ข้ามไปเนื้อหา

แอมเพอร์แซนด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
&
แอมเพอร์แซนด์
วรรคตอน
อะพอสทรอฟี   '
วงเล็บ [ ]  ( )  { }  ⟨ ⟩
ทวิภาค :
จุลภาค ,  ،  
จุดไข่ปลา   ...  . . .      
อัศเจรีย์  !
มหัพภาค .
กิลเลอเมต ‹ ›  « »
ยัติภังค์ -
ยัติภาค   
ปรัศนี  ?
อัญประกาศ ‘ ’  “ ”  ' '  " "
อัฒภาค ;
ทับ /    
ตัวแบ่งคำ
อินเตอร์พังก์ ·
เว้นวรรค     
การพิมพ์ทั่วไป
แอมเพอร์แซนด์ &
ดอกจัน *
แอต @
แบ็กสแลช \
เบสิสพอยต์
บุลเลต
แคเรต ^
แดกเกอร์ † ‡ ⹋
องศา °
บุพสัญญา ” 〃
ดับเบิลไฮเฟน = ⸗
อัศเจรีย์กลับหัว ¡
ปรัศนีกลับหัว ¿
เครื่องหมายอ้างอิง
เครื่องหมายคูณ ×
นัมเบอร์, แฮชแท็ก #
นูเมอโร
ออเบอลุส ÷
ตัวบอกลำดับ º ª
สัญลักษณ์ร้อยละ (เปอร์เซ็นต์)  %
สัญลักษณ์พันละ (เปอร์มิลล์)
พิลโครว์
บวกและลบ + −
บวกหรือลบ ± ∓
ไพรม์     
เซกชัน §
ทิลเดอ, ตัวหนอน ~
อันเดอร์สกอร์ _
เส้นตั้ง |    ¦
ทรัพย์สินทางปัญญา
ลิขสิทธิ์ ©
กอปปีเลฟต์ 🄯
ลิขสิทธิ์การอัดเสียง
เครื่องหมายการค้าจดทะเบียน ®
เซอร์วิสมาร์ก
เครื่องหมายการค้า
สกุลเงิน
เครื่องหมายสัญลักษณ์สกุลเงิน ¤

؋฿¢$֏ƒ£元 圆 圓 ¥

การพิมพ์เฉพาะทาง
แอสเทอริซึม
ฟลอวรอน
ดัชนี
อินเทอร์รอแบง
วรรคตอนไอเรอนี
ลอซินจ์
ไท
ที่เกี่ยวข้อง
  • อักษรไวท์สเปซ
ในภาษาอื่น ๆ
ในภาษาไทย
โคมูตร
ตีนครุ
ไปยาลน้อย
ไปยาลใหญ่ ฯลฯ
ฟองมัน
ไม้ยมก
อังคั่น , ฯะ, , ๚ะ

แอมเพอร์แซนด์ (อังกฤษ: ampersand) หรือเรียกโดยทั่วไปว่า แอนด์ ( & ) คือสัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแทนคำว่า "and" ในภาษาอังกฤษ มาจากการรวมอักษรของคำในภาษาละติน et แปลว่า "และ"[1]

ที่มาของชื่อ

[แก้]

คำว่า แอมเพอร์แซนด์ (ampersand) มีที่มาจากการสะกดผิดของวลี "and per se and" แปลว่า "และ ซึ่งสัญลักษณ์นี้ใช้แทนตัวมันเองว่า และ"[2] สำหรับชาวสกอตเรียกสัญลักษณ์นี้ว่า เอเพอร์แชนด์ (epershand) ซึ่งมีที่มาจาก "et per se and" แปลได้เป็นความหมายเดียวกัน

และมีข่าวลืออีกอย่างหนึ่งกล่าวว่า คำว่า แอมเพอร์แซนด์ มาจากผู้ประดิษฐ์คนหนึ่งที่ชื่อว่า ลินัส แอมเพอร์ (Linus Amper) จึงทำให้เกิด แอนด์ของแอมเพอร์ หรือ แอมเพอร์ส แอนด์ (Amper's And) และอ่านเพี้ยนกันมาเป็น แอมเพอร์แซนด์ ในปัจจุบัน[3]

ประวัติ

[แก้]
วิวัฒนาการของแอมเพอร์แซนด์
วิวัฒนาการของแอมเพอร์แซนด์
แอมเพอร์แซนด์ในแบบโรมัน (ตัวตรง) และแบบอิตาลิก (ตัวเอน)

สัญลักษณ์แอมเพอร์แซนด์สามารถพบได้ในเอกสารยุคโรมันโบราณตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 1 มาร์คุส ทุลลิอุส ทิโร (Marcus Tullius Tiro) ผู้เป็นเลขานุการของซิเซโร (Cicero) มา 36 ปี ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ที่ประดิษฐ์แอมเพอร์แซนด์ขึ้นใช้เป็นครั้งแรก[4] สัญลักษณ์ในระยะแรกเป็นอักษร E และ T ตัวใหญ่ที่เขียนติดกัน เมื่อเวลาผ่านไปสัญลักษณ์ถูกเขียนให้โค้งมนและต่อเนื่องมากขึ้น เป็นแอมเพอร์แซนด์แบบอิตาลิก (ตัวเอน)

จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 8 ศิลปะการคัดลายมือ (calligraphy) เริ่มแผ่ขยายในโลกตะวันตก ผู้เขียนหนังสือด้วยการคัดลายมือตั้งใจที่จะใช้แอมเพอร์แซนด์ในการบีบย่อคำให้สั้นลง เพื่อให้งานของพวกเขาสามารถทำได้ง่ายขึ้น ในยุคนี้แอมเพอร์แซนด์จึงถูกบีบให้มากกว่าเดิมจนเป็นตัวอักษรแบบโรมันตามรูป

การใช้งาน

[แก้]

เนื้อหาทั่วไป

[แก้]

ปกติแล้วแอมเพอร์แซนด์มีความหมายเหมือน "และ" ในงานเขียนทั่วไป แต่ถึงกระนั้นก็ไม่เป็นที่แนะนำให้ใช้บ่อยในไวยากรณ์ ควรใช้กับการขึ้นหัวเรื่อง ชื่อเฉพาะ หรือคำย่อที่ไม่ต้องการให้เกิดความสับสนกับคำเต็ม เช่น S&P, LS&CO (Levi Strauss & Co.), Mr. & Mrs. Smith, Dungeons & Dragons และเครื่องหมายนี้ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของหลักภาษาไทย จึงไม่ควรใช้ปนกับภาษาไทย

ในช่วงระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 18 ถึง 19 มีการย่อคำว่า "et cetera" (อื่น ๆ) ไปเป็น "&c." ควบคู่ไปกับการใช้ "etc." ปัจจุบันนี้ "&c." ไม่มีการใช้งานให้เห็นแล้ว

คอมพิวเตอร์

[แก้]

ภาษาโปรแกรมหลายภาษาใช้แอมเพอร์แซนด์เป็นตัวดำเนินการ "และ" เพื่อตรวจสอบตรรกะ หรือใช้เป็นตัวดำเนินการแบบบิตสำหรับค่าตัวเลขเช่น

  • if (a == 1 && b == 2) { ... }
  • x = 7 & 2;

บางภาษาใช้แอมเพอร์แซนด์เป็นตัวดำเนินการเชื่อมต่อสตริง โดยเฉพาะภาษาวิชวลเบสิก

  • Text1 = "front" & "back"

บางภาษาใช้เครื่องหมายนี้แสดงแทนการอ้างถึงตำแหน่งหน่วยความจำของตัวแปร เพื่อการอ้างอิงที่อยู่ของตัวแปรและการส่งค่าผ่านฟังก์ชัน โดยเฉพาะภาษาซีและภาษาซีพลัสพลัส

  • void sortArray (int &array, int size) { ... }
  • a = &b;

ภาษามาร์กอัปต่าง ๆ เช่น HTML, XML, SGML ใช้เครื่องหมายนี้สำหรับแปลงอักขระที่อาจทำให้เกิดปัญหากับการแจงโครงสร้าง อาทิ <, >, &, " เมื่อเก็บอยู่ในไฟล์ข้อมูลจะกลายเป็น &lt;, &gt;, &amp;, &quot; ตามลำดับ เรียกว่า เอนทิตี (entity) แต่เมื่อแจงโครงสร้างออกมาแล้วก็จะได้ข้อมูลดังเดิม สิ่งนี้อาจทำให้เกิดปัญหากับยูอาร์แอลที่ปรากฏในลิงก์ของเอกสาร HTML หรือส่วนอื่นที่จำเป็นต้องใช้แอมเพอร์แซนด์เช่นจาวาสคริปต์ ซึ่งจำเป็นจะต้องแทนที่ & ในยูอาร์แอลด้วย &amp; เสมอจึงจะตรงตามมาตรฐาน แต่หลายเบราว์เซอร์ก็สามารถอนุโลมให้ใช้ & ได้

อ้างอิง

[แก้]
  1. "The Ampersand & More" เก็บถาวร 4 กรกฎาคม 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน with Kory Stamper, part of the "Ask the Editor" video series at Merriam-Webster.com
  2. "The ampersand". Adobe Fonts.
  3. http://www.word-detective.com/052003.html#ampersand
  4. "The History of Court Reporting". National Court Reporters Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-28. สืบค้นเมื่อ 2007-11-09.