เศรษฐกิจเยอรมนี
เศรษฐกิจเยอรมนี | |
---|---|
แฟรงก์เฟิร์ต เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของเยอรมนี | |
สกุลเงิน | ยูโร (EUR) |
ปีงบประมาณ | ปีปฏิทิน |
ภาคีการค้า | EU, WTO และ OECD |
สถิติ | |
จีดีพี | 3.951 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ตัวเงิน, 2018) 4.343 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (PPP, 2018) [1] |
จีดีพีเติบโต | +1.9% (2016)[2], +2.5% (2017), +1.5% (2018) |
จีดีพีต่อหัว | 47,662 ดอลลาร์สหรัฐ (2018, ตัวเงิน)[1] |
ภาคจีดีพี | เกษตรกรรม: 0.7%, อุตสาหกรรม: 30.7%, ภาคบริการ: 68.6% (ปมก. 2017) |
เงินเฟ้อ (CPI) | 1.927% (2018)[3] |
ประชากรยากจน | 16.7% (2015)[4] |
จีนี | 31.1 (2018) |
แรงงาน | 41.99 ล้านคน (ต.ค. 2019)[5] |
ภาคแรงงาน | เกษตรกรรม (1.6%), อุตสาหกรรม (24.6%), ภาคบริการ (73.8%) (2011) |
ว่างงาน | 3.1% (ต.ค. 2019)[6] |
อุตสาหกรรมหลัก | เหล็กและเหล็กกล้า, ถ่านหิน, ปูนซีเมนต์, เชื้อเพลิงธรรมชาติ, เคมี, พลาสติก, เครื่องจักรกล, พาหนะ, รถไฟ, ต่อเรือ, อากาศยานและอวกาศ, เครื่องมือช่าง, เครื่องใช้ไฟฟ้า, เทคโนโลยีสารสนเทศ, ระบบและเครื่องมือแพทย์, เวชภัณฑ์, อาหารและเครื่องดื่ม, สิ่งทอ |
อันดับความคล่องในการทำธุรกิจ | 22 (2020)[7] |
การค้า | |
มูลค่าส่งออก | $1.434 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปมก.2017)[8] |
สินค้าส่งออก | ยานยนต์, เครื่องจักรกล, เคมีภัณฑ์, คอมพิวเตอร์และวงจรไฟฟ้า, เครื่องใช้ไฟฟ้า, เวชภัณฑ์, โลหะ, อุปกรณ์คมนาคม, อาหาร, สิ่งทอ, ยางและผลิตภัณฑ์พลาสติก |
ประเทศส่งออกหลัก |
|
มูลค่านำเข้า | $1.135 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปมก.2017)[8] |
สินค้านำเข้า | เครื่องจักรกล, อุปกรณ์ประมวลผล, พาหนะ, เคมีภัณฑ์, น้ำมันและแก๊ส, โลหะ, เครื่องใช้ไฟฟ้า, เวชภัณฑ์, อาหาร, ผลผลิตทางการเกษตร |
ประเทศนำเข้าหลัก |
|
FDI | 1.653 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ธ.ค. 2017) |
หนี้ต่างประเทศ | 5.084 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (2017) |
การคลังรัฐบาล | |
หนี้สาธารณะ | 60.9% ของจีพีดี (2018)[10] |
รายรับ | $1.665 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปมก.2017) |
รายจ่าย | $1.619 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปมก.2017) |
อันดับความเชื่อมั่น | Standard & Poor's: AAA[11] แนวโน้ม: คงที่[12] Moody's: Aaa[12] แนวโน้ม: คงที่ Fitch: AAA[12] แนวโน้ม: คงที่ |
ทุนสำรอง | 3.6 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (มิ.ย. 2018)[13] |
แหล่งข้อมูลหลัก: CIA World Fact Book หน่วยทั้งหมด หากไม่ระบุ ถือว่าเป็นดอลลาร์สหรัฐ |
ประเทศเยอรมนี ถือเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในยุโรป มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลกหากวัดตามราคาตลาด และเป็นอันดับ 5 ของโลกหากวัดตามอำนาจซื้อ ทั้งนี้ใน ค.ศ. 2017 กิจกรรมทางเศรษฐกิจของเยอรมนีมีคิดเป็น 27% ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโรตามรายงานของไอเอ็มเอฟ[14] เยอรมนียังเป็นหนึ่งในชาติผู้ร่วมก่อตั้งสหภาพยุโรปและยูโรโซน[15][16]
ภาคการบริการถือเป็นภาคเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดของเยอรมนีโดยคิดเป็น 70% ของจีดีพี รองลงมาคือภาคอุตสาหกรรมที่ 29.1% และภาคเกษตรกรรมที่ 0.9% ทั้งนี้ เศรษฐกิจของเยอรมนีพึ่งพาการส่งออกในสัดส่วนที่สูงราว 41% ของจีดีพี[17][18] ใน ค.ศ. 2016 เยอรมนีเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่เป็นอันดับสามของโลกด้วยมูลค่ากว่า 1.21 ล้านล้านยูโร (1.27 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ) และยังเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้ดุลการค้าสูงที่สุดในโลกด้วยมูลค่ากว่า 3.1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าส่งออกที่สำคัญของเยอรมนีคือยานยนต์, เครื่องจักรกล, เคมีภัณฑ์, เครื่องใช้ไฟฟ้า, อุปกรณ์ไฟฟ้า, เวชภัณฑ์, อุปกรณ์คมนาคม, โลหะภัณฑ์, อาหาร, ยาง และพลาสติก[5] เยอรมนีเป็นประเทศที่มีอุตสาหกรรมการผลิตขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรปและไม่ค่อยได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจตกต่ำมากนัก [19] เยอรมนีเป็นประเทศที่มุ่งเน้นการวิจัยซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมได้จริง มหาวิทยาลัยต่าง ๆมีความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมในการคิดค้นผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมที่ตอบโจทย์อุตสาหกรรมนั้น[20]
เยอรมนีเป็นประเทศที่อุดมไปด้วยป่าไม้, แร่โพแทช, เกลือ, ยูเรเนียม, นิกเกิล, ทองแดง และแก๊สธรรมชาติ พลังงานที่ใช้ในเยอรมนีนั้นมาจากถ่านหินเป็นหลัก (ราว 50%) ตามด้วยพลังงานนิวเคลียร์, แก๊สธรรมชาติ, พลังงานลม, พลังงานชีวมวล, พลังน้ำ และโซลาร์ เยอรมนียังเป็นผู้ผลิตกังหันลมผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ของโลก[21] ปัจจุบันพลังงงานหมุนเวียนสามารถผลิตไฟฟ้าได้กว่า 27% ของปริมาณไฟฟ้าที่ใช้ทั้งประเทศ[22]
บริษัทเยอรมันกว่า 99% เป็นธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางที่เรียกว่า "มิทเทิลชตันท์" (Mittelstand) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธุรกิจครอบครัว และจากการจัดอันดับ Fortune Global 2000 ในปี ค.ศ. 2015 ซึ่งเป็นการจัดอันดับบริษัทที่มีรายได้สูงที่สุดสองพันแห่งของโลก ปรากฏมีบริษัทสัญชาติเยอรมันติดอับดับกว่า 53 บริษัท โดย 5 อันดับแรกคือ ฟ็อลคส์วาเกิน, อลิอันซ์, ไดมเลอร์, บีเอ็มดับเบิลยู และซีเมนส์[23]
ระบบเศรษฐกิจ
[แก้]ภาคอุตสาหกรรม
[แก้]เยอรมนีเป็นผู้นำในด้านอุตสาหกรรมหนักมาตั้งแต่ก่อนการรวมชาติเยอรมันในปี ค.ศ. 1871 อุตสาหกรรมของเยอรมันก้าวกระโดดอย่างมโหฬารในสมัยจักรวรรดิเยอรมัน จักรวรรดิเยอรมันได้กลายเป็นมหาอำนาจด้านอุตสาหกรรม, การทหาร, เทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์ของโลก โดยได้รับรางวัลโนเบลมากกว่าชาติอื่น ๆ[24] จักรวรรดิเยอรมันเป็นประเทศที่ส่งออกสินค้าได้มากเป็นอันดับสองของโลกรองจากสหราชอาณาจักร องค์ความรู้ที่สั่งสมและพัฒนาต่อยอดอยู่เสมอตลอดระยะเวลาว่าศตวรรษ ได้กลายเป็นต้นทุนทางปัญญาที่สำคัญของอุตสาหกรรมเยอรมันในปัจจุบัน
ภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้างครองสัดส่วน 29% ของจีดีพีเยอรมนีในปี 2008 มีประชากรวัยทำงาน 29% ทำงานอยู่ในภาคเศรษฐกิจนี้[25] เยอรมนีมีความเป็นเลิศทางด้านยานยนต์, เครื่องจักรกล, เครื่องใช้ไฟฟ้า และเคมีภัณฑ์ เยอรมนีสามารถผลิตรถยนต์ได้ถึง 6 ล้านคันในปี 2016 และมากเป็นอันดับสี่ของโลกรองจากจีน, สหรัฐ และญี่ปุ่น รถยนต์ที่ผลิตในเยอรมนีถือเป็นรถยนต์ระดับพรีเมี่ยม และเยอรมนีครองส่วนแบ่งตลาดรถยนต์กลุ่มนี้ถึง 90% ของส่วนแบ่งตลาดโลก รถยนต์ที่ผลิตในเยอรมนีส่วนมากเป็นการผลิตเพื่อส่งออก โดยในปี 2016 เยอรมนีสามารถส่งออกรถยนต์ได้เป็นมูลค่าถึง 1.51 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งเป็นอันดับหนึ่งของโลก (คิดเป็น 21.8% ของมูลค่าการส่งออกรถยนต์ทั่วโลก) ตามด้วยญี่ปุ่นและสหรัฐ[26]
เยอรมนียังมีอุตสาหกรรมการทหารชั้นแนวหน้าของโลก โดยในปี 2015 เยอรมนีเป็นผู้ส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์อันดับสามของโลกรองจากสหรัฐและรัสเซียด้วยมูลค่ากว่า 4.2 พันล้านยูโร ซาอุดีอาระเบียถือเป็นลูกค้ารายใหญ่ที่สุดที่นำเข้าอาวุธจากเยอรมนี [27]
ภาคการบริการ
[แก้]ภาคการบริการในเยอรมนีครองสัดส่วน 69% ของจีดีพีเยอรมนีในปี 2008 มีประชากรวัยทำงาน 67.5% ทำงานอยู่ในภาคเศรษฐกิจนี้[25] กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญในภาคการบริการได้แก่ บริการด้านการเงิน การเช่า และการประกอบธุรกิจ (30.5%); ด้านการค้า การท่องเที่ยว ภัตตาการ การโรงแรม และขนส่ง (18%); กิจกรรมด้านบริการอื่น ๆ (21.7%) นอกจากนี้ เยอรมนียังถือเป็นประเทศที่มีผู้มาเยือนเป็นอันดับ 7 ของโลก โดยมีผู้มาเยือนกว่า 39 ล้านคนในปี 2015 สร้างรายได้เข้าประเทศราว 3.6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ กิจกรรมการท่องเที่ยวในเยอรมนีสร้างงานราว 2 ล้านตำแหน่ง
รัฐในเยอรมันเรียงตามขนาดเศรษฐกิจ
[แก้]รัฐ | อันดับ | ผลิตภัณฑ์มวลรวม (พันล้านยูโร) |
% ต่อจีดีพีรวม | ยูโรต่อหัว |
---|---|---|---|---|
ประเทศเยอรมนี | 3,386.0 | 100.00 | 40,786 | |
นอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลิน | 1 | 705.0 | 20.82 | 39,315 |
บาวาเรีย | 2 | 625.1 | 18.46 | 47,805 |
บาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค | 3 | 511.4 | 15.10 | 46,201 |
เฮ็สเซิน | 4 | 296.1 | 8.74 | 47,263 |
นีเดอร์ซัคเซิน | 5 | 292.0 | 8.62 | 36,582 |
ไรน์ลันท์-ฟัลทซ์ | 6 | 149.1 | 4.40 | 36,508 |
เบอร์ลิน | 7 | 147.0 | 4.34 | 40,340 |
ซัคเซิน | 8 | 126.3 | 3.73 | 30,979 |
ฮัมบวร์ค | 9 | 120.3 | 3.55 | 65,345 |
ชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์ | 10 | 97.0 | 2.86 | 33,494 |
บรันเดินบวร์ค | 11 | 73.7 | 2.18 | 29,351 |
ทือริงเงิน | 12 | 63.8 | 1.88 | 29,771 |
ซัคเซิน-อันฮัลท์ | 13 | 63.5 | 1.88 | 28,759 |
เมคเลินบวร์ค-ฟอร์พ็อมเมิร์น | 14 | 44.9 | 1.33 | 27,908 |
ซาร์ลันท์ | 15 | 35.9 | 1.06 | 36,263 |
เบรเมิน | 16 | 34.2 | 1.01 | 50,147 |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 ที่มา: กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund)
- ↑ "Homepage - Federal Statistical Office (Destatis)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-28. สืบค้นเมื่อ 2017-08-01.
- ↑ "Homepage - Federal Statistical Office (Destatis)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-28. สืบค้นเมื่อ 2017-08-01.
- ↑ "Homepage - Federal Statistical Office (Destatis)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-28. สืบค้นเมื่อ 2017-08-01.
- ↑ 5.0 5.1 Destatis. "CIA Factbook". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-02. สืบค้นเมื่อ 23 April 2015.
- ↑ "Homepage - Federal Statistical Office (Destatis)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2017-08-01.
- ↑ "Ease of Doing Business in Germany". Doingbusiness.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 October 2017. สืบค้นเมื่อ 2017-11-21.
- ↑ 8.0 8.1 "Europe :: Germany". The World Factbook. Central Intelligence Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-30. สืบค้นเมื่อ 15 June 2019.
- ↑ 9.0 9.1 "Germany - WTO Statistics Database". World Trade Organization. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 September 2017. สืบค้นเมื่อ 1 March 2017.
- ↑ "Germany Government Debt: % of GDP". CEIC Data - UK. 2018. สืบค้นเมื่อ 2018-08-04.
- ↑ "Sovereigns rating list". Standard & Poor's. สืบค้นเมื่อ 26 May 2011.
- ↑ 12.0 12.1 12.2 Rogers, Simon; Sedghi, Ami (15 April 2011). "How Fitch, Moody's and S&P rate each country's credit rating". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 31 May 2011.
- ↑ "Germany Foreign Exchange Reserves". CEIC Data - UK. 2018. สืบค้นเมื่อ 2018-08-05.
- ↑ http://www.imf.org/en/News/Articles/2017/07/05/na070717-germany-spend-more-at-home
- ↑ Alfred Dupont CHANDLER, Takashi Hikino, Alfred D Chandler, Scale and Scope: The Dynamics of Industrial Capitalism 1990
- ↑ "Scale and Scope — Alfred D. Chandler, Jr. | Harvard University Press". Hup.harvard.edu. สืบค้นเมื่อ 2014-08-13.
- ↑ Library of Congress – Federal Research Division (April 2015). "Country Profile: Germany" (PDF). p. 10. สืบค้นเมื่อ 23 April 2015.
Exports are responsible for one-third of total economic output, and at the prevailing dollar–euro exchange rate, no country exports more merchandise.
- ↑ "Germany's capital exports under the euro | vox". Voxeu.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-22. สืบค้นเมื่อ 2014-08-13.
- ↑ http://www.economist.com/node/21552567
- ↑ https://www.asme.org/engineering-topics/articles/manufacturing-processing/how-does-germany-do-it
- ↑ Wind Power เก็บถาวร 10 ธันวาคม 2006 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Federal Ministry of Economics and Technology (Germany) Retrieved 30 November 2006.
- ↑ Nicola, Stefan (9 May 2014). "Renewables Meet Record 27 Percent of German Electricity Demand". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 2015-04-23.
- ↑ "Forbes Global 2000: Germany's Largest Companies". Forbes. May 2014. สืบค้นเมื่อ 2015-04-13.
- ↑ "Nobel Prizes by Country – Evolution of National Science Nobel Prize Shares in the 20th Century, by Citizenship (Juergen Schmidhuber, 2010)". Idsia.ch. สืบค้นเมื่อ 2 December 2012.
- ↑ 25.0 25.1 CIA. "CIA Factbook". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-11. สืบค้นเมื่อ 2 August 2009.
- ↑ Car Exports by Country DANIEL WORKMAN. 10 May 2017
- ↑ Germany is the world’s third biggest weapons exporter