กฎหมู่
ส่วนหนึ่งของชุดการเมือง |
ระบอบการปกครอง พื้นฐาน |
---|
รายชื่อระบอบการปกครอง รายชื่อประเทศตามระบอบการปกครอง |
สถานีย่อยการเมือง |
กฎหมู่[หมายเหตุ ก] (อังกฤษ: mob rule, mobocracy, หรือ ochlocracy) เป็นศัพท์ทางการเมืองซึ่งมีผู้นิยามไว้ต่าง ๆ กัน เช่น พจนานุกรมของเวบสเตอร์ ว่า ได้แก่ การปกครองโดยฝูงชนวุ่นวาย (mob)[1] พจนานุกรมออกซ์ฟอร์ด ว่า ได้แก่ การที่สถานการณ์ทางการเมืองถูกควบคุมโดยบรรดาผู้ปราศจากความถูกต้องตามกติกาหรือกฎหมาย ซึ่งมักมีการใช้ความรุนแรงหรือการขู่เข็ญ[2] และ พจนานุกรมคอลลินส์ ว่า ได้แก่ สภาพที่บุคคลกลุ่มใหญ่กระทำการโดยขัดต่อความยินยอมของรัฐบาลหรือเจ้าหน้าที่[3]
บางครั้งการปกครองด้วยกฎหมู่อาจสะท้อนเจตนารมณ์ที่แท้จริงของคนส่วนใหญ่ในลักษณะใกล้เคียงกับประชาธิปไตย แต่การปกครองด้วยกฎหมู่มุ่งหมายถึงกรณีที่ขาดกระบวนการทางประชาธิปไตยหรือกระบวนการแบบอารยะ หรือมีกระบวนการดังกล่าวแต่ไม่สมบูรณ์[4]
กรณีในหน้าประวัติศาสตร์ที่ได้รับการยกขึ้นเป็นตัวอย่างของการปกครองด้วยกฎหมู่ คือ การพิจารณาคดีแม่มดที่ซาเลมในคริสต์ทศวรรษ 1690 ซึ่งอาศัยด้วยความเชื่อของคนส่วนใหญ่มากกว่าจะดำเนินตามตรรกะของกฎหมาย[5]
การใช้ความรุนแรงโดยฝูงชนวุ่นวาย (mob violence) ในขบวนการแลตเทอร์เดย์เซนต์สมัยแรก ๆ ก็ได้รับการยกเป็นตัวอย่างเช่นกัน[6] เหตุการณ์ดังกล่าวรวมกรณีที่ฝูงชุนวุ่นวายรุมขับไล่และสังหารชาวมอรมอน เช่น การขับชาวมอรมอนและสังหารหมู่ชาวมอรมอนที่ในมิสซูรีใน ค.ศ. 1838 การฆ่าโจเซฟ สมิท ใน ค.ศ. 1844 และการฆ่าโจเซฟ สแตนดิง ใน ค.ศ. 1879[7][8]
นอกจากนี้ การรุมประชาทัณฑ์ก็ได้รับการยกว่า เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการปกครองด้วยกฎหมู่[9]
หมายเหตุ
[แก้]หมายเหตุ ก "กฎหมู่" เป็นคำที่เกษียร เตชะพีระ เสนอ[10] นอกจากนี้ มีผู้เสนอคำอื่น เช่น ณัฐภาณุ นพคุณ ว่า "กฎของคนหมู่มาก"[11] เสนีย์ คำสุข ว่า "หมู่มนุษยาธิปไตย"[12] และโสภณ ศุภมั่งมี ว่า "การปกครองโดยมวลชน"[13]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Hill, C. (2018-08-22). "What does 'mob rule' mean?". spectrumlocalnews.com. สืบค้นเมื่อ 2022-02-14.
- ↑ "Mob Rule". Oxford Pocket Dictionary of Current English. 2019. สืบค้นเมื่อ 2022-02-14.
- ↑ "mob rule". Collins English Dictionary. HarperCollins Publishers. n.d. สืบค้นเมื่อ 2022-02-14.
- ↑ Hasanović, Jasmin. "Ochlocracy in the Practices of Civil Society: A Threat for Democracy?". Studia Juridica et Politica Jaurinensis. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-15.
- ↑ "Mob Rule and Violence in American Culture". colorado.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-21. สืบค้นเมื่อ 2010-01-20.
- ↑ Arrington, Leonard J. & Bitton, Davis (1992). The Mormon Experience: A History of the Latter-Day Saints (ภาษาอังกฤษ). University of Illinois Press. p. 45. ISBN 9780252062360. สืบค้นเมื่อ 23 June 2018.
- ↑ "Cane Creek Massacre". TNMormonHistory. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-14. สืบค้นเมื่อ 23 June 2018.
- ↑ Wingfield, Marshall (1958). "Tennessee's Mormon Massacre". Tennessee Historical Quarterly. 17 (1): 19–36. JSTOR 42621358.
- ↑ "Opposition to Mob-Rule เก็บถาวร 2009-01-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน", The Writings of Abraham Lincoln, Volume 1.
- ↑ เกษียร เตชะพีระ (2557-03-10). "ศัพท์รัฐศาสตร์วันละคำวันนี้ ขอเสนอคำว่า: Ochlocracy/กฎหมู่". kasian.
- ↑ ณัฐภาณุ นพคุณ (2561-08-05). "Mobocracy: กฎหมู่มาก ดาบสองคมสื่อโซเชียล". โพสต์ทูเดย์. สืบค้นเมื่อ 2565-02-14.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ เสนีย์ คำสุข (2557). "ต้องล้มระบอบเผด็จการอำนาจนิยมในสังคมไทย". รัฐสภาสาร. 62 (4): 10.
- ↑ โสภณ ศุภมั่งมี (2561-07-21). "โซเชียลมีเดียและอนาคตของการเลือกตั้งครั้งต่อไป". gqthailand.com. เซเรนดิพิตี้ มีเดีย. สืบค้นเมื่อ 2565-02-14.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)