ข้ามไปเนื้อหา

นัตตราตรอว์ซาบลีสกา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Nad Tatrou sa blýska)
นัตตราตรอว์ซาบลีสกา
คำแปล: สายฟ้าเหนือเขาตาตรา
"นัตตราตรอว์ซาบลีสกา"แบบตีพิมพ์ฉบับแรก

เพลงชาติของธงของประเทศสโลวาเกีย สโลวาเกีย
อดีตเพลงชาติร่วมของ เชโกสโลวาเกีย
ชื่ออื่น"Dobrovoľnícka"
English: "Volunteer Song"
เนื้อร้องยังกอ มาตูชกา, ค.ศ. 1844
ทำนองเพลงพื้นเมือง
รับไปใช้13 ธันวาคม ค.ศ. 1918 (1918-12-13) (เชโกสโลวาเกีย)
รับไปใช้ใหม่1 มกราคม ค.ศ. 1993 (1993-01-01) (สโลวาเกีย)
เลิกใช้ค.ศ. 1992 (1992) (เชโกสโลวาเกีย)
ตัวอย่างเสียง
ฉบับบรรเลงโดย U.S. Navy Band (บทเดียว)

"นัตตราตรอว์ซาบลีสกา" (สโลวัก: Nad Tatrou sa blýska, ออกเสียง [ˈnat tatrɔw sa ˈbliːska]; "สายฟ้าเหนือเขาตาตรา") เป็นเพลงชาติของประเทศสโลวาเกีย โดยทำนองมีต้นกำเนิดมาจากเพลงพื้นเมืองของสโลวาเกีย ส่วนเนื้อร้องประพันธ์ขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1844 (พ.ศ. 2387) โดยยังกอ มาตูชกา (Janko Matúška) เพลงนี้มีต้นกำเนิดมาจากอิทธิพลความคิดจินตนิยมและชาตินิยมในแถบยุโรปตอนกลางในเวลานั้น ซึ่งเพลงนี้ต่อมาได้รับความนิยมจากชาวสโลวาเกียทั่วไปในเหตุการณ์การปฏิวัติ ค.ศ. 1848 (พ.ศ. 2391) เนื้อหาของเพลงโดยรวมเป็นการนำเอาภาพของสายฟ้าเหนือทิวเขาตาตรามาเปรียบเทียบกับภยันตรายที่สโลวาเกียต้องเผชิญและความปรารถนาที่จะฟันฝ่าปัญหาเหล่านั้นไปให้จงได้

ในยุคที่สโลวาเกียยังคงรวมอยู่ในประเทศเชโกสโลวาเกียนั้น ปรากฏว่ามีธรรมเนียมการบรรเลงเพลงนี้ในเวลา 12 นาฬิกาทุกวัน ในเมืองของชาวสโลวัก ต่อมาธรรมเนียมนี้ได้เลิกไปเมื่อมีการแยกตัวเป็น 2 ประเทศ ปัจจุบันนี้ เพลง "นัตตราตรอว์ซาบลีสกา" ใช้บรรเลงเนื่องในวาระพิเศษต่างๆ เช่น การแข่งขันกีฬา เป็นต้น

ประวัติ

[แก้]

กำเนิดของเพลง

[แก้]
ลายมือต้นฉบับในปี ค.ศ. 1844

ยังกอ มาตูชกา กวีคนสำคัญของชาวสโลวัก ขณะมีอายุได้ 23 ปี ได้เขียนบทกวีที่มีชื่อว่า "นัตตราตรอว์ซาบลีสกา" (Nad Tatrou sa blýska) หรือ "สายฟ้าเหนือเขาตาตรา" ขึ้น ในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1844 โดยทำนองของเพลงได้มาจากเพลงพื้นเมืองสโลวักที่มีชื่อว่า "กอปาลาสตูเดียงกู" (Kopala studienku - ชื่อเพลงแปลได้ว่า "เธอขุดดินได้ดี") ซึ่งมาตูชกาได้รับคำแนะนำให้ใช้ทำนองนี้เพื่อนนักศึกษาคนหนึ่งผู้มีชื่อว่า โจเซฟ โปดราดสกี (Jozef Podhradský)[1] ซึ่งต่อมาเขาคนนี้จะเป็นนักการศาสนา ครู และนักเคลื่อนไหวในแนวความคิดพันธมิตรสลาฟ (Pan-Slavism|Pan-Slavic)[2] หลังจากนั้นไม่นาน มาตูชกาและนักศึกษาคนอื่นๆ อีกประมาณ 24 คน ต้องออกจากเรียนที่วิทยาลัย (Lyceum) ของนิกายลูเธอรันในเมืองบราติสลาวา (เมืองหลวงของสโลวาเกีย ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกสุดของประเทศสโลวาเกียในปัจจุบัน) จากประท้วงการถอดถอนลูโดวิท สตูร์ (Ľudovít Štúr - ผู้นำทางความคิดในการพื้นฟูชาติและภาษาสโลวักในคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีชีวิตระหว่าง ค.ศ. 1815 - 1856) ออกจากตำแหน่งครูโดยศาสนจักรนิกายลูเธอรัน ตามแรงกดดันของฝ่ายอำนาจรัฐ ทั้งนี้ สโลวาเกียในเวลานั้นยังเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรฮังการี ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิออสเตรีย

"นัตตราตรอว์ซาบลีสกา" ถูกเขียนขึ้นในช่วงเวลาหลายสัปดาห์ที่นักศึกษาต้องกระวนกระวายใจเมื่อคำเรียกร้องขอให้ระงับการปลดลูโดวิท สตูร์ ออกจากตำแหน่งครูถูกคณะกรรมการบริหารโรงเรียนปฏิเสธ นักเรียนประมาณ 12 คน ที่เคลื่อนไหวในเหตุการณ์นี้ถูกสั่งย้ายให้ไปเรียนที่ยิมเนเซียม (Gymnázium - ชื่อของสถานศึกษาประเภทหนึ่งในทวีปยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในยุโรปตะวันออก) ของนิกายลูเธอรันที่เมืองเลโวกา (Levoča - ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศสโลวาเกียปัจจุบัน)[3] เมื่อมีการพบว่า นักเรียนวัย 18 ปี คนหนึ่ง ซึ่งทำงานเป็นนักเขียนและนักหนังสือพิมพ์ด้วย คือ วิลเลียม ปอลลินี-ทอธ (Viliam Pauliny-Tóth, 1826-1877) เขียนบทกวีลงในสมุดเรียนปี ค.ศ. 1844 ของตนเอง โดยบทกวีดังกล่าวมีชื่อว่า "ชาวสโลวักแห่งบราติสลาวา, ชาวเลโวกาในอนาคต" ("Prešporský Slováci, budaucj Lewočané") ซึ่งสะท้อนถึงแรงจูงใจของนักศึกษาที่มีต่อการเคลื่อนไหวครั้งนี้[4]

การเดินทางไกลจากเมืองบราติสลาวาสู่เมืองเลโวกาของเหล่านักศึกษาต้องผ่านภูเขาตาตราสูง (High Tatras) ซึ่งเป็นทิวเขาที่สูงที่สุด น่าเกรงขาม และเป็นสัญลักษณ์สำคัญของสโลวาเกียและราชอาณาจักรฮังการี พายุที่พัดผ่านเขาลูกนี้ได้กลายเป็นแนวคิดสำคัญ (key theme) ที่ถูกนำมาใช้ในบทกวี "นัตตราตรอว์ซาบลีสกา"

สำนวนเพลง

[แก้]

ไม่มีเนื้อร้องของ "นัตตราตรอว์ซาบลีสกา" ฉบับที่ได้รับอนุญาตให้เผยแพร่ของมาตูชกาฉบับใดๆ ได้มีการเก็บรักษาไว้ และการบันทึกเสียงครั้งแรกสุดของเพลงนี้ยังคงปราศจากความเป็นเจ้าของ[5] หลัง ค.ศ. 1849 เขาได้หยุดการเผยแพร่เนื้อร้องดังกล่าว และภายหลังได้เข้าทำงานเป็นเจ้าพนักงานศาลแขวงในท้องถิ่น[6] ทว่าบทเพลงนี้เริ่มเป็นที่นิยมจากประชาชนในช่วงการปฏิวัติระหว่างปี ค.ศ. 1848-1849[7] โดยเนื้อร้องดังกล่าวถูกเผยแพร่ผ่านการคัดลอกและทำซ้ำด้วยการเขียนด้วยมือ ก่อนที่จะมีการตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1851 ภายใต้ชื่อ "เพลงอาสาสมัคร" ("Dobrovolňícka")[8] ซึ่งก่อให้เกิดสำนวนของเพลงที่ต่างออกไป โดยเฉพาะวลีหนึ่งในบาทที่ 3 บทที่ 1 ของเพลง ที่ว่า "zastavme ich" ("จงไปหยุดมันเสีย")[9] หรือ "zastavme sa" ("จงไปยับยั้งมันเสีย")[10] ข้อเขียนวิจารณ์เกี่ยวกับสำเนาเพลงที่มีอยู่และงานวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องได้สรุปว่างานเขียนต้นฉบับมาตูชกาน่าจะใช้คำว่า "zastavme ich" ทั้งนี้ ในบรรดาเอกสารต่างๆ นั้น วลีดังกล่าวล้วนปรากฏอยู่ในต้นฉบับลายมือที่เก่าที่สุดปี ค.ศ. 1844 และฉบับตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1851[11] เนื้อร้องของเพลงชาติสโลวาเกียในปัจจุบันใช้วลีนี้ ส่วนอีกวลีหนึ่ง ("zastavme sa") ถูกใช้ในเพลงชาติช่วงก่อน ค.ศ. 1993

ทิวทัศน์อันสง่างามของเขาทราทราส ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจในการประพันธ์บทกวี "นัตตราตรอว์ซาบลีสกา"

ฐานะความเป็นเพลงชาติ

[แก้]
กลุ่มยอดเขาวีโซกา (กลาง)

ในวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1918 (พ.ศ. 2461) เฉพาะคำร้องบทแรกของเพลงนัตตราตรอว์ซาบลีสกา ซึ่งแต่งโดย ยานโก มาตูชกา ได้รับเลือกให้ใช้เป็นส่วนหนึ่งของเพลงชาติเชโกสโลวาเกีย ร่วมกับเนื้อเพลงส่วนที่เป็นภาษาเช็กซึ่งนำมาจากบทแรกของจุลอุปรากรที่มีชื่อว่า Kde domov můj? (แปลว่า "บ้านของฉันนั้นคือที่ใด") โดยแต่ละชาติ (เช็กและสโลวัก) จะขับร้องเพลงชาติในส่วนที่เป็นภาษาของตนเองก่อนแล้วจึงขับร้องในส่วนที่เป็นอีกภาษาหนึ่งตามลำดับ การบรรเลงเพลงนั้นก็เป็นไปในลักษณะเดียวกัน[12] บทเพลงดังกล่าวได้สะท้อนถึงความเชื่อมโยงของทั้งสองชาติในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19[13] เมื่อต้องเผชิญหน้ากับความเคลื่อนไหวอันแรงกล้าในความเป็นชาตินิยมและชาติพันธุ์นิยม (national-ethnic activism) ของชาวฮังการีและชาวเยอรมัน ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ฮับสบูร์กในจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี

เมื่อประเทศเชโกสโลวาเกียแยกตัวออกเป็นสาธารณรัฐเช็กและสาธารณรัฐสโลวักในปี ค.ศ. 1993 (พ.ศ. 2536) ได้มีการประกวดเพลงชาติใหม่ โดยเพลงนัตตราตรอว์ซาบลีสกานั้น ได้มีการประกวดโดยเพิ่มเนื้อร้องในบทที่ 2 และผลการประกวดปรากฏว่า เพลงนี้ได้รับการประกาศใช้เป็นเพลงชาติสาธารณรัฐสโลวักอย่างเป็นทางการ[14][15] ทั้งนี้ ยังเพลงอีกเพลงหนึ่งซึ่งได้นำมาประกวดด้วยที่ควรกล่าวถึง คือเพลง "เฮ สโลวาซี" (Hej Slováci) ซึ่งเพลงนี้เป็นสำนวนหนึ่งของเพลง "เฮ สลาฟ" (Hey, Slavs) ที่ใช้ในการเคลื่อนไหวความคิดพันธมิตรสลาฟ (pan-Slavic) อันเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย

การอ้างอิงถึงเขาตาตรา (Tatras) ในเพลงนัตตราตรอว์ซาบลีสกา เป็นการตีความอย่างคู่ขนานไปกับตราแผ่นดินของสาธารณรัฐสโลวัก ซึ่งได้มีการนิยามความหมายมาตั้งแต่สมัยที่มาตูชกาเขียนคำร้องของเพลงนี้ ตราดังกล่าวนี้ดัดแปลงลักษณะส่วนหนึ่งของดวงตราแผ่นดินของฮังการี ซึ่งตีความได้ว่ามาจากยอดเขาสำคัญ 3 ลูก ในราชอาณาจักรฮังการียุคก่อน ค.ศ. 1918 อันประกอบด้วยเขามาตรา (Mátra) เขาฟาตรา (Fatra) และเขาตาตรา แม้ว่าในทุกวันนี้เขาตาตราและเขาฟาตราจะตกเป็นของสาธารณรัฐสโลวัก และคงเหลือแต่เพียงเขามาตราที่เป็นของฮังการีก็ตาม ในคำอธิบายอีกอย่างที่มีการกล่าวถึงอย่างกว้างขวางมากกว่าได้กล่าวกันว่า ยอดเขาทั้งสามยอดนั้นหมายถึงเพียงเขาตาตรา บ้างก็กล่าวว่าหมายถึงกลุ่มยอดเขาวีโซกา (Vysoká group) ซึ่งอยู่ในแนวทิวเขาตาตราสูง (High Tatras)

เนื้อร้อง

[แก้]
ยังกอ มาตูชกา ผู้ประพันธ์เพลงชาติสโลวาเกีย

เฉพาะสองบทแรกเท่านั้นที่ได้รับการบัญญัติเป็นเพลงชาติ

ภาษาสโลวัก[16] ถอดเสียงตามสัทอักษรสากล แปลไทย แปลอิงทำนอง

I
𝄆 Nad Tatrou[a] sa blýska
Hromy divo bijú 𝄇
𝄆 Zastavme ich, bratia
Veď sa ony stratia
Slováci ožijú 𝄇

II
𝄆 To Slovensko naše
Posiaľ tvrdo spalo 𝄇
𝄆 Ale blesky hromu
Vzbudzujú ho k tomu
Aby sa prebralo 𝄇[b]

III
𝄆 Už Slovensko vstáva
Putá si strháva 𝄇
𝄆 Hej, rodina milá
Hodina odbila
Žije matka Sláva 𝄇[c]

IV
𝄆 Ešte jedle[d] rastú
Na krivánskej[e] strane 𝄇
𝄆 Kto jak Slovák cíti
Nech sa šable chytí
A medzi nás stane 𝄇

1
𝄆 [nat ta.trɔw sa ˈbliːs.ka]
[ˈɦrɔ.mi ˈɟi.ʋɔ ˈbi.juː] 𝄇
𝄆 [ˈza.staw.me ix ˈbra.cɪ̯ɐ]
[ʋec sa ˈɔ.ni ˈstra.cɪ̯ɐ]
[ˈsɫɔ.ʋaː.t͡si ˈɔ.ʐi.juː] 𝄇

2
𝄆 [tɔ ˈsɫɔ.ʋen.skɔ ˈna.ʂe]
[ˈpɔ.sɪɐʎ ˈtʋr̩.dɔ ˈspa.ɫɔ] 𝄇
𝄆 [ˈa.ɫe ˈbɫes.ki ˈɦrɔ.mu]
[ˈvzbu.d͡zu.juː ɦɔ ˈk‿tɔ.mu]
[ˈa.bi sa ˈpre.bra.ɫɔ] 𝄇

3
𝄆 [uʂ ˈsɫɔ.ʋen.skɔ ˈfstaː.ʋa]
[ˈpu.taː si ˈstr̩.ɦaː.ʋa] 𝄇
𝄆 [ɦej ˈrɔ.ɟi.na ˈmi.ɫaː]
[ˈɦɔ.ɟi.na ˈɔd.bi.ɫa]
[ˈʐi.je ˈmat.ka ˈsɫaː.ʋa] 𝄇

4
𝄆 [ˈeʂ.ce ˈjed.le ˈras.tuː]
[na ˈkri.ʋaːn.skej ˈstra.ne] 𝄇
𝄆 [ktɔ jak ˈsɫɔ.ʋaːk ˈt͡siː.ci]
[nex sa ˈʂab.ɫe ˈxi.ciː]
[a ˈme.d͡zi naːs ˈsta.ne] 𝄇


𝄆 นั่นสายฟ้าทาบทาเหนือทิวเขาตาตรา[a]
ฟาดลงมาเป็นวงกว้างทั่วไป
𝄆 เราจงไปหยุดมันเสียเถิด พี่น้องเอ๋ย
เพื่อทุกสิ่งทุกอย่าง แล้วสายฟ้านั้นจักหาย
และชาวสโลวักจะคืนกลับมาอีกครั้ง 𝄇


𝄆 สโลวาเกียของเรา
หลับใหลมายาวนานแล้ว
𝄆 แต่แสงสายฟ้านั้น
กลับปลุกแผ่นดินนี้
ให้ฟื้นขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง 𝄇[b]


𝄆 สโลวาเกียตื่นแล้ว
จงกระชากพันธนาการนั้นออกเสีย 𝄇
𝄆 ใช่แล้ว ครอบครัวที่รักเอย
เวลาได้มาถึงแล้ว
มารดาแห่งชาวสลาฟ/ความรุ่งโรจน์[c]ยังคงอยู่ 𝄇


𝄆 ต้นสนเฟอร์[d]ยังคงเติบโต
ในทิศทางสู่ครีวาน[e] 𝄇
𝄆 ซึ่งรู้สึกเช่นเดียวกับชาวสโลวัก
จงให้เขานั้นถือดาบ
และยืนหยัดท่ามกลางพวกเรา 𝄇


𝄆 เหนือทิวเขาตาตราไป
สายฟ้ายังคงมีอยู่ 𝄇
𝄆 จงหยุดมัน พี่น้องเอ๋ย,
มันก็หายไปเหมือนเคย
เพียงพวกเราลุกขึ้นสู้ 𝄇


𝄆 แผ่นดินสโลวาเกียเรา
คงหลับใหลสืบมานาน 𝄇
𝄆 แต่ด้วยสายฟ้ายังฟาด
ดุจนั่นคือการประกาศ
ว่าเราถึงอุบัติกาล 𝄇

  1. 1.0 1.1 กวีในยุคศิลปะจินตนิยมเริ่มใช้เขาตาตราเป็นสัญลักษณ์แห่งบ้านเกิดของชาวสโลวัก
  2. 2.0 2.1 เนื้อหาส่วนนี้แสดงถึงแนวคิดการเคลื่อนไหวทางการเมืองแบบชาตินิยม-ชาติพันธุ์นิยม (national-ethnic activism) ซึ่งดำเนินอยู่ในหมู่ชาวยุโรปกลางยุคคริสต์ศตวรรษที่ 19
  3. 3.0 3.1 ความหมายที่เป็นมาตรฐานของคำว่า sláva คือ "ความรุ่งโรจน์" (glory) หรือ "ชื่อเสียง" (fame) ในเชิงอุปมา คำนี้มีความหมายว่า "มารดา/เทพธิดาแห่งชาวสลาฟ" เริ่มใช้ในบทกวีชื่อ "The Daughter of Sláva" ซึ่งประพันธ์โดย ยาน คอลลาร์ (Ján Kollár) เมื่อ ค.ศ. 1824[17]
  4. 4.0 4.1 การอุปมาด้วยสำนวนว่า "ดังสนเฟอร์" (ako jedľa) หมายถึงมนุษย์ในหลากหลายความหมาย เช่น "ตัวสูง" ("stand tall") "มีรูปร่างดี" ("have a handsome figure") "สูงและมีกล้างเนื้อเป็นมัด" ("be tall and brawny") ฯลฯ
  5. 5.0 5.1 การใช้ยอดเขาครีวานในความหมายเชิงสัญลักษณ์ โปรดอ่านเพิ่มเติมจากบทความเกี่ยวกับยอดเขาแห่งนี้ในวิกิพีเดียภาคภาษาอังกฤษ

อ้างอิง

[แก้]
  1. Brtáň, Rudo (1971). Postavy slovenskej literatúry.
  2. Buchta, Vladimír (1983). "Jozef Podhradský - autor prvého pravoslávneho katechizmu pre Čechov a Slovákov". Pravoslavný teologický sborník (10).
  3. Sojková, Zdenka (2005). Knížka o životě Ľudovíta Štúra.
  4. Brtáň, Rudo (1971). "Vznik piesne Nad Tatrou sa blýska". Slovenské pohľady.
  5. Cornis-Pope, Marcel; John Neubauer (2004). History of the Literary Cultures of East-Central Europe: Junctures and Disjunctures in the 19th and 20th Centuries.
  6. Čepan, Oskár (1958). Dejiny slovenskej literatúry.
  7. Sloboda, Ján (1971). Slovenská jar: slovenské povstanie 1848-49.
  8. Anon. (1851). "Dobrovolňícka". Domová pokladňica.
  9. Varsík, Milan (1970). "Spievame správne našu hymnu?". Slovenská literatúra.
  10. Vongrej, Pavol (1983). "Výročie nášho romantika". Slovenské pohľady. 1.
  11. Brtáň, Rudo (1979). Slovensko-slovanské literárne vzťahy a kontakty.
  12. Klofáč, Václav (1918-12-21). "Výnos ministra národní obrany č. 4580, 13. prosince 1918". Osobní věstník ministerstva Národní obrany. 1.
  13. Auer, Stefan (2004). Liberal Nationalism in Central Europe.
  14. National Council of the Slovak Republic (1 September 1992). "Law 460/1992, Zbierka zákonov. Paragraph 4, Article 9, Chapter 1, Constitution of the Slovak Republic". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  15. National Council of the Slovak Republic (18 February 1993). "Law 63/1993, Zbierka zákonov. Section 1, Paragraph 13, Part 18, Law on National Symbols of the Slovak Republic and their Use". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  16. "Hymna Slovenskej republiky" (PDF). Valaská Belá. สืบค้นเมื่อ 2022-03-09.
  17. Kollár, Ján (1824). Sláwy dcera we třech zpěwjch.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]