กรกช วิริยอุดมศิริ
ข้อมูลส่วนตัว | |||
---|---|---|---|
ชื่อเต็ม | กรกช วิริยอุดมศิริ | ||
วันเกิด | 19 มกราคม พ.ศ. 2531 | ||
สถานที่เกิด | จังหวัดบุรีรัมย์ ประเทศไทย | ||
ส่วนสูง | 1.80 เมตร (5 ฟุต 11 นิ้ว) | ||
ตำแหน่ง | แบ็คซ้าย | ||
สโมสรอาชีพ* | |||
ปี | ทีม | ลงเล่น | (ประตู) |
2553 | ทีทีเอ็ม | 15 | (0) |
2554 | สงขลา ยูไนเต็ด | 27 | (2) |
2555 | บีอีซี เทโรศาสน | 19 | (0) |
2555 | → สงขลา ยูไนเต็ด (ยืมตัว) | 6 | (0) |
2556 | → บางกอกกล๊าส (ยืมตัว) | 25 | (1) |
2557–2559 | ชลบุรี | 58 | (3) |
2559–2564 | บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด | 120 | (10) |
2564–2565 | เชียงใหม่ ยูไนเต็ด | 24 | (0) |
ทีมชาติ | |||
2556–2562 | ไทย | 13 | (1) |
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 4 พฤษภาคม 2565 |
กรกช วิริยอุดมศิริ เป็นนักฟุตบอลอาชีพชาวไทย เกิดที่จังหวัดบุรีรัมย์ โดยเล่นในตำแหน่งแบ็กซ้าย
ประวัติ
[แก้]กรกชเกิดวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2531 มีภูมิลำเนาอยู่ที่อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนบ้านศรีสุข ตำบลเขาดินเหนือ อำเภอบ้านกรวด จนกระทั่งก้าวสู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กรกชเดินทางมายังกรุงเทพมหานครเพื่อเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนวัดสุทธิวราราม และสามารถพาทีมโรงเรียนวัดสุทธิวรารามได้แชมป์วิทยาลัยเทคโนโลยีพาณิชยการราชดำเนินในรุ่นอายุไม่เกิน 15 ปี
สโมสร
[แก้]ในระดับมหาวิทยาลัย กรกชผ่านการคัดเลือกของมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต และเริ่มต้นการเล่นฟุตบอลอาชีพกับปตท.ระยอง แต่ว่าหลังจากนั้นปีเดียว ก็กลับมารับใช้สโมสรมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ในระดับดิวิชั่น 2 และก็ย้ายไปเล่นกับทีมกรมศุลกากร สุวรรณภูมิ ต่อมาใน พ.ศ. 2554 เขาได้รับความสนใจจากวรวุฒิ ศรีมะฆะ หัวหน้าผู้ฝึกสอนของสงขลา ทำให้เขาได้ย้ายไปเล่นให้กับสงขลา และเป็นผู้เล่นตำแหน่งแบ็คซ้ายคนสำคัญของสโมสร เขาถนัดในด้านการเปิดลูกฟรีคิกและลูกเซ็ตพีซ
ชลบุรี
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
[แก้]ฤดูกาล 2559–2561
[แก้]ในวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2559 กรกชย้ายมาร่วมทีมบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด อย่างเป็นทางการ โดยเขาจะสวมเสื้อหมายเลข 11[1]
วันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2561 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก กลุ่ม G กรกชทำประตูแรกในนามสโมสรในนัดที่บุรีรัมย์บุกไปชนะเชจูยูไนเต็ดที่เชจูเวิลด์คัพสเตเดียม 1–0 ทำให้บุรีรัมย์ผ่านเข้าสู่รอบ 16 ทีมสุดท้าย และกลายเป็นสโมสรแรกของไทยที่สามารถบุกไปเอาชนะสโมสรเกาหลีใต้ได้[2]
วันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 กรกชทำประตูแรกในลีกในนัดที่บุรีรัมย์เปิดสนามช้างอารีนาเอาชนะเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด ไปได้ 4–0[3]
ฤดูกาล 2562
[แก้]ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ นัดชิงชนะเลิศ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด แชมป์ไทยลีก ฤดูกาล 2561 เจอกับ สิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ด แชมป์ช้าง เอฟเอคัพ 2561 ที่สนามกีฬากองทัพบกในกรุงเทพมหานคร กรกชลงเล่นเป็นตัวจริงในนัดนั้น สุดท้าย บุรีรัมย์ แซงเอาชนะ สิงห์ เชียงราย 3–1 ช่วยให้บุรีรัมย์คว้าแชมป์ไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ สมัยแรก ได้สำเร็จ[4] ต่อมาในวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2562 กรกชทำประตูแรกในลีกในนัดที่บุรีรัมย์เปิดบ้านเอาชนะสมุทรปราการ ซิตี้ ไปได้ 3–2[5] ต่อมาในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 การแข่งขันช้าง เอฟเอคัพ รอบ 64 ทีมสุดท้าย กรกชทำประตูช่วยให้บุรีรัมย์เปิดบ้านแซงเอาชนะพีทีที ระยอง ไปได้ 3–1 ผ่านเข้าสู่รอบ 32 ทีมสุดท้ายได้สำเร็จ[6] ต่อมาในวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2562 การแข่งขันช้าง เอฟเอคัพ รอบ 32 ทีมสุดท้าย กรกชทำหนึ่งประตู ช่วยให้บุรีรัมย์เปิดบ้านเอาชนะลำปางไปได้ 4–1 ผ่านเข้าสู่รอบ 16 ทีมสุดท้ายได้สำเร็จ[7] ต่อมาในวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2562 โตโยต้า ลีกคัพ รอบรองชนะเลิศ ที่สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา (มีนบุรี) กรกชทำหนึ่งประตูช่วยให้บุรีรัมย์เอาชนะหนองบัว พิชญ ไปได้ 2–0 ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศได้สำเร็จ[8] ต่อมาในวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2562 โตโยต้า ลีกคัพ รอบชิงชนะเลิศ บุรีรัมย์พบกับ พีที ประจวบ ที่เอสซีจีสเตเดียมในจังหวัดนนทบุรี ผลจบลงด้วยการเสมอ 1–1 ในเวลา 120 นาที ต้องตัดสินด้วยการยิงลูกโทษ กรกช เป็นคนยิงคนที่ 9 แต่เขายิงข้ามคานไป ในขณะที่ ซีเกต หมาดปูเต๊ะ ผู้เล่นของประจวบ ยิงเข้าไปได้ ทำให้บุรีรัมย์พ่ายแพ้ประจวบในช่วงลูกโทษ 7–8 ผลประตูรวม 8–9 พลาดโอกาสคว้าแชมป์ โตโยต้า ลีกคัพ อย่างน่าเสียดาย[9]
เกียรติประวัติ
[แก้]สโมสร
[แก้]- บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
- ไทยลีก (2): 2560, 2561
- ไทยลีกคัพ (1): 2559
- ไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ (1): 2562
- แม่โขงคลับแชมเปียนชิพ (1): 2560
ทีมชาติไทย
[แก้]ในวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2562 กรกช มีชื่อติดทีมชาติไทยในยุคของ อากิระ นิชิโนะ เป็นครั้งแรก ในนัดกระชับมิตรที่จะพบกับ สาธารณรัฐคองโก และฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก นัดที่ไทยจะเปิดบ้านพบกับ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์[10]
สถิติอาชีพ
[แก้]สโมสร
[แก้]- ณ วันที่ 12 ธันวาคม 2563
สโมสร | ฤดูกาล | ลีก | เอฟเอคัพ | ลีกคัพ | เอเชีย | อื่น ๆ | ทั้งหมด | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ระดับ | ลงเล่น | ประตู | ลงเล่น | ประตู | ลงเล่น | ประตู | ลงเล่น | ประตู | ลงเล่น | ประตู | ลงเล่น | ประตู | ||
บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด | 2563 | ไทยลีก | 7 | 0 | 2 | 0 | 0 | 0 | 1 | 0 | — | 10 | 0 |
ทีมชาติ
[แก้]- ณ วันที่ 12 พฤศจิกายน 2558[11]
ทีมชาติ | ปี | ลงเล่น | ประตู |
---|---|---|---|
ไทย | 2013 | 2 | 0 |
2014 | 1 | 0 | |
ทั้งหมด | 3 | 0 |
ประตูในนามทีมชาติ
[แก้]ลำดับ | วันที่ | สนาม | คู่แข่ง | ประตูที่ได้ | ผลการแข่งขัน | รายการ |
---|---|---|---|---|---|---|
1. | 17 พฤศจิกายน 2018 | ราชมังคลากีฬาสถาน, กรุงเทพ, ประเทศไทย | อินโดนีเซีย | 1–1 | 4–2 | ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2018 |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "'บุรีรัมย์'เปิดตัว10แข้งใหม่สู้ศึกเลก2". สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ""บุรีรัมย์" ทีมแรกจากไทยปักธงชัยที่เกาหลีใต้ACL". โกล.คอม. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "บุรีรัมย์ 4 - 0 เมืองทองฯ : ปราสาทรับโค้ชใหม่กิเลนสุดโหด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-04. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "บุรีรัมย์พลิกแซงเชียงราย 3-1 คว้าแชมป์ ออมสิน ไทยแลนด์ แชมเปี้ยนคัพ". สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "บุรีรัมย์เฉือนสมุทรปราการ 3-2". สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ไล่รัวแซงชนะ พีทีที ระยอง 3-1 ฉลุยสู่รอบ 32 ทีม ช้าง เอฟเอคัพ 2019". สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ไล่ยิงชนะ ลำปาง เอฟซี 4-1 ผ่านเข้ารอบ 16 ทีมสุดท้าย ลูกหนัง ช้าง เอฟเอคัพ 2019". สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "บุรีรัมย์ซัดหนองบัว 2-0 ชิงที่เมืองทอง". สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด พ่ายจุดโทษ ประจวบ เอฟซี 8-9 ชิงดำ ลีกคัพ". สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "นิชิโนะประกาศ 23 แข้งช้างศึกอุ่นคองโก, ดวลยูเออี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-27. สืบค้นเมื่อ 27 กันยายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Korrakot Wiriyaudomsiri สืบค้นเมือ17 กุมภาพันธ์ 2016
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Profile เก็บถาวร 2016-05-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at Goal
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2531
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักฟุตบอลชายชาวไทย
- นักฟุตบอลทีมชาติไทย
- ผู้เล่นในไทยลีก
- ผู้เล่นสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
- ผู้เล่นสโมสรฟุตบอลชลบุรี
- ผู้เล่นสโมสรฟุตบอลโปลิศ เทโร
- ผู้เล่นสโมสรฟุตบอลสงขลา ยูไนเต็ด
- ผู้เล่นสโมสรฟุตบอลยาสูบ
- ผู้เล่นในเอเชียนคัพ 2019
- บุคคลจากอำเภอบ้านกรวด
- นักฟุตบอลจากจังหวัดบุรีรัมย์
- กองหลังฟุตบอล
- ผู้เล่นสโมสรฟุตบอลเชียงใหม่ ยูไนเต็ด