รัฐของประเทศเยอรมนี
หน้าตา
(เปลี่ยนทางจาก Länder)
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ |
การเมืองการปกครอง ประเทศเยอรมนี |
---|
|
สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ประกอบด้วยสิบหก รัฐสหพันธ์ (เยอรมัน: Bundesland บุนเดิสลันท์) ในจำนวนนี้ เบอร์ลินและฮัมบวร์ค มีสถานะเป็น นครรัฐ (เยอรมัน: Stadtstaaten ชตัทชตาเทิน) ในขณะที่ เบรเมิน เป็นรัฐที่ประกอบด้วยสองนครรัฐคือเบรเมินและเบรเมอร์ฮาเฟิน ในขณะที่อีกสิบสามรัฐที่เหลือมีสถานะเป็น ธรารัฐ (เยอรมัน: Flächenländer เฟลเชินเล็นเดอร์)
แต่ละรัฐมีธรรมนูญและสภารัฐของตนเอง หัวหน้าฝ่ายบริหารของรัฐมีชื่อเรียกว่า "มุขมนตรี" รัฐบาลท้องถิ่นประกอบด้วยหลายทบวง (ไม่เรียกว่ากระทรวง)
รายชื่อรัฐในเยอรมนี
[แก้]
ตรา | ธง | รัฐ | ปีที่ร่วม สหพันธ์ฯ |
จำนวนที่นั่งใน คณะมนตรีสหพันธ์ |
พื้นที่ (กม²) | ประชากร | หนาแน่น/กม² | เมืองหลวง | รหัส ISO 3166-2 |
รายได้ต่อหัว (สกุลยูโร) |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
บาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค (Baden-Württemberg) |
1952[1] | 6 | 35,752 | 10,755,000 | 301 | ชตุทการ์ท | BW | 34,885 | ||
ไบเอิร์น (Bayern) |
1949 | 6 | 70,552 | 12,542,000 | 178 | มิวนิก | BY | 35,443 | ||
เบอร์ลิน (Berlin) |
1990[2] | 4 | 892 | 3,469,000 | 3,890 | – | BE | 28,806 | ||
บรันเดินบวร์ค (Brandenburg) |
1990 | 4 | 29,479 | 2,500,000 | 85 | พ็อทซ์ดัม | BB | 22,074 | ||
เบรเมิน (Bremen) |
1949 | 3 | 419 | 661,000 | 1,577 | เบรเมิน | HB | 42,405 | ||
ฮัมบวร์ค (Hamburg) |
1949 | 3 | 755 | 1,788,000 | 2,368 | – | HH | 52,401 | ||
เฮ็สเซิน (Hessen) |
1949 | 5 | 21,115 | 6,066,000 | 287 | วีสบาเดิน | HE | 37,509 | ||
นีเดอร์ซัคเซิน (Niedersachsen) |
1949 | 6 | 47,609 | 7,914,000 | 166 | ฮันโนเฟอร์ | NI | 28,350 | ||
เมคเลินบวร์ค-ฟอร์พ็อมเมิร์น (Mecklenburg-Vorpommern) |
1990 | 3 | 23,180 | 1,639,000 | 71 | ชเวรีน | MV | 21,404 | ||
นอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลิน (Nordrhein-Westfalen) |
1949 | 6 | 34,085 | 17,837,000 | 523 | ดึสเซิลดอร์ฟ | NW | 32,882 | ||
ไรน์ลันท์-ฟัลทซ์ (Rheinland-Pfalz) |
1949 | 4 | 19,853 | 3,999,000 | 202 | ไมนทซ์ | RP | 28,311 | ||
ซาร์ลันท์ (Saarland) |
1957 | 3 | 2,569 | 1,018,000 | 400 | ซาร์บรึคเคิน | SL | 30,098 | ||
ซัคเซิน (Sachsen) |
1990 | 4 | 18,416 | 4,143,000 | 227 | เดรสเดิน | SN | 22,980 | ||
ซัคเซิน-อันฮัลท์ (Sachsen-Anhalt) |
1990 | 4 | 20,446 | 2,331,000 | 116 | มัคเดอบวร์ค | ST | 22,427 | ||
ชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์ (Schleswig-Holstein) |
1949 | 4 | 15,799 | 2,833,000 | 179 | คีล | SH | 25,947 | ||
ทือริงเงิน (Thüringen) |
1990 | 4 | 16,172 | 2,231,000 | 138 | แอร์ฟวร์ท | TH | 21,663 |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ The states of Baden, Württemberg-Baden, and Württemberg-Hohenzollern were constituent states of the federation when it was formed in 1949. They united to form Baden-Württemberg in 1952.
- ↑ Berlin has only officially been a Bundesland since reunification, even though West Berlin was largely treated as a state of West Germany.