กลุ่มอาการคลือเวอร์–บิวซี
หน้าตา
กลุ่มอาการคลือเวอร์–บิวซี | |
---|---|
สาขาวิชา | จิตเวชศาสตร์, ประสาทวิทยา, วิทยาทางเดินปัสสาวะ |
กลุ่มอาการคลือเวอร์-บิวซี (อังกฤษ: Klüver–Bucy syndrome) เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากการได้รับบาดเจ็บทั้งสองฝั่งของสมองส่วนเมเดียลเทมเปอรอล (medial temporal lobe) ซึ่งรวมถึงอะมิกดะลอยด์นิวเคลียสด้วย[1] กลุ่มอาการนี้อาจประกอบด้วยอาการแสดงคือการกินไม่หยุด, มีอารมณ์ทางเพศสูงผิดปกติ, การนำเอาสิ่งแปลก ๆ ยัดเข้าปาก, การไม่รับรู้ทางการมองเห็น และ ความหัวอ่อน
ชื่อของกลุ่มอาการตั้งตามไฮน์ริช คลือเวอร์ (Heinrich Klüver) และประสาทศัลยแพทย์ พอล บิวซี (Paul Bucy)[2]
อาการ
[แก้]อาการที่มักพบในผู้ป่วยได้แก่
- ความหัวอ่อนหรือเชื่อง (Docility) ซึ่งมีลักษณะคือมีการแสดงอาการกลัวที่ลดลงหรือตอบสนองด้วยความเกรี้ยวกราดที่ลดลงจนผิดปกติ คำอื่น ๆ ที่ปรากฏในภาษาอังกฤษได้แก่ "placidity" และ "tameness"[3][4][5]
- ความเปลี่ยนแปลงในการรับประทานอาหาร หรือ อาการหิวมากผิดปกติ (hyperphagia) และการมียัดเอาวัตถุอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารใส่ปากตนเอง (ปิกา) หรือ กินมากผิดปกติ หรือทั้งคู่[3][4][5]
- ไฮเปอร์ออรัลลิที (Hyperorality) ที่ซึ่ง Ozawa และคณะระบุว่าคือ "ความต้องการหรือแนวโน้มที่จะนำปากไปสัมผัสรับรู้กับสิ่งต่าง ๆ" (an oral tendency, or compulsion to examine objects by mouth)[3][4][5]
- มีอารมณ์ทางเพศมากผิดปกติ (Hypersexuality) มีลักษณะคือมีความใคร่ทางเพศที่สูงขึ้นจนผิดปกติหรือมีความใคร่ต้อวัตถุที่ประหลาด[3][4][5]
- ภาวะไม่รับรู้ทางการมองเห็น (Visual agnosia) มีลักษณะคือไม่สามารถรับรู้ (recognize) วัตถุหรือบุคคลที่คุ้นเคยเป็นอย่างดีได้ถึงแม้จะสามารถมองเห็นก็ตาม[3][4][5]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Adel K. Afifi; Ronald A. Bergman; Ronald Arly Bergman (1998). Functional Neuroanatomy. McGraw-Hill. ISBN 9780070015890.
The Kluver-Bucy syndrome is a clinical syndrome observed in humans and other animals after bilateral lesions in the temporal lobe that involve the amygdala, hippocampal formation, and adjacent neural structures.
- ↑ Rockland, 45
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อNeuro
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 Ozawa, 540.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อFunctional
บรรณานุกรม
[แก้]- Rockland, Kathleen S.; Jon H. Kaas; Alan Peters (1997). Cerebral Cortex: Extrastriate Cortex in Primates. Springer. ISBN 978-0-306-45530-8.
- Ozawa, Hiroshi; Masayuki Sasaki; Kenji Sugai; Toshiaki Hashimoto; Hiroshi Matsuda; Sachio Takashima; Akira Uno; Takashi Okawa (1997). "Single-Photon Emission CT and MR Findings in Klüver-Bucy" (PDF). American Journal of Neuroradiology. 18 (3): 540–542. ISSN 0195-6108. PMID 9090419. สืบค้นเมื่อ 2008-10-11.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |