ข้ามไปเนื้อหา

ฟองน้ำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ฟองน้ำ
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: Ediacaran–recent
ฟองน้ำชนิด Aplysina archeri
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: ฟองน้ำ
Porifera
Grant, 1836
ชนิดต้นแบบ
Amphimedon queenslandica[1]
ชั้น
ชื่อพ้อง

Parazoa/Ahistozoa (sans Placozoa)[2]

ฟองน้ำเป็นสัตว์ในไฟลัมพอริเฟอรา[a] (อังกฤษ: Porifera; มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน - porus หมายถึง รู และ ferre หมายถึง พยุงหรือค้ำเอาไว้) เป็นเคลดฐานของสัตว์ ในฐานะเป็นเคลดพี่น้องกับยูเมทาซัว[3][4][5][6][7] ฟองน้ำเป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ที่ร่างกายเต็มไปด้วยรูและช่องทางสำหรับให้น้ำไหลเวียนเข้าไป โดยประกอบด้วยเมโซฮิลที่คล้ายวุ้นขนาบด้วยชั้นเซลล์บาง ๆ สองชั้น สาขาของสัตววิทยาที่ศึกษาฟองน้ำเรียกว่า spongiology[8]

ฟองน้ำมีเซลล์ต้นกำเนิดที่สามารถแปลงไปเป็นเซลล์ประเภทอื่นได้ และมักจะย้ายที่ไปมาระหว่างชั้นเซลล์หลักและเมโซฮิลในกระบวนการการแปลง ฟองน้ำไม่มีระบบประสาท ระบบย่อยอาหาร หรือระบบไหลเวียน แต่ฟองน้ำเหล่านี้ใช้น้ำที่ไหลเวียนเข้าออกนั้นเป็นแหล่งอาหารและออกซิเจน และใช้ขับถ่ายของเสีย ฟองน้ำเป็นสัตว์กลุ่มแรกที่แยกสายวิวัฒนาการออกจากบรรพบุรุษร่วมของสัตว์ทุกชนิด จึงทำให้ฟองน้ำเป็นกลุ่มพี่น้องกับสัตว์อื่น ๆ ทุกชนิด[3]

โครงสร้าง

[แก้]

โครงสร้างภายใน

[แก้]
  • เป็นสัตว์ที่มีรูเล็ก ๆ ทั่วตัว มีช่องทางให้น้ำผ่านเข้าเรียกว่าออสเทีย (Ostium) ส่วนรูใหญ่ที่อยู่ด้านบนเป็นทางให้น้ำออกเรียกว่าออสคูลัม (Osculum)
  • ผนังลำตัวประกอบด้วยเนื้อยื่อสองชั้นคือเนื้อเยื่อชั้นนอกเป็นเซลล์รูปร่างแบนเรียงกันคล้ายแผ่นกระเบื้อง ประกอบด้วยเซลล์เป็นปลอก มีแส้เซลล์ช่วยโบกพัดให้น้ำเคลื่อนผ่านลำตัว และทำหน้าที่กินสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ที่ปนมากับน้ำ เรียกเซลล์เหล่านี้ว่าเซลล์ปลอกคอ (Choanocyte)หรือ(Collar cell)
  • ระหว่างเนื้อเยื่อสองชั้น จะมีชั้นกลางที่มีลักษณะคล้ายวุ้นเรียกว่าชั้นมีโซฮิล (Mesohyl) ในชั้นนี้จะเซลล์ที่สามารถเคลื่อนที่และเปลี่ยนแปลงตัวเองให้เป็นเซลล์อื่นได้ เรียกว่าอะมีโบไซต์ (Amoebocyte) เช่นเปลี่ยนไปเป็นสเกลอโรบลาสต์ (Scleroblast) เพื่อทำหน้าที่ขนส่งอาหารและลำเลียงของเสียออกจากตัวมัน

โครงสร้างภายนอก

[แก้]

โครงสร้างที่อยู่ในชั้น Mesohyl เรียกว่า "ขวาก" (spicule) เป็นตัวคงรูปร่างของฟองน้ำ สามารถแบ่งสารประกอบที่ใช้ในการคงรูปร่างได้เป็น 3 ชนิดคือ

  • ขวากหินปูน (Calacreous spicule) มีหินปูนเป็นองค์ประกอบ พบในฟองน้ำหินปูน
  • ขวากแก้ว (Siliceous spicule) มีซิลิกา (silica) เป็นองค์ประกอบ
  • สปอนจิน (Spongin) ไม่อยู่ในจำพวกของ "ขวาก" แต่เป็นเส้นใยที่มีองค์ประกอบเป็นสารสเกลอโรโปรตีน (Scleroprotein)
  ชนิดของเซลล์[9] สปิคุล[10] เส้นใยสปองจิน [11] โครงสร้างภายนอก[12] ระบบไหลเวียนน้ำ[13]
แคลคาเรีย นิวเคลียสอันเดียว, เยื่อหุ้มภายนอกชั้นเดียว แคลไซต์
อาจเป็นแบบเดี่ยวหรือ large masses
ไม่มี ปกติ
สร้างจากแคลไซต์ถ้ามี
แบบ แอสโคนอยด์ ไซโคนอยด์ หรือลิวโคนอยด์
ฟองน้ำแก้ว ส่วนใหญ่เป็น syncytia ในทุกสปีชีส์ ซิลิกา
อาจเป็นแบบเดี่ยวหรือ fused
ไม่มี ไม่มี ลิวโคนอยด์
เดโมสปองเจีย นิวเคลียสอันเดียว, เยื่อหุ้มภายนอกชั้นเดียว ซิลิกา ในหลายสปีชีส์ ในบางสปีชีส์
สร้างจาก อะราโกไนต์ ถ้ามี[14] [15]
ลิวโคนอยด์

การสืบพันธุ์

[แก้]

แบบไม่อาศัยเพศ

[แก้]

สืบพันธุ์โดยการแตกหน่อด้วยการสร้างเจมมูล (gemmule) การสร้างเจมมูลจะเกิดในฟองน้ำที่อาศัยอยู่ในน้ำจืด เมื่อพบสภาวะแวดล้อมไม่เหมาะสมเช่นอุณหภูมิสูงหรือต่ำเกินไป หรือแห้งแล้งเกินไป กลุ่มเซลล์อาร์คีโอไซต์ ซึ่งเปลี่ยนแปลงมาจากเซลล์อะมีโบไซต์ ซึ่งหลังจากนั้นจะรวมตัวกันเป็นกลุ่มแล้วจึงสร้างหรือขวากมาห่อหุ้มไว้จนกลายเป็นเจมมูล ซึ่งทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ดี ถึงแม้ฟองน้ำตัวแม่จะตายไป เจมมูลจะยังคงดำรงชีวิตอยู่ได้ เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมแล้ว เจมมูลจะรวมกลุ่มกันจนกลายเป็นฟองน้ำตัวใหม่ต่อไป

แบบอาศัยเพศ

[แก้]

ฟองน้ำจะสร้างอสุจิและไข่จากเซลล์อาร์คีโอไซต์ ซึ่งอยู่ในชั้น Mesohyl กระบวนการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศนั้นจะเกิดขึ้นในตัวของฟองน้ำ เมื่ออสุจิเพศผู้ผสมกับไข่เพศเมียได้จากไซโกต เจริญเติบโตจนเป็นตัวอ่อนที่ขนเซลล์รอบตัวแล้ว ตัวอ่อนจะเคลื่อนตัวออกจากตัวแม่ผ่านทางออสคูลัม เพื่อว่ายน้ำไปเกาะตามหินและสืบพันธุ์ฟองน้ำตัวใหม่ต่อ ๆ ไป

การจำแนกหมวดหมู่

[แก้]

ฟองน้ำนั้นสามารถจำแนกให้เป็นหมวดหมู่ได้โดยการสังเกตลักษณะของขวากที่แตกต่างกัน ได้เป็น 3 ชั้น (class) ดังนี้

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. เป็นชื่อที่มักพบในหนังสือเรียนและอินเทอร์เน็ต แต่ Porifera ออกเสียงตามสัทอักษรสากลว่า /pəˈrɪfərə/ เพอ-ริ-เฟอ-เรอ

อ้างอิง

[แก้]
  1. Srivastava M, Simakov O, Chapman J, Fahey B, Gauthier ME, Mitros T, และคณะ (August 2010). "The Amphimedon queenslandica genome and the evolution of animal complexity". Nature. 466 (7307): 720–6. Bibcode:2010Natur.466..720S. doi:10.1038/nature09201. PMC 3130542. PMID 20686567.
  2. Pajdzińska A (2018). "Animals die more shallowly: they aren't deceased, they're dead. Animals in the polish linguistic worldview and in contemporary life sciences" (PDF). Ethnolinguistic. 29: 147–161. doi:10.17951/et.2017.29.135.
  3. 3.0 3.1 Feuda R, Dohrmann M, Pett W, Philippe H, Rota-Stabelli O, Lartillot N, และคณะ (December 2017). "Improved Modeling of Compositional Heterogeneity Supports Sponges as Sister to All Other Animals". Current Biology. 27 (24): 3864–3870.e4. doi:10.1016/j.cub.2017.11.008. PMID 29199080.
  4. Pisani D, Pett W, Dohrmann M, Feuda R, Rota-Stabelli O, Philippe H, และคณะ (December 2015). "Genomic data do not support comb jellies as the sister group to all other animals". Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America. 112 (50): 15402–7. Bibcode:2015PNAS..11215402P. doi:10.1073/pnas.1518127112. PMC 4687580. PMID 26621703.
  5. Simion P, Philippe H, Baurain D, Jager M, Richter DJ, Di Franco A, และคณะ (April 2017). "A Large and Consistent Phylogenomic Dataset Supports Sponges as the Sister Group to All Other Animals" (PDF). Current Biology (ภาษาอังกฤษ). 27 (7): 958–967. Bibcode:1996CBio....6.1213A. doi:10.1016/j.cub.2017.02.031. PMID 28318975.
  6. Giribet G (1 October 2016). "Genomics and the animal tree of life: conflicts and future prospects". Zoologica Scripta. 45: 14–21. doi:10.1111/zsc.12215. ISSN 1463-6409.
  7. Laumer CE, Gruber-Vodicka H, Hadfield MG, Pearse VB, Riesgo A, Marioni JC, Giribet G (2017-10-11). "Placozoans are eumetazoans related to Cnidaria". bioRxiv 200972. {{cite biorxiv}}: ตรวจสอบค่า |biorxiv= (help); ต้องการ |biorxiv= (help)
  8. "Spongiology". Merriam-Webster Dictionary.
  9. Bergquist, P.R., (1998). "Porifera". ใน Anderson, D.T., (บ.ก.). Invertebrate Zoology. Oxford University Press. pp. 10–27. ISBN 0195513681.{{cite book}}: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์) CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  10. Bergquist, 2001
  11. Bergquist, 2001
  12. Bergquist, 2001
  13. Bergquist, 2001
  14. Bergquist, 2001
  15. Hooper, Van Soest, Debrenne, 2002