ข้ามไปเนื้อหา

ยัติภังค์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Soft hyphen)
- ‐
ยัติภังค์
วรรคตอน
อะพอสทรอฟี   '
วงเล็บ [ ]  ( )  { }  ⟨ ⟩
ทวิภาค :
จุลภาค ,  ،  
จุดไข่ปลา   ...  . . .      
อัศเจรีย์  !
มหัพภาค .
กิลเลอเมต ‹ ›  « »
ยัติภังค์ -
ยัติภาค   
ปรัศนี  ?
อัญประกาศ ‘ ’  “ ”  ' '  " "
อัฒภาค ;
ทับ /    
ตัวแบ่งคำ
อินเตอร์พังก์ ·
เว้นวรรค     
การพิมพ์ทั่วไป
แอมเพอร์แซนด์ &
ดอกจัน *
แอต @
แบ็กสแลช \
เบสิสพอยต์
บุลเลต
แคเรต ^
แดกเกอร์ † ‡ ⹋
องศา °
บุพสัญญา ” 〃
ดับเบิลไฮเฟน = ⸗
อัศเจรีย์กลับหัว ¡
ปรัศนีกลับหัว ¿
เครื่องหมายอ้างอิง
เครื่องหมายคูณ ×
นัมเบอร์, แฮชแท็ก #
นูเมอโร
ออเบอลุส ÷
ตัวบอกลำดับ º ª
สัญลักษณ์ร้อยละ (เปอร์เซ็นต์)  %
สัญลักษณ์พันละ (เปอร์มิลล์)
พิลโครว์
บวกและลบ + −
บวกหรือลบ ± ∓
ไพรม์     
เซกชัน §
ทิลเดอ, ตัวหนอน ~
อันเดอร์สกอร์ _
เส้นตั้ง |    ¦
ทรัพย์สินทางปัญญา
ลิขสิทธิ์ ©
กอปปีเลฟต์ 🄯
ลิขสิทธิ์การอัดเสียง
เครื่องหมายการค้าจดทะเบียน ®
เซอร์วิสมาร์ก
เครื่องหมายการค้า
สกุลเงิน
เครื่องหมายสัญลักษณ์สกุลเงิน ¤

؋฿¢$֏ƒ£元 圆 圓 ¥

การพิมพ์เฉพาะทาง
แอสเทอริซึม
ฟลอวรอน
ดัชนี
อินเทอร์รอแบง
วรรคตอนไอเรอนี
ลอซินจ์
ไท
ที่เกี่ยวข้อง
ในภาษาอื่น ๆ
ในภาษาไทย
โคมูตร
ตีนครุ
ไปยาลน้อย
ไปยาลใหญ่ ฯลฯ
ฟองมัน
ไม้ยมก
อังคั่น , ฯะ, , ๚ะ

ยัติภังค์ หรือ เครื่องหมายขีด (hyphen) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนสากลอย่างหนึ่ง มีลักษณะเป็นขีดแนวนอนสั้น ๆ กลางบรรทัด ยาวไม่เกิน 2 ตัวอักษร หากยาวกว่านั้นจะเรียกว่ายัติภาค

การใช้งาน

[แก้]
  • ใช้รวมคำต่างชนิดกัน เพื่อใช้เป็นส่วนขยายหรือเพื่อให้เกิดคำใหม่ นิยมใช้ในภาษาอังกฤษและภาษาละตินอื่น ๆ
    • twentieth-century invention
    • cold-hearted person
    • award-winning show
  • สามารถใช้เป็นตัวแบ่งพยางค์ในการอ่านคำ
    • ยัติภังค์ อ่านว่า ยัด-ติ-พัง
    • syllabification = syl-lab-i-fi-ca-tion
  • ใช้เขียนไว้เมื่อสุดบรรทัดและจำเป็นต้องแยกคำออกจากกัน เนื่องจากเนื้อที่จำกัดหรือแยกตามฉันทลักษณ์ ในทางคอมพิวเตอร์เรียกว่า ยัติภังค์เผื่อเลือก (soft hyphen)

ศาลภาษีอากรกลางตัดสินคดีนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะฟ้องเจ้า-
พนักงานประเมินภาษีส่งเงินภาษีรับโอนหุ้นคืนโดยไม่ชอบ โดยศาลวินิจ-
ฉัยว่าการขายหุ้นที่ได้มาจากการซื้อนอกตลาดหลักทรัพย์ ในตลาด-
หลักทรัพย์ ...

     ปางเมื่อพระองค์ปรมพุท-      ธวิสุทธศาสดา
ตรัสรู้อนุตรสมา- ธิ ณ โพธิบัลลังก์
ขุนมารสหัสพหุพา- หุวิชาวิชิตขลัง
ขี่คีริเมขละประทัง คชะเหี้ยมกระเหิมหาญ

อักขระยูนิโคด

[แก้]

จากเดิมในรหัสแอสกี ยัติภังค์และเครื่องหมายลบใช้สัญลักษณ์ตัวเดียวกันคือ (-) ที่ตำแหน่ง 0x2D แต่สำหรับรหัสยูนิโคด ได้แยกสองเครื่องหมายนี้ออกจากกัน โดยยัติภังค์อยู่ที่ U+2010 (‐) และเครื่องหมายลบอยู่ที่ U+2212 (−) แต่ก็ยังคงอักขระตัวเดิมไว้ที่ U+002D เพื่อให้ยังสามารถรองรับและเข้ากันได้กับรหัสแอสกี

นอกจากนี้ยังมีสัญลักษณ์ ยัติภังค์เผื่อเลือก (soft hyphen)[1] ที่ตำแหน่ง U+00AD ซึ่งจะปรากฏเป็นเครื่องหมายขีดเมื่อมีการตัดคำที่ตำแหน่งที่ใส่ไว้ หากไม่มีการตัดคำจะไม่ปรากฏ และมีสัญลักษณ์ ยัติภังค์แบบไม่ตัดคำ (non-breaking hyphen) ที่ U+2011 (‑) เพื่อบังคับระบบคอมพิวเตอร์ว่าไม่ให้ตัดคำที่เครื่องหมายขีด ซึ่งทำงานคล้ายกับ เว้นวรรคแบบไม่ตัดคำ (non-breaking space)

โคดพอยต์ อักขระ HTML ความหมาย
U+002D - ไม่มี hyphen-minus (ยัติภังค์หรือเครื่องหมายลบ)
U+00AD ­ ­ soft hyphen (ยัติภังค์เผื่อเลือก)
U+2010 ไม่มี hyphen (ยัติภังค์)
U+2011 ไม่มี non-breaking hyphen (ยัติภังค์แบบไม่ตัดคำ)
U+2212 − minus sign (เครื่องหมายลบ)

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ความหมายของ soft hyphen". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-07. สืบค้นเมื่อ 2009-01-26.