ข้ามไปเนื้อหา

เครื่องหมายอ้างอิง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เครื่องหมายอ้างอิง
วรรคตอน
อะพอสทรอฟี   '
วงเล็บ [ ]  ( )  { }  ⟨ ⟩
ทวิภาค :
จุลภาค ,  ،  
จุดไข่ปลา   ...  . . .      
อัศเจรีย์  !
มหัพภาค .
กิลเลอเมต ‹ ›  « »
ยัติภังค์ -
ยัติภาค   
ปรัศนี  ?
อัญประกาศ ‘ ’  “ ”  ' '  " "
อัฒภาค ;
ทับ /    
ตัวแบ่งคำ
อินเตอร์พังก์ ·
เว้นวรรค     
การพิมพ์ทั่วไป
แอมเพอร์แซนด์ &
ดอกจัน *
แอต @
แบ็กสแลช \
เบสิสพอยต์
บุลเลต
แคเรต ^
แดกเกอร์ † ‡ ⹋
องศา °
บุพสัญญา ” 〃
ดับเบิลไฮเฟน = ⸗
อัศเจรีย์กลับหัว ¡
ปรัศนีกลับหัว ¿
เครื่องหมายอ้างอิง
เครื่องหมายคูณ ×
นัมเบอร์, แฮชแท็ก #
นูเมอโร
ออเบอลุส ÷
ตัวบอกลำดับ º ª
สัญลักษณ์ร้อยละ (เปอร์เซ็นต์)  %
สัญลักษณ์พันละ (เปอร์มิลล์)
พิลโครว์
บวกและลบ + −
บวกหรือลบ ± ∓
ไพรม์     
เซกชัน §
ทิลเดอ, ตัวหนอน ~
อันเดอร์สกอร์ _
เส้นตั้ง |    ¦
ทรัพย์สินทางปัญญา
ลิขสิทธิ์ ©
กอปปีเลฟต์ 🄯
ลิขสิทธิ์การอัดเสียง
เครื่องหมายการค้าจดทะเบียน ®
เซอร์วิสมาร์ก
เครื่องหมายการค้า
สกุลเงิน
เครื่องหมายสัญลักษณ์สกุลเงิน ¤

؋฿¢$֏ƒ£元 圆 圓 ¥

การพิมพ์เฉพาะทาง
แอสเทอริซึม
ฟลอวรอน
ดัชนี
อินเทอร์รอแบง
วรรคตอนไอเรอนี
ลอซินจ์
ไท
ที่เกี่ยวข้อง
ในภาษาอื่น ๆ
ในภาษาไทย
โคมูตร
ตีนครุ
ไปยาลน้อย
ไปยาลใหญ่ ฯลฯ
ฟองมัน
ไม้ยมก
อังคั่น , ฯะ, , ๚ะ
ประกาศที่เขียนด้วยลายมือเป็นภาษาญี่ปุ่น มีการใส่เครื่องหมายโคเมจิรูชิ (เครื่องหมายอ้างอิง) ที่ด้านล่างของแต่ละหน้า ตามด้วยข้อความเชิงอรรถ

เครื่องหมายอ้างอิง "※" เป็นเครื่องหมายตัวพิมพ์ที่ใช้ในการเขียนของภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น และภาษาเกาหลี (CJK)

เครื่องหมายนี้ใช้เพื่อเรียกความสนใจไปยังประโยคหรือแนวคิดที่สำคัญ เช่น อารัมภบทหรือเชิงอรรถ[1] เครื่องหมายนี้ใช้เพื่อบ่งชี้ข้อความหมายเหตุ มีจุดประสงค์การใช้เช่นเดียวกับเครื่องหมายดอกจัน อย่างไรก็ตามในการใช้ในภาษาญี่ปุ่น ข้อความหมายเหตุจะวางไว้โดยตรงต่อจากข้อความหลักหลังเครื่องหมายอ้างอิง แทนที่จะวางไว้ด้านล่างของหน้าหรือตอนท้ายของบท

ชื่อ

[แก้]

ชื่อในภาษาญี่ปุ่นของเครื่องหมายอ้างอิงคือ โคเมจิรูชิ (ญี่ปุ่น: こめじるし; 米印, ออกเสียง [komedʑiꜜɾɯɕi], แปลว่า เครื่องหมายข้าว) หมายถึงว่าเป็นเครื่องหมายที่มีรูปร่างคล้ายกับอักษรคันจิที่มีความหมายว่า "ข้าว" ()[2]

ชื่อในภาษาเกาหลีของเครื่องหมายอ้างอิงคือ ชัมโกปโย (เกาหลี: 参考表; 참고표) มีความหมายตรง ๆ ว่า "เครื่องหมายอ้างอิง" เครื่องหมายนี้ยังมีชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า ทังกูจังปโย (당구장표; แปลว่า เครื่องหมายห้องบิลเลียด) เนื่องใช้มักใช้บ่งชี้ว่ามีห้องเล่นบิลเลียด เพราะมีลักษณะคล้ายกับไม้คิว 2 อันไขว้กันและลูกบิลเลียด 4 ลูก

ชื่อในภาษาจีนของเครื่องหมายอ้างอิงคือ ชานเข่าเปียวจี้ (จีน: 参考标记; แปลตรงตัว: "เครื่องหมายอ้างอิง") หรือ หมี่ซิงเฮ่า (จีน: 米星号; แปลตรงตัว: "ดอกจันข้าว" เนื่องจากมีลักษณะคล้ายกับอักษรจีน "ข้าว") เครื่องหมายอ้างอิงใช้ไม่บ่อยในการเขียนของภาษาจีน

ยูนิโคด

[แก้]

ในยูนิโคด เครื่องหมายอ้างอิงมีรหัสอักษรคือ U+203B reference mark

อ้างอิง

[แก้]
  1. Jan M. Ziolkowski (2018). The Juggler of Notre Dame and the Medievalizing of Modernity. p. 47. ISBN 978-1783744367. […] The Japanese komejirushi (“rice symbol”), so called for its similarity to the kanji for kome (“rice”) and used in Japanese writing to denote an important sentence or thought.
  2. Millen, John (15 April 2008). Japanese in a Flash. Vol. 2. ISBN 9781462915385.