ลาซ่า
ลาซ่า ལྷ་ས་གྲོང་ཁྱེར། · 拉萨市 | |
---|---|
สถานที่ต่าง ๆ ในนครลาซ่า | |
ที่ตั้งของนครลาซ่าในเขตปกครองตนเองทิเบต | |
พิกัด (หน่วยงานบริหารจังหวัดลาซ่า): 29°39′12″N 91°10′19″E / 29.6534°N 91.1719°E | |
ประเทศ | จีน |
เขตปกครองตนเอง | ทิเบต |
การปกครอง | |
• ประเภท | นครระดับจังหวัด |
• เลขาธิการพรรค | Che Dalha |
• นายกเทศมนตรี | Zhang Tingqing |
พื้นที่ | |
• นครระดับจังหวัด | 29,274 ตร.กม. (11,303 ตร.ไมล์) |
• เขตเมือง | 53 ตร.กม. (20 ตร.ไมล์) |
ความสูง | 4,200 เมตร (13,800 ฟุต) |
ประชากร (2015) | |
• นครระดับจังหวัด | 902,500[1] คน |
• ความหนาแน่น | 30.8 คน/ตร.กม. (80 คน/ตร.ไมล์) |
เขตเวลา | UTC+8 (เวลามาตรฐานจีน) |
รหัสพื้นที่ | 891 |
รหัส ISO 3166 | CN-XZ-01 |
ป้ายทะเบียนรถ | 藏A |
เว็บไซต์ | Lasa.gov.cn |
ลาซ่า | |||||||||||||||
"ลาซ่า" เขียนด้วยอักษรจีนตัวย่อ (ซ้าย) และอักษรทิเบต (ขวา) | |||||||||||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 拉萨 | ||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 拉薩 | ||||||||||||||
ฮั่นยฺหวี่พินอิน | Lāsà | ||||||||||||||
ความหมายตามตัวอักษร | (ภาษาทิเบต) "ผืนดินแห่งพระพุทธองค์" | ||||||||||||||
| |||||||||||||||
หลัวเซีย | |||||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 逻些 | ||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 邏些 | ||||||||||||||
ฮั่นยฺหวี่พินอิน | Luóxiē | ||||||||||||||
| |||||||||||||||
ชื่อภาษาทิเบต | |||||||||||||||
อักษรทิเบต | ལྷ་ས་ | ||||||||||||||
|
ลาซ่า[2] (ทิเบต: ལྷ་ས་, จีนตัวย่อ: 拉萨; จีนตัวเต็ม: 拉薩; พินอิน: Lāsà) บ้างถูกเรียกในภาษาจีนกว่า เฉิงกวน เป็นเมืองหลวงของเขตปกครองตนเองทิเบตแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน จัดว่าเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับสองในที่ราบสูงทิเบต รองจากเมืองซีหนิง และอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลถึง 3,490 เมตร (11,450 ฟุต) ซึ่งนั่นเองทำให้ลาซ่ากลายเป็นหนึ่งในเมืองที่อยู่สูงที่สุดของโลก ในเมืองประกอบไปด้วยหลายวัฒนธรรมที่สำคัญ โดยเฉพาะศาสนสถานของศาสนาพุทธ-ทิเบต เช่นพระราชวังโปตาลา หรือ วัดโจคัง หรือ พระราชวังโนร์บูกลิงกา เป็นต้น
นิรุกติศาสตร์
[แก้]ลาซ่าแท้จริงหมายถึง "ผืนดินแห่งพระพุทธองค์" เอกสารเกี่ยวกับทิเบตโบราณและจารึกต่าง ๆ ได้แสดงให้เห็นว่า สถานที่ซึ่งถูกเรียกว่า "ราซา" อาจหมายถึงสถานที่เลี้ยงแพะ หรือเป็นคำที่ย่อมาจากคำว่า "ระเว ซา" สถานที่ที่รายล้อมไปด้วยกำแพง [3] อย่างไรก็ตาม ชื่อลาซ่าที่ถูกบันทึกเป็นครั้งแรกนั้นมีความหมายถึงวัดโจโว ในการเจรจาระหว่างจีนกับทิเบตใน ค.ศ. 822 [4]
ประวัติศาสตร์
[แก้]กลางคริสต์ศตวรรษที่ 7 ซรอนซันกัมโป กลายเป็นผู้นำของจักรวรรดิทิเบต ที่มีอำนาจเหนือลุ่มแม่น้ำพรหมบุตร (มักเรียกว่า แม่น้ำยารลุงซรอนโป) ภายหลังจากมีชัยชนะเหนืออาณาจักรฉางชุงทางตะวันตก ซรอนซันกัมโป ได้ย้ายเมืองหลวงจากชิงวาตักเซร ที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของยารลุง มายังราซา (ลาซ่าในภายหลัง) ซึ่งในปี ค.ศ. 673 ก็ริเริ่มการก่อสร้างพระราชวังโปตาลา
ภูมิศาสตร์
[แก้]กรุงลาซ่าครอบคลุมบริเวณพื้นที่ถึง 30,000 ตารางกิโลเมตร นับรวมพื้นที่ตอนกลางขนาด 544 ตารางกิโลเมตร [5] และมีประชากรทั้งหมด 500,000 คน ในจำนวนนี้จำนวน 250,000 คนเป็นประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเมือง ลาซ่าเป็นที่อยู่ของชาวทิเบต ชาวฮั่น และ ชาวหุย เช่นเดียวกับหลายกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ แต่โดยรวมแล้ว ชาวทิเบตมีจำนวนประชากรมากที่สุด
ลาซ่าตั้งอยู่ด้านล่างของแอ่งขนาดเล็ก ล้อมรอบไปด้วยเทือกเขาหิมาลัย ลาซ่ามีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 3,600 เมตร[6] และตั้งอยู่ในใจกลางที่ราบสูงทิเบตที่มีภูเขาล้อมรอบที่อาจมีความสูงถึง 5,500 เมตร ในอากาศมีออกซิเจนเพียง 68% ของปริมาณออกซิเจนที่ระดับน้ำทะเล[7] ทางใต้ของเมืองมีแม่น้ำไหลผ่านชื่อว่า แม่น้ำลาซ่า ซึ่งเป็นแควหนึ่งของแม่น้ำหยาหลู่จั้งปู้ แม่น้ำลาซ่านี้เองเป็นที่รู้จักโดยชาวทิเบตท้องถิ่นในนาม "คลื่นความสุขสีคราม"
เขตการปกครอง
[แก้]แผนที่ | # | ชื่อ | ตัวจีน | พินอิน | ตัวทิเบต | ประชากร (ค.ศ. 2003) | พื้นที่ (ตร.กม.) | ความหนาแน่น (คน/ตร.กม.) |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
แผนที่แสดงเขตต่างๆในลาซ่า | ||||||||
เขตเมือง | ||||||||
1 | เขตครินกง | 城关区 | Chéngguān Qū | ཁྲིན་ཀོན་ཆུས་ | 140,000 | 525 | 267 | |
เขตชนบท | ||||||||
2 | อำเภอลุนกรุบ | 林周县 | Línzhōu Xiàn | ལྷུན་གྲུབ་རྫོང་ | 60,000 | 4,100 | 14 | |
3 | อำเภอดัมชวง | 当雄县 | Dāngxióng Xiàn | འདམ་གཞུང་རྫོང | 40,000 | 10,234 | 4 | |
4 | อำเภอเน่ยโม | 尼木县 | Nímù Xiàn | སྙེ་མོ་རྫོང་ | 30,000 | 3,266 | 9 | |
5 | อำเภอคิวเชิว | 曲水县 | Qūshuǐ Xiàn | ཆུ་ཤུར་རྫོང་ | 30,000 | 1,624 | 18 | |
6 | อำเภอดนลุงเปยเชิน | 堆龙德庆县 | Duīlóngdéqìng Xiàn | སྟོད་ལུང་བདེ་ཆེན་རྫོང་ | 40,000 | 2,672 | 15 | |
7 | อำเภอตังเชร | 达孜县 | Dázī Xiàn | སྟག་རྩེ་རྫོང་ | 30,000 | 1,361 | 22 | |
8 | อำเภอไมงอรกุงข่า | 墨竹工卡县 | Mòzhúgōngkǎ Xiàn | མལ་གྲོ་གུང་དཀར་རྫོང་ | 40,000 | 5,492 | 7 |
ภูมิอากาศ
[แก้]ข้อมูลภูมิอากาศของลาซ่า (1971−2000) | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 7.2 (45) |
9.3 (48.7) |
12.7 (54.9) |
15.9 (60.6) |
19.9 (67.8) |
23.2 (73.8) |
22.6 (72.7) |
21.4 (70.5) |
19.9 (67.8) |
17.0 (62.6) |
12.1 (53.8) |
8.0 (46.4) |
15.8 (60.4) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | −9.0 (15.8) |
−5.8 (21.6) |
−2.1 (28.2) |
1.5 (34.7) |
5.6 (42.1) |
9.8 (49.6) |
10.4 (50.7) |
9.7 (49.5) |
7.7 (45.9) |
2.0 (35.6) |
−4.2 (24.4) |
−8.2 (17.2) |
1.5 (34.7) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | .8 (0.031) |
1.2 (0.047) |
2.9 (0.114) |
6.1 (0.24) |
27.7 (1.091) |
71.2 (2.803) |
116.6 (4.591) |
120.6 (4.748) |
68.3 (2.689) |
8.8 (0.346) |
1.3 (0.051) |
1.0 (0.039) |
426.5 (16.791) |
ความชื้นร้อยละ | 28 | 26 | 27 | 37 | 44 | 51 | 62 | 66 | 63 | 49 | 38 | 34 | 43.8 |
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 0.1 mm) | .7 | 1.0 | 1.6 | 4.3 | 9.9 | 14.3 | 19.1 | 20.0 | 15.4 | 4.5 | .7 | .6 | 92.1 |
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด | 250.9 | 226.7 | 246.1 | 248.9 | 276.6 | 257.3 | 227.4 | 219.6 | 229.0 | 281.7 | 267.4 | 258.6 | 2,990.2 |
แหล่งที่มา: กองอำนวยการอุตุนิยมวิทยาจีน [8] |
ประชากรศาสตร์
[แก้]ประชากรในอดีต
[แก้]จาก สารานุกรมบริแตนนิกา ฉบับที่ 11 ตีพิมพ์ระหว่างปี ค.ศ. 1910-1911 ได้บึนทึกเกี่ยวกับประชากรทั้งหมดของลาซ่า รวมถึงลามะในเมืองและบริเวณใกล้เคียงว่ามีจำนวนประมาณ 30,000 คน[9] แต่จากการสำรวจสำมะโนประชากรในปี ค.ศ. 1854 นั้นพบว่ามีประชากรราว 42,000 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าระหว่างปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ประชากรในลาซ่านั้นลดลงอย่างมาก สารานุกรมบริแตนนิกายังได้ตั้งข้อสังเกตอีกว่า ในลาซ่านั้นมีจำนวนบ้านเรือนของชาวทิเบตซึ่งเป็นฆราวาสอยู่ราว 1,500 ครัวเรือน ซึ่งมีสตรีทิเบตอยู่เพียง 5,500 คน[9] ขณะเดียวกัน ในลาซ่ายังมีเชื้อชาติอื่น ๆ มาอาศัยอยู่ ในจำนวนนี้เป็นชาวจีนราว 2,000 คน[9] และจากประเทศใกล้เคียงเช่นเนปาล ราว 800 คน และจำนวยน้อยมากจากภูฏานกับมองโกเลีย
ในช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 นักสำรวจตะวันตกชื่อดังหลายคนเดินทางไปลาซ่า อาทิ ฟรานซิส ยังฮัสแบนด์, อเล็กซานดรา เดวิด นีล และ ไฮน์ริค ฮาร์เรอร์ พวกเขาพบว่าลาซ่าเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนาในทิเบต และประชากรเกือบครึ่งเป็นพระสงฆ์
ส่วนใหญ่ของประชากรก่อน-1950 ชาวจีนในลาซ่าเป็นพ่อค้าและเจ้าหน้าที่ ในแถบลูบูของลาซ่า ประชาชนที่อาศัยอยู่ในแถบนั้นล้านเป็นลูกหลานของเกษตรกรผู้ปลูกผักชาวจีน ซึ่งในบางส่วนแต่งงานกับภรรยาชาวทิเบต พวกเขามาถึงลาซ่าในทศวรรษที่ 1840-1860 ภายหลังจากที่จีนได้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ระดับสูงเข้ามา[10]
ประชากรในปัจจุบัน
[แก้]ประชากรทั้งหมดของลาซ่าในปัจจุบันคือ 521,500 คน (รวมถึงผู้อพยพ แต่ไม่รวมทหารรักษาการณ์ของจีน) ในจำนวนนี้ 257,400 คนอยู่ในเขตเมือง (เป็นผู้อพยพจำนวน 100,700 คน) ในขณะที่ประชากรอีกราว 264,100 คน[11] อยู่ในเขตชนบท
จากการสำรวจสำมะโนประชากรในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2000 มีข้อมูลของการกระจายชาติพันธุ์ในลาซ่าเป็นดังนี้:
กลุ่มชาติพันธุ์หลักในลาซ่าตามอำเภอหรือเขต ค.ศ. 2000[12] | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ทั้งหมด | ชาวทิเบต | ชาวฮั่น | อื่น ๆ | ||||
ลาซ่า | 474,499 | 387,124 | 81.6% | 80,584 | 17.0% | 6,791 | 1.4% |
อำเภอครินกง | 223,001 | 140,387 | 63.0% | 76,581 | 34.3% | 6,033 | 2.7% |
เขตลุนกรุบ | 50,895 | 50,335 | 98.9% | 419 | 0.8% | 141 | 0.3% |
เขตดัมชวง | 39,169 | 38,689 | 98.8% | 347 | 0.9% | 133 | 0.3% |
เขตเน่ยโม | 27,375 | 27,138 | 99.1% | 191 | 0.7% | 46 | 0.2% |
เขตคิวเชิว | 29,690 | 28,891 | 97.3% | 746 | 2.5% | 53 | 0.2% |
เขตดนลุงเปยเชิน | 40,543 | 38,455 | 94.8% | 1,868 | 4.6% | 220 | 0.5% |
เขตตังเชร | 24,906 | 24,662 | 99.0% | 212 | 0.9% | 32 | 0.1% |
เขตไมงอรกุงข่า | 38,920 | 38,567 | 99.1% | 220 | 0.6% | 133 | 0.3% |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 拉萨人口. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-01. สืบค้นเมื่อ 2020-10-24.
- ↑ ราชบัณฑิตยสภา. ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2564 (หน้า 21)
- ↑ Anne-Marie Blondeau and Yonten Gyatso, 'Lhasa, Legend and History,' in Françoise Pommaret-Imaeda (ed.)Lhasa in the seventeenth century: the capital of the Dalai Lamas, BRILL, 2003, pp.15-38, pp.21-22.
- ↑ Anne-Marie Blondeau and Yonten Gyatso, 'Lhasa, Legend and History,' pp.21-22.
- ↑ National Geographic Atlas of China (2007), p. 88. National Geographic, Washington, D.C. ISBN 978-1-4262-0136-3.
- ↑ National Geographic Atlas of China. (2008), p. 88. National Geographic, Washington D.C. ISBN 978-1-4262-0136-3.
- ↑ Dorje (1999), p. 68.
- ↑ "中国地面国际交换站气候标准值月值数据集(1971-2000年)" (ภาษาจีนตัวย่อ). China Meteorological Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-16. สืบค้นเมื่อ 2010-05-04.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 LHASA. Encyclopædia Britannica, 11th Edition
- ↑ Shail Mayaram (2009). The other global city. Taylor & Francis US. p. 60. ISBN 0-415-99194-3. สืบค้นเมื่อ 2010-06-28.
- ↑ "People's Government of Lhasa Official Website - "Administrative divisions"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-17. สืบค้นเมื่อ 2012-09-21.
- ↑ Department of Population, Social, Science and Technology Statistics of the National Bureau of Statistics of China (国家统计局人口和社会科技统计司) and Department of Economic Development of the State Ethnic Affairs Commission of China (国家民族事务委员会经济发展司), eds. Tabulation on Nationalities of 2000 Population Census of China (《2000年人口普查中国民族人口资料》). 2 vols. Beijing: Nationalities Publishing House (民族出版社), 2003. (ISBN 7-105-05425-5)