สรยุทธ สุทัศนะจินดา
สรยุทธ สุทัศนะจินดา | ||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
สรยุทธกำลังจัดรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์ ที่อาคารมาลีนนท์ พ.ศ. 2552 | ||||||||||
เกิด | 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย | |||||||||
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยกรุงเทพ (นศ.บ.) | |||||||||
อาชีพ | ผู้ประกาศข่าว ยูทูบเบอร์ | |||||||||
ปีปฏิบัติงาน | พ.ศ. 2531 – 2559 พ.ศ. 2564 – ปัจจุบัน | |||||||||
ตัวแทน | ฝ่ายข่าว ช่อง 3 เอชดี | |||||||||
มีชื่อเสียงจาก | ถึงลูกถึงคน คุยคุ้ยข่าว เรื่องเล่าเช้านี้ เรื่องเล่าเสาร์–อาทิตย์ กรรมกรข่าวคุยนอกจอ | |||||||||
โทรทัศน์ | ช่อง 3 เอชดี | |||||||||
คู่สมรส | เพียงจันทร์ ว่องวิชชุเวทย์ | |||||||||
ข้อมูลยูทูบ | ||||||||||
ช่อง | ||||||||||
ปีปฏิบัติงาน | พ.ศ. 2560 – ปัจจุบัน | |||||||||
ประเภท | ข่าว | |||||||||
จำนวนผู้ติดตาม | 1.13 ล้านคน[1] | |||||||||
จำนวนผู้เข้าชม | 244.25 ล้านครั้ง[1] | |||||||||
ภาษาของเนื้อหา | ภาษาไทย | |||||||||
| ||||||||||
ข้อมูลเมื่อ: 23 สิงหาคม พ.ศ. 2567 | ||||||||||
สรยุทธ สุทัศนะจินดา (เกิด 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2509) ชื่อเล่น ยุทธ เป็นผู้ประกาศข่าวและผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ชาวไทย ที่มีชื่อเสียงในการสัมภาษณ์ที่เป็นเอกลักษณ์ และการนำข่าวพาดหัวหนังสือพิมพ์มาอ่านในรายการโทรทัศน์พร้อมขยายความให้ผู้ชมเข้าใจเนื้อหาข่าวง่ายขึ้น หรือที่เรียกว่าเล่าข่าว (News Talk)[2] ซึ่งถือเป็นต้นแบบของการนำเสนอข่าวในประเทศไทยในปัจจุบัน และจากการทำงานที่สรยุทธทุ่มเทเวลาให้กับข่าวอย่างเต็มที่เหมือนแรงงานหรือกรรมกร ทำให้มีอีกฉายาคือ กรรมกรข่าว มีผลงานที่เป็นที่รู้จักหลายรายการ เช่น เรื่องเล่าเช้านี้, เรื่องเล่าเสาร์–อาทิตย์, คุยคุ้ยข่าว และ ถึงลูกถึงคน
ประวัติ
สรยุทธเกิดวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 เป็นบุตรคนที่ 2 จากทั้งหมด 3 คนของสมศักดิ์ และวิชชุดา สุทัศนะจินดา (แซ่โล้) มีพี่สาวชื่อ สุกัญญา น้องสาวชื่อ สุภาวดี[3]
สรยุทธเข้าศึกษาในโรงเรียนอำนวยศิลป์ เป็นรุ่นที่ 57 เคยไปทะเลาะวิวาทจนกระทั่งถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุม ส่งผลให้ต้องไปใช้ชีวิตในบ้านเมตตา 15 วัน ก่อนจะกลับตัวกลับใจในการตั้งใจเรียนจนจบชั้นมัธยมศึกษา[4] และสำเร็จการศึกษานิเทศศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (เกียรตินิยมอันดับ 1) เมื่อปี พ.ศ. 2530[3]
สรยุทธเริ่มทำงานด้านสื่อครั้งแรกในสังกัดหนังสือพิมพ์ เดอะ เนชั่น เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2531 โดยทำข่าวสายรัฐสภาเป็นเวลาสองปี และทำข่าวสายทำเนียบรัฐบาลอีกสองปี ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 ได้ประจำในกองบรรณาธิการ ในตำแหน่งผู้ช่วยหัวหน้าข่าวการเมือง และในปี พ.ศ. 2537 ได้เลื่อนตำแหน่งมาเป็นหัวหน้าข่าวการเมือง ในปี พ.ศ. 2540 ได้มาเป็นบรรณาธิการข่าว และจัดรายการวิเคราะห์ข่าวให้สถานีโทรทัศน์ช่องต่าง ๆ รวมถึงสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ที่เนชั่นไปร่วมผลิตรายการข่าวให้ในขณะนั้น[5] สุดท้ายเป็นรองบรรณาธิการบริหาร หนังสือพิมพ์ เดอะ เนชั่น[3]
ต่อมาในปี พ.ศ. 2546 สุพล วิเชียรฉาย ผู้กำกับละครจากค่ายบางกอกการละคอน ในเครือบริษัท บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) (ชื่อในขณะนั้น) นำสรยุทธมาเป็นพิธีกรในรายการเกมโชว์รายการใหม่ของตน ชื่อว่า "กล่องวิเศษ Magic Box" ออกอากาศทางช่อง 3 ทำให้ประวิทย์ มาลีนนท์ ผู้บริหารช่อง 3 ในขณะนั้น เกิดแนวคิดในการผลิตรายการภาคเช้าในรูปแบบของสรยุทธ[6] อย่างไรก็ตาม บริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด ไม่ยินยอมที่จะให้ไปทำรายการดังกล่าว สรยุทธจึงลาออกจากเนชั่นเมื่อเดือนพฤษภาคมปีเดียวกัน[7] และเริ่มจัดรายการ เรื่องเล่าเช้านี้ ทางช่อง 3 เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2546[8]
นอกจากการเป็นผู้ดำเนินรายการแล้ว สรยุทธยังดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ บริษัท ไร่ส้ม จำกัด (ผลิตรายการโทรทัศน์) และบริษัท ชัดถ้อยชัดคำ จำกัด (รับจัดงานและกิจกรรม)[ต้องการอ้างอิง]
ชีวิตส่วนตัว สรยุทธสมรสกับเพียงจันทร์ ว่องวิชชุเวทย์ พนักงานอิสระ (Freelance) ของสำนักพิมพ์เนชั่นบุ๊คส์ ไม่มีบุตรด้วยกัน
คดีไร่ส้ม
เมื่อปลายปี พ.ศ. 2550 บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เข้าร้องทุกข์ที่สถานีตำรวจนครบาลห้วยขวางให้ดำเนินคดีกับพนักงาน บมจ.อสมท จำนวน 2 คน ในข้อหากระทำผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502, บริษัท ไร่ส้ม จำกัด รวมถึงสรยุทธในฐานะกรรมการผู้จัดการ ในฐานสนับสนุนเจ้าพนักงานของรัฐกระทำผิดด้วยการยักยอกเงินค่าโฆษณาเกินเวลาในรายการ "คุยคุ้ยข่าว" ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี ทำให้ บมจ.อสมท ได้รับความเสียหายจากค่าโฆษณาเป็นเงิน 138,790,000 บาท และ สน.ห้วยขวาง ส่งสำนวนทั้งหมดให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2550[9] ก่อนที่ ป.ป.ช. จะชี้มูลความผิดสรยุทธ ในวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555
พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 2 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง โดยเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ศาลชั้นต้นตัดสินจำคุกสรยุทธ 13 ปี 4 เดือนไม่รอลงอาญา และปรับเงินไร่ส้มอีก 80,000 บาท โดยสรยุทธได้อุทธรณ์สู้คดีต่อ[10] จนกระทั่งในวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2563 ศาลฎีกาพิพากษาจำคุกสรยุทธเป็นเวลา 6 ปี 24 เดือน โดยไม่รอลงอาญา[11]
อย่างไรก็ตาม จากความหวาดวิตกกังวลของผู้ต้องขังในเรือนจำต่อสถานการณ์การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย จนเกิดเหตุการณ์ผู้ต้องขังหนีออกและเผาเรือนจำที่จังหวัดบุรีรัมย์ กรมราชทัณฑ์จึงต้องกอบกู้ความน่าเชื่อถือ โดยนำสรยุทธมาจัดรายการ "เรื่องเล่าชาวเรือนจำ" เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ต้องขัง จนสถานการณ์ที่เรือนจำในเวลาต่อมาค่อย ๆ ดีขึ้นตามลำดับ[12] ทำให้ในเวลาต่อมา สรยุทธได้เลื่อนชั้นเป็นผู้ต้องขังชั้นเยี่ยม ได้รับการลดวันต้องโทษตาม พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ 2 ครั้ง และได้รับการพักโทษเป็นกรณีพิเศษเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2564[13] โดยติดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัวไว้ที่ข้อเท้าซ้าย[14][15] และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาฝ่ายข่าวให้แก่กรรมการผู้อำนวยการช่อง 3 เอชดี เมื่อวันที่ 1 เมษายน[16] จนกระทั่งได้รับการพระราชทานอภัยโทษอย่างสมบูรณ์ในวันที่ 28 กรกฎาคม ปีเดียวกัน[17]
ผลงาน
รายการโทรทัศน์
ปัจจุบัน
- เรื่องเล่าเช้านี้ ทางช่อง 3 เอชดี (2 มิถุนายน พ.ศ. 2546 – 3 มีนาคม พ.ศ. 2559 / 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 – ปัจจุบัน)
- เรื่องเล่าเสาร์–อาทิตย์ ทางช่อง 3 เอชดี (6 มกราคม พ.ศ. 2550 – 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 / 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 – ปัจจุบัน)
- กรรมกรข่าวคุยนอกจอ ทางช่องยูทูบ สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว (24 เมษายน พ.ศ. 2566 – ปัจจุบัน)
อดีต
- วีซีดีสารคดี บันทึกเมืองไทย (พ.ศ. 2544)
- วิเคราะห์ข่าว (พ.ศ. 2539 - 2543)
- เวทีไอทีวี ทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวี (พ.ศ. 2539 - 2543)
- ฟังความรอบข้าง (พ.ศ. 2539 - 2543)
- ไอทีวี ทอล์ก (พ.ศ. 2539 - 2543)
- เก็บตกจากเนชั่น ทางเนชั่น แชนแนล (1 มิถุนายน พ.ศ. 2543 - พฤษภาคม พ.ศ. 2546)
- รายการคมชัดลึก ทางเนชั่น แชนแนล (พ.ศ. 2543 - 2546)
- ก๊วนกวนข่าว ทางเนชั่น แชนแนล
- กล่องวิเศษ ทางช่อง 3 (2 มกราคม - 25 กันยายน พ.ศ. 2546)
- ถึงลูกถึงคน ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี (3 มิถุนายน พ.ศ. 2546 - 29 ธันวาคม พ.ศ. 2549)
- คุยคุ้ยข่าว ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี (3 เมษายน พ.ศ. 2547 - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2549)
- จับเข่าคุย ทางช่อง 3 (4 ตุลาคม พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2547 / 14 เมษายน - 24 ธันวาคม พ.ศ. 2550 / 14 มกราคม พ.ศ. 2551 - 27 เมษายน พ.ศ. 2552)
- เรื่องเด่นเย็นนี้ ช่วง เจาะข่าวเด่น ทางช่อง 3 เอชดี (29 มกราคม พ.ศ. 2550 - 2 มีนาคม พ.ศ. 2559 / 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2564)
- เรื่องเล่าชาวเรือนจำ ออกอากาศในเรือนจำ 143 แห่งทั่วประเทศ และช่องทางออนไลน์ของกรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม (21 มีนาคม พ.ศ. 2563 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2564)[18]
งานเขียน
คอลัมน์
- คอลัมน์ คุยนอกสนาม ในนิตยสารแพรว (ปัจจุบันเลิกเขียนแล้ว)
- คอลัมน์ พูดจาประสาข่าว ในหนังสือพิมพ์คมชัดลึก (ปัจจุบันเลิกเขียนแล้ว)
- คอลัมน์ คุยคุ้ยข่าว ในหนังสือพิมพ์คมชัดลึก (ปัจจุบันเลิกเขียนแล้ว)
หนังสือเล่ม
- คมชัดลึก (เนชั่นบุ๊กส์)
- กรรมกรข่าว (อมรินทร์)
- กรรมกรข่าว 2 งานรับเหมา (อมรินทร์)
- คุยนอกสนาม (อมรินทร์)
- กรรมกรข่าว 3 (อมรินทร์)
ฉายา
- กรรมกรข่าว - จากชื่อหนังสือที่สรยุทธเขียน และถูกเปรียบเทียบจากสื่อมวลชนด้วยกันว่าขยันทำงานดั่งแรงงานหรือกรรมกร[19]
- ป๋าเสี้ยม - โดยสมาคมนักข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย จากกรณีผู้ร่วมรายการถึงลูกถึงคน ทำร้ายกันในรายการ[20]
- บ่าง - โดย ทักษิณ ชินวัตร จากข่าวที่ทักษิณกล่าวถึงนักบินที่ประสบอุบัติเหตุเครื่องบินตกเสียชีวิตที่จังหวัดสุพรรณบุรี[21]
- สรยวย, สรย้วย - โดยสื่อในเครือผู้จัดการ[22]
รางวัลที่ได้รับ
- รางวัลเทพทองพระราชทาน
- ท็อปอวอร์ดส 2003, 2004, 2010
- สตาร์เอ็นเตอร์เทนเมนท์อวอร์ดส 2003, 2004
- รางวัลโทรทัศน์ทองคำ
- เกิดอวอร์ด 2012 สาขา เกิดมาให้
- รางวัลนิตยสารเปรียว
- รางวัลนาฏราช สาขา ผู้ประกาศข่าวชายดีเด่น
- รางวัล Thailand Social Award
- 3 อันดับ ผู้ประกาศข่าวแห่งปี จากอีสานโพล
- รางวัล GQ MEN OF THE YEAR 2023 สาขา Lifetime Achievement in Journalism
ข้อวิพากษ์วิจารณ์
บทความนี้หรือส่วนนี้ของบทความต้องการปรับรูปแบบ ซึ่งอาจหมายถึง ต้องการจัดรูปแบบข้อความ จัดหน้า แบ่งหัวข้อ จัดลิงก์ภายใน และ/หรือการจัดระเบียบอื่น ๆ คุณสามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้โดยการกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน จากนั้นปรับปรุงหรือจัดรูปแบบอื่น ๆ ในบทความให้เหมาะสม |
- ถูกวิจารณ์ว่านำเสนอข่าวที่ไม่เป็นสาระโดยให้เวลาและความสำคัญเป็นพิเศษ ไม่ให้ความสำคัญและน้ำหนักเทียบเท่ากับเรื่องอื่น ๆ ที่สำคัญกว่า
- การเล่าข่าวในรายการเรื่องเล่าเช้านี้และคุยคุ้ยข่าว ซึ่งนำข่าวพาดหัวหนังสือพิมพ์มาอ่านในรายการโทรทัศน์ โดยมีการนำเสนอเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากสื่อมวลชนด้วยกันถึงความเหมาะสมที่สื่อโทรทัศน์ซึ่งมีทรัพยากรและบุคลากรเพียงพอที่จะทำข่าวอย่างมีคุณภาพ กลับนำข่าวจากสื่อหนังสือพิมพ์มานำเสนอโดยสอดแทรกความเห็นของตัวเอง โดยไม่มีการหาข้อมูลในเชิงลึกเพิ่มเติม จนถูกบางคนเรียกชื่อรายการว่า "คุยคุ้ยเขี่ย" [23][24][25]
- กรณีการนำสินค้าเข้ามาประกอบในรายการ และเก็บรายได้จากเจ้าของสินค้า โดยไม่นำส่งส่วนแบ่งรายได้ของ บมจ.อสมท ตามสัดส่วน เป็นเงินถึง 98 ล้านบาท[26][27][28] [29] [30]
- กรณีเปิดให้มีการส่งข้อความสั้นเข้ามาแสดงความคิดเห็นในรายการ โดยอ้างว่าเพื่อการเปิดกว้างแสดงความเห็น โดยมีของรางวัลสมนาคุณ แต่มีการแสวงหาประโยชน์จากการแบ่งรายได้กับบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์[31]
หลังจากข้อเท็จจริงเรื่องนี้ถูกเปิดเผย และเป็นข่าวทางหนังสือพิมพ์ และถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง สรยุทธกลับเก็บตัวเงียบ ปฏิเสธว่าไม่ได้รับรู้ด้วย [32] และปิดปรับปรุงส่วนบอร์ดรับความคิดเห็นในเว็บไซต์ส่วนตัวอย่างไม่มีกำหนด[33]
- ราวเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2549 สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บมจ.อสมท ตรวจพบว่า บริษัท ไร่ส้มฯ ของสรยุทธค้างรายได้จากการโฆษณาเป็นเงินเกือบ 100 ล้านบาท โดยที่มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.อสมท อาจรู้เห็นด้วย ซึ่งต่อมาการแถลงของผู้บริหาร บมจ.อสมท ต่อกรณีนี้ก็ไม่มีความชัดเจน ต่อมาคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงชของ บมจ.อสมท โดยมี พล.ต.อ.ประทิน สันติประภพ เป็นประธาน เปิดเผยผลสอบว่า บริษัทไร่ส้มโฆษณาเกินกว่าสัญญาจริง สร้างความเสียหายให้ อสมท. เป็นเงิน 138 ล้านบาท[34]
- กรณีเงินรับบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิในเหตุการณ์แผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547 ซึ่งเปิดรับบริจาคเพื่อช่วยเหลือชาวบ้านหมู่บ้านน้ำเค็ม ตำบลบางม่วง อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ผ่านทางรายการ ได้ยอดเงินประมาณ 9 ล้านบาท แต่ไม่มีการนำเงินไปมอบให้ผู้ประสบภัยจริง[ต้องการอ้างอิง] ต่อมาสรยุทธได้นำชาวบ้านที่เป็นผู้ดูแล กองทุนถึงลูกถึงคนฟื้นฟูบ้านน้ำเค็ม ออกชี้แจงความเป็นมาของโครงการและข้อพิพาทนี้แล้ว เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ว่าโครงการนี้ในที่สุดได้ถึงมือชาวบ้านและบริหารงานอย่างมีระบบและชาวบ้านยังคาดว่าจะสามารถเป็นตัวอย่างให้กับพื้นที่อื่น ๆ ด้วย[35]
- หลังเหตุการณ์รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 กนก รัตน์วงศ์สกุล พิธีกรร่วมรายการคุยคุ้ยข่าวและเพื่อนสนิทของสรยุทธได้ยุติการทำรายการร่วมไป โดยลือกันว่า เป็นเพราะกนกไม่อาจทำงานร่วมกับสรยุทธต่อไปได้ เนื่องจากเป็นสื่อที่รายงานข่าวไม่ตรงไปตรงมาและมีผลประโยชน์แอบแฝง โดยตอนหนึ่งกนกได้เขียนลงในนิตยสารเนชั่นสุดสัปดาห์ว่า "ผมทำงานกับคนโกงไม่ได้" โดยสื่อให้เข้าใจว่าหมายถึงสรยุทธ[36]
- หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล พิธีกรร่วมในรายการเรื่องเล่าเช้านี้ หลังจากที่ทำหน้าที่พิธีกรร่วมมาในระยะเวลาไม่นาน ก็ยุติการทำรายการร่วมไป โดย ม.ล.ณัฏฐกรณ์ ได้เปิดเผยว่าเพราะสรยุทธไม่เคยให้เกียรติตน อีกทั้งไม่เห็นด้วยกับแนวทางการนำเสนอข่าวของสรยุทธ[37][38]
- ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากกรณีนำบิดาของผู้ต้องหาจากเหตุการณ์ขับรถเบนซ์ชนพนักงานองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จนเสียชีวิต มาให้สัมภาษณ์แต่เพียงฝ่ายเดียว โดยพาดพิงถึงฝ่ายพนักงาน ขสมก. เป็นเหตุให้พนักงาน ขสมก. ไม่พอใจและได้ร่วมกันยื่นหนังสือประท้วงช่อง 3 ต้นสังกัดของสรยุทธ ถึงความเป็นกลางในการนำเสนอข่าวสาร[39]
- ถูก บมจ.อสมท ฟ้องดำเนินคดีในข้อหาฉ้อโกง และปลอมแปลงเอกสาร จากกรณีความผิดปกติในรายได้ค่าโฆษณา[40]
- วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2552 นำเสนอข่าวในรายการเรื่องเล่าเช้านี้ว่าสนธิ ลิ้มทองกุล กำลังจะไปปลีกวิเวกที่ประเทศอินเดีย ต่อมา สนธิแถลงข่าวปฏิเสธ[ต้องการอ้างอิง]
- ในรายการเรื่องเล่าเสาร์–อาทิตย์ ประจำวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ได้เหน็บแนมราชบัณฑิตยสถานเกี่ยวกับศัพท์บัญญัติของคำว่า "ซอฟต์แวร์" และ "ฮาร์ดแวร์"
- หลังจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิดกรณีความผิดปกติในรายได้โฆษณาแล้ว สรยุทธกลับใช้เวลาของรายการเรื่องเล่าเช้านี้ ซึ่งเป็นรายการที่ตนเป็นพิธีกร ชี้แจงที่เสมือนการแก้ตัวในกรณีนี้ และยังไม่ยุติการทำหน้าที่ ซึ่งทางสภาการหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้มีมติให้สรยุทธยุติการทำหน้าที่ แต่สรยุทธกลับยื่นหนังสือลาออกแทน แต่ต่อมาสภาฯ ได้ชี้แจงว่า สรยุทธได้พ้นสมาชิกภาพไปแล้วกว่า 3 ปี เนื่องจากไม่ได้จ่ายค่าสมาชิก[41] อีกทั้งภาคีเครือข่ายต้านคอร์รัปชั่น ซึ่งเป็นองค์กรภาคธุรกิจเอกชนที่ต่อต้านการคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบในสังคม ได้ทำหนังสืออย่างเป็นทางการไปยังช่อง 3 ซึ่งเป็นต้นสังกัดให้พิจารณาการทำหน้าที่ของสรยุทธ หากไม่เช่นนั้นแล้วจะถอนโฆษณาที่สนับสนุนในช่วงรายการของสรยุทธ[42][43]
- กรณีประชาสัมพันธ์กิจกรรมของตัน ภาสกรนที ไม่ว่าจะเป็นการบริจาคเงิน ของตัน โรงงานของตันถูกน้ำท่วม แลกกับค่าโฆษณา
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 "About สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว". YouTube.
- ↑ “เจ้าสัวสรยุทธ”จาก “กรรมกรข่าว” สู่ ‘นักเล่าข่าวพันล้าน’ เก็บถาวร 2016-04-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ผู้จัดการ .สืบค้นเมื่อ 07/03/2559
- ↑ 3.0 3.1 3.2 สรยุทธ สุทัศนะจินดา. ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 29-2-2559
- ↑ สรยุทธ สุทัศนะจินดา "ยอมรับในชะตากรรม", BEC News.
- ↑ "สรยุทธ โดนทีมงานแกงสด ลงรูปนี้จนต้องกุมขมับ ชาวเน็ตขุดน้องไบรท์ต่อสมัย ITV". กระปุก.คอม. 2023-06-08. สืบค้นเมื่อ 2023-07-15.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ""เดอะงัด"แมวมองค้นคนข่าว". Positioning Magazine. 5 กันยายน 2005. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2023.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "เบื้องหลัง"สรยุทธ"หัก"เนชัน"ซบช่อง 3-โชว์เข้าตา"มิ่งขวัญ" เรียกตอบแทน". สำนักข่าวอิศรา. 19 ตุลาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2023.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "เดอะวินเนอร์…เรื่องเล่าเช้านี้". Positioning Magazine. 5 กันยายน 2005. สืบค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2023.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ป.ป.ช.เผยเจ้าหน้าที่ อสมท สารภาพสิ้น “สรยุทธ” จ่ายเช็คให้ปิดปาก-แนะทำลายหลักฐานโกง 138 ล้านเก็บถาวร 2012-09-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ป.ป.ช.เผยเจ้าหน้าที่ อสมท สารภาพสิ้น “สรยุทธ” จ่ายเช็คให้ปิดปาก-แนะทำลายหลักฐานโกง 138 ล้าน จากผู้จัดการออนไลน์
- ↑ "ศาลให้ประกัน'สรยุทธ' 2 ล.ห้ามออกนอกปท. - คมชัดลึก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-01. สืบค้นเมื่อ 2016-02-29.
- ↑ สรยุทธ สุทัศนะจินดา : ศาลฎีกาสั่งจำคุก สรยุทธ 6 ปี 24 เดือน คดี บ.ไร่ส้ม - BBC
- ↑ "ราชทัณฑ์ดึง 'สรยุทธ' จัดรายการ 'เรื่องเล่าชาวเรือนจำ' ให้ความรู้โควิด-19". The Bangkok Insight. 2020-04-05. สืบค้นเมื่อ 2021-04-05.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "พักโทษโดยเหตุพิเศษ 'สรยุทธ สุทัศนะจินดา' สวมกำไลอีเอ็ม 14 เดือน". ประชาไท. 2021-03-14. สืบค้นเมื่อ 2021-04-05.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ""สรยุทธ" ติดกำไล EM ข้อเท้าซ้าย พ้นคุกหลังติดเรือนจำ 1 ปี 2 เดือน 6 วัน". ผู้จัดการออนไลน์. 2021-03-14. สืบค้นเมื่อ 2021-06-01.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ กรรชัย กอดทักทาย สรยุทธ ที่ช่อง 3 บอกยินดีและดีใจที่ได้กลับมา แง้มเร็วๆนี้แฟนข่าวได้ฟังเสียงที่รอคอย, 2021-03-14, สืบค้นเมื่อ 2021-06-01
- ↑ Sriroengla, Pafun (2021-04-05). ""สรยุทธ" เป็น ที่ปรึกษาด้านข่าว ช่อง 3 แต่งตั้ง มีผล 1 เม.ย. 64". ประชาชาติธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 2021-04-19.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "สรยุทธเฮ! ได้อภัยโทษ 'ผู้ถูกคุมประพฤติ' ปลดกำไลอีเอ็มพ้นโทษก่อนกำหนด". มติชน. 2021-07-27. สืบค้นเมื่อ 2021-07-27.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "สรยุทธ คืนจอ! จัดรายการ เรื่องเล่าชาวเรือนจำ ให้ความรู้นักโทษ 143 แห่ง". ข่าวสด. 2020-04-03. สืบค้นเมื่อ 2021-09-14.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ อัตตนนท์, นภพัฒน์จักษ์ (2019-02-11). "อึดอย่างเดียวไม่พอ เมื่อการทำข่าวออนไลน์ 'กรรมกรข่าว' ต้องอาศัยความสร้างสรรค์". อะเดย์. สืบค้นเมื่อ 2021-09-14.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "12 ฉายาดาราเด่น ประจำปี 2548". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-29. สืบค้นเมื่อ 2021-10-02.
- ↑ สรยุทธ !! ไม่แปลกใจเลย ทำไม ทักษิณ!! ถึงด่าคุณว่า... มันเป็นความจริงอย่างนี้เอง
- ↑ ""สรยุทธ" หัวอะไร?". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-11-07. สืบค้นเมื่อ 2006-10-11.
- ↑ "ถึงเวลาข่าวทีวีและวิทยุ จะ"ปลดแอก"ตัวเอง - กาแฟดำ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-13. สืบค้นเมื่อ 2013-01-28.
- ↑ “News Talk” ฉาบฉวยหรือสร้างสรรค์?
- ↑ สรยุทธ สุทัศนะจินดา… เจ้าพ่อ News talk
- ↑ "เจ้าหน้าที่การตลาด สอดใส้โฆษณาผีโกง อสมท - จากเว็บบอร์ดสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ อสมท". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-29. สืบค้นเมื่อ 2013-01-28.
- ↑ มันเป็นเช่นนั้นเอง เก็บถาวร 2008-01-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จาก ไทยโพสต์
- ↑ "อสมท หาแพะรับผิดคดีสรยุทธ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-09. สืบค้นเมื่อ 2006-10-11.
- ↑ จี้ช่อง 9 ฟันรายการทีวีดังอมเงินค่าโฆษณาร้อยล.
- ↑ "รายการรู้ทันประเทศไทยกับ ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง (14 ส.ค.49)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-09. สืบค้นเมื่อ 2006-10-11.
- ↑ "ทีวีไทยกับ"เอสเอ็มเอส"แฟชั่นเกร่อ! "ดึงดูดคนดู"หรือ"ผลประโยชน์แอบแฝง"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-02. สืบค้นเมื่อ 2013-01-28.
- ↑ ""สรยุทธ"ยอมจ่ายค่าโฆษณา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-02. สืบค้นเมื่อ 2013-01-28.
- ↑ "เว็บบอร์ด สรยุทธ.เน็ท (ปิดปรับปรุง)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-24. สืบค้นเมื่อ 2013-01-28.
- ↑ บริษัทไร่ส้มโฆษณาเกินกว่าสัญญาจริง
- ↑ "รายละเอียดรายการถึงลูกถึงคน 25 ธค 49". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-13. สืบค้นเมื่อ 2013-01-28.
- ↑ ""ผมทำงานกับคนโกงไม่ได้.."". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-09. สืบค้นเมื่อ 2008-02-13.
- ↑ "คุณปลื้ม" เดือด! จวก "สรยุทธ" ไม่เคยให้เกียรติ
- ↑ "คุณปลื้ม" เปิดใจสาเหตุลาออกจาก "เรื่องเล่าเช้านี้"
- ↑ ขสมก. โวย! ช่อง3 เหตุ "สรยุทธ" ปล่อยพ่อหมูแฮมพูดหมิ่น
- ↑ ""ไร่ส้ม" เจอดี "อสมท" แจ้งความดำเนินคดีฐานฉ้อโกงแล้ว!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-09. สืบค้นเมื่อ 2007-11-09.
- ↑ สมาคมนักข่าวฯชี้ "สรยุทธ" ไม่จ่ายเงินบำรุง พ้นสภาพสมาชิกนานแล้ว จากเอ็มเอสเอ็นเก็บถาวร 2012-11-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ สภาการ นสพ.จี้ “สรยุทธ” พิจารณาตัวเองในการทำหน้าที่สื่อมวลชน เครือข่ายคอร์รัปชั่นไล่บี้ช่อง3 ปลด"สรยุทธ"เซ่นเหตุทุจริต จากแนวหน้า
- ↑ 4 บริษัทยักษ์นำทีมแบน “สรยุทธ” ถอนโฆษณาเรื่องเล่าเช้านี้ จากสนุกดอตคอม
แหล่งข้อมูลอื่น
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2509
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากกรุงเทพมหานคร
- ชาวไทยเชื้อสายจีน
- พุทธศาสนิกชนชาวไทย
- บุคคลจากโรงเรียนอำนวยศิลป์
- บุคคลจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
- เครือเนชั่น
- นักหนังสือพิมพ์ชาวไทย
- คอลัมนิสต์
- พิธีกรชาวไทย
- ผู้ประกาศข่าวช่อง 3
- นักโทษของประเทศไทย
- ผู้มีชื่อเสียงทางโทรทัศน์ชาวไทย
- เรื่องเล่าเช้านี้