ซีเอเอฟแชมเปียนส์ลีก
ผู้จัด | สมาพันธ์ฟุตบอลแห่งแอฟริกา |
---|---|
ก่อตั้ง | 1964 (เปลี่ยนชื่อในปี ค.ศ. 1997) |
ภูมิภาค | แอฟริกา |
จำนวนทีม |
|
ผ่านเข้าไปเล่นใน | |
การแข่งขันที่เกี่ยวข้อง | ซีเอเอฟคอนเฟเดอเรชันคัพ |
ทีมชนะเลิศปัจจุบัน | อัลอาห์ลี (12 สมัย) |
ทีมที่ประสบความสำเร็จที่สุด | อัลอาห์ลี (12 สมัย) |
ผู้แพร่ภาพโทรทัศน์ | รายชื่อผู้ถ่ายทอดสด |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ทางการ |
ซีเอเอฟแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2024–25 |
ซีเอเอฟแชมเปียนส์ลีก (อังกฤษ: CAF Champions League; หรือที่รู้จักกันในชื่อ TotalEnergies CAF Champions League[1] และเคยใช้ชื่อ African Cup of Champions Clubs เป็นการแข่งขันฟุตบอลสโมสรประจำปีที่จัดโดยสมาพันธ์ฟุตบอลแห่งแอฟริกา (CAF) และแข่งขันโดยสโมสรฟุตบอลชั้นนำของแอฟริกา โดยการตัดสินผู้ชนะจากรอบแบ่งกลุ่มที่เล่นแบบพบกันหมดเพื่อผ่านเข้าสู่รอบแพ้คัดออกแบบสองขา และตามด้วยรอบชิงชนะเลิศที่เล่นแบบเหย้าและเยือน ซึ่งถือเป็นการแข่งขันสโมรสรที่มีเกียรติมากที่สุดในฟุตบอลแอฟริกา
ผู้ชนะในแต่ละฤดูกาลของการแข่งขันจะได้รับโควตาเข้าแข่งขันในฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก ซึ่งเป็นการแข่งขันระหว่างสโมรสรชนะเลิศจากทั้งหกสมาพันธ์ทวีป และพบกับผู้ชนะจากซีเอเอฟคอนเฟเดอเรชันคัพในฤดูกาลถัดไปของซีเอเอฟซูเปอร์คัพ และตั้งแต่ปี ค.ศ. 2024 เป็นต้นไป พร้อมกับอีก 4 ทีมที่ดีที่สุด จะได้โควต้าในการแข่งขันรูปแบบใหม่ชื่อฟีฟ่าอินเตอร์คอนติเนนตัลคัพ ส่วนสโมสรที่จบอันดับรองในลีกของประเทศแต่ไม่สามารถผ่านเข้าแข่งขันในแชมเปียนส์ลีกจะมีสิทธิ์เข้าแข่งขันในซีเอเอฟคอนเฟเดอเรชันคัพรอบที่สอง
สโมรสรจากอียิปต์ มีครั้งที่ชนะเลิศมากที่สุด (18 สมัย) รองลงมาคือ โมร็อกโก ที่ 7 สมัย ประเทศแคเมอรูน อียิปต์ แอลจีเรีย ตูนิเซีย และโมร็อกโก มีจำนวนทีมที่ชนะเลิศมากที่สุด โดยมี 3 สโมสรจากแต่ละประเทศที่ชนะเลิศ การแข่งขันนี้ได้รับชัยชนะโดย 26 ทีม ซึ่ง 12 ทีมในนั้นได้แชมป์มากกว่าหนึ่งครั้ง อัล อาห์ลี เป็นทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของการแข่งขันนี้ โดยคว้าแชมป์ไปแล้ว 12 ครั้ง รวมถึง ฤดูกาลล่าสุด และเป็นแชมป์แอฟริกาปัจจุบัน โดยชนะ เอสเปร็องซ์แห่งตูนิส 1–0 ด้วยผลรวมใน รอบชิงชนะเลิศ 2024
ทำเนียบผู้ชนะ
[แก้]แชมป์ (จำแนกตามสโมสร)
[แก้]แชมป์ (จำแนกตามชาติ)
[แก้]ประเทศ | ชนะเลิศ | รองชนะเลิศ |
---|---|---|
อียิปต์ | 14 | 7 |
DR Congo | 6 | 6 |
โมร็อกโก | 6 | 2 |
แอลจีเรีย | 5 | 2 |
แคเมอรูน | 5 | 1 |
ตูนิเซีย | 4 | 7 |
กานา | 3 | 8 |
กินี | 3 | 2 |
ไนจีเรีย | 2 | 5 |
โกตดิวัวร์ | 2 | 2 |
แอฟริกาใต้ | 2 | 2 |
Congo | 1 | 0 |
มาลี | 0 | 2 |
ซูดาน | 0 | 2 |
ยูกันดา | 0 | 2 |
โตโก | 0 | 1 |
แซมเบีย | 0 | 1 |
ซิมบับเว | 0 | 1 |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "CAF Sponsors". CAFOnline.com. สืบค้นเมื่อ 5 May 2022.