ข้ามไปเนื้อหา

บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์
สมาชิกวุฒิสภา
ดำรงตำแหน่ง
11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2567
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 – 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 30 กันยายน พ.ศ. 2551
ก่อนหน้าพลเอก เรืองโรจน์ มหาศรานนท์
ถัดไปพลเอก ทรงกิตติ จักกาบาตร์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด15 มกราคม พ.ศ. 2491 (76 ปี)
อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี
คู่สมรสพล.ต.หญิง พญ.นุชา เนียมประดิษฐ์
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัดกองทัพบกไทย (จนถึงปีพ.ศ. 2532)
กองบัญชาการทหารสูงสุด
ประจำการพ.ศ. 2516 - พ.ศ. 2551
ยศ พลเอก
พลเรือเอก
พลอากาศเอก
บังคับบัญชาผู้บัญชาการทหารสูงสุด

พลเอก บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ (เกิด 15 มกราคม พ.ศ. 2491) ที่อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี นักการเมืองและทหารชาวไทย สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุดของไทย อดีตราชองครักษ์พิเศษ[1] และเป็นหนึ่งในสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ประธานคณะกรรมการปฏิรูปตำรวจ กรรมการและที่ปรึกษาในคณะกรรมการเพื่อเตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง รัฐบาลพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา

การศึกษา

[แก้]

ตำแหน่งสำคัญทางทหาร

[แก้]
  • พ.ศ. 2516 : อาจารย์ประจำกองวิศวกรรมเครื่องกล โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
  • พ.ศ. 2521 : นายทหารคนสนิท รองผู้บัญชาการทหารบก
  • พ.ศ. 2526 : ผู้บังคับ กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 31 รักษาพระองค์ (พัน.ป.31 รอ.)
  • พ.ศ. 2529 : ฝ่ายเสนาธิการ ประจำผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก
  • พ.ศ. 2532 : ฝ่ายเสนาธิการ ประจำรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด
  • พ.ศ. 2534 : ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทางยุทธศาสตร์
  • พ.ศ. 2539 : รองเจ้ากรมยุทธการทหาร
  • พ.ศ. ไม่ปรากฏ : ที่ปรึกษาสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
  • พ.ศ. 2539 : ช่วยราชการ ฝสธ.ผบ.ทหารสูงสุด
  • พ.ศ. 2540 : ผู้บัญชาการวิทยาลัยเสนาธิการทหาร
  • พ.ศ. 2542 : ผู้อำนวยการวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
  • พ.ศ. 2542 : ผู้บัญชาการ กองกำลังรักษาสันติภาพติมอร์ตะวันออก
  • พ.ศ. 2544 : เจ้ากรมยุทธการทหาร
  • พ.ศ. 2545 : ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนกลาโหม
  • พ.ศ. 2546 : เสนาธิการทหาร
  • พ.ศ. 2548 : รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด
  • พ.ศ. 2549 : ผู้บัญชาการทหารสูงสุด

บทบาททางการเมือง

[แก้]

ในช่วงเหตุการณ์รัฐประหาร วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ขณะนั้น พล.อ. บุญสร้าง ดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด และร่วมอยู่ในกองบัญชาการต่อต้านการปฏิวัติ ของ พล.อ. เรืองโรจน์ มหาศรานนท์ ที่กองบัญชาการทหารสูงสุด ถนนแจ้งวัฒนะ ด้วย และมีบทบาทในการเกลี้ยกล่อม พล.อ. เรืองโรจน์ ไม่ให้ตัดสินใจสู้รบกับฝ่าย คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ซึ่งนำอาจนำไปสู่ความเสียหาย เสียชีวิตเลือดเนื้อของทหารด้วยกันเอง

พล.อ. บุญสร้าง ได้รับแต่งตั้งพระราชทานยศ พลเรือเอก พลอากาศเอก และแต่งตั้งเป็นนายทหารพิเศษ ประจำกรมนักเรียนนายเรือรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรือ และประจำกรมนักเรียนนายเรืออากาศรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรืออากาศ กองบัญชาการฝึกศึกษาทหารอากาศ ในปี พ.ศ. 2549[2]

ซึ่งจากบทบาทนี้ทำให้ บุญสร้างได้รับฉายาว่าเป็น "วีรบุรุษ 19 กันยา"[3] และหลังจากที่ พล.อ. เรืองโรจน์ ได้เกษียณอายุราชการไปแล้วในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2549 ภายหลังการรัฐประหารได้ไม่นาน บุญสร้างก็ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นคนต่อไป และได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ด้วย

ในปี พ.ศ. 2557 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[4] พล.อ. บุญสร้าง นับได้ว่าเป็นนายทหารในกองทัพบกไทยเพียงไม่กี่คนในระดับสูงที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยนอร์วิช จากสหรัฐอเมริกา[5]

ขีวิตส่วนตัว สมรสกับ พล.ท.หญิง พญ.นุชา เนียมประดิษฐ์

เกียรติยศ

[แก้]

บุญสร้าง ได้รับรางวัลแห่งหอเกียรติยศ จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย เมื่อปี พ.ศ. 2553 ซึ่งเป็นปีเดียวกันที่สถาบันฯ ได้ถวายรางวัลแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี[6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

[แก้]
  •  สหประชาชาติ :
    • พ.ศ. 2544 - เหรียญคณะผู้แทนสหประชาชาติในติมอร์ตะวันออก[10]
  •  ลาว :
    • พ.ศ. 2553 - เหรียญตรามิตรภาพ[11]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
  2. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารและแต่งตั้งนายทหารพิเศษ (วินัย ภัททิยกุล, บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์)
  3. มติชน สุดสัปดาห์ 23 ก.พ.-1 มี.ค. 2550
  4. ประกาศแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ใช้เว็บไซค์ของวุฒิสภา), 1 สิงหาคม 2557
  5. หนังสือ ลับลวงพราง ปฏิวัติปราสาททราย โดย วาสนา นาน่วม : สำนักพิมพ์มติชน ISBN 9789740203384
  6. ถวายรางวัลพระเทพฯ หอเกียรติยศสถาบันเอไอที เก็บถาวร 2012-12-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจาก ข่าวสด วันที่ 10 กันยายน 2553
  7. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย (ชั้นสายสะพาย ในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๔๕) เก็บถาวร 2022-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม 119 ตอนที่ 21ข วันที่ 4 ธันวาคม 2545
  8. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นสายสะพาย ในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๐ จำนวน ๔,๗๙๙ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2013-06-17.
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๑๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๓๑
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเหรียญตราต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 119 ตอนที่ 5 ข หน้า 55, 10 เมษายน 2545
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเหรียญตราต่างประเทศ, เล่ม 127 ตอนที่ 13 ข หน้า 14, 5 พฤศจิกายน 2553
ก่อนหน้า บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ ถัดไป
เรืองโรจน์ มหาศรานนท์
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
(1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 - 30 กันยายน พ.ศ. 2551)
ทรงกิตติ จักกาบาตร์