นขลิขิต
หน้าตา
(เปลี่ยนทางจาก ))
(◌) [◌] {◌} (◌) 〈◌〉 「◌」 『◌』 《◌》 [◌] {◌} 【◌】 〖◌〗 〔◌〕 | |
---|---|
นขลิขิต | |
นขลิขิต หรือ วงเล็บ ( ) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนชนิดหนึ่ง มีลักษณะโค้งเหมือนรอยเล็บ เครื่องหมายด้านซ้ายเรียกว่า วงเล็บเปิด ส่วนด้านขวาเรียกว่า วงเล็บปิด (สำหรับภาษาที่เขียนจากขวาไปซ้ายก็จะเรียกกลับกัน) ปกติใช้สำหรับคลุมข้อความที่ขยายหรืออธิบายจากข้อความอื่นให้ความหมายชัดเจนมากขึ้น
การใช้งาน
[แก้]- ใช้ขยายหรืออธิบายความที่อยู่ข้างหน้า ซึ่งการตัดข้อความในวงเล็บออกก็ไม่ได้ทำให้เนื้อความเสียไป
- ตำบลพระยาไกร อำเภอยานนาวา จังหวัดพระนคร (ปัจจุบันคือ แขวงวัดพระยาไกร เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร)
- ใช้ขยายความให้ชัดเจนยิ่งขึ้นเพื่อลดความกำกวม
- ใช้กำกับหัวข้อย่อย ซึ่งอาจเป็นตัวอักษรหรือตัวเลข สามารถใช้วงเล็บปิดเพียงอย่างเดียวก็ได้
- (ก) (ข) (ค) (ง)
- 1) 2) 3)
- ใช้คลุมตัวระบุเชิงอรรถหรือการอ้างอิง
- เสียงลือเสียงเล่าอ้าง อันใดพี่เอย (๑)
- ประเพณีเป็นบ่อเกิดของวัฒนธรรม [3]
- สำหรับวงเล็บเหลี่ยม ใช้คลุมข้อความที่เติมขึ้นเองในการยกอ้างอิงคำกล่าวเพื่อให้อธิบายความหมายได้ดีขึ้น
- "ขายอย่าให้แพง คนเขาจะได้กินลง ฉันขาย [ปลาที่ปู่เย็นหาได้] ถูกๆ เอาไปเถอะ ซื้อไปแกงให้พอหม้อ"
- "I appreciate it [the honor], but I must refuse"
- "Yf they say the mone is belewe / We must believe that it is true [If they say the moon is blue, we must believe that it is true]"
- มีการใช้ […] แทนส่วนที่ถูกตัดทิ้งไประหว่างกลาง และ [sic] สำหรับจุดที่สะกดคำผิดพลาดตามต้นฉบับ
- ในทางคณิตศาสตร์ และการเขียนโปรแกรม นขลิขิตมักจะหมายถึงส่วนที่มีความสำคัญ ต้องดำเนินการก่อน
- (2 + 4) × 3 = 6 × 3 = 18
$ch = 0x80 | ($codepoint >> 6) & 0x3f;
- ทั้งนี้ไม่รวมถึงไวยากรณ์เฉพาะของแต่ละภาษาที่ใช้วงเล็บชนิดต่างๆ เป็นส่วนหนึ่งของไวยากรณ์
การเขียนวงเล็บ ควรเว้นวรรคก่อนวงเล็บเปิดหนึ่งเคาะ หลังวงเล็บปิดหนึ่งเคาะ ส่วนข้อความภายในให้เขียนติดกับวงเล็บ [1] เช่น xxx (yyy) zzz
นขลิขิตรูปแบบอื่น
[แก้]- วงเล็บก้ามปู [ ] ใช้กับสูตรคณิตศาสตร์ สูตรเคมี การเขียนโปรแกรม สัทอักษรสากล และยังใช้ในพจนานุกรม สำหรับบอกคำอ่าน
- วงเล็บปีกกา { } ใช้กับสูตรคณิตศาสตร์เช่น เซต และการเขียนโปรแกรม
- วงเล็บแหลม หรือ วงเล็บสามเหลี่ยม < > ⟨ ⟩ ประกอบขึ้นจากเครื่องหมายน้อยกว่าและมากกว่า ใช้กับการเขียนโปรแกรมเช่น HTML และใช้กับสูตรคณิตศาสตร์ในบางโอกาส
วงเล็บต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของไวยากรณ์ภาษาญี่ปุ่นและภาษาจีน มีหน้าที่ใช้งานที่แตกต่างกัน ซึ่งเมื่อเขียนในแนวตั้งก็จะคลุมข้อความตามแนวตั้ง
- วงเล็บภูเขา (山括弧) 〈 〉
- วงเล็บภูเขาสองชั้น (二重山括弧) 《 》 ใช้คลุมชื่อหนังสือ
- วงเล็บตะขอ (鉤括弧) 「 」 ใช้เน้นข้อความคล้ายอัญประกาศ
- วงเล็บตะขอสองชั้น (二重鉤括弧) 『 』 ใช้เน้นข้อความคล้ายอัญประกาศ
- วงเล็บมุมทึบ (隅付き括弧) 【 】 ใช้คลุมการอ่านออกเสียง
- วงเล็บมุมโปร่ง (隅付き括弧(白)) 〖 〗 ใช้คลุมการอ่านออกเสียง
- วงเล็บกระดองเต่า (亀甲括弧) 〔 〕
- วงเล็บกระดองเต่าสองชั้น (二重亀甲括弧) 〘 〙
อ้างอิง
[แก้]- ↑ เครื่องหมายวรรคตอนและการเขียน[ลิงก์เสีย] คลังความรู้ออนไลน์ ศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สวทช.
- วงเล็บ หรือ นขลิขิต[ลิงก์เสีย] คลังความรู้ ราชบัณฑิตยสถาน