ข้ามไปเนื้อหา

ซอฟต์พาวเวอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Soft power)

ในฐานะคำศัพท์การเมือง (โดยเฉพาะในการเมืองระหว่างประเทศ) ซอฟต์พาวเวอร์ (อังกฤษ: soft power) หรือ มานานุภาพ[a] หมายถึง ความสามารถในการดึงดูดหรือสร้างการมีส่วนร่วมโดยปราศจากการข่มขู่หรือบีบบังคับใด ๆ (ในที่นี้ตรงข้ามกับ "ฮาร์ดพาวเวอร์") ผ่านการเผยแพร่วัฒนธรรม การเสริมสร้างค่านิยมทางการเมือง[1] หรือนโยบายการต่างประเทศ เพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือมีอิทธิพลเหนือความคิดของประชาชนและสังคมภายในประเทศอื่น[2] โจเซฟ ไนย์ (Joseph Nye) จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้เคยอธิบายถึงความหมายของคำว่าซอฟต์พาวเวอร์ไว้ในปี ค.ศ. 2012 ว่าเป็น "การโฆษณาชวนเชื่อที่ดีที่สุดที่ไม่ใช่การโฆษณาชวนเชื่อ" และได้อธิบายเพิ่มเติมไว้ว่า "ความน่าเชื่อถือนับเป็นทรัพยากรที่หายากที่สุดแล้ว" สำหรับโลกในยุคสารสนเทศ[3]

คำศัพท์นี้กลายเป็นคำศัพท์ที่แพร่หลายอย่างรวดเร็วผ่านหนังสือของ โจเซฟ ไนย์ ชื่อว่า "Bound to Lead: The Changing Nature of American Power" ตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1990[4]

ในหนังสือเล่มนี้เขาได้ระบุเอาไว้ว่า: "เมื่อประเทศใดประเทศหนึ่งสามารถทำให้ประเทศอื่นทำตามในสิ่งที่ตนต้องการได้ อำนาจร่วมที่เกิดขึ้นผ่านรูปแบบวิธีการดังกล่าวก็จะถูกเรียกว่า 'ซอฟต์พาวเวอร์' ที่ตรงกันข้ามกับ 'ฮาร์ดพาวเวอร์' ซึ่งเป็นอำนาจที่มีความรุนแรงและอยู่ในลักษณะของการออกคำสั่งให้ผู้อื่นทำในสิ่งที่ตนต้องการ"[4] ในเวลาต่อมาเขาก็ได้พัฒนาแนวคิดนี้เพิ่มเติมไว้ในปี ค.ศ. 2004 ผ่านงานเขียนของตนที่ชื่อว่า "Soft Power: The Means to Success in World Politics"[5]

คำอธิบาย

[แก้]
หนังสือของ โจเซฟ ไนย์ (Joseph Nye) ใน ค.ศ. 2004 ที่อธิบายถึงแนวคิดเรื่อง "ซอฟต์พาวเวอร์"

พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซ์ฟอร์ดได้บัญญัติความหมายของคำว่า "Soft power" (แปลว่า "อำนาจ (ของประเทศ รัฐ พันธมิตร ฯลฯ) ที่เกิดจากอิทธิพลทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม มากกว่าการใช้อำนาจบีบบังคับหรือความเข้มแข็งทางการทหาร") ไว้ใน ค.ศ. 1985[6] โจเซฟ ไนย์ ทำให้แนวคิดเรื่อง "ซอฟต์พาวเวอร์" กลายเป็นที่แพร่หลายในช่วงปลายคริสตทศวรรษที่ 1980[7] ในมุมมองของไนย์ "อำนาจ" คือ ความสามารถในการโน้มน้าวพฤติกรรมของผู้อื่นเพื่อให้ได้ผลลัพธ์อย่างที่ผู้ใช้อำนาจต้องการ วิธีการเพื่อให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์ที่ต้องการนั้นมีหลากหลายวิธี: การคุกคาม การโน้มน้าว หรือบีบบังคับผู้อื่น; เราสามารถดึงดูดเป้าหมายได้ด้วยการจ่ายเงิน สร้างแรงจูงใจ และสร้างการมีส่วนร่วม เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของเป้าหมายนั้น ๆ ได้ ในที่นี้ซอฟต์พาวเวอร์จะต้องเป็นการทำให้เป้าหมายทำตามในสิ่งที่ตนต้องการได้ผ่านบทบาทของการร่วมมือกันมากกว่าที่จะเป็นการใช้อำนาจบีบบังคับแต่เพียงเท่านั้น[4]

ซอฟต์พาวเวอร์ถูกจัดให้เป็นขั้วตรงข้ามกับ "ฮาร์ดพาวเวอร์" ซึ่งเป็นการใช้อำนาจผ่านการบีบบังคับ ซอฟต์พาวเวอร์มิได้เป็นแค่เครื่องมือที่สามารถดำเนินการได้แต่เพียงในนามของรัฐเท่านั้น ตัวแสดงที่มีบทบาทในการเมืองระหว่างประเทศก็สามารถดำเนินนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ได้เหมือนกัน ตัวอย่างเช่น NGOs หรือ สถาบันระหว่างประเทศ[5] นอกจากนี้ซอฟต์พาวเวอร์ยังถูกวินิจฉัยว่าเป็น "อำนาจหน้าที่สอง"[8] ซึ่งยินยอมให้ตัวแสดงหนึ่งสามารถตอบสนองต่อผลลัพธ์ที่ตนต้องการได้โดยทางอ้อม[9][10] ไนย์ระบุว่าซอฟต์พาวเวอร์จะต้องประกอบไปด้วยแหล่งทรัพยากรที่สำคัญที่สุด 3 ประการดังนี้ ได้แก่ "วัฒนธรรมของแต่ละประเทศ (เอกลักษณ์ประจำชาติ) ค่านิยมทางการเมือง (ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ) และนโยบายต่างประเทศ (ที่คงไว้ซึ่งความชอบธรรมทางการเมือง)"[11]

“การที่ประเทศใดประเทศหนึ่งจะประสบความสำเร็จในการเมืองระดับโลกได้นั้น ก็เพราะประเทศอื่นชื่นชมในคุณค่าของตน เลียนแบบตัวอย่าง ปรารถนาถึงความเจริญรุ่งเรืองและความเปิดกว้างจนถึงขั้นต้องเอาไปปฏิบัติตาม ในแง่นี้การกำหนดวาระการประชุมก็เป็นสิ่งที่สำคัญที่จะดึงดูดผู้คนให้หันมาสนใจในการเมืองระดับโลก และไม่เพียงแต่จะบังคับให้พวกเขายินยอมต่อการเปลี่ยนแปลงผ่านการรุกรานโดยกองกำลังทหารหรือการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจแต่เพียงเท่านั้น อำนาจอันอ่อนโยนเช่นนี้สามารถทำให้ผู้อื่นยอมทำตามต่อผลลัพธ์ที่คุณต้องการได้ผ่านการร่วมมือซึ่งกันและกัน มากกว่าที่จะบีบบังคับพวกเขา”[5]

แหล่งทรัพยากรที่สำคัญที่สุดของซอฟต์พาวเวอร์ คือ การสร้างแรงดึงดูดซึ่งจะนำไปสู่ความยินยอม[5] ไนย์ยืนยันว่า "การดึงดูดผู้คนย่อมมีประสิทธิผลมากกว่าการบังคับขู่เข็ญเสมอ ในที่นี้หมายถึงคุณค่าอย่างประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน และความเป็นปัจเจกบุคคล ที่ต่างก็เป็นสิ่งที่เย้ายวนใจอย่าหาใครเปรียบ"[12] แอนเจโล โคเดวิลลา (Angelo Codevilla) ตั้งข้อสังเกตว่าลักษณะที่สำคัญของซอฟต์พาวเวอร์ซึ่งมักจะถูกมองข้ามก็คือ ประชากรกลุ่มต่าง ๆ ที่สามารถถูกดึงดูดหรือปฏิเสธได้ด้วยวัตถุ ชุดความคิด ภาพลักษณ์ หรือโอกาสที่มีปัจจัยแตกต่างกัน[13] กล่าวคือซอฟต์พาวเวอร์จะมีอุปสรรคก็ต่อเมื่อนโยบาย วัฒนธรรม หรือค่านิยมนั้น ๆ กำลังผลักไสผู้อื่นออกไปแทนที่จะเป็นการเข้าหา

ในหนังสือของไนย์มีมุมมองต่อซอฟต์พาวเวอร์ว่าเป็นสิ่งที่รัฐบาลสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินนโยบายยุทธศาสตร์ได้ยากกว่าการดำเนินนโยบายแบบใช้ความรุนแรงก็ด้วยเหตุผลสองประการดังนี้: ทรัพยากรที่สำคัญจำนวนมากมิได้ตกอยู่ในการดูแลของรัฐบาล และซอฟต์พาวเวอร์เองก็มีแนวโน้มที่จะ "ดำเนินการโดยกำหนดสภาพแวดล้อมสำหรับนโยบายในทางอ้อม และบางครั้งก็ต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ"[12][14] ในหนังสือเล่มนี้ไนย์ได้แบ่งหมวดหมู่ของซอฟต์พาวเวอร์ไว้แบบกว้าง ๆ ทั้งหมด 3 แบบดังนี้ ได้แก่:

  1. วัฒนธรรม (culture): หากวัฒนธรรมของประเทศใดประเทศหนึ่งมีความสอดคล้องกับค่านิยมและผลประโยชน์ของประเทศอื่น โอกาสที่วัฒนธรรมดังกล่าวจะกลายเป็นซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศนั้นก็จะมีมากขึ้นตามมา ช่องทางที่จะส่งผลให้วัฒนธรรมของประเทศใดประเทศหนึ่งกลายเป็นที่แพร่หลายในประเทศอื่น ๆ นั้นมีหลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการค้า การทูต การแลกเปลี่ยน และการสื่อสาร[2]
  2. ค่านิยมทางการเมือง (political values): หากประเทศดังกล่าวมีค่านิยมทางการเมืองที่สอดคล้องกับประเทศอื่น ซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศนั้นก็จะเพิ่มมากขึ้น แต่ในทางกลับกันหากค่านิยมของประเทศดังกล่าวขัดแย้งกับค่านิยมของประเทศอื่นอย่างชัดเจน ซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศนั้นก็จะลดลง ตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกาในคริสตทศวรรษที่ 1950 ที่ยังมีการแบ่งแยกสีผิว ทำให้ซอฟต์พาวเวอร์ของสหรัฐอเมริกาที่มีอิทธิพลต่อทวีปแอฟริกานั้นมีน้อย เป็นต้น[1]
  3. นโยบายต่างประเทศ (foreign policies): เมื่อประเทศใดประเทศหนึ่งดำเนินนโยบายที่มีลักษณะเป็นแบบก้าวร้าว หน้าไหว้หลังหลอก และไม่แยแสต่อท่าทีของประเทศอื่น โอกาสที่ซอฟต์พาวเวอร์จะเกิดขึ้นก็จะมีน้อยตามมา เช่นในกรณีของสหรัฐอเมริกาที่เข้ารุกรานอิรักเมื่อ ค.ศ. 2003 โดยมิได้ฟังเสียงคัดค้านของประเทศอื่น ๆ เป็นต้น แต่ถ้าหากประเทศดังกล่าวมีการดำเนินนโยบายต่างประเทศที่ดำรงไว้ซึ่งกฎหมาย สันติภาพ และสิทธิมนุษยชน โอกาสที่จะสร้างซอฟต์พาวเวอร์ก็จะมีมากขึ้นตามมา[11]

ใน The Future of Power (2011) ไนย์ได้เน้นย้ำให้เห็นว่าซอฟต์พาวเวอร์นั้นเป็นแนวคิดเชิงพรรณนามากกว่าที่จะเป็นแนวคิดเชิงบรรทัดฐาน[15] เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วซอฟต์พาวเวอร์ก็สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อจุดประสงค์ที่ฉ้อฉลได้เหมือนกัน “ทั้ง อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ โจเซฟ สตาลิน และ เหมา เจ๋อตง ต่างก็มีอำนาจบารมีมากมายในสายตาของสาวกของตน แต่นั่นก็ไม่ได้ความว่าสิ่งนั้นจะเป็นสิ่งที่ดี การบิดเบือนชุดความคิดไม่จำเป็นต้องมีศีลธรรมเหนือไปกว่าการบีบบังคับเพื่อให้เชื่อตามอยู่เสมอไป” ไนย์ยังได้อธิบายเพิ่มเติมไว้อีกว่า ซอฟต์พาวเวอร์นั้นมิใช่สิ่งที่ขัดแย้งกับแนวคิดแบบสัจนิยมในทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ “ซอฟต์พาวเวอร์มิใช่รูปแบบหนึ่งของแนวคิดแบบอุดมคตินิยมหรือเสรีนิยม มันเป็นเพียงแค่รูปแบบวิธีหนึ่งของการใช้อำนาจ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์ที่ต้องการ”[16]

ข้อจำกัดของแนวคิด

[แก้]

ซอฟต์พาวเวอร์มักถูกวิจารณ์ว่าเป็นนโยบายที่ไม่มีประสิทธิภาพ เช่น ในบทนำของหนังสือชื่อ Colossus โดย นีล เฟอร์กูสัน (Niall Ferguson) ซึ่งเป็นนักทฤษฎีสัจนิยมใหม่ รวมถึงงานเขียนของนักทฤษฎีสายเหตุผลนิยมและเหตุผลนิยมใหม่หลาย ๆ คน (ยกเว้น สตีเฟน วอลต์) ที่ได้ปฏิเสธถึงข้อดีของซอฟต์พาวเวอร์อย่างหนักแน่น เนื่องจากนักทฤษฎีสายนี้มีมุมมองว่าตัวแสดงในการเมืองระหว่างประเทศตอบสนองต่อแรงจูงใจเพียงแค่สองประเภทเท่านั้น ได้แก่: "แรงจูงใจทางเศรษฐกิจ" กับ "การใช้อำนาจบีบบังคับ"

ตามทฤษฎี อาจเป็นการยากที่จะแบ่งแยก "ซอฟต์พาวเวอร์" กับ “ฮาร์ดพาวเวอร์” ออกจากกันอย่างชัดเจน เช่นในกรณีที่ แจนิส ไบแอลลี แมทเทิร์น (Janice Bially Mattern) ได้แสดงความเห็นต่อคำพูด “คุณจะอยู่กับเราหรือจะอยู่กับพวกผู้ก่อการร้าย” ของ จอร์จ ดับเบิลยู. บุช (George W. Bush) ไว้ว่าคำพูดดังกล่าวเป็นการใช้ “ฮาร์ดพาวเวอร์” แม้ว่าจะเป็นการแสดงออกที่มิได้มีการใช้อำนาจทางการทหารหรือในทางเศรษฐกิจเพื่อกดดันให้รัฐอื่น ๆ ยอมเข้าร่วมเป็นพันธมิตรก็ตาม แต่การแสดงออกดังกล่าวก็ถูกแทนที่ด้วยอำนาจที่แสดงให้เห็นถึงแสนยานุภาพของตน ภายใต้บริบทของชาติมหาอำนาจเพียงหนึ่งเดียว กล่าวคือท่าทีของสหรัฐอเมริกาคือการใช้อำนาจเพื่อข่มขู่ให้กลุ่มชาติพันธมิตรต้องยอมรับต่อนโยบายของตน หากไม่ก็เสี่ยงที่จะถูกตราหน้าว่าเป็นปฏิปักษ์จนสูญเสียภาพลักษณ์ในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ เช่นนั้นแล้วซอฟต์พาวเวอร์จึงมิได้เป็นอำนาจที่อ่อนโยนอย่างที่คิด[17]

นอกจากนี้ยังมีบทความล่าสุดที่กล่าวถึงการละเลยการคุ้มครองของแนวคิดดังกล่าว ตั้งแต่ทฤษฎีของไนย์ซึ่ง “มุ่งเน้นไปที่วิธีในการโน้มน้าวให้ชาติอื่นยอมทำตามคำสั่งของตนเป็นหลัก” นักวิจัยบางคนได้เพิ่มเติมเอาไว้ว่าประเทศที่มีพัฒนาการทางเศรษฐกิจไปในทางบวกอย่างประเทศจีนกำลังแสวงหาวิธีการใหม่ ๆ ในการใช้ซอฟต์พาวเวอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ[18]

นอกจากนี้ยังมีการถกเถียงกันอีกว่าเราควรให้ความสนใจต่อการทำความเข้าใจและเรียนรู้วิธีใช้ซอฟต์พาวเวอร์ว่าสามารถส่งผลกระทบในทางตรงกันข้ามต่อตัวแสดงนั้น ๆ ได้อย่างไร เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วผลลัพธ์ดังกล่าวจะนำไปสู่หายนะทางเศรษฐกิจหรือภาพลักษณ์ของชาตินั้น ๆ ได้ด้วยเช่นไร ผลลัพธ์ดังกล่าวเรียกว่า ‘การลดอำนาจของตนลง’[19]

การชี้วัด

[แก้]

ความสำเร็จของซอฟต์พาวเวอร์ขึ้นอยู่กับชื่อเสียงของตัวแสดงในชุมชนระหว่างประเทศ ตลอดจนการไหลของสารนิเทศระหว่างตัวแสดง ดังนั้นซอฟต์พาวเวอร์จึงมักสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของโลกาภิวัฒน์และทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแบบเสรีนิยมใหม่ มักชี้กันว่าวัฒนธรรมสมัยนิยมและสื่อมวลชนเป็นบ่อเกิดของซอฟต์พาวเวอร์[20] เช่นเดียวกับการแพร่หลายของภาษาประจำชาติหรือชุดโครงสร้างบรรทัดฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ยิ่งไปกว่านั้น ข่าวต่างประเทศพบว่ามีความสำคัญในการก่อกำเนิดภาพลักษณ์และชื่อเสียงของต่างประเทศ ตัวอย่างเช่น การที่สหรัฐมีความโดดเด่นในข่าวต่างประเทศมีการเชื่อมโยงกับซอฟต์พาวเวอร์ของสหรัฐด้วย[21]

การประเมินมูลค่าแบรนด์ชั้นนำของโลก ค.ศ. 2023[22] ดัชนีซอฟต์พาวเวอร์ในระดับโลก ค.ศ. 2023 โดย ISSF[23] ผลสำรวจซอฟต์พาวเวอร์ ค.ศ. 2022 โดย Monocle[24][25] รายงานซอฟต์พาวเวอร์ ค.ศ. 2019 โดย Portland[26]
อันดับ ประเทศ
1  สหรัฐอเมริกา
2 ธงของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร
3 ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี
4 ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
5 ธงของประเทศจีน จีน
6 ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
7 ธงของประเทศแคนาดา แคนาดา
8 ธงของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์
9 ธงของประเทศอิตาลี อิตาลี
10 ธงของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
อันดับ ประเทศ
1  สหรัฐอเมริกา
2 ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
3  สหราชอาณาจักร
4 ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
5 ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี
6 ธงของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์
7 ธงของประเทศเกาหลีใต้ เกาหลีใต้
8 ธงของประเทศสเปน สเปน
9 ธงของประเทศแคนาดา แคนาดา
10 ธงของประเทศจีน จีน
อันดับ ประเทศ
1  สหรัฐอเมริกา
2 ธงของประเทศเดนมาร์ก เดนมาร์ก
3 ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
4 ธงของประเทศเกาหลีใต้ เกาหลีใต้
5 ธงของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์
6 ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
7 ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี
8 ธงของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร
9 ธงของประเทศอิตาลี อิตาลี
10 ธงของประเทศยูเครน ยูเครน
อันดับ ประเทศ
1 ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
2 ธงของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร
3 ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี
4 ธงของประเทศสวีเดน สวีเดน
5  สหรัฐอเมริกา
6 ธงของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์
7 ธงของประเทศแคนาดา แคนาดา
8 ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
9 ธงของประเทศออสเตรเลีย ออสเตรเลีย
10 ธงของประเทศเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์

ตัวอย่าง

[แก้]

ประเทศเกาหลี

[แก้]
บารัก โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐ: "...เห็นได้ชัดเลยว่าผู้คนทั่วโลกกำลังถูกห้อมล้อมไปด้วยวัฒนธรรมเกาหลี -- กระแสเกาหลี"[27]
จากกระแสเพลง "คังนัมสไตล์" ของ ไซ (Psy) เมื่อเร็ว ๆ นี้
จะด้วยกระแสเกาหลีหรือเคป็อปก็ดี เราต่างก็เห็นพ้องกันว่า
วัฒนธรรมเกาหลีกำลังสร้างจุดมุ่งหมายที่สำคัญให้กับโลก
พัน กี-มุน เลขาธิการสหประชาชาติ[28]

"ฮัลลยู" (เกาหลี한류; ฮันจา韓流) หรือที่รู้จักกันในชื่อ "กระแสเกาหลี" (Korean Wave) เป็นศัพท์บัญญัติใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่วัฒนธรรมเกาหลีใต้ตั้งแต่ปลายคริสตทศวรรษที่ 1990 จากรายงานของเดอะวอชิงตันโพสต์ การแพร่กระจายของอุตสาหกรรมบันเทิงจากเกาหลีใต้ทำให้ยอดขายสินค้าและบริการอื่น ๆ ภายในประเทศได้รับความนิยมมากขึ้น เช่น อาหาร แฟชัน หรือภาษาเกาหลี เป็นต้น[29] นอกจากปริมาณการส่งออกของเกาหลีใต้จะเพิ่มขึ้นแล้ว กระแสเกาหลียังถูกใช้เป็นเครื่องมือสำหรับดำเนินนโยบายยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์โดยรัฐบาลเกาหลี ประสงค์ก็เพื่อลดความรู้สึกต่อต้านเกาหลีทั้งภายในและระหว่างประเทศลง[30] รวมถึงยังช่วยเสริมสร้างการมีส่วนร่วมให้กับกลุ่มคนรุ่นใหม่ในสังคมทั่วโลก[31]

จากผลสำรวจการจัดอันดับในแต่ละประเทศที่เผยแพร่โดย บีบีซี ในปี ค.ศ. 2012  ได้เผยให้เห็นถึงความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อภาพลักษณ์ของเกาหลีใต้ซึ่งเปลี่ยนไปในทุก ๆ ปี นับตั้งแต่มีการสำรวจสถิติครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 2009 ว่าประชาชนในหลาย ๆ ประเทศ เช่น จีน ฝรั่งเศส รัสเซีย และอินเดีย มีมุมมองต่อภาพลักษณ์ของประเทศเกาหลีใต้ที่เปลี่ยนไปจากเชิงลบเล็กน้อยมาเป็นเชิงบวกมากขึ้นเรื่อย ๆ ในรายงานยังได้ระบุอีกว่าประเพณีและวัฒนธรรมเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุดต่อการสร้างภาพลักษณ์เชิงบวกให้กับเกาหลีใต้[32] ซึ่งปัจจัยข้างต้นก็ยังส่งผลต่อมูลค่ารวมการส่งออกทางวัฒนธรรมภายในประเทศเมื่อ ค.ศ. 2011 ที่เติบโตขึ้นเป็น 4.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อีกเช่นกัน[33][34]

กระแสเกาหลีมีจุดเริ่มต้นมาจากซีรีส์เกาหลีที่ถูกซื้อลิขสิทธิ์ไปออกอากาศทางโทรทัศน์ทั่วเอเชียใต้ เอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จนได้รับความนิยมในระดับภูมิภาค และก็ค่อย ๆ ได้รับการต่อยอดจนกลายเป็นปรากฏการณ์ระดับโลกในช่วงที่มิวสิกวิดีโอเคป็อป (K-pop) ได้รับความนิยมบนยูทูบ[35][36] โดยมี บีทีเอส (BTS) เป็นวงดนตรีเคป็อปที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด สามารถทำรายได้จากยูทูบรวมกันได้มากถึง 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นการสร้างรายได้ให้กับเกาหลีใต้อย่างมหาศาล[37] การแพร่กระจายของกระแสเกาหลีไปยังภูมิภาคอื่น ๆ ของโลกในปัจจุบัน สามารถพบเห็นได้ชัดเจนที่สุดในภูมิภาคลาตินอเมริกา ตะวันออกกลาง แอฟริกาเหนือ และกลุ่มผู้อพยพในโลกตะวันตก โดยมีกลุ่มผู้บริโภคตั้งแต่วัยรุ่นไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น[38][39][40]

ตะวันออกกลาง

[แก้]

กลุ่มประเทศตะวันออกกลางหลาย ๆ ประเทศมีการดำเนินนโนยายซอฟต์พาวเวอร์ทั้งในระดับภูมิภาคเดียวกันและในภูมิภาคอื่น ตัวอย่างก็เช่น ประเทศกาตาร์ ที่ดำเนินนโยบายระหว่างประเทศของตนด้วยยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์ ผ่านการใช้สื่อโทรทัศน์อย่างสำนักข่าวอัลญะซีเราะฮ์ รวมถึงการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพในการจัดแข่งขันกีฬาระดับโลก ก็เพื่อเสริมสร้างอิทธิพลในการกำหนดนโยบายต่างประเทศของตน[41] แม้แต่มหาอำนาจภายนอกอย่างสหรัฐอเมริกาและจีนก็ยังเข้ามาดำเนินกิจการแข่งขันทางด้านยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์เพื่อขยายอิทธิพลของตนในภูมิภาคตะวันออกกลาง[42][43] การแข่งขันนโยบายทางเศรษฐกิจระหว่างกลุ่มประเทศตะวันออกกลางมักเกี่ยวข้องกับการดำเนินนโยบายยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์อยู่เสมอ เช่น การแข่งขันนโยบายระหว่างอียิปต์กับอิสราเอลเพื่อเสริมสร้างอิทธิพลของตนในภูมิภาคแอฟริกาเหนือ[44] หรือความสัมพันธ์ระหว่างซาอุดีอาระเบียกับอิหร่าน เป็นต้น[45]

ประเทศไทย

[แก้]

การขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศไทยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564

สหราชอาณาจักร

[แก้]

การดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของสหราชอาณาจักรยึดถือองค์ประกอบที่สำคัญของซอฟต์พาวเวอร์มานับตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ 1814–1914 ผ่านนโยบายอย่าง สันติภาพบริติช (Pax Britannica)[46][47][48]

อิทธิพลของอังกฤษที่มีต่ออดีตอาณานิคมหลายแห่งสามารถพบเห็นได้ผ่านระบบกฎหมายและการเมืองของประเทศนั้น ๆ รวมถึงวัฒนธรรมของสหราชอาณาจักรก็ยังได้รับความนิยมแพร่หลายไปทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านของภาษา วรรณกรรม ดนตรี และ กีฬา[49] ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่แพร่หลายที่สุดในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิก เป็นหนึ่งในภาษาที่มีผู้ใช้มากที่สุด และมีผู้ใช้เป็นภาษาแม่มากเป็นอันดับสามของโลก อีกทั้งยังเป็นภาษาราชการร่วมขององค์กรทั้งในระดับระหว่างประเทศและระดับภูมิภาคอื่น ๆ อีกมากมาย ตัวอย่างก็เช่น องค์กรสหประชาชาติ สหภาพยุโรป นอกจากนี้ภาษาอังกฤษยังเป็นภาษาที่แพร่หลายทั้งในทางการทูต วิทยาศาสตร์ การค้าระหว่างประเทศ การท่องเที่ยว การบิน อุตสาหกรรมบันเทิง และอินเทอร์เน็ตอีกด้วย[50]

ประเทศอิตาลี

[แก้]

ประเทศอิตาลีเป็นประเทศที่มีจุดขายทางวัฒนธรรมซึ่งได้รับความนิยมหลากหลายด้าน ได้แก่ ศิลปะ ดนตรี แฟชั่น การออกแบบ และอาหาร ประเทศอิตาลีเป็นแหล่งกำเนิดของศิลปะการแสดงแบบโอเปร่า[51] และภาษาอิตาลีเองก็เป็นภาษาของโอเปร่าที่ได้รับการสืบทอดมาอย่างยาวนานหลายชั่วอายุคน ศิลปะการแสดงของอิตาลีได้รับความนิยมและเป็นที่ชื่นชอบของผู้คนหลากหลายมานานนับหลายศตวรรษ การแสดงแบบด้นสดที่เรียกว่า กอมเมเดีย เดลลาร์เต (Commedia dell'arte) เกิดขึ้นในอิตาลีช่วงกลางคริสตศตวรรษที่ 16[52] ก่อนที่จะแพร่หลายไปยังฝรั่งเศสและรัสเซีย โดยที่ยังมีการอนุรักษ์สืบสานต่อยอดมาจนถึงปัจจุบัน รวมถึงบัลเลต์ก็เป็นหนึ่งในศิลปะการแสดงที่มีต้นกำเนิดมาจากอิตาลีอีกเช่นกัน ประเทศอิตาลีมีหัวเมืองสำคัญที่มีชื่อเสียงระดับโลกหลายแห่ง: กรุงโรมซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศอิตาลีในปัจจุบัน ในอดีตเคยเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิโรมัน และเป็นที่พำนักของพระสันตะปาปาแห่งคริสตจักรคาทอลิก ทำให้กรุงโรมได้รับการขนานนามว่าเป็นหนึ่งใน "แหล่งกำเนิดของอารยธรรมตะวันตกและวัฒนธรรมคริสเตียน"[53][54][55] ฟลอเรนซ์เป็นเมืองศูนย์กลางของศิลปวิทยาการที่รุ่งเรืองที่สุดในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา[56] ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนผ่านจากความเป็นสมัยกลางไปสู่ความเป็นสมัยใหม่ หัวเมืองที่สำคัญอื่น ๆ นอกเหนือจากนี้ ได้แก่ ตูรินซึ่งเป็นหนึ่งในศูนย์กลางอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มิลานเป็นหนึ่งในเมืองหลวงแฟชั่นหรือที่เรียกกันว่า "Big Four" เวนิสเป็นเมืองที่ขึ้นชื่อในเรื่องของประวัติศาสตร์การเดินเรือและการวางโครงสร้างระบบคลองในเมืองที่มีความสลับซับซ้อน ด้วยเอกลักษณ์ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นส่งผลให้เมืองเวนิสสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลก โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลคาร์นิวัลเวนิสและเวนิสเบียนนาเล ประเทศอิตาลีได้รับการรับรองจากองค์การยูเนสโกให้เป็นประเทศที่มีแหล่งมรดกโลกมากที่สุดในโลก (เป็นจำนวน 59 แห่ง) จนถึงปัจจุบัน[57] ใน ค.ศ. 2019 ประเทศอิตาลีมีเครือข่ายทางการทูตที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับเก้าของโลก และมีอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับห้าของโลก

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ศัพท์นิเทศศาสตร์ร่วมสมัย ฉบับราชบัณฑิตยสภา พ.ศ. 2566

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 ที่มาของ soft power โดยสิทธิพล เครือรัฐติกาล, Ph.D. สืบค้นวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2557
  2. 2.0 2.1 คอลัมภ์อำนาจอ่อน-อำนาจแข็ง โดยบวร โทศรีแก้ว ณ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 จากเว็บไซต์ไทยรัฐออนไลน์ สืบค้นวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2557
  3. Nye, Joseph (8 May 2012). "China's Soft Power Deficit To catch up, its politics must unleash the many talents of its civil society". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 6 December 2014.
  4. 4.0 4.1 4.2 Nye 1990.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 Nye 2004a.
  6. แม่แบบ:Oed - "S. Boonyapratuang Mil. Control in S.E. Asia iii. 72 Musjawarah (decision by discussion) and 'soft power' became the stances of his control."
  7. Nye, Joseph S. (16 March 2004). Soft Power: The Means To Success In World Politics. New York: PublicAffairs. p. ix, xi. ISBN 9781586482251. สืบค้นเมื่อ 16 March 2023. [...] I had coined the term 'soft power' a decade or so earlier. [...] I first developed the concept of 'soft power' in Bound to Lead, a book I published in 1990 [...].
  8. Parlak, Bekir, บ.ก. (15 October 2022). The Handbook of Public Administration, Vol. 2. Livre de Lyon. p. 346. ISBN 9782382363003. สืบค้นเมื่อ 16 March 2023. The second face of power is soft power.
  9. Sobrinho, Blasco José (2001). Signs, Solidarities, and Sociology: Charles S. Peirce and the Pragmatics of Globalization. Lanham, Maryland: Rowman & Littlefield. p. 115. ISBN 9780847691791. สืบค้นเมื่อ 16 March 2023. [...] the notion of a 'second face of power'" — less 'obvious' to empirical observation — introduced in 1962 by Peter Bachrach and Morton Baratz in 'The Two Faces of Power.' The views of Bachrach and Baratz, presented comprehensively in their 1970 book Power and Poverty drew [...] upon post-empiricist (post-positivist) philosophy of science to argue that [...] social science should consider those aspects of political life that are covert and 'nonobvious.' [...] Bachrach and Baratz put forward the concept of the 'nondecision,' which they defined as 'a decision that results in suppression or thwarting of a latent or manifest challenge to the values or interests of the decision-maker.'
  10. Mattern, Mark (2006). Putting Ideas to Work: A Practical Introduction to Political Thought. Reference,Information and Interdisciplinary Subjects Series. Lanham, Maryland: Rowman & Littlefield. p. 372. ISBN 9780742548909. สืบค้นเมื่อ 16 March 2023. The exercise of the second face of power often occurs in the form of a nonaction or nonbehavior by the policy makers . Unlike the first face of power , in which A makes B do something that B would not otherwise do , in the second face of power A prevents B from doing something that B would like to do.
  11. 11.0 11.1 Nye 2011, p. 84.
  12. 12.0 12.1 Nye 2004a, p. x.
  13. Angelo M. Codevilla, "Political Warfare: A Set of Means for Achieving Political Ends", in Waller, ed., Strategic Influence: Public Diplomacy, Counterpropaganda and Political Warfare (IWP Press, 2008).
  14. Lord, Carnes, "Public Diplomacy and Soft Power", in Waller, ed., Strategic Influence: Public Diplomacy, Counterpropaganda and Political Warfare (IWP Press, 2008.) pp. 59–71.
  15. Nye 2011, p. 81.
  16. Nye 2011, p. 82.
  17. Mattern, Janice Bially (2005). "Why 'Soft Power' Isn't So Soft: Representational Force and the Sociolinguistic Construction of Attraction in World Politics". Millennium: Journal of International Studies. 33 (3): 583–612. doi:10.1177/03058298050330031601. S2CID 144848371. Page 586.
  18. Eliküçük Yıldırım, Nilgün; Aslan, Mesut (2020). "China's Charm Defensive: Image Protection by Acquiring Mass Entertainment". Pacific Focus. 35 (1): 141–171. doi:10.1111/pafo.12153.
  19. Brannagan, Paul Michael; Giulianotti, Richard (2018). "The soft power–soft disempowerment nexus: The case of Qatar". International Affairs. 94 (5): 1139–1157. doi:10.1093/ia/iiy125.
  20. "Economic warfare on the silver screen". FRANCE 24. 28 June 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 January 2012. สืบค้นเมื่อ 2012-01-28.
  21. Blondheim, Menahem; Segev, Elad (2015). "Just Spell US Right: America's News Prominence and Soft Power". Journalism Studies. 18 (9): 1128–1147. doi:10.1080/1461670X.2015.1114899. S2CID 146592424.
  22. Bourke, Latik (2023-03-02). "Australia slips again in global soft power ranking". The Sydney Morning Herald.
  23. "World Soft Power Index 2023" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-10-31. สืบค้นเมื่อ 31 October 2023.
  24. Self, Alexis. "Soft Power Survey: Part one". Monocle. สืบค้นเมื่อ 15 January 2023.
  25. Self, Alexis. "Soft Power Survey: Part two". Monocle. สืบค้นเมื่อ 15 January 2023.
  26. "The Soft Power 30 - Ranking". Portland. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-31. สืบค้นเมื่อ 2018-03-28.
  27. "Remarks by President Obama and President Park of South Korea in a Joint Press Conference". whitehouse.gov. 7 May 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 January 2017. สืบค้นเมื่อ May 7, 2013 – โดยทาง National Archives. And of course, around the world, people are being swept up by Korean culture – the Korean Wave. And as I mentioned to President Park, my daughters have taught me a pretty good Gangnam Style.
  28. "Addressing National Assembly of Republic of Korea, Secretary-General Expresses". United Nations. สืบค้นเมื่อ 16 May 2013.
  29. Faiola, Anthony (August 31, 2006). "Japanese Women Catch the 'Korean Wave'". The Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 21, 2011. สืบค้นเมื่อ May 7, 2010.
  30. "Korea to turn hallyu into industry". The Korea Herald. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2015. สืบค้นเมื่อ 17 February 2013. To prevent anti-Korean sentiment, the government will offer incentives for production companies or broadcasters planning to jointly produce movies or dramas with Chinese companies.
  31. Constant, Linda (14 November 2011). "K-pop: Soft Power for the Global Cool". The Huffington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 March 2018. สืบค้นเมื่อ 17 February 2013.
  32. "2012 BBC Country Ratings" (PDF). Globescan/BBC World Service. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 13 May 2019. สืบค้นเมื่อ 29 December 2012.
  33. Oliver, Christian. "South Korea's K-pop takes off in the west". Financial Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 November 2020. สืบค้นเมื่อ 30 July 2013.
  34. "Korean wave spreads overseas". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2011-04-27. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-05. สืบค้นเมื่อ 2021-10-05.
  35. Yoon, Lina (26 August 2010). "K-Pop Online: Korean Stars Go Global with Social Media". TIME. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 August 2010. สืบค้นเมื่อ 20 February 2011.
  36. Williams, Sophie (2021-06-19). "K-wave: How fans are supporting their favorite idols". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-05. สืบค้นเมื่อ 2021-10-05.
  37. Doobo, Shim (2018). "2) Efficacy of Korean Wave: beyond industry, beyond superpower" (PDF). Hallyu White Paper, 2018. KOFICE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ Jun 25, 2023 – โดยทาง TradeNAVI.
  38. James Russell, Mark (September 27, 2012). "The Gangnam Phenom". Foreign Policy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 October 2012. สืบค้นเมื่อ 11 October 2012. First taking off in China and Southeast Asia in the late 1990s, but really spiking after 2002, Korean TV dramas and pop music have since moved to the Middle East and Eastern Europe, and now even parts of South America.; Viney, Steven (19 July 2011). "Korean pop culture spreads in Cairo". Egypt Independent. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 October 2013. สืบค้นเมื่อ 14 April 2013; Kember, Findlay (2011). "Remote Indian state hooked on Korean pop culture". Agence France-Presse. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 May 2011. สืบค้นเมื่อ 24 February 2013 – โดยทาง Google News; Jung Ha-Won (Jun 19, 2012). "South Korea's K-pop spreads to Latin America". Agence France-Presse. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 March 2013. สืบค้นเมื่อ 28 March 2013 – โดยทาง Google News; Brown, August (29 April 2012). "K-pop enters American pop consciousness". The Los Angeles Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 January 2013. สืบค้นเมื่อ 24 March 2013. The fan scene in America has been largely centered on major immigrant hubs like Los Angeles and New York, where Girls' Generation sold out Madison Square Garden with a crop of rising K-pop acts including BoA and Super Junior; Seabrook, John (October 8, 2012). "Cultural technology and the making of K-pop: Factory Girls". The New Yorker. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 October 2012. สืบค้นเมื่อ 4 March 2013. The crowd was older than I'd expected, and the ambience felt more like a video-game convention than like a pop concert. About three out of four people were Asian-American, but there were also Caucasians of all ages, and a number of black women; Chen, Peter (9 February 2013). "'Gangnam Style': How One Teen Immigrant Fell For K-Pop Music". The Huffington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 February 2013. สืบค้นเมื่อ 4 March 2013. It is common for Chinese teens in the U.S. to be fans of K-pop, too; Salima (February 27, 2013). "Black is the New K-Pop: Interview With 'Black K-Pop Fans'". The One Shots. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 March 2013. สืบค้นเมื่อ 4 March 2013.
  39. Ro, Christine (9 March 2020). "BTS and EXO: The soft power roots of K-pop". BBC (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-05. สืบค้นเมื่อ 2021-10-05.
  40. "Why 26 Korean words have been added to Oxford English Dictionary". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2021-10-05. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-05. สืบค้นเมื่อ 2021-10-05.
  41. Brannagan, Paul Michael; Giulianotti, Richard (2018). "The soft power–soft disempowerment nexus: the case of Qatar". International Affairs. 94 (5): 1139–1157. doi:10.1093/ia/iiy125. ISSN 0020-5850.
  42. Rugh, William A. (2005-11-30). American Encounters with Arabs: The Soft Power of U.S. Public Diplomacy in the Middle East (ภาษาอังกฤษ). Bloomsbury Publishing USA. ISBN 978-0-313-05524-9.
  43. Tella, Oluwaseun (2016-11-05). "Wielding soft power in strategic regions: an analysis of China's power of attraction in Africa and the Middle East". Africa Review. 8 (2): 133–144. doi:10.1080/09744053.2016.1186868. ISSN 0974-4061.
  44. Siniver, Asaf; Tsourapas, Gerasimos (2023-01-20). "Middle Powers and Soft-Power Rivalry: Egyptian–Israeli Competition in Africa". Foreign Policy Analysis. 19 (2). doi:10.1093/fpa/orac041. ISSN 1743-8586.
  45. Mabon, Simon (2015-10-21). Saudi Arabia and Iran: Power and Rivalry in the Middle East (ภาษาอังกฤษ). Bloomsbury Publishing. ISBN 978-0-85772-907-1.
  46. Sondhaus, Lawrence (2009). Soft power, hard power, and the Pax Americana. Taylor & Francis. pp. 204–8. ISBN 978-0415545334 – โดยทาง Google Books.
  47. Winks, Robin W. (1993). World civilization : a brief history (2nd ed.). San Diego, CA: Collegiate Press. p. 406. ISBN 9780939693283 – โดยทาง Google Books. By 1914 common law, trail by jury, the King James Authorized Version of the Bible, the English language, and the British navy had been spread around the globe.
  48. Watts, Carl P. (2007). "Pax Britannica". ใน Hodge, Carl C. (บ.ก.). Encyclopedia of the Age of Imperialism, 1800-1914. Vol. 2. Greenwood Press. p. 3. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-15. สืบค้นเมื่อ 2018-04-05. it left many legacies, including widespread use of the English language, belief in Protestant religion, economic globalization, modern precepts of law and order, and representative democracy.
  49. "The cultural superpower: British cultural projection abroad" (PDF). Journal of the British Politics Society, Norway. 6 (1). Winter 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 16 September 2018. สืบค้นเมื่อ 24 October 2014.
  50. Chua, Amy (18 January 2022). "How the English Language Conquered the World". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 March 2022.
  51. Kimbell, David R. B. Italian Opera. เก็บถาวร 2022-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Cambridge University Press, 1994. p. 1. Web. 22 Jul. 2012.
  52. "Commedia dell'arte". Treccani, il portale del sapere (ภาษาอิตาลี). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 November 2021. สืบค้นเมื่อ 24 Jul 2012.
  53. Beretta, Silvio (2017). Understanding China Today: An Exploration of Politics, Economics, Society, and International Relations. Springer. p. 320. ISBN 9783319296258.
  54. Bahr, Ann Marie B. (2009). Christianity: Religions of the World. Infobase Publishing. p. 139. ISBN 9781438106397.
  55. D'Agostino, Peter R. (2005). Rome in America: Transnational Catholic Ideology from the Risorgimento to Fascism. University of North Carolina Press. ISBN 9780807863411.
  56. Zirpolo, Lilian H. The A to Z of Renaissance Art. เก็บถาวร 2022-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Scarecrow Press, 2009. pp. 154-156. Web. 16 Jul. 2012.
  57. Centre, UNESCO World Heritage. "Italy - UNESCO World Heritage Convention". UNESCO World Heritage Centre (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-09-21.

บรรณานุกรม

[แก้]

อ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Chitty, Naren, Lilian Ji, and Gary Rawnsley, eds. (2023). The Routledge Handbook of Soft Power 2nd Edition, NY: Routledge.
  • Fraser, Matthew (2005). Weapons of Mass Distraction: Soft Power and American Empire, St. Martin's Press. Analysis is focused on the pop culture aspect of soft power, such as movies, television, pop music, Disneyland, and American fast-food brands including Coca-Cola and McDonald's.
  • Gallarotti, Giulio (2010). Cosmopolitan Power in International Relations: A Synthesis of Realism, Neoliberalism, and Constructivism, NY: Cambridge University Press. How hard and soft power can be combined to optimize national power.
  • Kurlantzick, Joshua (2007). Charm Offensive: How China's Soft Power Is Transforming the World, Yale University Press. Analysis of China's use of soft power to gain influence in the world's political arena.
  • Lukes, Steven (2007). "Power and the Battle For Hearts and Minds: On the Bluntness of Soft Power", in Berenskoetter, Felix and M.J. Williams, eds. (2007), Power in World Politics, Routledge.
  • Manners, Ian (2002). "Normative Power Europe: A Contradiction in Terms?" (PDF). JCMS: Journal of Common Market Studies. 40 (2): 235–258. doi:10.1111/1468-5965.00353. S2CID 145569196.
  • Mattern, Janice Bially (2006). "Why Soft Power Isn't So Soft", in Berenskoetter & Williams (see under "Lukes")
  • McCormick, John (2007). The European Superpower, Palgrave Macmillan. Argues that the European Union has used soft power effectively to emerge as an alternative and as a competitor to the heavy reliance of the US on hard power.
  • Nye, Joseph (2007). "Notes For a Soft Power Research Agenda", in Berenskoetter & Williams (see under "Lukes")
  • Nye, Joseph (2008). The Powers to Lead, NY Oxford University Press.
  • Nye, Joseph (2021) "Soft power: the evolution of a concept." Journal of Political Power
  • Onuf, Nicholas (2017). "The Power of Metaphor/the Metaphor of Power", in The Journal of International Communication, 23,1.
  • Ohnesorge, Hendrik W. (2020). Soft Power: The Forces of Attraction in International Relations, Springer International.
  • Parmar, Inderjeet and Michael Cox, eds. (2010). Soft Power and US Foreign Policy: Theoretical, Historical and Contemporary Perspectives, Routledge.
  • Surowiec, Pawel, and Philip Long. "Hybridity and Soft Power Statecraft: The 'GREAT' Campaign." Diplomacy & Statecraft 31:1 (2020): 1-28. doi:10.1080/09592296.2020.1721092. O’Loughlin, Ben (22 October 2020). "H-Diplo Article Review 989". เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ Apr 22, 2023.
  • Young Nam Cho and Jong Ho Jeong, "China's Soft Power", Asia Survey 48, 3, pp. 453–72.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]