เขตการปกครองของประเทศเซอร์เบีย
เขตการปกครองของประเทศเซอร์เบีย ได้รับการกำหนดไว้ในกฎหมายรัฐบาลเซอร์เบีย ลงวันที่ 29 มกราคม ค.ศ. 1992[1] และตามกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบดินแดนซึ่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติเซอร์เบียมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม ค.ศ. 2007[2][3]
เซอร์เบียแบ่งออกเป็น 29 เขตบริหารตามกฤษฎีกาฉบับหนึ่งที่รัฐบาลตราขึ้นใน ค.ศ. 1992 ส่วนหน่วยการปกครองประเภทอื่น ๆ ได้แก่ เทศบาลและเมือง และจังหวัดปกครองตนเอง ซึ่งได้รับการระบุไว้ในกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบดินแดน[2]
ภูมิภาค
[แก้]รัฐธรรมนูญแห่งเซอร์เบียรับรองจังหวัดปกครองตนเอง (аутономна покрајина / autonomna pokrajina) 2 จังหวัด ได้แก่ วอยวอดีนาทางตอนเหนือ และดินแดนพิพาทคอซอวอและเมตอคิยาทางตอนใต้[2] ในขณะที่พื้นที่ที่เหลือของเซอร์เบียตอนกลางไม่เคยมีอำนาจในระดับภูมิภาคเป็นของตนเอง หลังสงครามคอซอวอ เจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพที่นำโดยเนโทได้เข้าสู่คอซอวอหลังจากที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติลงมติรับข้อมติที่ 1244 จากนั้นใน ค.ศ. 2008 คอซอวอประกาศเอกราช[4] รัฐบาลเซอร์เบียไม่ยอมรับคำประกาศเอกราชดังกล่าวโดยถือว่าผิดกฎหมายและไม่ชอบธรรม[5]
จังหวัดวอยวอดีนามีสภาและรัฐบาลเป็นของตนเอง มีความเป็นอิสระในบางเรื่อง เช่น โครงสร้างพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ การศึกษา วัฒนธรรม[6]
จังหวัดปกครองตนเองคอซอวอและเมตอคิยาถูกถ่ายโอนไปสู่การบริหารงานของคณะผู้แทนบริหารชั่วคราวของสหประชาชาติในคอซอวอตั้งแต่เดือนมิถุนายน ค.ศ. 1999 หลังสงครามคอซอวอ ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 รัฐบาลคอซอวอได้ประกาศเอกราชจากเซอร์เบียเพียงฝ่ายเดียว ซึ่งเป็นความเคลื่อนไหวที่ได้รับการยอมรับจากประเทศต่าง ๆ (รวมถึงสหภาพยุโรปส่วนใหญ่และสหรัฐ) แต่ไม่ได้รับการรับรองจากเซอร์เบีย รัสเซีย จีน อินเดีย บราซิล อาร์เจนตินา อินโดนีเซีย และประเทศสมาชิกสหประชาชาติอีก 87 ประเทศ รวมถึงประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป 5 ประเทศ
ภูมิภาคทางสถิติ
[แก้]ภูมิภาคทางสถิติทั้งห้าของเซอร์เบีย ได้แก่
เขตบริหาร
[แก้]เขตบริหาร (управни округ / upravni okrug) เป็นเขตการปกครองระดับบนสุดของประเทศ ประกอบไปด้วยเทศบาลและนครต่าง ๆ เขตบริหารเหล่านี้เป็นศูนย์กลางของอำนาจรัฐในระดับภูมิภาค แต่ไม่มีสภาเป็นของตนเองและไม่ได้รับการกล่าวถึงในกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบดินแดน ค.ศ. 2007 แต่ได้รับการจัดระเบียบตามกฎหมายรัฐบาลเมื่อวันที่ 29 มกราคม ค.ศ. 1992[1]
เซอร์เบียแบ่งออกเป็น 29 เขตบริหาร (18 เขตในเซอร์เบียตอนกลาง, 7 เขตในวอยวอดีนา และ 5 เขตในคอซอวอ ในขณะที่กรุงเบลเกรดมีสถานะพิเศษคล้ายกับเป็นเขตบริหารเขตหนึ่งในตัวเอง)[7]
เทศบาลและนคร
[แก้]- เทศบาล
เซอร์เบียแบ่งออกเป็น 145 เทศบาล (општина / opština) และ 29 นคร (град / grad) ซึ่งเป็นหน่วยพื้นฐานของการปกครองในระดับท้องถิ่น แต่ละเทศบาลมีสภาเป็นของตนเอง (สมาชิกสภามาจากการเลือกตั้งท้องถิ่นทุก 4 ปี) โดยปกติเทศบาลของเซอร์เบียจะมีประชากรมากกว่า 10,000 คน
- นคร
นครเป็นหน่วยการปกครองตนเองในท้องถิ่นอีกประเภทหนึ่ง ดินแดนที่มีสถานะเป็น "นคร" มักจะมีประชากรมากกว่า 100,000 คน นอกเหนือจากนั้นมีลักษณะคล้ายคลึงกับเทศบาลมาก ปัจจุบันมีนคร 27 นคร แต่ละนครมีสภาและงบประมาณเป็นของตนเอง เฉพาะนครเท่านั้นที่มีตำแหน่งนายก แต่ในชีวิตประจำวันมักเรียกตำแหน่งประธานเทศบาลว่า "นายก" เช่นกัน
นครหนึ่ง ๆ อาจแบ่งออกเป็น "เทศบาลนคร" (градска општина / gradska opština) หรือไม่ก็ได้ นคร 6 นคร ได้แก่ เบลเกรด นอวีซาด นีช ปอฌาเรวัตส์ อูฌิตเซ และวราเญ แบ่งออกเป็นเทศบาลนครหลายเทศบาลโดยจัดประเภทเป็นเทศบาลเขตเมืองและเทศบาลเขตชานเมือง
เขตการปกครองของคอซอวอ
[แก้]แม้ว่ากฎหมายของเซอร์เบียจะถือว่าคอซอวอเป็นส่วนหนึ่งของเซอร์เบียและแบ่งคอซอวอออกเป็น 5 เขตบริหาร, 28 เทศบาล และ 1 นคร[2] แต่คณะผู้แทนบริหารชั่วคราวของสหประชาชาติในคอซอวอได้นำการจัดระเบียบดินแดนรูปแบบใหม่มาใช้ใน ค.ศ. 2000 ความเคลื่อนไหวนี้ไม่ได้รับการยอมรับจากเซอร์เบีย แต่ได้รับการยอมรับจากสาธารณรัฐคอซอวอซึ่งประกาศตนเองเป็นเอกราช ตามการจัดระเบียบดินแดนรูปแบบใหม่ คอซอวอแบ่งออกเป็น 7 เขต (ใหม่)[ต้องการอ้างอิง] และ 37 เทศบาล (มีเทศบาลใหม่ 8 เทศบาล)[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Government of Serbia: Districts In Serbia
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 Law on Territorial Organization and Local Self-Government เก็บถาวร 2011-05-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Parliament of Serbia (ในภาษาเซอร์เบีย)
- ↑ "Lokalni i pokrajinski izbori u maju". b92.net (ภาษาเซอร์เบีย). Beta, Tanjug. 29 December 2007. สืบค้นเมื่อ 20 March 2017.
- ↑ Hamilton (17 February 2008). "Kosovo declares independence from Serbia". Reuters.
- ↑ Decision on the annulment of the illegitimate acts of the provisional institutions of self-government in Kosovo and Metohija on their declaration of unilateral independence Government of Serbia, 2008
- ↑ Republic of Serbia. Wikisource. (ในภาษาเซอร์เบีย) [The Law Establishing the Jurisdiction of the Autonomous Province of Vojvodina] (ภาษาเซอร์เบีย) – โดยทาง
- ↑ Hooghe, Liesbet; Marks, Gary N.; Schakel, Arjan H. (2010). The Rise of Regional Authority: A Comparative Study of 42 Democracies. Routledge. p. 95. ISBN 978-1-13697-465-6.
- ↑ Organization for Security and Co-operation in Europe Mission in Kosovo: Municipal profiles