ข้ามไปเนื้อหา

รูปี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สีม่วง: ประเทศที่รูปีเป็นสกุลเงินราชการ
อินเดีย, อินโดนีเซีย, มัลดีฟส์, Mauritius, เนปาล, ปากีสถาน, เซเชลส์, ศรีลังกา
สีส้ม: ประเทศที่รูปีสามารถใช้ได้โดยไม่ผิดกฎหมาย legal tender
รูปีอินเดีย: ภูฏาน, เนปาล, ซิมบับเว
รูปียะฮ์: ติมอร์ตะวันออก

รูปี (อังกฤษ: rupee; ฮินดี: रूपया) เป็นหน่วยเงินตราของประเทศอินเดีย สัญลักษณ์ที่นิยมใช้ทั่วไปแทนรูปี ก็คือ Rs หรือ ส่วนรหัส ISO 4217 สำหรับรูปีของอินเดีย คือ INR

ในหลายท้องที่ของอินเดีย เรียกเงินรูปีว่า รูปี (rupee), รูปะเย (rupaye), รูไบ (rubai) หรือ รูปยะกัม (rupyakam) ซึ่งมาจากภาษาสันสกฤต รูปฺยกมฺ (เทวนาครี : रूप्यकम्) คำว่า เราปฺย หมายถึง โลหะเงิน ; รูปฺยกมฺ หมายถึง (เหรียญ)เงิน แต่ในภาษาเบงกอล และอัสสัม (พูดในแคว้นอัสสัม ตรีปุระ และเบงกอลตะวันตก) เรียกรูปี ว่า ตะคะหรือตรา (taka, tara) ใช้สัญลักษณ์ และเขียนบนธนบัตรของอินเดียด้วย

สกุลเงินรูปีนั้น เป็นสกุลเงินที่ใช้กันมาตั้งแต่ยุคพุทธกาลแล้ว โดยในครั้งนั้นออกเสียงว่า รูปะยะ แล้วจึงเพี้ยนมาเป็น รูปี เช่นในปัจจุบัน และสันนิษฐานว่าคำว่า รูปี นั้น เป็นที่มาของคำว่า เบี้ย ที่หมายถึง เงิน ในภาษาไทยอีกด้วย[1] จากพระไตรปิฎก รูปิยะ = เงิน มีที่มา จาก ชาวบ้าน ถวาย เงิน ให้ เวยยาวัจกร เพื่อ ทำหน้าที่ จับจ่าย แทนพระสงฆ์ คำว่า รูปิยะ แปลว่า เงิน ซึ่ง ออกเสียง ใกล้เคียง กับ คำว่า รูปี

รายชื่อประเทศที่ใช้สกุลเงินรูปี

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. คอลัมน์ Aqua Pets โดย จอม สมหวัง ปัทมคันธิน "สุดยอดแฟนพันธุ์แท้เปลือกหอย 2 สมัย" หน้า 107 นิตยสาร Aquarium Biz Vo.1 issue 6 ฉบับเดือนธันวาคม 2010