ข้ามไปเนื้อหา

กาฐมาณฑุ

พิกัด: 27°43′02″N 85°19′26″E / 27.7172°N 85.3240°E / 27.7172; 85.3240
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก กาฐมัณฑุ)
กาฐมาณฑุ

काठमाडौँ (เนปาล)
𑐫𑐾𑑃 𑐡𑐾𑐫𑑂‎ / येँ देय् (เนวาร์)
กาฐมาณฑุมหานคร
เวียนขวาจากบน: ทิวนครกาฐมาณฑุ, ตุนทิเฆล, ปศุปตีนาถมนเทียร, ฆัณฏาฆร
ธงของกาฐมาณฑุ
ธง
คำขวัญ: 
เนปาล: सांस्कृतिक सहर, काठमाडौं महानगर, แปลตรงตัว'เมืองวัฒนธรรมวัฒนธรรม, กาฐมาณฑุมหานคร'
กาฐมาณฑุตั้งอยู่ในรัฐพาคมตี
กาฐมาณฑุ
กาฐมาณฑุ
กาฐมาณฑุตั้งอยู่ในประเทศเนปาล
กาฐมาณฑุ
กาฐมาณฑุ
กาฐมาณฑุตั้งอยู่ในทวีปเอเชีย
กาฐมาณฑุ
กาฐมาณฑุ
พิกัด: 27°43′02″N 85°19′26″E / 27.7172°N 85.3240°E / 27.7172; 85.3240
ประเทศ เนปาล
รัฐพาคมตี
อำเภอกาฐมาณฑุ
ผู้ก่อตั้งพระมันชุศรี
จำนวนแขวง32
การปกครอง
 • ประเภทนายกเทศบาล-สภาเทศบาลนคร
 • องค์กรรัฐบาลกาฐมาณฑุมหานคร
 • นายกเทศบาลพาเลนทร์ ชาห์ (อิสระ)
 • รองนายกสุนิตา ดังโกล (UML)
พื้นที่
 • เมืองหลวง49.45 ตร.กม. (19.09 ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล899 ตร.กม. (347 ตร.ไมล์)
ความสูง1,400 เมตร (4,600 ฟุต)
ประชากร
 • เมืองหลวง845,767 คน
 • อันดับที่ 1
 • ความหนาแน่น17,103 คน/ตร.กม. (44,300 คน/ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล2.9 ล้าน คน
 • อันดับเขตนครที่ 1
เขตเวลาUTC+05:45 (เวลามาตรฐานเนปาล)
รหัสไปรษณีย์446088
รหัสพื้นที่01
เว็บไซต์www.kathmandu.gov.np

กาฐมาณฑุ [กาด-มาน-ดุ] (อักษรโรมัน: Kathmandu[a]) หรือชื่อทางการ กาฐมาณฑุมหานครปาลิกา[b] เป็นเมืองหลวงและเมืองที่มีประชากรมากสุดของประเทศเนปาล มีประชากร 845,767 คนตามสำมะโนปี ค.ศ. 2021[1] และมีประชากรถึง 2.9 ล้านคนหากรวมเขตปริมณฑล กาฐมาณฑุตั้งอยู่ในหุบเขากาฐมาณฑุในเนปาลกลาง ที่ความสูง 1,400 เมตร (4,600 ฟุต) จากระดับน้ำทะเล

กาฐมาณฑุเป็นหนึ่งในสถานที่ที่มีการอยู่อาศัยต่อเนื่องยาวนานที่สุด ตั้งขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 2 และมีชื่อเรียกในสมัยโบราณว่า "เนปาลมณฑล" เป็นที่อยู่อาศัยของชาวเนวาร์ ซึ่งเป็นอารยธรรมของชนเชิงเขาหิมาลัย กาฐมาณฑุมีสถานะเป็นราชธานีของราชอาณาจักรเนปาลและเป็นที่ตั้งของพระราชวังและอุทยานหลวงที่สร้างขึ้นโดยพระบรมวงศานุวงศ์ของเนปาล กาฐมาณฑุยังเป็นที่ตั้งของศูนย์กลางสำหรับสมาคมเอเชียใต้เพื่อความร่วมมือระดับภูมิภาค (SAARC) มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1985 ในปัจจุบัน กาฐมาณฑุเป็นเมืองหลวงของประเทศเนปาล

ประชากรของกาฐมาณฑุมีวัฒนธรรมที่ผสมผสานทั้งฮินดูและพุทธ การท่องเที่ยวจัดเป็นธุรกิจสำคัญหนึ่งของกาฐมาณฑุ ข้อมูลจากปี ค.ศ. 2013 ระบุว่ากาฐมาณฑุอยู่อันดับสามในฐานะเมืองจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวที่กำลังมาแรงจากทั่วโลก และเป็นที่หนึ่งของเอเชีย จากการจัดอันดับของทริปแอดไวเซอร์ ถือกันว่ากาฐมาณฑุเป็นประตูสู่เขาหิมาลัยในเนปาล และยังเป็นที่ตั้งของแหล่งมรดกโลก เช่น จัตุรัสดูรบาร์, สวายัมภูนาถ, พุทธานาถ และปศุปตีนาถ หุบเขากาฐมาณฑุมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 4 ต่อปี ตามข้อมูลของธนาคารโลกในปี ค.ศ. 2010 ทำให้เป็นหนึ่งในเขตมหานครที่เติบโตเร็วที่สุดในเอเชียใต้ รวมถึงยังเป็นภูมิภาคแรกในเนปาลที่ต้องเผชิญกับการนคราภิวัตน์อย่างรวดเร็ว[3]

ภูมิอากาศ

[แก้]
ข้อมูลภูมิอากาศของกาฐมาณฑุ (ค.ศ. 1981–2010)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 19.1
(66.4)
21.4
(70.5)
25.3
(77.5)
28.2
(82.8)
28.7
(83.7)
29.1
(84.4)
28.4
(83.1)
28.7
(83.7)
28.1
(82.6)
26.8
(80.2)
23.6
(74.5)
20.2
(68.4)
25.63
(78.14)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 2.4
(36.3)
4.5
(40.1)
8.2
(46.8)
11.7
(53.1)
15.7
(60.3)
19.1
(66.4)
20.2
(68.4)
20.0
(68)
18.5
(65.3)
13.4
(56.1)
7.8
(46)
3.7
(38.7)
12.1
(53.78)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 14.4
(0.567)
18.7
(0.736)
34.2
(1.346)
61.0
(2.402)
123.6
(4.866)
236.3
(9.303)
363.4
(14.307)
330.8
(13.024)
199.8
(7.866)
51.2
(2.016)
8.3
(0.327)
13.2
(0.52)
1,454.9
(57.28)
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย 2 3 4 6 12 17 23 22 15 4 1 1 110
แหล่งที่มา 1: Department of Hydrology and Meteorology (1981–2010) [4]
แหล่งที่มา 2: World Meteorological Organization (UN) (precipitation days only)[5]

เมืองพี่น้อง

[แก้]

กาฐมาณฑุมีข้อตกลงเมืองพี่น้องกับ:[6]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ภาษาอังกฤษ: /ˌkætmænˈd/ [2] เนปาล: काठमाडौँ, เสียงอ่านภาษาเนปาล: [ˌkaʈʰmaɳˈɖu], เนวาร์: 𑐫𑐾𑑃 𑐡𑐾𑐫𑑂‎/ येँ देय्
  2. เนปาล: काठमाडौँ महानगरपालिका หรือ เยม มหานครปาลิกา เนวาร์: 𑐫𑐾𑑃 𑐩𑐴𑐵𑐣𑐐𑐬𑐥𑐵𑐮𑐶𑐎𑐵‎ / येँ महानगरपालिका

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 राष्ट्रिय जनगणना २०७८ को प्रारम्भिक प्रतिवेदन (PDF) (ภาษาเนปาล). Central Bureau of Statistics, Nepal. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2022. สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2022.
  2. "Definition of Kathmandu in English". Oxford Dictionaries. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2014. สืบค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2022.
  3. "Managing Nepal's Urban Transition" (ภาษาอังกฤษ). World Bank. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2019. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2019.
  4. "NORMALS FROM 1981-2010" (PDF). Department of Hydrology and Meteorology (Nepal). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 11 พฤษภาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2012.
  5. "World Weather Information Service – Kathmandu". World Meteorological Organization. สิงหาคม 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 ตุลาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2010.
  6. "KMC International Relationship With Sister Cities". kathmandu.gov.np. Kathmandu Metropolitan City. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2020. สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ กาฐมาณฑุ
  • คู่มือการท่องเที่ยว กาฐมาณฑุ จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)