มีรายงานว่าอุมัรอพยพอย่างเปิดเผยในเวลากลางวัน โดยกล่าวว่า: "ใครก็ตามที่ต้องการให้ภรรยาของเขาเป็นหม้าย และลูกของเขาเป็นเด็กกำพร้า ควรมาพบข้าที่หลังผานั้น"[26][27] อุมัรอพยพไปยังมะดีนะฮ์ร่วมกับลูกพี่ลูกน้อง และน้องเขย ซะอีด อิบน์ ซัยด์[24]

ชีวิตในมะดีนะฮ์

[แก้]

มุฮัมมัดเสียชีวิต

[แก้]

เมื่อมุฮัมมัดเสียชีวิตในวันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 632 เดิมทีอุมัรไม่เชื่อว่าท่านตายแล้ว[28] กล่าวกันว่าอุมัรสัญญาที่จะทำร้ายใครก็ตามที่บอกว่ามุฮัมมัดตายแล้ว ภายหลังอะบูบักร์ประกาศต่อสาธารณชนในมัสยิดว่า:

"ใครก็ตามที่สักการะมุฮัมมัด จงรู้เถิดว่าท่านเสียชีวิตแล้ว และใครสักการะอัลลอฮ์ จงรู้เถิดว่าพระองค์ทรงมีชีวิตและไม่มีวันตาย"

[29] แล้วยกโองการจากอัลกุรอานความว่า:

"และมุฮัมมัดนั้นหาใช่อื่นใดไม่นอกจากเป็นร่อซูลผู้หนึ่งเท่านั้น ซึ่งบรรดาร่อซูลก่อนจากเขาก็ได้ล่วงลับไปแล้ว แล้วหากเขาตายไปหรือเขาถูกฆ่าก็ตาม พวกเจ้าก็หันสันเท้าของพวกเจ้ากลับกระนั้นหรือ?..."

[29] หลังได้ยินสิ่งนี้ อุมัรคุกเข่าเสียใจและยอมรับความจริง มุสลิมซุนนีรายงานว่าการปฏิเสธการเสียชีวิตของท่านมาจากความรักอย่างลึกซึ้งของเขา[28]

ลอบสังหาร

[แก้]
ภาพวาดในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 แสดงภาพของอับดุรเราะห์มาน (อิบน์ เอาฟ์หรืออิบน์ อะบีบักร์) พบเห็นการสมรู้ร่วมคิดโดยเจตนาของอะบูลุอ์ลุอะฮ์, โฮร์มูซอน และ Jufayna (ในภาพวาดผิดเป็นผู้หญิง และภาพอาวุธลอบสังหารน่าจะผิดด้วย)[30]
สุสานของเคาะลีฟะฮ์อุมัรใต้โดมเขียวในมัสยิดอันนะบะวี มะดีนะฮ์ หน้าต่างบานแรกนับจากด้านขวามองเห็นหลุมฝังศพของอุมัร

ใน ค.ศ. 644 อุมัรถูกลอบสังหารจากทาสชาวเปอร์เซียนามอะบูลุอ์ลุอะฮ์ ฟีรูซ แรงจูงใจในการลอบสังหารของเขาไม่ชัดเจน แต่ข้อมูลสมัยกลางหลายแห่งระบุว่าเป็นข้อพิพาททางภาษีกับเจ้านายชาวอาหรับ อัลมุฆีเราะฮ์ อิบน์ ชัวะอ์อ์บะฮ์[31]

รายงานจากบันทึกประวัติศาสตร์ อะบูลุอ์ลุอะฮ์เป็นชาวโซโรอัสเตอร์จากแนฮอแวนด์ (อิหร่าน) ในขณะที่บางรายงานระบุเขาเป็นชาวคริสต์[32] เขาเป็นช่างไม้และช่างตีเหล็กที่มีทักษะสูง[33] และน่าจะถูกเจ้านาย อัลมุฆีเราะฮ์ จับเป็นเชลยในยุทธการที่แนฮอแวนด์ (ค.ศ. 642) และภายหลังนำเขาไปที่อาระเบีย ซึ่งเขาอาจเข้ารับอิสลาม[34] ส่วนอีกข้อมูลหนึ่งระบุว่าเขาถูกอัลมุฆีเราะฮ์จับเป็นเชลยในยุทธการที่อัลกอดิซียะฮ์ (ค.ศ. 636) หรือเขาถูกโฮร์มูซอน อดีตนายทหารซาเซเนียนที่ทำงานเป็นที่ปรึกษาแก่อุมัรหลังตนเองถูกมุสลิมจับกุม ขายให้กับอัลมุฆีเราะฮ์[35] แม้ว่าในรัชสมัยอุมัรจะห้ามพวกอะญัม (ผู้ไม่ใช่อาหรับ) เข้าข้างในมะดีนะฮ์ อะบูลุอ์ลุอะฮ์ได้รับข้อยกเว้น เนื่องจากอัลมุฆีเราะฮ์ส่งเขาไปรับใช้เคาะลีฟะฮ์[36]

เมื่ออัลมุฆีเราะฮ์บังคับให้อะบูลุอ์ลุอะฮ์จ่ายภาษีเคาะรอจญ์ 2 ดิรฮัมต่อวัน[37] อะบูลุอ์ลุอะฮ์หันไปหาอุมัรเพื่อประท้วงต่อภาษีนี้ แต่อุมัรปฏิเสธที่จะยกเลิกภาษีนี้ ทำให้อะบูลุอ์ลุอะฮ์เกิดความแค้น[38] ถึงแม้ว่านี่จะเป็นเหตุผลที่ปรากฏในบันทึกประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ในเรื่องการลอบสังหารอุมัรของอะบูลุอ์ลุอะฮ์[39] นโยบายอันเป็นอคติของอุมัรต่อเชลยที่ไม่ใช่ชาวอาหรับอาจมีส่วนสำคัญด้วย[40] วันหนึ่ง เมืองอุมัรกำลังนำละหมาดหมู่ในมัสยิดอันนะบะวี อะบูลุอ์ลุอะฮ์แทงพระองค์ด้วยดาบสั้นสองใบมีด[41] มีรายงานเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นหลายฉบับ: ในฉบับหนึ่ง เขาฆ่า Kulayb ibn al-Bukayr al-Laythi ที่ละหมาดหลังอุมัร[42] ในขณะที่อีกข้อมูลหนึ่งระบุว่า เขาแทงคนที่เข้ามาขัดขวาง 13 คน[43] บางรายงานระบุว่า เคาะลีฟะฮ์สวรรคตในวันเดียวกัน ในขณะที่บางรายงานระบุว่าพระองค์สวรรคตในสามวันถัดมา[33] ในกรณีใดก็ตาม อุมัรสวรรคตจากบาดแผลในวันพุธที่ 26 ษุลฮิจญ์ญะฮ์ ฮ.ศ. 23 (6 พฤศจิกายน ค.ศ. 644 ตามปฏิทินกริกอเรียน)[44]

อุมัรถูกฝังใต้โดมเขียวที่มัสยิดอันนะบะวีร่วมกับมุฮัมมัดกับเคาะลีฟะฮ์ อะบูบักร์ โดยได้รับอนุญาตจากอาอิชะฮ์ที่ให้แก่โอรสของพระองค์ อับดุลลอฮ์ อิบน์ อุมัร ตามคำขอของอุมัร[45]

ผลที่ตามมา

[แก้]

หลักฐานทางโบราณคดี

[แก้]
ข้อความบนศิลาจารึกที่เชื่อว่าเป็นลายเซ็นของอุมัร

ใน ค.ศ. 2012 มีผู้พบศิลาจารึกที่ al-Murakkab (ซาอุดีอาระเบีย) ซึ่งมีลายเซ็นที่เชื่อว่าเป็นของอุมัร[46]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Majlisi, Muhammad Baqir. Mir'at ul-Oqool. Vol. 21. p. 199.
  2. Al-Tusi, Nasir Al-Din. Al-Mabsoot. Vol. 4. p. 272.
  3. Hourani (1991), p. 23.
  4. Dubnow, Simon (1968). History of the Jews: From the Roman Empire to the Early Medieval Period. Vol. 2. Cornwall Books. p. 326. ISBN 978-0-8453-6659-2.
  5. Ahmed, Nazeer, Islam in Global History: From the Death of Prophet Muhammad to the First World War, American Institute of Islamic History and Cul, 2001, p. 34. ISBN 0-7388-5963-X.
  6. Bonner, M.; Levi Della Vida, G. "Umar (I) b. al-K̲h̲aṭṭāb". ใน P. Bearman; Th. Bianquis; C.E. Bosworth; E. van Donzel; W.P. Heinrichs (บ.ก.). Encyclopaedia of Islam. Vol. 10 (Second ed.). Brill. p. 820.
  7. "Hadith – Book of Companions of the Prophet – Sahih al-Bukhari – Sayings and Teachings of Prophet Muhammad (صلى الله عليه و سلم)". Sunnah.com.
  8. "Hadith – Book of Companions of the Prophet – Sahih al-Bukhari – Sayings and Teachings of Prophet Muhammad (صلى الله عليه و سلم)". Sunnah.com.
  9. Bonner, M.; Levi Della Vida, G. "Umar (I) b. al-K̲h̲aṭṭāb". ใน P. Bearman; Th. Bianquis; C.E. Bosworth; E. van Donzel; W.P. Heinrichs (บ.ก.). Encyclopaedia of Islam. Vol. 10 (Second ed.). Brill. p. 820. Shi'i tradition has never concealed its antipathy to Umar for having thwarted the claims of Ali and the House of the Prophet.
  10. "Umar Ibn Al-Khattab : His Life and Times, Volume 1". archive.org.
  11. Qazi, Moin. Umar Al Farooq: Man and Caliph (ภาษาอังกฤษ). Notion Press. ISBN 9789352061716.
  12. Muhammad Husayn Haykal (1944). Al Farooq, Umar. Chapter 1, p. 45.
  13. 13.0 13.1 13.2 Haykal, 1944. Chapter 1.
  14. Muhammad ibn Jarir al-Tabari, History of the Prophets and Kings
  15. Haykal, 1944. Chapter 1, pp. 40–41.
  16. Tabqat ibn Sa'ad. Chapter: Umar ibn Khattab.
  17. Haykal, 1944. Chapter 1, p. 47.
  18. 18.0 18.1 Haykal, 1944. Chapter 1, p. 51.
  19. Armstrong, p. 128.
  20. Haykal, 1944. Chapter 1, p. 53.
  21. "Umar's Conversion to Islam". Al-Islam.org. 10 November 2013. สืบค้นเมื่อ 4 August 2016.
  22. as-Suyuti, The History of Khalifahs Who Took The Right Way (London, 1995), pp. 107–108.
  23. Al Mubarakpury, Safi ur Rahman (2002). Ar-Raheeq Al-Makhtum (The Sealed Nectar). Darussalam. pp. 130–131. ISBN 9960-899-55-1.
  24. 24.0 24.1 Tartib wa Tahthib Kitab al-Bidayah wan-Nihayah by ibn Kathir, published by Dar al-Wathan publications, Riyadh Kingdom of Saudi Arabia, 1422 Anno hegiræ (2002), compiled by Muhammad ibn Shamil as-Sulami, p. 170, ISBN 978-9960-28-117-9
  25. Armstrong, p. 35.
  26. Serat-i-Hazrat Umar-i-Farooq, Mohammad Allias Aadil, p. 119
  27. Armstrong, p. 152.
  28. 28.0 28.1 as-Suyuti, The History of Khalifahs Who Took The Right Way (London, 1995), pp. 54–61.
  29. 29.0 29.1 "Hadith – Book of Companions of the Prophet – Sahih al-Bukhari – Sayings and Teachings of Prophet Muhammad (صلى الله عليه و سلم)". Sunnah.com. 26 April 2012. สืบค้นเมื่อ 29 January 2019.
  30. Madelung 1997, p. 404 refers to Jufayna as "al-Naṣrānī", indicating that he was a man. Moreover, while the murder weapon seems to be depicted here as a split-blade sword (like Zulfiqar), El-Hibri 2010, p. 109 describes it as "a unique dagger", having "two pointed sharp edges, with a handle in the middle". The picture is taken from Tārīkhunā bi-uslūb qaṣaṣī ('Our History in a Narrative style'), a popular history book first published in Iraq in 1935.
  31. Pellat (2011).
  32. Pellat 2011. ผู้เขียนสมัยใหม่มีมุมมองต่างกัน: Levi Della Vida & Bonner 2000 ระบุเพียง เขาเป็นทาสชาวคริสต์ ในขณะที่ Madelung 1997, p. 75, note 67 มองข้อมูลที่อ้างว่าเขาเป็นชาวคริสต์ไม่น่าเชื่อถือ. Ishkevari & Nejad 2008 กล่าวถึงรายงานจาก Mujmal al-tawārīkh wa-l-qiṣaṣ ผลงานที่ไม่ทราบผู้เขียน เขียนขึ้นประมาณ ค.ศ. 1126 ระบุว่า อะบูลุอ์ลุอะฮ์มาจาก Fin ซึ่งเป็นหมู่บ้านใกล้กับเมืองคอชอน.
  33. 33.0 33.1 Pellat 2011.
  34. นี่คือมุมมองของ Madelung 1997, p. 75, note 67.
  35. See the sources cited by El-Hibri 2010, pp. 108–109 (cf. also p. 112).
  36. Pellat 2011; cf. Madelung 1997, p. 75, note 64.
  37. ข้อมูลบางส่วนระบุที่ 3 ดิรฮัมต่อเดือน; ดูที่ Pellat 2011.
  38. Pellat 2011; Levi Della Vida & Bonner 2000. As pointed out by Pellat 2011, other accounts rather maintain that Abu Lu'lu'a's was angry about the caliph's raising a kharāj tax on his master al-Mughira.
  39. Levi Della Vida & Bonner 2000.
  40. นี่คือข้อสันนิษฐานของ Madelung 1997, p. 75.
  41. El-Hibri 2010, p. 109 describes the dagger as "unique", having "two pointed sharp edges, with a handle in the middle".
  42. Smith, G. Rex, บ.ก. (1994). The History of al-Ṭabarī, Volume XIV: The Conquest of Iran, A.D. 641–643/A.H. 21–23. SUNY Series in Near Eastern Studies. Albany, New York: State University of New York Press. p. 90. ISBN 978-0-7914-1293-0. Cf. El-Hibri 2010, p. 109. See also Caetani 1905–1926, vol. V, p. 216.
  43. El-Hibri 2010, p. 109.
  44. Levi Della Vida & Bonner 2000; Pellat 2011.
  45. Fayda & Koçak 2007, p. 46.
  46. Imbert, Frédéric (2019). "Espaces de liberté et contraintes graphiques dans les graffiti du début de l'islam". Savants, amants, poètes et fous : Séances offertes à Katia Zakharia. Beirut: Presses de l’Ifpo. pp. 161–174. doi:10.4000/books.ifpo.13413. ISBN 9782351595503. S2CID 213324606.

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]