15 ค่ำ เดือน 11
15 ค่ำ เดือน 11 | |
---|---|
กำกับ | จิระ มะลิกุล |
บทภาพยนตร์ | จิระ มะลิกุล |
อำนวยการสร้าง | ยงยุทธ ทองกองทุน ประเสริฐ วิวัฒนานนท์พงษ์ |
นักแสดงนำ | อนุชิต สพันธุ์พงษ์ ธิดารัตน์ เจริญชัยชนะ บุญชัย ลิ่มอติบูลย์ นพดล ดวงพร สุรสีห์ ผาธรรม สิงห์คาน นันกวน ชนินทร์ โปสาภิวัฒน์ สมชาย ศักดิกุล |
กำกับภาพ | สมบูรณ์ พิริยะภักดีกุล |
ตัดต่อ | ปาน บุษบรรณ |
ดนตรีประกอบ | อมรพงศ์ เมธาคุณวุฒิ |
ผู้จัดจำหน่าย | จีเอ็มเอ็ม พิคเจอร์ หับ โห้ หิ้น ฟิล์ม |
วันฉาย | 11 ตุลาคม พ.ศ. 2545 |
ความยาว | 119 นาที |
ประเทศ | ไทย |
ภาษา | ไทย |
ข้อมูลจาก IMDb | |
ข้อมูลจากสยามโซน |
15 ค่ำ เดือน 11 เป็นภาพยนตร์ไทย ที่ออกฉายเมื่อ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2545 เป็นผลงานกำกับเรื่องแรกของ จิระ มะลิกุล เป็นภาพยนตร์ที่สร้างมาจากความเชื่อ ของชาวท้องถิ่นในแถบอีสาน เกี่ยวกับปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาค ซึ่งเป็นการเรียกขานลูกไฟประหลาดสีชมพูจำนวนมาก ที่พวยพุ่งขึ้นจากลำน้ำโขง ในคืนวันออกพรรษา ซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี โดยลูกไฟนั้นไม่มีกลิ่น ไม่มีเสียง พุ่งขึ้นสูงประมาณ 20-30 เมตร แล้วก็หายไป โดยไม่มีการโค้งลงมา เช่นเดียวกับไฟที่เกิดจากพลุทั่วไป และเกิดขึ้นเป็นจำนวนไม่แน่นอน ในท้องที่อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย
15 ค่ำ เดือน 11 เป็นภาพยนตร์อื้อฉาวแห่งปี พ.ศ. 2545 [1] เพราะถูกชาวหนองคายบางส่วนประท้วงเรียกร้องไม่ให้ฉาย หาว่ามีการบิดเบือนเนื้อเรื่องเกี่ยวกับบั้งไฟพญานาค ปรากฏการณ์ประหลาดที่มีลูกไฟผุดขึ้นจากลำน้ำโขงที่จังหวัดหนองคายในช่วงเทศกาลวันออกพรรษา มีความเชื่อแต่โบราณว่าพญานาค ซึ่งเป็นสัตว์ในนิยายปรัมปรา เป็นผู้จุดบั้งไฟเพื่อบูชาพระพุทธเจ้า ภาพยนตร์แสดงให้เห็นนักวิจัยที่ออกค้นหาสาเหตุ พบเงื่อนงำมากมาย อาทิ พยานที่เคยพบหรือร่องรอยการเลื้อย แต่ที่สุดก็ว่าระบุว่าเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ภาพยนตร์สื่อให้เห็นว่าบั้งไฟพญานาคเกิดจากฝีมือพระภิกษุ ซึ่งจำวัดอยู่ในวัดในฝั่งประเทศลาว โดยมอบหมายให้เด็กที่อาศัยอยู่ในวัดตั้งแต่เล็ก เป็นคนดำน้ำลงไปจุดพลุ โดยทำสืบทอดมาแต่โบราณเพื่อให้คนหันมาศรัทธาในพระพุทธศาสนา หลังจากมีโอกาสไปร่ำเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ทางการกีฬาในกรุงเทพฯ ทำให้เด็กวัดไม่อยากกิจกรรมซึ่งตนเองคิดว่าหลอกลวงประชาชนอีกต่อไป ในปีสุดท้ายจึงปฏิเสธที่จะทำอีก สุดท้ายหลวงพ่อตัดสินใจทำด้วยตนเอง และถึงแก่มรณภาพในเวลาต่อมา และตอนจบของภาพยนตร์ซึ้งกินใจจนคนดูอาจคาดไม่ถึง และข้ออ้างของผู้กำกับ จิระ มะลิกุล ที่เรียกร้องให้ชาวหนองคายที่ประท้วงภาพยนตร์เรื่องนี้ ดูให้จบเรื่องก่อน
ภาพยนตร์ทำรายได้ 55 ล้านบาท[2]
เรื่องย่อ
[แก้]เรื่องราวของบั้งไฟพญานาค มหัศจรรย์แห่งลุ่มแม่น้ำโขง ที่เกิดขึ้นกับชีวิตคนไทยในอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ที่อยู่ห่างไกลจากกรุงเทพไปกว่าแปดชั่วโมง แต่ที่แห่งนี้ กลับมีสิ่งเร้นลับมหัศจรรย์ ที่เกิดขึ้นตรงกันทุกปี ในคืนวันออกพรรษา บั้งไฟพญานาค ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ กลายเป็นเรื่องที่โด่งดังไปทั่วโลก และยังไม่สามารถที่จะพิสูจน์ได้ว่า บั้งไฟพญานาค เกิดขึ้นจากน้ำมือของมนุษย์หรือเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือเป็นพุทธบูชาของพญานาค จริงตามความเชื่อ และ ศรัทธาของชาวอีสาน ยังคงเป็นปริศนาที่ท้าทาย และรอคอยการพิสูจน์มาจนทุกวันนี้
กลุ่มพระทางฝั่งประเทศลาวที่ร่วมกันสร้างปฏิบัติการ "บั้งไฟพญานาค" ขึ้นมาด้วยจุดประสงค์ที่คงเรียกได้ว่า "เป็นความผิดโดยสุจริต" เพื่อคงไว้ซึ่งศรัทธาในพุทธศาสนา และเมื่อ คาน เด็กหนุ่มที่ หลวงพ่อโล่ ชุบเลี้ยงมาแต่เล็กแต่น้อย เกิดปฏิเสธที่จะร่วมวงในปฏิบัติการในปีนี้ด้วยเหตุผลที่ว่าโลกที่แท้จริงภายนอกนั้น วิวัฒนาการมันก้าวไกลเกินกว่าที่จะมานั่งหลอกคนแบบนี้ได้ แต่โลกใบที่ คาน บอก มันเป็นคนละโลกกับโลกของหลวงพ่อ โลกที่ความศรัทธายังคงเป็นปัจจัยหล่อเลี้ยงให้ทุกชีวิตดำเนินต่อไป ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมิได้หยุดอยู่แค่ความคิดของคนต่างฝ่ายที่คิดเห็นไม่เหมือนกัน แต่มันยังลามไปถึงความขัดแย้งระหว่างขอบเขตของการทำสิ่งที่เชื่อว่าเป็นการทำความดีและการหลอกลวง
รางวัล
[แก้]ปี | รายการ | รางวัล/สาขา | ผู้ได้รับการเสนอชื่อ | ผล |
---|---|---|---|---|
พ.ศ. 2546 | รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 12 | รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | จีเอ็มเอ็ม พิคเจอร์ | ชนะ |
รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | จิระ มะลิกุล | ชนะ | ||
ผู้แสดงนำชายยอดเยี่ยม | นพดล ดวงพร | ชนะ | ||
ผู้แสดงสมทบชายยอดเยี่ยม | บุญชัย ใจลิ่ม | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
ผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม | บุญศรี ยินดี | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | จิระ มะลิกุล | ชนะ | ||
ถ่ายภาพยอดเยี่ยม | สมบูรณ์ พิริยะภักดีกุล | ชนะ | ||
ลำดับภาพยอดเยี่ยม | ปาน บุษบรรณ | ชนะ | ||
บันทึกเสียงและผสมเสียงยอดเยี่ยม | นิพัฒน์ สำเนียงเสนาะ | ชนะ | ||
ดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | อมรพงศ์ เมธาคุณวุฒิ | ชนะ | ||
เทคนิคการสร้างภาพพิเศษยอดเยี่ยม | บริษัท โอเรียลทัลโฟสท์ | ชนะ | ||
พ.ศ. 2546 | รางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 11 | รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | จีเอ็มเอ็ม พิคเจอร์ | ชนะ |
รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | จิระ มะลิกุล | ชนะ | ||
ผู้แสดงนำชายยอดเยี่ยม | นพดล ดวงพร | ชนะ | ||
ผู้แสดงนำชายยอดเยี่ยม | อนุชิต สพันธุ์พงษ์ | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
ผู้แสดงสมทบชายยอดเยี่ยม | บุญชัย ใจลิ่ม | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
ผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม | บุญศรี ยินดี | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | จิระ มะลิกุล | ชนะ | ||
ถ่ายภาพยอดเยี่ยม | สมบูรณ์ พิริยะภักดีกุล | ชนะ | ||
ลำดับภาพยอดเยี่ยม | ปาน บุษบรรณ | ชนะ | ||
ดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | อมรพงศ์ เมธาคุณวุฒิ | ชนะ | ||
กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม | เอก เอี่ยมชื่น | ชนะ | ||
พ.ศ. 2546 | รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ครั้งที่ 26 ประจำปี พ.ศ. 2545 | ดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | อมรพงศ์ เมธาคุณวุฒิ | ชนะ |
รางวัลภาพยนตร์ส่งเสริมสังคม-วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว | - | ชนะ | ||
พ.ศ. 2546 | รางวัลแฮมเบอร์เกอร์อวอร์ดส์ ครั้งที่ 1 | รางวัลดนตรีและเพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | อมรพงศ์ เมธาคุณวุฒิ | ชนะ |
รางวัลแผนการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | - | ชนะ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "เรื่องวุ่นๆ ของ "หนัง" กับปัญหาที่ (ไม่) อยากเจอ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-26. สืบค้นเมื่อ 2009-10-05.
- ↑ 100 อันดับหนังไทย ที่ทำรายได้สูงที่สุด