ซีเอเอซีแอร์ไลน์
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
| |||||||
ก่อตั้ง | 1952 (ในฐานะ "บริษัทการบินประชาชนจีน") 1953 (ในฐานะ "ซีเอเอซีแอร์ไลน์") | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
เลิกดำเนินงาน | 1988 (แยกออกเป็นหกสายการบิน) | ||||||
ท่าหลัก | |||||||
จุดหมาย | 85 เมืองใน 25 ประเทศ (1987) | ||||||
บริษัทแม่ | สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศจีน | ||||||
สำนักงานใหญ่ | ปักกิ่ง ประเทศจีน | ||||||
บุคลากรหลัก | Director of the General Office |
ซีเอเอซีแอร์ไลน์ (จีน: 中国民航; พินอิน: Zhōngguó mínháng; อังกฤษ: CAAC Airlines) เป็นสายการบินสัญชาติจีนในอดีต มีฐานะเป็นสายการบินในสังกัดของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศจีน (ซีเอเอซี) และสายการบินพาณิชย์เพียงสายการบินเดียวในประเทศจีนในขณะนั้น ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1952 โดยใช้ชื่อ "บริษัทการบินประชาชนจีน" (จีน: 中國人民航空公司; พินอิน: Zhōngguó rénmín hángkōnggōngsī; อังกฤษ: People's Aviation Company of China) และถูกผนวกรวมกับซีเอเอซีเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน ค.ศ. 1953 ซีเอเอซีแอร์ไลน์ปิดตัวและแยกออกเป็นหกสายการบินใน ค.ศ. 1988 แยกตามภูมิภาคที่ตั้ง ซึ่งต่อมาสายการบินดังกล่าวได้ควบรวมกิจการจนเหลือเพียงสามสายการบินหลักได้แก่แอร์ไชนา (ปักกิ่ง) ไชนาเซาเทิร์นแอร์ไลน์ (กว่างโจว) และไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์ (เซี่ยงไฮ้)
ซีเอเอซีเริ่มดำเนินเส้นทางบินระหว่างประเทศเป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 1962 โดยเริ่มจากกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ได้แก่สหภาพโซเวียต มองโกเลีย เกาหลีเหนือ ลาว พม่า บังกลาเทศ เวียดนามเหนือ และกัมพูชา[1] และขยายไปยังสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และประเทศอื่น ๆ ในทวีปยุโรปและภูมิภาคตะวันออกกลาง ในช่วงกลางทศวรรษ 1980 โดยใช้เครื่องบินโบอิงเป็นหลัก ในขณะที่เส้นทางบินไปยังยุโรปตะวันออกจะใช้เครื่องบินที่ผลิตในสหภาพโซเวียต[2]
เครื่องบินของซีเอเอซีจะมีลำตัวสีขาว มีธงชาติจีนประดับส่วนหาง มีแถบสีน้ำเงินสองแถบขนาบแต่ละข้าง และประดับด้วยตราสัญลักษณ์ของซีเอเอซีและลายมือพู่กันจีนของอดีตประธานคณะมนตรีรัฐกิจโจว เอินไหล[3]
หลังปิดกิจการ
[แก้]ซีเอเอซีแอร์ไลน์ยุติการดำเนินงานใน ค.ศ. 1988 และแยกออกเป็นหกสายการบินตามที่ตั้งทางภูมิศาสตร์[4] ได้แก่
- แอร์ไชนา (สายการบินประจำชาติในปัจจุบัน) มีฐานที่กรุงปักกิ่งและใช้รหัสสายการบินต่อจากซีเอเอซีแอร์ไลน์
- ไชนาเซาท์เวสต์แอร์ไลน์ มีฐานที่นครเฉิงตู ควบรวมกับแอร์ไชนาใน ค.ศ. 2002[5]
- ไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์ มีฐานที่นครเซี่ยงไฮ้
- ไชนานอร์ทเวสต์แอร์ไลน์ มีฐานที่นครซีอาน ควบรวมกับไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์ใน ค.ศ. 2002[6]
- ไชนาเซาเทิร์นแอร์ไลน์ มีฐานที่นครกว่างโจว
- ไชนานอร์ทเทิร์นแอร์ไลน์ มีฐานที่นครเฉิ่นหยาง ควบรวมกับไชนาเซาเทิร์นแอร์ไลน์ใน ค.ศ. 2003[7]
คลังภาพ
[แก้]-
เครื่องบินโบอิง 707 ของซีเอเอซีแอร์ไลน์เหนือเมืองแอนาคอร์เทส รัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา ประมาณ ค.ศ. 1980
-
เครื่องบินโบอิง 747 เอสพีของซีเอเอซีแอร์ไลน์ที่ท่าอากาศยานนานาชาติปารีส-ชาร์ล เดอ โกล ประเทศฝรั่งเศส ค.ศ. 1981
-
เครื่องบินโบอิง 747-200บีของแอร์ไชนา[8]ซึ่งยังคงใช้ลายเดิมของซีเอเอซีแอร์ไลน์ ที่ท่าอากาศยานนานาชาติโอซากะ ประเทศญี่ปุ่น ประมาณ ค.ศ. 1990
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1964 timetable scans เก็บถาวร มิถุนายน 3, 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ 1985 route map เก็บถาวร มีนาคม 4, 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "成立军委民航局 - 中国民航局60周年档案展". CAAC. สืบค้นเมื่อ 20 February 2021.
- ↑ "Directory: World Airlines". Flight International. 2007-03-27. p. 55.
- ↑ "Air China plans to buy 15 new planes". Seattle Post-Intelligencer. Associated Press. October 30, 2002. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 February 2011. สืบค้นเมื่อ 6 February 2011.
- ↑ "中国西北航空公司更名改换航班代码_民航新闻_民航资源网". news.carnoc.com. สืบค้นเมื่อ 2019-04-05.
- ↑ Dennis, William (16 November 2004). "China Southern Acquires China Northern, Xinjiang". Aviation Daily. 358 (33): 5.
- ↑ B-2448 was handed over to Air China in 1987.