ข้ามไปเนื้อหา

ชีววิทยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Biology)
ชีววิทยาคือการศึกษาเกี่ยวกับชีวิตและชีวนินทรีย์ต่าง ๆ

ชีววิทยา (อังกฤษ: biology) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับขนาดของสิ่งมีชีวิต[1][2][3] เป็นแขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (natural science) ที่ศึกษาด้วยขอบเขตที่กว้างแต่ประกอบด้วยหลายประเด็นที่เชื่อมโยงเข้าด้วยกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและสอดคล้องกัน[1][2][3] ตัวอย่างเช่น สิ่งมีชีวิตทุกชนิดเกิดขึ้นจากเซลล์หลายเซลล์ที่สามารถประมวลข้อมูลทางกรรมพันธุ์ที่เข้ารหัสในรูปยีน ซึ่งสามารถส่งต่อให้รุ่นถัดไป อีกประเด็นหลักคือวิวัฒนาการซึ่งอธิบายความเป็นเอกภาพและความหลากหลายของชีวิต[1][2][3] กระบวนการเกี่ยวกับพลังงานยังมีความสำคัญต่อชีวิตเพื่อให้สิ่งมีชีวิตสามารถเคลื่อนที่ เจริญเติบโตและสืบพันธุ์[2][3] สุดท้ายนี้ สิ่งมีชีวิตทุกชนิดต้องสามารถรักษาดุลยภาพของสภาพแวดล้อมภายในของสิ่งมีชีวิตเอง[1][2][3][4][5]

นักชีววิทยาสามารถศึกษาชีวิตได้ในการจำแนกชั้นทางชีววิทยาที่หลากหลาย นับตั้งแต่อณูชีววิทยาของเซลล์จนถึงกายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของพืชและสัตว์ และ

วิวัฒนาการของประชากร[1][6] ดังนั้นสาขาย่อยของชีววิทยามีหลายสาขา แต่ละสาขาถูกกำหนดโดยธรรมชาติของการตั้งถามเชิงวิจัยและเครื่องมือที่นักวิจัยใช้[7][8][9] เช่นเดียวกันกับนักวิทยาศาสตร์แขนงอื่น นักชีววิทยาใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการการสังเกต ตั้งคำถาม สร้างสมมติฐาน ทำการทดลองและสรุปเกี่ยวกับโลกรอบตัวพวกเขา[1]

สิ่งมีชีวิตบนโลก ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อ 3.7 พันล้านปีก่อน[10] มีความหลากหลายสูงมาก นักชีววิทยาได้แสวงหา ศึกษาและจัดจำแนกรูปแบบของชีวิตที่หลากหลาย ตั้งแต่สิ่งมีชีวิตกลุ่มโพรแคริโอตเช่น อาร์เคียและแบคทีเรียจนถึงสิ่งมีชีวิตกลุ่มยูแคริโอตเช่น โพรทิสต์ ฟังไจ พืชและสัตว์ สิ่งมีชีวิตที่หลากหลายนี้ทำให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศ ซึ่งมีบทบาทในการหมุนเวียนของสารอาหารและพลังงาน ผ่านสิ่งแวดล้อมชีวกายภาพ

คำว่า ชีววิทยา (biology) มาจากภาษากรีก คือคำว่า "bios" แปลว่า สิ่งมีชีวิต และ "logia" แปลว่า วิชา หรือการศึกษาอย่างมีเหตุผล

ประวัติศาสตร์

[แก้]
A drawing of a fly from facing up, with wing detail
รูปภาพของแมลงวันจากหนังสือ Micrographia เขียนโดยรอเบิร์ต ฮุกรอเบิร์ต ฮุก เมื่อปี ค.ศ. 1665

รากฐานแรกเริ่มของวิทยาศาสตร์ รวมถึงการแพทย์ สามารถย้อนกลับไปในสมัยอียิปต์โบราณและเมโสโปเตเมียในช่วงประมาณ 3000 ถึง 1200 ก่อนคริสตกาล[11][12] ผลงานของพวกเขาทำให้เกิดปรัชญาธรรมชาติของกรีกโบราณ[11][12][13][14] นักปรัชญาชาวกรีกโบราณเช่น อาริสโตเติล (384–322 ก่อนคริสตกาล) มีส่วนช่วยอย่างยิ่งในการพัฒนาความรู้ด้านชีววิทยา เขาศึกษาสาเหตุของเหตุการณ์ในเชิงชีววิทยาและความหลากหลายทางชีวภาพ ทีโอแฟรสตัส ผู้สืบทอดของอาริสโตเติลเริ่มศึกษาพืชในทางวิทยาศาสตร์[15] นักวิชาการในยุคทองของอิสลามได้เขียนเกี่ยวกับชีววิทยา เช่นอัล-ญะฮิซ (ปี ค.ศ. 781–869) อาบู ฮานิฟา ดิโนรี (ปี ค.ศ. 828–896) ผู้ที่เขียนเกี่ยวกับพฤกษศาสตร์[16] และราซีส (ปี ค.ศ. 865–925) ผู้เขียนเกี่ยวกับกายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา นักวิชาการในโลกอิสลามศึกษาการแพทย์เป็นอย่างดีบนธรรมเนียมของนักปรัชญาชาวกรีก ในขณะที่ประวัติศาสตร์ธรรมชาติจะเป็นไปตามแนวคิดของอาริสโตเติล

ชีววิทยาเริ่มพัฒนาอย่างรวดเร็วหลังการพัฒนากล้องจุลทรรศน์โดยอันโตนี ฟัน เลเวินฮุก ต่อมานักวิชาการได้ค้นพบตัวอสุจิ แบคทีเรีย อินฟูโซเรียและความหลากหลายของจุลชีพ การค้นพบของยาน สวัมเมอร์แดมนำไปสู่ชีววิทยาแขนงใหม่ นั่นคือกีฏวิทยาและช่วยพัฒนาเทคนิคการการผ่าและการย้อมสี.[17] ความก้าวหน้าในด้านจุลทรรศน์มีผลอย่างมากต่อแนวคิดทางชีววิทยา ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 นักชีววิทยาชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของเซลล์ ในปี ค.ศ. 1838 ชไลเดนและชวันน์เริ่มเสนอแนวคิดใหม่ที่ใช้ได้ทั่วไป นั่นคือ (1) หน่วยย่อยที่สุดของสิ่งมีชีวิตคือเซลล์และ (2) เซลล์แต่ละเซลล์มีคุณสมบัติของชีวิต ถึงแม้ว่าพวกเขาจะคัดค้านแนวคิดที่ว่า (3) เซลล์ทุกเซลล์เกิดจากบางส่วนของเซลล์อื่น นำไปสู่การสนับสนุน เชื่อว่าทฤษฎีการเกิดขึ้นเอง (Spontaneous generation) แต่อย่างไรก็ตามโรเบิร์ต รีมัคและรูดอล์ฟ วีร์โชว์สามารถยืนยันทฤษฎีที่สาม และในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1860 นักชีววิทยาส่วนใหญ่ยอมรับทฤษฎีทั้งสามนี้และรวบรวมเป็นทฤษฎีเซลล์[18][19]

ในขณะเดียวกัน อนุกรมวิธานและการจัดจำแนกกลายเป็นจุดสนใจของนักประวัติศาสตร์ธรรมชาติ คาร์ล ลินเนียสตีพิมพ์เกี่ยวกับอนุกรมวิธานพื้นฐานสำหรับการศึกษาธรรมชาติในปี ค.ศ. 1735 และในคริสต์ทศวรรษที่ 1750 เขาตั้งชื่อวิทยาศาสตร์สำหรับสิ่งมีชีวิตที่เขาศึกษาทุกสปีชีส์[20] ยอร์จ หลุยส์ เลอเคลร์ถือว่าแนวคิดของสปีชีส์เป็นเพียงการจัดจำแนกที่สมมติขึ้นและไม่ตายตัว—จึงเสนอแนวคิดของการสืบเชื้อสายร่วมกันแทน[21]

ในปี ค.ศ. 1842 ชาลส์ ดาร์วินเขียนร่างฉบับแรกของหนังสือ On the Origin of Species[22]

แนวคิดเรื่องวิวัฒนาการเริ่มเป็นที่ถกเถียงอย่างจริงจังด้วยงานของฌอง แบพติสท์ เดอ ลามาร์ก ผู้เสนอทฤษฎีวิวัฒนาการที่สอดคล้องกัน[23] ชาลส์ ดาร์วิน นักธรรมชาติวิทยาชาวบริติชได้รวบรวมผลการศึกษาทางชีวภูมิศาสตร์ของฮุมบ็อลท์ ภูมิศาสตร์เอกรูปนิยมของไลล์ งานเขียนเกี่ยวกับการเติบโตของประชากรของมาลธัส ประกอบกับความเชี่ยวชาญของดาร์วินเองในด้านสัณฐานวิทยาและการสำรวจธรรมชาติอย่างยาวนาน เกิดเป็นทฤษฎีวิวัฒนาการที่ประสบความสำเร็จกว่าคือการคัดเลือกโดยธรรมชาติ ด้วยการให้เหตุผลและหลักฐานเดียวกันทำให้อัลเฟรด รัสเซล วอลเลซนำไปสู่ข้อสรุปเดียวกัน ถึงแม้จะไม่ได้ทำงานกับดาร์วินก็ตาม[24][25]

พื้นฐานของพันธุศาสตร์ยุคใหม่เริ่มจากงานของเกรกอร์ เม็นเดิลในปี ค.ศ. 1865[26] ทำให้เกิดหลักการของการถ่ายทอดในทางชีววิทยา[27] แต่อย่างไรก็ตาม ความสำคัญของงานชิ้นนี้ไม่เป็นที่รู้จักจนเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ที่วิวัฒนาการกลายเป็นทฤษฎีเดียวกันรู้จักในนามทฤษฎีสังเคราะห์วิวัฒนาการ ที่ทฤษฎีวิวัฒนาการของดาร์วินรวมกับพันธุศาสตร์คลาสสิก[28] ในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1940 และต้นคริสต์ทศวรรษที่ 1950 การทดลองจำนวนมากโดยอัลเฟรด เฮอร์ชีย์และมาร์ธา เชสค้นพบว่าดีเอ็นเอซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครโมโซม บรรจุหน่วยข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะซึ่งเป็นที่รู้จักภายหลังว่ายีน ความสนใจในโมเดลของสิ่งมีชีวิตใหม่เช่น ไวรัสและแบคทีเรีย ประกอบกับการค้นพบโครงสร้างเกลียวคู่ของดีเอ็นเอโดยเจมส์ ดี. วัตสันและฟรานซิส คริกในปี ค.ศ. 1953 เป็นตัวบ่งชี้ถึงการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคอณูพันธุศาสตร์ นับตั้งแต่คริสต์ทศวรรษที่ 1950 เป็นต้นไป ชีววิทยาถูกขยายขอบเขตการศึกษาถึงระดับโมเลกุล รหัสพันธุกรรมถูกถอดรหัสโดยหร โคพินท์ โขรานา รอเบิร์ต ดับเบิลยู. ฮอลลีย์และมาร์แชลล์ วอร์เรน ไนเรนเบิร์กภายใต้แนวคิดของโคดอน โครงการจีโนมมนุษย์เริ่มในปี ค.ศ. 1990 เพื่อสร้างแผนที่จีโนมของมนุษย์[29]

พื้นฐานทางเคมี

[แก้]

อะตอมและโมเลกุล

[แก้]

สิ่งมีชีวิตทุกชนิดสร้างขึ้นมาจากธาตุเช่น[30] ออกซิเจน คาร์บอน ไฮโดรเจนและไนโตรเจน คิดเป็นมวลส่วนใหญ่ (ร้อยละ 96) ของสิ่งมีชีวิต นอกจากนี้ยังมีแคลเซียม ฟอสฟอรัส กำมะถัน โซเดียม คลอรีนและแมกนีเซียม ธาตุที่แตกต่างกันสามารถประกอบกันเป็นสารประกอบเช่น น้ำ ซึ่งเป็นพื้นฐานของชีวิต[30] ชีวเคมีคือการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการทางเคมีภายในและเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต อณูชีววิทยาเป็นแขนงหนึ่งในชีววิทยาที่ศึกษาเพื่อเข้าใจพื้นฐานทางโมเลกุลของกิจกรรมทางชีววิทยา ทั้งภายในและระหว่างเซลล์ รวมถึงการสังเคราะห์สารชีวโมเลกุล การดัดแปลง กลไกและการมีปฏิสัมพันธ์

น้ำ

[แก้]
โมเดลของพันธะไฮโดรเจน (1) ระหว่างโมเลกุลของน้ำ

ชีวิตเกิดขึ้นมาจากมหาสมุทรแห่งแรกของโลก ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 3.8 พันล้านปีก่อน[31] ตั้งแต่สมัยนั้น น้ำค่อย ๆ เป็นโมเลกุลที่พบมากที่สุดในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด น้ำสำคัญกับชีวิตเพราะว่าน้ำเป็นตัวทำละลายที่มีประสิทธิภาพ สามารถละลายสารเช่น โซเดียมและคลอไรด์ไอออนหรือสารโมเลกุลเล็ก เกิดเป็นสารละลายในน้ำ เมื่อละลายในน้ำแล้ว ตัวละลายมักสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับตัวละลายอีกตัวจึงสามารถทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมีซึ่งรักษาดุลยภาพของชีวิตได้[31] ในแง่ของโครงสร้างโมเลกุลของน้ำ น้ำเป็นโมเลกุลมีขั้ว รูปร่างมุมงอเกิดขึ้นพันธะโคเวเลนซ์มีขั้วระหว่างไฮโดรเจนสองอะตอม (H) กับออกซิเจนหนึ่งอะตอม (O) เป็นสูตร H2O[32] เนื่องจากพันธะ O–H มีขั้ว อะตอมออกซิเจนมีประจุลบเล็กน้อยและอะตอมไฮโดรเจนทั้งสองมีประจุบวกเล็กน้อย[32] คุณสมบัติมีขั้วของน้ำทำให้มันสามารถดึงดูดกับโมเลกุลน้ำโมเลกุลอื่นได้ด้วยพันธะไฮโดรเจน ทำให้น้ำมีคุณสมบัติการเชื่อมแน่น (cohesive)[32] แรงตึงผิวเกิดจากแรงเชื่อมแน่นจากการดึงดูดระหว่างโมเลกุลที่ผิวของเหลว[32] น้ำยังมีคุณสมบัติการยึดติด โดยมันสามารถเกาะกับพื้นผิวของโมเลกุลอื่นที่ไม่ใช่น้ำ ซึ่งอาจมีขั้วหรือมีประจุ[32] น้ำเมื่อเป็นของเหลวมีหนาแน่นกว่าตอนเป็นของแข็ง (หรือน้ำแข็ง)[32] คุณสมบัติเฉพาะตัวนี้ทำให้น้ำแข็งสามารถลอยเหนือน้ำเช่น บ่อน้ำ ทะเลสาบและมหาสมุทร ทำหน้าที่เป็นฉนวนความร้อนให้ของเหลว ป้องกันความเย็นจากอากาศเย็นข้างบน[32] น้ำมีความจุในการดูดซับพลังงาน ทำให้มีความจุความร้อนจำเพาะสูงกว่าตัวทำละลายอื่นเช่น เอทานอล[32] ดังนั้นพลังงานปริมาณมากจึงจำเป็นในการทำลายพันธะไฮโดรเจนระหว่างโมเลกุลเพื่อเปลี่ยนสถานะจากน้ำของเหลวเป็นไอน้ำ[32] น้ำมีโมเลกุลที่ไม่เสถียรอย่างสมบูรณ์ เนื่องจากโมเลกุลน้ำแต่ละโมเลกุลแตกตัวเป็นไฮโดรเจนไอออนและไฮดรอกซิลไอออน ก่อนกลับมาเป็นโมเลกุลน้ำอีกครั้ง[32] ในน้ำบริสุทธิ์ จำนวนไฮโดรเจนไอออนจะสมดุล (หรือเท่ากับ) จำนวนไฮดรอกซิลไอออน ส่งผลให้มีค่าพีเอชเป็นกลาง

สารประกอบอินทรีย์

[แก้]
สารประกอบอินทรีย์เช่นกลูโคสมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิต

สารประกอบอินทรีย์คือโมเลกุลที่มีคาร์บอนสร้างพันธะกับฮาตุอื่นเช่น ไฮโดรเจน[33] ทุกโมเลกุลที่เป็นส่วนประกอบของสิ่งมีชีวิตยกเว้นน้ำประกอบด้วยคาร์บอนทั้งสิ้น[33][34] คาร์บอนสามารถสร้างพันธะโคเวเลนต์กับอะตอมได้สูงสุด 4 อะตอม ทำให้สามารถสร้างเป็นโมเลกุลที่หลากหลาย ขนาดใหญ่และซับซ้อนได้[33][34] ตัวอย่างเช่น อะตอมคาร์บอนหนึ่งอะตอมสามารถสร้างพันธะโคเวเลนต์ที่เป็นพันธะเดี่ยวสี่พันธะเช่นในมีเทน พันธะคู่สองพันธะเช่นคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) หรือพันธะสามหนึ่งพันธะเช่นคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) นอกจากนี้คาร์บอนสามารถสร้างโครงสร้างโซ่ยาวจากพันธะคาร์บอน-คาร์บอนเช่นออกเทน หรือโครงสร้างคล้ายวงเช่นกลูโคส

โครงสร้างที่ง่ายที่สุดของสารประกอบอินทรีย์คือไฮโดรคาร์บอน ซึ่งเป็นสารประกอบอินทรีย์ที่ประกอบด้วยอะตอมไฮโดรเจนที่เชื่อมกับโซ่ของอะตอมคาร์บอน โซ่หลักของไฮโดรคาร์บอนสามารถถูกแทนที่ด้วยธาตุอื่นเช่น ออกซิเจน (O) ไฮโดรเจน (H) ฟอสฟอรัส (P) และกำมะถัน (S) ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงสมบัติของสารประกอบนั้น[35] กลุ่มของอะตอมที่ประกอบด้วยธาตุเหล่านี้ (O-, H-, P- และ S-) และเชื่อมพันธะกับอะตอมคาร์บอนกลางหรือโซ่หลักถูกเรียกว่าหมู่ฟังก์ชัน[35] หมู่ฟังก์ชันที่พบมากในสิ่งมีชีวิตมี 6 หมู่ได้แก่ หมู่อะมิโน หมู่คาร์บอกซิล หมู่คาร์บอนิล หมู่ไฮดรอกซิล หมู่ฟอสเฟตและหมู่ซัลฟ์ไฮดริล[35]

ในปี ค.ศ. 1953 การทดลองของมิลเลอร์-อูเรย์แสดงว่าสารประกอบอินทรีย์สามารถสังเคราะห์โดยไม่ต้องเริ่มด้วยสิ่งมีชีวิตภายใต้ระบบปิด โดยเลียนแบบสภาพแวดล้อมของโลกยุคแรกเริ่ม ดังนั้นสารประกอบอินทรีย์ที่ซับซ้อนสามารถเกิดขึ้นได้เองในโลกยุคแรกเริ่ม (ดูเพิ่มที่กำเนิดชีวิตจากสิ่งไร้ชีวิต[36][37]

มาโครโมเลกุล

[แก้]
โปรตีนฮีโมโกลบินโครงสร้าง (a) ปฐมภูมิ (b) ทุติยภูมิ (c) ตติยภูมิและ (d) จตุตถภูมิ

มาโครโมเลกุลคือโมเลกุลขนาดใหญ่ที่สร้างจากหน่วยย่อยหรือมอนอเมอร์[38] มอนอเมอร์ประกอบด้วยน้ำตาล กรดอะมิโนและนิวคลีโอไทด์[39] คาร์โบไฮเดรตสร้างจากมอนอเมอร์และพอลิเมอร์ของน้ำตาล[40] ลิพิดเป็นมาโครโมเลกุลกลุ่มเดียวที่ไม่ได้ประกอบเป็นพอลิเมอร์ ลิพิดประกอบด้วยสเตอรอยด์ฟอสโฟลิพิดและไขมัน[39] ซึ่งเป็นสารไม่มีขั้วและไฮโดรโฟบิก (ไม่ชอบน้ำ)[41] โปรตีนเป็นมาโครโมเลกุลที่หลากหลายที่สุดเช่น เอนไซม์ โปรตีนขนส่ง โมเลกุลส่งสัญญาณขนาดใหญ่ แอนติบอดีและโปรตีนโครงสร้าง หน่วยย่อยของโปรตีนคือกรดอะมิโน[38] กรดอะมิโน 20 ตัวถูกใช้ในการสร้างโปรตีน[38] กรดนิวคลิอิกเป็นพอลิเมอร์ของนิวคลีโอไทด์[42] หน้าที่ของกรดนิวคลิอิกคือใช้เก็บ ส่งและแสดงข้อมูลพันธุกรรม[39]

เซลล์

[แก้]

ทฤษฎีเซลล์กล่าวว่าเซลล์คือหน่วยย่อยที่สุดของสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตทุกชนิดประกอบด้วยเซลล์หนึ่งเซลล์หรือมากกว่าและเซลล์ทุกเซลล์เกิดจากเซลล์ที่มีอยู่ก่อนโดยอาศัยกระบวนการแบ่งเซลล์[43] เซลล์ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กมาก มีความยาวผ่าศูนย์กลางระหว่าง 1 ถึง 100 ไมโครเมตรและสามารถมองเห็นภายใต้กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงหรือกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนเท่านั้น[44] เซลล์โดยทั่วไปมีสองประเภทได้แก่เซลล์ยูแคริโอต ซึ่งหมายถึงเซลล์ที่มีนิวเคลียส และเซลล์โพรแคริโอต ซึ่งไม่มีนิวเคลียส โพรแคริโอตคือสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวเช่นแบคทีเรีย ในขณะที่ยูแคริโอตอาจมีเซลล์เดียวหรือหลายเซลล์ก็ได้ ในสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ เซลล์ทุกเซลล์ในร่างกายของสิ่งมีชีวิตเกิดจากเซลล์เซลล์เดียวที่เกิดจากเซลล์ไข่ที่ปฏิสนธิแล้ว

โครงสร้างของเซลล์

[แก้]

ระบบการศึกษา

[แก้]

การศึกษาสิ่งมีชีวิตในระดับอะตอมและโมเลกุล จัดอยู่ในสาขาวิชาอณูชีววิทยา ชีวเคมี และอณูพันธุศาสตร์ การศึกษาในระดับเซลล์ จัดอยู่ในสาขาวิชาเซลล์วิทยา และในระดับเนื้อเยื่อ จัดอยู่ในสาขาวิชาสรีรวิทยา กายวิภาคศาสตร์ และมิญชวิทยา สาขาวิชาคัพภวิทยาเป็นการศึกษาการเจริญเติบโตและพัฒนาการของตัวอ่อนของสิ่งมีชีวิต

สาขาวิชาพันธุศาสตร์เป็นการศึกษาการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง สาขาวิชาพฤติกรรมวิทยาเป็นการศึกษาพฤติกรรมของกลุ่มสิ่งมีชีวิต สาขาวิชาพันธุศาสตร์ประชากรเป็นการศึกษาพันธุศาสตร์ในระดับประชากรของสิ่งมีชีวิต การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งกับสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง และระหว่างสิ่งมีชีวิตกับถิ่นที่อยู่อาศัย จัดอยู่ในสาขาวิชานิเวศวิทยาและชีววิทยาของวิวัฒนาการปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงจากทางธรรมชาติ เกิดจากการความแตกต่างของสภาพพื้นที่ และการใช้ชีวิตของการดำรงชีวิต เช่น นกนางแอ่น ในทะเล กับ นกนางแอ่น บนภาคพื้นที่อยู่ในวงศ์ตระกูลเดียวกันแต่ แตกต่างในการดำรงชีวิตและลักษณะของสภาพร่างกาย เป็นต้น

การแบ่งกลุ่มนี้เป็นเพียงการจัดหมวดหมู่ให้สาขาต่าง ๆ ในชีววิทยาให้เป็นระเบียบและเข้าใจง่าย แต่ความจริงแล้ว ขอบเขตของสาขาต่าง ๆ นั้นไม่แน่นอน และสาขาวิชาส่วนใหญ่ก็จำเป็นต้องใช้ความรู้จากสาขาอื่นด้วย ตัวอย่างเช่น สาขาชีววิทยาของวิวัฒนาการ ต้องใช้ความรู้จากสาขาอณูวิทยา เพื่อจัดลำดับของดีเอ็นเอ ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจความแปรผันทางพันธุกรรมของประชากร หรือสาขาวิชาสรีรวิทยา ต้องใช้ความรู้จากสาขาชีววิทยาของเซลล์ เพื่ออธิบายการทำงานของระบบอวัยวะ

ปัจจุบันชีววิทยามีแขนงย่อย 3 กลุ่มได้แก่กลุ่มวิชาที่ศึกษาสิ่งมีชีวิตแต่ละกลุ่มสิ่งมีชีวิต กลุ่มวิชาที่ศึกษาโครงสร้าง หน้าที่และการทำงานของสิ่งมีชีวิตและกลุ่มวิชาอื่น ๆ ดังนี้

กลุ่มวิชาที่ศึกษาสิ่งมีชีวิตแต่ละกลุ่มสิ่งมีชีวิต

[แก้]
  • สัตววิทยา (zoology) ศึกษาชีววิทยาของสัตว์ ตั้งแต่สัตว์ชั้นต่ำพวก ฟองน้ำ แมงกะพรุน พยาธิตัวแบน พยาธิตัวกลม กลุ่มหนอนปล้อง สัตว์ที่มีข้อปล้อง กลุ่มสัตว์พวกหอย ปลาดาว จนถึงสัตว์มีกระดูกสันหลังเช่น ปลา สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
  • พฤกษศาสตร์ (Botany) เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับพืช ศึกษาทั้งในด้านโครงสร้าง การเจริญเติบโต การสืบพันธุ์ กระบวนการสร้าง (แอแนบอลิซึม) และสลาย (แคแทบอลิซึม) โรค และคุณสมบัติทางเคมีและความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มต่าง ๆ การกระจายของพืชในส่วนต่าง ๆ ของโลก
  • จุลชีววิทยา (Microbiology) คือการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็ก ส่วนมากมองไม่เห็นด้วยตาเปล่าซึ่งเรียกว่าจุลินทรีย์ ได้แก่ แบคทีเรีย อาร์เคีย ไวรัส เชื้อราและยีสต์
  • กีฏวิทยา (Entomology) เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับสัตว์ในกลุ่มของแมลง การจัดจำแนก สรีรวิทยา สัณฐานวิทยา และนิเวศวิทยาของแมลง
  • ปักษีวิทยา (Ornithology) เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับนก
  • เห็ดวิทยา ราวิทยาหรือ กิณวิทยา (Mycology) เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับเห็ดและรา
  • มีนวิทยา (Ichthyology) ศึกษาปลา ลักษณะรูปร่างภายนอกของปลา ระบบต่าง ๆ ภายในตัวปลา การจัดจำแนกปลาออกเป็นกลุ่มหรือประเภทต่าง ๆ และเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับปลา
  • สังขวิทยา (Malacology) ศึกษาหอย โดยเฉพาะหอยน้ำจืดที่เป็นเจ้าบ้านส่งผ่านของพยาธิ
  • ปรสิตวิทยา (Parasitology) ศึกษาปรสิต ซึ่งดำรงชีพโดยเป็นตัวเบียนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น เช่น พยาธิตัวกลม พยาธิตัวแบน

กลุ่มวิชาที่ศึกษาจากโครงสร้าง หน้าที่และการทำงานของสิ่งมีชีวิต

[แก้]
  • กายวิภาคศาสตร์ (Anatomy) เป็นการศึกษาโครงสร้างและการจัดเรียงตัวของร่างกายมนุษย์ สาขาวิชาหลักของกายวิภาคศาสตร์ได้แก่
  • สัณฐานวิทยา (Morphology) ศึกษาโครงสร้างและรูปร่างของสิ่งมีชีวิต
  • สรีรวิทยา (Physiology) เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของระบบต่าง ๆ ในสิ่งมีชีวิต ทั้งในด้านกลศาสตร์ ด้านกายภาพ และด้านชีวเคมี แบ่งเป็น 2 สาขาย่อย คือ สรีรวิทยาของพืช และสรีรวิทยาของสัตว์
  • อณูชีววิทยา (Molecular biology) หรือ ชีววิทยาโมเลกุล เป็นสาขาย่อย ที่แตกออกมาจากชีวเคมี เน้นศึกษาโครงสร้างและการทำงานของยีน (gene) ซึ่งเป็นรหัสพันธุกรรมบนสายดีเอ็นเอ หรือ อาร์เอ็นเอ ตลอดจนการควบคุมการทำงานของยีน ในระดับต่าง ๆ จนออกมาเป็น สาย อาร์เอ็นเอ และ เป็น โปรตีน
  • พันธุศาสตร์ (Genetics) คือ สาขาแขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ ซึ่งว่าด้วยการศึกษาหน่วยพันธุกรรม หรือ ยีน, กรรมพันธุ์ (heredity) , และวิวัฒนาการในสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ลักษณะทางพันธุกรรม การถ่ายทอดลักษณะพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิต จากชั่วชีวิตหนึ่งไปอีกชั่วชีวิตหนึ่ง
    • เซลล์พันธุศาสตร์ (Cytogenetics) ศึกษาพันธุศาสตร์ในระดับเซลล์ รูปร่าง ลักษณะ และจำนวนของโครโมโซมในสิ่งมีชีวิต ตำแหน่งที่ตั้งของยีนบนโครโมโซม และการแบ่งเซลล์ในสิ่งมีชีวิต
  • นิเวศวิทยา (Ecology) คือ วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับถิ่นที่อยู่และสิ่งแวดล้อม
  • คัพภวิทยา หรือ วิทยาเอ็มบริโอ (Embryology) เป็นการศึกษาการเจริญของเอ็มบริโอ เอ็มบริโอคือขั้นหนึ่งของการเจริญของสิ่งมีชีวิตก่อนคลอดหรือออกจากไข่ หรือในพืชคือในระยะก่อนการงอก (germination)
  • ชีววิทยาของเซลล์ (cell biology) หรือ วิทยาเซลล์ (cytology) เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับเซลล์ ทั้งในด้านคุณสมบัติทางสรีรวิทยา, โครงสร้าง, ออร์แกเนลล์ที่อยู่ภายใน, ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม, วัฎจักรเซลล์, การแบ่งเซลล์, และการตายของเซลล์
  • มหพยาธิวิทยา (Gross pathology) หมายถึงลักษณะแสดงในระดับมหัพภาค (หรือระดับตาเปล่า) ของโรคที่เกิดในอวัยวะ, เนื้อเยื่อ และช่องตัว ศัพท์ดังกล่าวใช้กันทั่วไปในวิชาพยาธิกายวิภาค (anatomical pathology) เพื่อหมายถึงการตรวจเพื่อวินิจฉัยหาข้อมูลในชิ้นเนื้อตัวอย่างหรือการชันสูตรพลิกศพ (autopsy)

กลุ่มวิชาอื่น ๆ

[แก้]
  • ชีวเคมี (Biochemistry) เป็นการศึกษาความเป็นไปในระดับชีวโมเลกุลของสิ่งมีชีวิต ทั้งองค์ประกอบทางชีวเคมีของเซลล์หรืออนุภาค รวมถึงไวรัส โครงสร้างและการเปลี่ยนแปลง การสร้างและทำลายโมเลกุลทั้งสารโมเลกุลเล็กและโมเลกุลใหญ่เช่น โปรตีน ดีเอ็นเอ อาร์เอ็นเอ การควบคุมการเปลี่ยนแปลงของโมเลกุล การควบคุมการทำงานในระดับต่าง ๆ การสร้างพลังงานและการใช้พลังงาน อันเป็นปรากฏการณ์ของชีวิต
  • สัณฐานวิทยา (Morphology) ศึกษารูปพรรณสัณฐานของสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นจุลชีพ สัตว์หรือพืช เพื่อประกอบการระบุชนิด เช่น ลักษณะรูปร่างของดอกไม้หรือการจัดเรียงตัวของใบ
  • อนุกรมวิธาน (Taxonomy) ศึกษาการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิต ออกเป็นหมวดหมู่ ในทางวิวัฒนาการ (evolution) สมัยก่อนเน้นข้อมูลสัณฐานวิทยา ปัจจุบันใช้ข้อมูลระดับโมเลกุลมากขึ้น กลายเป็นวิชา Molecular Systematics
  • บรรพชีวินวิทยา (Paleontology) ศึกษาฟอสซิล (fossils)
  • ชีวสารสนเทศศาสตร์ (Bioinformatics) หรือ ชีววิทยาเชิงคำนวณ (computational biology) เป็นบูรณาการของสหวิชา ศึกษาโดยใช้ความรู้จาก อณูชีววิทยา ชีวเคมี คณิตศาสตร์ประยุกต์, สถิติศาสตร์, สารสนเทศศาสตร์ และวิทยาการคอมพิวเตอร์ เพื่อจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ สืบค้น ประมวลผลข้อมูลทางชีววิทยา เพื่อตอบปัญหาทางชีววิทยา หรือทำแบบจำลองเพื่อทำนายความเป็นไปได้ทางชีววิทยา ทำให้เกิดศาสตร์ใหม่ต่อ ๆ มา เช่น จีโนมิกส์ (Genomics) โปรตีโอมิส์ (Proteomics) เมตะโบโลมิกส์ (Metabolomics) ฯลฯ
  • ชีววิทยาระบบ (Systems biology) เป็นศาสตร์ที่อาศัยความรู้ทางชีวสารสนเทศศาสตร์ คณิตศาสตร์ชั้นสูง วิทยาการคอมพิวเตอร์ และ ชีวเคมี เพื่อทำแบบจำลองของปราฏการณ์ภายในเซลล์ หรือในสิ่งมีชีวิต บนคอมพิวเตอร์ โดยอาศัยการคำนวณ จุดมุ่งหมายก็เพื่อทำนายปรากฏการณ์ของชีวิตในเรื่องต่าง ๆ อาทิ การตอบสนองของเซลล์ต่อยา หรือ ต่อสภาวะต่าง ๆ เป็นต้น ก่อนการทำการทดลองจริงในห้องปฏิบัติการ (wet lab)
  • ประสาทวิทยาศาสตร์ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับ โครงสร้าง หน้าที่ การเจริญเติบโต พันธุกรรมศาสตร์ ชีวเคมี สรีรวิทยา, เภสัชวิทยา และ พยาธิวิทยา ของระบบประสาท นอกจากนี้การศึกษาเกี่ยวกับ พฤติกรรม และ การเรียนรู้ ยังถือว่าเป็นสาขาของประสาทวิทยาอีกด้วย

ขอบเขตของชีววิทยา

[แก้]

ชีววิทยาเป็นสาขาวิชาที่ใหญ่มากจนไม่อาจศึกษาเป็นสาขาเดียวได้ จึงต้องแยกออกเป็นสาขาย่อยต่าง ๆ ในหัวข้อนี้จะแบ่งสาขาย่อยออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มที่หนึ่งเป็นสาขาที่ศึกษาโครงสร้างพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต อย่างเช่นเซลล์ ยีน เป็นต้น กลุ่มที่สองศึกษาการทำงานของโครงสร้างต่าง ๆ ตั้งแต่ระดับเนื้อเยื่อ ระดับอวัยวะ จนถึงระดับร่างกาย กลุ่มที่สามศึกษาประวัติศาสตร์ของสิ่งมีชีวิต กลุ่มที่สี่ศึกษาความสัมพันธ์ในระหว่างสิ่งมีชีวิต อย่างไรก็ตาม การแบ่งกลุ่มนี้เป็นเพียงการจัดหมวดหมู่ให้สาขาต่าง ๆ ในชีววิทยาให้เป็นระเบียบและเข้าใจง่าย แต่ความจริงแล้ว ขอบเขตของสาขาต่าง ๆ นั้นไม่แน่นอน และสาขาวิชาส่วนใหญ่ก็จำเป็นต้องใช้ความรู้จากสาขาอื่นด้วย ตัวอย่างเช่น สาขาชีววิทยาของวิวัฒนาการ ต้องใช้ความรู้จากสาขาอณูวิทยา เพื่อจัดลำดับของดีเอ็นเอ ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจความแปรผันทางพันธุกรรมของประชากร หรือสาขาวิชาสรีรวิทยา ต้องใช้ความรู้จากสาขาชีววิทยาของเซลล์ เพื่ออธิบายการทำงานของระบบอวัยวะ

โครงสร้างของชีวิต

[แก้]
แผนภาพของเซลล์สัตว์ แสดงโครงสร้างและออร์แกเนลล์ต่าง ๆ

อณูชีววิทยาเป็นสาขาหนึ่งในชีววิทยา ซึ่งศึกษาในระดับโมเลกุล สาขานี้มีความสอดคล้องกับสาขาอื่น ๆ ในชีววิทยา โดยเฉพาะสาขาพันธุศาสตร์และชีวเคมี อณูชีววิทยาเป็นการศึกษาปฏิสัมพันธ์ของระบบต่าง ๆ ในเซลล์ ซึ่งได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่าง ดีเอ็นเอ อาร์เอ็นเอ การสังเคราะห์โปรตีน และการควบคุมความสัมพันธ์เหล่านี้

ชีววิทยาของเซลล์เป็นสาขาที่ศึกษาลักษณะทางสรีรวิทยาของเซลล์ รวมไปถึงพฤติกรรม ปฏิสัมพันธ์ และสิ่งแวดล้อมของเซลล์ ทั้งระดับจุลภาคและระดับโมเลกุล สาขาวิชานี้จะศึกษาวิจัยทั้งสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว อย่างเช่นแบคทีเรีย และเซลล์ที่ทำหน้าที่พิเศษในสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ อย่างเช่นมนุษย์

พันธุศาสตร์เป็นสาขาที่ศึกษายีน พันธุกรรม และการผันแปรของสิ่งมีชีวิต ในการศึกษาวิจัยสมัยใหม่ มีเครื่องมือที่สำคัญในการศึกษาหน้าที่ของยีน หรือความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม ในสิ่งมีชีวิต ข้อมูลทางพันธุกรรมจะอยู่ในโครโมโซม ซึ่งข้อมูลจะแทนที่ด้วยโครงสร้างทางเคมีของโมเลกุลของดีเอ็นเอ

สรีรวิทยาของสิ่งมีชีวิต

[แก้]

สรีรวิทยาเป็นสาขาที่ศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการทางกายภาพและทางชีวเคมีในสิ่งมีชีวิต เพื่อให้เข้าใจหน้าที่ของโครงสร้างต่าง ๆ ซึ่งเป็นหลักการสำคัญในการศึกษาทางชีววิทยา การศึกษาทางสรีรวิทยาสามารถแบ่งออกได้เป็นสรีรวิทยาของพืชและสรีรวิทยาของสัตว์ แต่หลักของสรีรวิทยาในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดล้วนแต่เหมือนกัน ตัวอย่างเช่น การศึกษาสรีรวิทยาของเซลล์ยีสต์สามารถประยุกต์ใช้กับการศึกษาในเซลล์มนุษย์ได้ สรีรวิทยาของสัตว์เป็นการศึกษาทั้งในมนุษย์และสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ๆ สรีรวิทยาของพืชก็มีวิธีการศึกษาเช่นเดียวกับในสัตว์

กายวิภาคศาสตร์เป็นสาขาที่สำคัญในสรีรวิทยา ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับหน้าที่และความสัมพันธ์ของระบบอวัยวะในสิ่งมีชีวิต เช่น ระบบประสาท ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบต่อมไร้ท่อ ระบบหายใจ ระบบไหลเวียนโลหิต การศึกษาเกี่ยวกับระบบเหล่านี้สามารถแบ่งออกเป็นสาขาวิชาต่าง ๆ ได้อีก เช่น ประสาทวิทยา วิทยาภูมิคุ้มกัน

ความหลากหลายและวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต

[แก้]

การศึกษาวิวัฒนาการมีความเกี่ยวข้องกับต้นกำเนิดและการสืบทอดลักษณะของสปีชี่ส์ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงลักษณะที่ผ่านมา และต้องอาศัยนักวิทยาศาสตร์จากหลายสาขาที่เกี่ยวข้องกับอนุกรมวิธานของสิ่งมีชีวิต สาขาวิวิฒนาการมีรากฐานจากสาขาบรรพชีวินวิทยา ซึ่งอาศัยซากดึกดำบรรพ์ในการตอบคำถามเกี่ยวกับรูปแบบและจังหวะของวิวิฒนาการ

สาขาวิชาหลักใหญ่ที่เกี่ยวกับอนุกรมวิธานมี 2 สาขา คือ พฤกษศาสตร์ และสัตววิทยา พฤกษศาสตร์เป็นสาขาที่ศึกษาเกี่ยวพืช มีเนื้อหาครอบคลุมกว้างขวางตั้งแต่การเจริญเติบโต การสืบพันธุ์ เมแทบอลิซึม โรค และวิวัฒนาการของพืช ส่วนสัตววิทยาจะศึกษาเกี่ยวกับสัตว์ รวมทั้งลักษณะทางสรีรวิทยาของสัตว์ซึ่งอยู่ในสาขากายวิภาคศาสตร์และคัพภวิทยา กลไกทางพันธุศาสตร์และการเจริญของพืชและสัตว์จะศึกษาในสาขาอณูชีววิทยา อณูพันธุศาสตร์ และชีววิทยาของการเจริญ

ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิต

[แก้]
สายใยอาหาร ประกอบขึ้นจากห่วงโซ่อาหารหลายห่วงโซ่ แสดงถึงความสัมพันธ์ที่สลับซับซ้อนของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ

สาขานิเวศวิทยาจะศึกษาการกระจายและความหนาแน่นของสิ่งมีชีวิต รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมของสิ่งมีชีวิตจะหมายถึงถิ่นที่อยู่อาศัย ซึ่งจะรวมไปถึงปัจจัยทางกายภาพอย่างสภาพภูมิอากาศและลักษณะทางภูมิศาสตร์ รวมทั้งสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่อาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกัน การศึกษาระบบทางนิเวศวิทยามีหลายระดับ ตั้งแต่ระดับสิ่งมีชีวิต ระดับประชากร ระดับระบบนิเวศ ไปจนถึงระดับโลกของสิ่งมีชีวิต จึงจะเห็นได้ว่า นิเวศวิทยาเป็นสาขาที่ครอบคลุมถึงสาขาอื่น ๆ อีกมากมาย

สาขาพฤติกรรมวิทยาจะศึกษาพฤติกรรมของสัตว์ (โดยเฉพาะสัตว์สังคมอย่างสัตว์จำพวกลิงและสัตว์กินเนื้อ) บางครั้งอาจจัดเป็นสาขาหนึ่งในสัตววิทยา นักพฤติกรรมวิทยาจะเน้นศึกษาที่วิวัฒนาการของพฤติกรรม และความเข้าใจในพฤติกรรม โดยตั้งอยู่บนทฤษฎีการคัดเลือกโดยธรรมชาติ

รายการอ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 Urry, Lisa; Cain, Michael; Wasserman, Steven; Minorsky, Peter; Reece, Jane (2017). "Evolution, the themes of biology, and scientific inquiry". Campbell Biology (11th ed.). New York: Pearson. pp. 2–26. ISBN 978-0134093413.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Hillis, David M.; Heller, H. Craig; Hacker, Sally D.; Laskowski, Marta J.; Sadava, David E. (2020). "Studying life". Life: The Science of Biology (12th ed.). W. H. Freeman. ISBN 978-1319017644.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 Freeman, Scott; Quillin, Kim; Allison, Lizabeth; Black, Michael; Podgorski, Greg; Taylor, Emily; Carmichael, Jeff (2017). "Biology and the three of life". Biological Science (6th ed.). Hoboken, N.J.: Pearson. pp. 1–18. ISBN 978-0321976499.
  4. Modell, Harold; Cliff, William; Michael, Joel; McFarland, Jenny; Wenderoth, Mary Pat; Wright, Ann (December 2015). "A physiologist's view of homeostasis". Advances in Physiology Education. 39 (4): 259–266. doi:10.1152/advan.00107.2015. ISSN 1043-4046. PMC 4669363. PMID 26628646.
  5. Davies, PC; Rieper, E; Tuszynski, JA (January 2013). "Self-organization and entropy reduction in a living cell". Bio Systems. 111 (1): 1–10. doi:10.1016/j.biosystems.2012.10.005. PMC 3712629. PMID 23159919.
  6. Based on definition from: "Aquarena Wetlands Project glossary of terms". Texas State University at San Marcos. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-06-08.
  7. Craig, Nancy (2014). Molecular Biology, Principles of Genome Function. OUP Oxford. ISBN 978-0-19-965857-2.
  8. Mosconi, Francesco; Julou, Thomas; Desprat, Nicolas; Sinha, Deepak Kumar; Allemand, Jean-François; Vincent Croquette; Bensimon, David (2008). "Some nonlinear challenges in biology". Nonlinearity. 21 (8): T131. Bibcode:2008Nonli..21..131M. doi:10.1088/0951-7715/21/8/T03. S2CID 119808230.
  9. Howell, Elizabeth (8 December 2014). "How Did Life Become Complex, And Could It Happen Beyond Earth?". Astrobiology Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 August 2018. สืบค้นเมื่อ 14 February 2018.{{cite web}}: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์)
  10. Pearce, Ben K.D.; Tupper, Andrew S.; Pudritz, Ralph E.; และคณะ (March 1, 2018). "Constraining the Time Interval for the Origin of Life on Earth". Astrobiology. 18 (3): 343–364. arXiv:1808.09460. Bibcode:2018AsBio..18..343P. doi:10.1089/ast.2017.1674. PMID 29570409. S2CID 4419671.
  11. 11.0 11.1 Lindberg, David C. (2007). "Science before the Greeks". The beginnings of Western science: the European Scientific tradition in philosophical, religious, and institutional context (2nd ed.). Chicago, Illinois: University of Chicago Press. pp. 1–20. ISBN 978-0-226-48205-7.
  12. 12.0 12.1 Grant, Edward (2007). "Ancient Egypt to Plato". A History of Natural Philosophy: From the Ancient World to the Nineteenth Century. New York: Cambridge University Press. pp. 1–26. ISBN 978-052-1-68957-1.
  13. Magner, Lois N. (2002). A History of the Life Sciences, Revised and Expanded. CRC Press. ISBN 978-0-203-91100-6. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-24.
  14. Serafini, Anthony (2013). The Epic History of Biology. Springer. ISBN 978-1-4899-6327-7. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 April 2021. สืบค้นเมื่อ 14 July 2015.
  15.  ประโยคหรือส่วนของบทความก่อนหน้านี้ ประกอบด้วยข้อความจากสิ่งพิมพ์ซึ่งปัจจุบันเป็นสาธารณสมบัติChisholm, Hugh, บ.ก. (1911). "Theophrastus" . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์.
  16. Fahd, Toufic (1996). "Botany and agriculture". ใน Morelon, Régis; Rashed, Roshdi (บ.ก.). Encyclopedia of the History of Arabic Science. Vol. 3. Routledge. p. 815. ISBN 978-0-415-12410-2.
  17. Magner, Lois N. (2002). A History of the Life Sciences, Revised and Expanded. CRC Press. pp. 133–44. ISBN 978-0-203-91100-6. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-24.
  18. Sapp, Jan (2003). "7". Genesis: The Evolution of Biology. New York: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-515618-8.
  19. Coleman, William (1977). Biology in the Nineteenth Century: Problems of Form, Function, and Transformation. New York: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-29293-1.
  20. Mayr, Ernst. The Growth of Biological Thought, chapter 4
  21. Mayr, Ernst. The Growth of Biological Thought, chapter 7
  22. * Darwin, Francis, บ.ก. (1909). The foundations of The origin of species, a sketch written in 1842 (PDF). Cambridge: Printed at the University Press. p. 53. LCCN 61057537. OCLC 1184581. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 27 November 2014.
  23. Gould, Stephen Jay. The Structure of Evolutionary Theory. The Belknap Press of Harvard University Press: Cambridge, 2002. ISBN 0-674-00613-5. p. 187.
  24. Mayr, Ernst. The Growth of Biological Thought, chapter 10: "Darwin's evidence for evolution and common descent"; and chapter 11: "The causation of evolution: natural selection"
  25. Larson, Edward J. (2006). "Ch. 3". Evolution: The Remarkable History of a Scientific Theory. Random House Publishing Group. ISBN 978-1-58836-538-5. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-24.
  26. Henig (2000). Op. cit. pp. 134–138.
  27. Miko, Ilona (2008). "Gregor Mendel's principles of inheritance form the cornerstone of modern genetics. So just what are they?". Nature Education. 1 (1): 134. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-19. สืบค้นเมื่อ 2021-05-13.
  28. Futuyma, Douglas J.; Kirkpatrick, Mark (2017). "Evolutionary Biology". Evolution (4th ed.). Sunderland, Mass.: Sinauer Associates. pp. 3–26.
  29. Noble, Ivan (2003-04-14). "Human genome finally complete". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-06-14. สืบค้นเมื่อ 2006-07-22.
  30. 30.0 30.1 Urry, Lisa; Cain, Michael; Wasserman, Steven; Minorsky, Peter; Reece, Jane (2017). "The chemical context of life". Campbell Biology (11th ed.). New York: Pearson. pp. 28–43. ISBN 978-0134093413.
  31. 31.0 31.1 Freeman, Scott; Quillin, Kim; Allison, Lizabeth; Black, Michael; Podgorski, Greg; Taylor, Emily; Carmichael, Jeff (2017). "Water and carbon: The chemical basis of life". Biological Science (6th ed.). Hoboken, N.J.: Pearson. pp. 55–77. ISBN 978-0321976499.
  32. 32.00 32.01 32.02 32.03 32.04 32.05 32.06 32.07 32.08 32.09 Freeman, Scott; Quillin, Kim; Allison, Lizabeth; Black, Michael; Podgorski, Greg; Taylor, Emily; Carmichael, Jeff (2017). "Water and carbon: The chemical basis of life". Biological Science (6th ed.). Hoboken, N.J.: Pearson. pp. 55–77. ISBN 978-0321976499.
  33. 33.0 33.1 33.2 Freeman, Scott; Quillin, Kim; Allison, Lizabeth; Black, Michael; Podgorski, Greg; Taylor, Emily; Carmichael, Jeff (2017). "Water and carbon: The chemical basis of life". Biological Science (6th ed.). Hoboken, N.J.: Pearson. pp. 55–77. ISBN 978-0321976499.
  34. 34.0 34.1 Urry, Lisa; Cain, Michael; Wasserman, Steven; Minorsky, Peter; Reece, Jane (2017). "Carbon and the molecular diversity of life". Campbell Biology (11th ed.). New York: Pearson. pp. 56–65. ISBN 978-0134093413.
  35. 35.0 35.1 35.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ freeman2017b4
  36. Hillis, David M.; Sadava, David; Hill, Richard W.; Price, Mary V. (2014). "Carbon and molecular diversity of life". Principles of Life (2nd ed.). Sunderland, Mass.: Sinauer Associates. pp. 56–65. ISBN 978-1464175121.
  37. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ freeman2017b5
  38. 38.0 38.1 38.2 Freeman, Scott; Quillin, Kim; Allison, Lizabeth; Black, Michael; Podgorski, Greg; Taylor, Emily; Carmichael, Jeff (2017). "Protein structure and function". Biological Science (6th ed.). Hoboken, N.J.: Pearson. pp. 78–92. ISBN 978-0321976499.
  39. 39.0 39.1 39.2 Urry, Lisa; Cain, Michael; Wasserman, Steven; Minorsky, Peter; Reece, Jane (2017). "The structure and function of large biological molecules". Campbell Biology (11th ed.). New York: Pearson. pp. 66–92. ISBN 978-0134093413.
  40. Freeman, Scott; Quillin, Kim; Allison, Lizabeth; Black, Michael; Podgorski, Greg; Taylor, Emily; Carmichael, Jeff (2017). "An introduction to carbohydrate". Biological Science (6th ed.). Hoboken, N.J.: Pearson. pp. 107–118. ISBN 978-0321976499.
  41. Freeman, Scott; Quillin, Kim; Allison, Lizabeth; Black, Michael; Podgorski, Greg; Taylor, Emily; Carmichael, Jeff (2017). "Lipids, membranes, and the first cells". Biological Science (6th ed.). Hoboken, N.J.: Pearson. pp. 119–141. ISBN 978-0321976499.
  42. Freeman, Scott; Quillin, Kim; Allison, Lizabeth; Black, Michael; Podgorski, Greg; Taylor, Emily; Carmichael, Jeff (2017). "Nucleic acids and the RNA world". Biological Science (6th ed.). Hoboken, N.J.: Pearson. pp. 93–106. ISBN 978-0321976499.
  43. Mazzarello, P. (May 1999). "A unifying concept: the history of cell theory". Nature Cell Biology. 1 (1): E13–15. doi:10.1038/8964. PMID 10559875. S2CID 7338204.
  44. Campbell, Neil A.; Williamson, Brad; Heyden, Robin J. (2006). Biology: Exploring Life. Boston: Pearson Prentice Hall. ISBN 978-0132508827. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-02. สืบค้นเมื่อ 2021-05-13.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ลิงก์วารสาร

แกลเลอรี

[แก้]