ข้ามไปเนื้อหา

โอลิมปิกฤดูร้อน 2012

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก โอลิมปิก 2012)
กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 30
เมืองเจ้าภาพลอนดอน สหราชอาณาจักร
คำขวัญแรงบันดาลใจของคนรุ่นใหม่
(อังกฤษ: Inspire a Generation)
ประเทศเข้าร่วม204 (including IOA team)
นักกีฬาเข้าร่วม10,768 (ชาย 5,992, หญิง 4,776)
ชนิด302 รายการใน 26 ชนิดกีฬา
พิธีเปิด27 กรกฎาคม 2012
พิธีปิด12 สิงหาคม 2012
ประธานพิธีเปิด
สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2
(กษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร)[1]
ผู้จุดคบเพลิง
  • คาลัม แอร์ลี
  • จอร์แดน ดักคิตต์
  • เดซีรี เฮนรี
  • เคที เคิร์ก
  • คาเมรอน แม็คริตชี
  • ไอดาน เรย์โนลด์
  • อาเดล ทราซีย์
  • ออสติน เพลย์ฟุต (relight)[2]
สนามกีฬาสนามกีฬาโอลิมปิก (ลอนดอน)
ฤดูร้อน
ฤดูหนาว
พาราลิมปิกฤดูร้อน 2012

การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 30 ประจำปี ค.ศ. 2012 (พ.ศ. 2555) (อังกฤษ: 2012 Summer Olympics) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 30 (อังกฤษ: Games of the XXX Olympiad) จัดขึ้นที่กรุงลอนดอนของสหราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 27 กรกฎาคม ถึง 12 สิงหาคม การแข่งขันฟุตบอลหญิงรอบแบ่งกลุ่ม ซึ่งเป็นรายการแรก เริ่มตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม สองวันก่อนพิธีเปิด[3][4] จะมีนักกีฬากว่า 10,000 คน จาก 204 คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ เข้าร่วม[5]

หลังการประมูลเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ ซึ่งนำโดย ลอร์ด เซบาสเตียน โคอ์ (Lord Sebastian Coe) และเคนเนธ ลิฟวิงสโตน (Kenneth Livingstone) นายกเทศมนตรีกรุงลอนดอนในขณะนั้น[6] ลอนดอนได้รับเลือกเป็นเมืองเจ้าภาพจัดการแข่งขันเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 ระหว่างสมัยประชุมคณะกรรมการโอลิมปิกสากลที่ 117 ในสิงคโปร์ เอาชนะคู่แข่งจากกรุงมอสโก นครนิวยอร์ก มาดริด และกรุงปารีส[6] กรุงลอนดอนกลายเป็นนครแรกของโลก ที่เป็นเจ้าภาพจัดแข่งขันโอลิมปิกสมัยใหม่ถึงสามครั้ง[7][8] ครั้งที่ผ่านมา ได้แก่ ครั้งที่ 4 (พ.ศ. 2451) และครั้งที่ 14 (พ.ศ. 2491)[9][10]

มีการพัฒนาหลายพื้นที่ของกรุงลอนดอน เพื่อรองรับกิจกรรมที่จะจัดขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน[11] จุดสนใจหลักอยู่ที่อุทยานโอลิมปิกแห่งใหม่ ขนาด 200 เฮกตาร์ ซึ่งสร้างขึ้นภายในนิคมอุตสาหกรรมเก่า ของสแตรตเฟิร์ด (Stratford) ลอนดอนตะวันออก[12] การแข่งขันคราวนี้ยังช่วยส่งเสริมให้มีการใช้สนามแข่งขันที่มีอยู่แล้วจำนวนมากก่อนการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพด้วย[13]

โอลิมปิกครั้งนี้ได้รับการชมเชยอย่างกว้างขวางในด้านการจัดการแข่งขัน โดยอาสาสมัคร กองทัพอังกฤษและความสนใจของสาธารณะได้รับการยกย่องเป็นพิเศษ[14][15][16] พิธีเปิด ซึ่งกำกับโดย แดนนี บอยล์ ได้รับความชื่นชมทั่วไป[17][18] ระหว่างการแข่งขัน ไมเคิล เฟลส์กลายเป็นนักกีฬาโอลิมปิกที่ได้รับเหรียญรางวัลมากที่สุดตลอดกาล โดยได้เหรียญที่ 22 ในการแข่งขันครั้งนี้[19] สหราชอาณาจักรได้รับเหรียญทองมากที่สุดนับแต่ พ.ศ. 2451 โดยอยู่ในอันดับที่สามของตารางสรุปเหรียญ และยูเซน โบลต์เป็นนักวิ่งระยะสั้นคนแรกที่ได้เหรียญทองการวิ่งระยะสั้นในโอลิมปิกสามครั้งติดต่อกัน ซาอุดีอาระเบีย กาตาร์และบรูไนส่งนักกีฬาหญิงเข้าแข่งขันเป็นครั้งแรก และมีการจัดการแข่งขันมวยหญิงในโอลิมปิกครั้งนี้ด้วย ทำให้โอลิมปิกครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ทุกประเทศและทุกชนิดกีฬามีนักกีฬาหญิงเข้าแข่งขัน[20]

การเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ

[แก้]
แผนที่แสดงประเทศที่เข้าร่วมเสนอตัวเป็นเจ้าภาพการแข่งขันโอลิมปิก 2012

เมืองที่เสนอตัวเป็นเจ้าภาพ

[แก้]

ท้ายชื่อของแต่ละเมือง กำกับด้วยคะแนนซึ่งได้รับจากการคัดเลือกเป็น 5 เมืองสุดท้าย ซึ่งแสดงด้วยตัวหนา

ผลการลงคะแนนรอบสุดท้าย

[แก้]

การตัดสินลงคะแนนในรอบสุดท้าย มีขึ้นระหว่างการประชุมคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ครั้งที่ 117 ที่ประเทศสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 ปรากฏผลตามตารางต่อไปนี้

ผลการตัดสินประเทศเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อน 2012
เมือง ชื่อคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ รอบที่ 1 รอบที่ 2 รอบที่ 3 รอบที่ 4
ลอนดอน  สหราชอาณาจักร 22 27 39 54
ปารีส ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส 21 25 33 50
มาดริด ธงของประเทศสเปน สเปน 20 32 31 -
นครนิวยอร์ก  สหรัฐอเมริกา 19 16 - -
มอสโก ธงของประเทศรัสเซีย รัสเซีย 15 - - -

การเตรียมความพร้อมและพัฒนาการ

[แก้]

สถานที่และโครงสร้างพื้นฐาน

[แก้]
สนามกีฬาโอลิมปิก ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2011

กีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิกในครั้งนี้ จะผสมผสานกันระหว่าง สถานที่จัดงานซึ่งสร้างขึ้นใหม่ โบราณสถานที่มีอยู่แล้ว และสถานที่ชั่วคราว สำหรับบางส่วนของสถานที่เหล่านี้ ที่รู้จักโดยทั่วไปได้แก่ สวนสาธารณะไฮด์ปาร์ก และการสวนสนามของทหารม้ารักษาพระองค์ สถานที่บางส่วนจะมีการนำกลับมาใช้ใหม่ ขณะที่อย่างอื่นจะปรับขนาดหรือโยกย้าย[21]

สถานที่จัดงานส่วนมาก แบ่งออกเป็นสามเขต ภายในเกรเทอร์ลอนดอน ประกอบด้วย เขตโอลิมปิก เขตแม่น้ำ และเขตกลาง นอกจากนั้นยังมีสถานที่จัดแข่งขัน ที่จำเป็นต้องอยู่รอบนอกเขตเกรเทอร์ลอนดอน อาทิสถาบันเรือใบแห่งชาติเวย์มัธและพอร์ตแลนด์ (Weymouth and Portland National Sailing Academy) บนเกาะแห่งพอร์ตแลนด์ (Isle of Portland) ในเมืองดอร์เซต (Dorset) ซึ่งเป็นสถานที่จัดการแข่งขันเรือใบ อยู่ห่างจากลอนดอนไปทางตะวันตกเฉียงใต้ ประมาณ 125 ไมล์ (200 กิโลเมตร) สำหรับการแข่งขันฟุตบอลจะใช้สนามหลายแห่งทั่วสหราชอาณาจักร[22]

โครงการอุทยานโอลิมปิกลอนดอน (London Olympic Park) ขนาด 500 เอเคอร์ เปิดเผยขึ้นในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004)[23] มีการอนุมัติให้ออกแบบทำเล เมื่อเดือนกันยายนปีเดียวกัน โดย ทาวเวอร์ ฮัมเล็ทส์, นิวแฮม แฮ็กนีย์ และ วอล์ทแฮม ฟอเรสท์[24] และการก่อสร้างเริ่มขึ้น ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006)[25] สำหรับหมู่บ้านนักกีฬาในนครพอร์ตแลนด์ เสร็จสมบูรณ์ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011)[26]

โดยการพัฒนาของอุทยานโอลิมปิกนั้นอาจจะต้องใช้การเวนคืนพื้นที่ด้วย โดยสำนักงานการพัฒนาแห่งกรุงลอนดอนและการรถไฟลอนดอน มีข้อพิพาทกันเกี่ยวกับเรื่องนี้ใน เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2005 ซึ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งที่มีถึง 180 เอเคอร์ เป็นที่ดินของการทางรถไฟสแตรทฟอร์ด รวมไปถึงการสร้างบ้านใหม่ถึง 4,500 หลัง, สำนักงาน, โรงแรม และ ร้านค้า[27] โดยล่าสุดในปีค.ศ. 2011 ศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุดในทวีปยุโรป ได้ถูกสร้างเสร็จโดย เวสต์ฟิลด์[28] โดยที่ดิน 86% มาจากการเวนคืนพื้นที่ โดยการกระทำนี้นำไปสู่การคำถามต่างๆนานา และในครั้งนั้น มี 206 บริษัทที่ต้องย้ายออกไปใน เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2007[29] นอกจากนี้ผู้ที่อาศัยอยู่ในฝ่ายต่อต้านการเวนคืนที่ดินกับการขับไล่และความพยายามที่จะหาวิธีที่จะหยุดการกระทำนี้ แต่พวกเขาที่ต้องย้ายออกด้วยการเวนคืนทั้งหมด 94% และที่ดินอื่นๆอีก 6% ซึ่งการเวนคืนใช้เงินทั้งหมด 9 พันล้านปอนด์

การขนส่งสาธารณะ

[แก้]
บริการรถไฟความเร็วสูง "โอลิมปิก จาเวลีน"

ระบบการเดินทางสาธารณะในลอนดอน ได้คะแนนที่ไม่ค่อยดี ในการประเมินของ IOC อย่างไรก็ตาม ทางสำนักงานการบริหารเมืองของกรุงลอนดอน ก็ได้ปรับปรุงเพื่อต้อนรับการแข่งขันโอลิมปิกครั้งนี้[30]องค์การคมนาคมสำหรับลอนดอน หรือ TfL ได้ดำเนินการปรับปรุงระบบการเดินทางสาธารณะใหม่ทั้งหมดภายในปี พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012) รวมไปถึงการขยายเส้นทาง รถไฟเหนือดินลอนดอน ในเส้นทางลอนดอนตะวันออก และเพิ่มเส้นทาง รถไฟเบาสายดอคแลนดส์ และ การเดินรถไฟทางลอนดอนเหนือ[31]และการนำเข้ารถไฟหัวกระสุนความเร็วสูงที่มีชื่อว่า "จาเวลีน"[32]จากบริษัทฮิตาชิ[33]โดยชานชาลาที่ สถานีรถไฟนานาชาติสแตรทฟอร์ด (ออกแบบมาเพื่อรถไฟยูโรสตาร์) จะถูกนำมาใช้ในเส้นทางของการเดินรถไฟจาเวลีน[34]โดยในเครือข่ายรถไฟทั้งหมด จะเพิ่มการเดินรถ 4,000 ขบวนในช่วงที่มีการแข่งขัน พร้อมทั้งเพิ่มตู้โดยสารในทุกๆวัน[35]

องค์การคมนาคมสำหรับลอนดอน ได้ทำการสร้าง เคเบิลคาร์ ด้วยเงิน 25 ล้านปอนด์ โดยเส้นทางของเคเบิลคาร์จะข้าม แม่น้ำเทมส์ ซึ่งเคเบิลคาร์นี้จะเชื่อมทุกๆสถานที่ในการแข่งขัน[36] โดยจะเปิดใช้ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012) โดยจะข้าม แม่น้ำเทมส์ ที่ กรีนวิช เพนินซูลา กับ รอยัล ด็อคส์ ซึ่งแต่ละชั่วโมงจะนำผู้โดยสาร 2,500 คน ด้วยความสูงประมาณ 50 เมตรกลางอากาศ มันถูกออกแบบมาเพื่อลดการเดินทางระหว่าง โอทู อารีนา กับ ศูนย์จัดแสดงสินค้าเอ็กซ์เซล ซึ่งเคเบิลคาร์จะให้ข้ามทุกๆ 30 วินาที[37]

รถไฟใต้ดินลอนดอน ถูกตกแต่งเพื่อโปรโมตการแข่งขันครั้งนี้

โดยการจัดการแผนนี้จะทำให้เหล่านักกีฬา 80% สามารถเดินทางไปแข่งขันได้ในเวลาที่น้อยกว่า 20 นาที[38]และนักกีฬา 93% ที่ใช้เวลาน้อยกว่า 30 นาที[39]โดยบริเวณ อุทยานโอลิมปิกลอนดอน จะเป็นศูนย์รวมของชุมทางรถไฟขนาดใหญ่ถึง 10 สายเข้าด้วยกัน ซึ่งจะมีผู้โดยสารประมาณ 240,000 คนต่อชั่วโมง[40]นอกจากนี้ อีกแผนหนึ่งที่ดำเนินการไปแล้วถึง 90% ซึ่งจะมีทั้งสถานีขนส่งสาธารณะและอื่นๆ[39]ส่วนสองสวนสาธารณะที่จะถูกปิดเพื่อเป็นที่จุรถ 12,000 คันต่อ 25 นาทีจาก อุทยานโอลิมปิกลอนดอน และสามารถที่จะจุผู้คนถึง 9,000 คนเพื่อที่จะขึ้นรถบัสในทุกๆ 10 นาที[39] และการวางแผนสวนสาธารณะนี้จะอยู่ใกล้กับ แม่น้ำเทมส์ และสามารถเชื่อมต่อไปยังสนามแข่งเรือพายได้[41] และในถนนบางแห่งจะปิดบางช่องทางการจราจรเพื่อที่จะเป็นช่องทางการเดินรถสำหรับแขกวีไอพีและนักกีฬา[42][43]

การกระจายเสียงและแพร่ภาพ

[แก้]
ศูนย์กระจายเสียงแพร่ภาพนานาชาติ เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554

โอลิมปิกที่จัดขึ้นในปีนี้ ใช้เทคโนโลยีดิจิตอล “ดีวีซีโปร-เอชดี” ของพานาโซนิก เป็นระบบการบันทึกวีดิทัศน์การแข่งขันอย่างเป็นทางการ ซึ่งเข้ารับภารกิจดังกล่าวเป็นครั้งที่ 10 ติดต่อกัน (นับรวมทั้งโอลิมปิกฤดูร้อนและโอลิมปิกฤดูหนาว) เริ่มตั้งแต่การแข่งขันที่บาร์เซโลนาของสเปน เมื่อปี พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) โดยศูนย์กระจายเสียงแพร่ภาพนานาชาติ (International Broadcast Centre; IBC) ภายในสวนโอลิมปิกลอนดอน เป็นหน่วยงานหลักในการผลิตและเผยแพร่ วีดิทัศน์ระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการ ด้วยระบบภาพละเอียดสูง 1080/50ไอ

สำหรับหน่วยบริการกระจายเสียงแพร่ภาพโอลิมปิกในลอนดอน (Olympic Broadcasting Services London; OBSL) ซึ่งเป็นเจ้าภาพในการกระจายเสียงและแพร่ภาพ จะใช้อุปกรณ์ชุด “เอชดี-พี2” เพื่อสนับสนุนการกระจายเสียงและแพร่ภาพการแข่งขัน และใช้กล้องวีดิทัศน์พกพารุ่น “เอจี-เอชพีเอ็กซ์ 250” ซึ่งบันทึกภาพด้วยระบบ “เอวีซี-อินทรา” และผลิตโดยบริษัทเดียวกับ “เอชดี-พี2” เป็นตัวแรก กับกล้องวีดิทัศน์พกพาระบบ “เอวีซีแคม เอชดี” สองรุ่นใหม่คือ “เอจี-เอซี160” และ “เอจี-เอซี130” ด้วยมุมมองภาพละเอียดสูง และเลนส์ซูมรุ่นใหม่ ความละเอียดสูง 21 เท่าซึ่งกว้างกว่าเดิม[44]

การแข่งขันคราวนี้กำหนดการกระจายเสียงแพร่ภาพ ไปยังบรรดาผู้รับสิทธิถ่ายทอดแต่ละภูมิภาคตามสิทธิซึ่งไอโอซีกำหนด ให้สามารถถ่ายทอดโทรทัศน์ภาคพื้นดินเป็นวงกว้างไปทั่วโลก โดยมีบรรษัทการกระจายเสียงและแพร่ภาพแห่งบริเตน (British Broadcasting Corporation; BBC) เป็นแม่ข่ายสำหรับโอลิมปิก ซึ่งวางเป้าหมายในการถ่ายทอด การแข่งขันครั้งนี้ผ่านช่องทางต่างๆ เป็นเวลารวม 5,000 ชั่วโมง[45] ส่วนโทรทัศน์ช่อง 4 แห่งบริเตนใหญ่ เป็นแม่ข่ายสำหรับพาราลิมปิก และสำหรับในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ไอโอซีทำข้อตกลงกับยูทูบ เพื่อเป็นผู้ถ่ายทอดสดการแข่งขันไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก ผ่านช่องโทรทัศน์ของไอโอซี ซึ่งอยู่ในเว็บไซต์ของตน รวมถึงแอปพลิเคชันยูทูบในสมาร์ตโฟน และของเอ็กซ์บ็อกซ์ไลฟว์ด้วย[46]

ทั้งนี้ การถ่ายทอดโทรทัศน์ในกีฬาโอลิมปิกที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบัน ริเริ่มขึ้นโดยหน่วยบริการกระจายเสียงแพร่ภาพโอลิมปิก (Olympic Broadcasting Services; OBS) ซึ่งปัจจุบัน บริษัทการกระจายเสียงและแพร่ภาพแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (National Broadcasting Corporation; NBC) ถือสิทธิเป็นเจ้าของโดยการถือหุ้นใหญ่ จึงมีส่วนแบ่งรายได้กับไอโอซีเกินกึ่งหนึ่ง[47] ทุกวันนี้ ผู้ได้รับสิทธิถ่ายทอดการแข่งขัน มักส่งเจ้าหน้าที่ของตนเข้าปฏิบัติงาน ในพื้นที่แบ่งส่วนของศูนย์กระจายเสียงแพร่ภาพนานาชาติ (ไอบีซี) ของการแข่งขันแต่ละครั้ง โดยเริ่มปรากฏในโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งที่ 15 ที่เมืองคัลการีของแคนาดาในปี พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988)

อาสาสมัคร

[แก้]

ผู้สร้างสรรค์การแข่งขัน (Game Maker)[48] เป็นชื่อที่รู้จักทั่วไป ของอาสาสมัครที่ไม่มีการจ้าง ซึ่งจะปฏิบัติงานอย่างหลากหลาย ทั้งช่วงก่อนและระหว่างการแข่งขัน โดยในช่วงต้นปี พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) ตั้งเป้าว่าจะมีอาสาสมัคร 70,000 คน[49] แต่เมื่อเปิดรับสมัครในปี พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) กลับมีผู้ได้รับคัดเลือกถึง 240,000 คน[50] ซึ่งผู้สร้างสรรค์การแข่งขันเหล่านี้ จะปฏิบัติงานอาสาสมัคร เป็นเวลารวมประมาณ 8 ล้านชั่วโมงระหว่างการแข่งขัน ซึ่งไม่อาจเกิดขึ้นโดยสะดวก หากปราศจากบุคคลกลุ่มนี้[51]

สัญลักษณ์การแข่งขัน

[แก้]
ตราสัญลักษณ์สำหรับเสนอชื่อประมูลเป็นเมืองเจ้าภาพ
เว็นล็อก และ แมนด์วิลล์

ตราสัญลักษณ์

[แก้]

กีฬาโอลิมปิกคราวนี้ มีตราสัญลักษณ์สองแบบคือ ตราสัญลักษณ์สำหรับเสนอชื่อประมูล เป็นภาพริบบินคาดเส้นสีฟ้า สีเหลือง สีดำ สีเขียว และสีแดง ที่คดเคี้ยวคล้ายรูปร่างของแม่น้ำเทมส์ ทางตะวันออกของกรุงลอนดอน ลอดผ่านตัวอักษรข้อความ “LONDON 2012” ซึ่งออกแบบโดย คิโน ดีไซน์ (Kino Design) และตราสัญลักษณ์สำหรับการแข่งขันเอง เป็นภาพสื่อแสดงถึงตัวเลข 2012 ที่มีวงแหวนโอลิมปิกอยู่ภายในเลขศูนย์[52] ซึ่งออกแบบโดย โวลฟฟ์ โอลินส์ (Wolff Olins) ซึ่งมีการเปิดตัวและส่งมอบ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007) ทั้งนี้ เป็นครั้งแรกที่ส่วนสำคัญของตราสัญลักษณ์โอลิมปิก และพาราลิมปิกเกมส์จะมีรูปแบบเดียวกัน[53] โดยสีมาตรฐานคือ ม่วงแดง, เขียว, ส้มและฟ้า อย่างไรก็ตาม ตราสัญลักษณ์นี้สามารถรวบรวมสีสันที่หลากหลาย รวมทั้งสีในธงสหภาพ (Union Flag) ด้วยเช่นกัน[54]

ตุ๊กตาสัญลักษณ์

[แก้]

เว็นล็อก (Wenlock) กับ แมนด์วิลล์ (Mandeville) เป็นตุ๊กตาสัญลักษณ์ (Mascot) อย่างเป็นทางการของโอลิมปิก และพาราลิมปิกเกมส์ครั้งนี้ โดยมีการเปิดตัวเมื่อ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010)[55] ซึ่งนับเป็นครั้งที่สอง ต่อจากที่แวนคูเวอร์ของแคนาดา ซึ่งมีการเปิดตัวตุ๊กตาสัญลักษณ์ของโอลิมปิก และพาราลิมปิกเกมส์พร้อมกัน ทั้งสองตัวนี้เป็นแอนิเมชัน ที่สื่อแสดงถึงหยดเหล็กสองหยาด จากโรงถลุงเหล็กในเมืองโบลตัน[55]

สำหรับชื่อของทั้งสองตัว คือเว็นล็อก มาจากนามสกุลของ มัช เว็นล็อก (Much Wenlock) แห่งเมืองซรอปเชียร์ (Shropshire) ผู้บุกเบิกการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในปัจจุบัน กับแมนด์วิลล์ มาจากนามสกุลของ สโตก แมนด์วิลล์ (Stoke Mandeville) แห่งเมืองบักกิงแฮมเชียร์ (Buckinghamshire) ผู้บุกเบิกการแข่งขันพาราลิมปิกเกมส์เป็นครั้งแรก[55]

โดยนักเขียน ไมเคิล มอร์ปูร์โก (Michael Morpurgo) เป็นผู้เขียนแนวคิดของตุ๊กตาสัญลักษณ์คู่นี้ จากนั้นแอนิเมชันก็ประดิษฐ์ขึ้น[56] โดยตั้งใจจะให้เป็นส่วนหนึ่งของชุดเรื่องราวต่อเนื่อง เกี่ยวกับตุ๊กตาสัญลักษณ์ที่ใช้ในการแข่งขันคราวนี้[55] ซึ่งมีสองเรื่องคือ “Out Of A Rainbow” ที่จะบอกเล่าความเป็นมา ของเว็นล็อกกับแมนด์วิลล์ และเรื่อง “Adventures On A Rainbow” ซึ่งมีสาระสำคัญอยู่ที่เด็กๆ จากเรื่องแรก มาพบกับตุ๊กตาสัญลักษณ์ทั้งสอง แล้วพากันทดลองเล่นกีฬาต่างๆ ในโอลิมปิกและพาราลิมปิกที่มีมากมาย[57]

เหรียญรางวัล

[แก้]

จำนวนเหรียญรางวัล สำหรับโอลิมปิกและพาราลิมปิกเกมส์ มีประมาณ 4,700 เหรียญ[58] ผลิตขึ้นโดยโรงกษาปณ์หลวง (The Royal Mint)[59] และออกแบบโดย เดวิด วัตกินส์ (David Watkins)[60] มีน้ำหนัก 375-400 กรัม ความหนา 7 มิลลิเมตร ซึ่งสลักชื่อกีฬาและประเภทรุ่นที่ขอบเหรียญ[61] ตามธรรมเนียมที่สืบทอดมา หน้าเหรียญเป็นภาพไนกี เทพธิดาแห่งชัยชนะของกรีก ก้าวย่างจากมหาวิหารพาร์เธนอน (Parthenon) ส่วนลักษณะของหลังเหรียญ มีตราสัญลักษณ์การแข่งขัน ลายเส้นโค้งสื่อถึงแม่น้ำเทมส์ และชุดของเส้นตรง อันมีนัยสื่อถึงพลังของนักกีฬา[62]

เพลงอย่างเป็นทางการ

[แก้]

ฝ่ายประชาสัมพันธ์การแข่งขัน คัดเลือกให้ซิงเกิล “Survival” ที่ออกโดย Muse วงดนตรีสัญชาติอังกฤษ เป็นเพลงอย่างเป็นทางการ ของโอลิมปิกคราวนี้[63] ซึ่งจะเล่นออกทางเครื่องขยายเสียง เมื่อนักกีฬาเข้าสู่สนาม และช่วงเวลาก่อนพิธีมอบเหรียญรางวัล รวมทั้งนานาประเทศผู้รับสิทธิถ่ายทอดจะเล่น ระหว่างที่รายงานการแข่งขันด้วย[64]

พิธีการ

[แก้]
คบเพลิงโอลิมปิก 2012

พิธีเปิดการแข่งขัน จัดขึ้นในวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 โดยใช้แนวคิด "เกาะมหัศจรรย์" (The Isles of Wonder)[65] ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวรรณกรรม "เดอะ เทมเปสต์" ของวิลเลียม เชกสเปียร์ โดยในการแสดงในพิธีเปิดจะปรับสภาพสนามให้เป็นชนบทอังกฤษ มีชาวบ้านปิกนิกและนั่งชมกีฬา และมีการจำลองเนินเขาแกลสตันบูรี ซึ่งเป็นสถานที่จัดเทศกาลดนตรีและศิลปะที่มีชื่อเสียง ใช้นักแสดงประมาณ 10,000 คน โดยแดนนี บอยล์ ผู้กำกับภาพยนตร์รางวัลออสการ์ จากภาพยนตร์เรื่อง สลัมด็อก มิลเลียนแนร์ คำตอบสุดท้าย...อยู่ที่หัวใจ เป็นผู้กำกับฝ่ายศิลป์[66] ส่วนริค สมิธ (Rick Smith) กับ ฆาร์ล ไฮด์ (Karl Hyde) ดูโอของวงดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ "อันเดอร์เวิลด์" (Underworld) เป็นผู้กำกับดนตรี[67]

สำหรับพิธีปิดการแข่งขัน จะจัดขึ้นในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2555 ซึ่งประกอบด้วยพิธีส่งมอบธงโอลิมปิก จากนายกเทศมนตรีของกรุงลอนดอน ไปยังนายกเทศมนตรีกรุงรีโอเดจาเนโรของบราซิล ซึ่งจะเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกครั้งต่อไปในปี พ.ศ. 2559 (ค.ศ. 2016)[68]

พิธีเชิญคบเพลิง

[แก้]

การวิ่งคบเพลิงโอลิมปิก มีขึ้นระหว่างวันที่ 19 พฤษภาคม ถึง 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012) การคัดเลือกผู้เชิญคบเพลิงมีขึ้นใช่วงปี พ.ศ. 2553 - 2554 ด้วย ซึ่งประกาศผลเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011)[69] โดยไฟฤกษ์โอลิมปิกเดินทางมาจากกรีซ เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2555[70] การวิ่งคบเพลิงใช้เวลา 70 วัน โดยมีงานฉลอง 66 ครั้ง และการเยือนเกาะ 6 แห่ง ซึ่งมีผู้เชิญคบเพลิง 8,000 คน เป็นระยะทางประมาณ 8,000 ไมล์ (12,800 กิโลเมตร) เริ่มต้นที่แลนดส์เอ็นด์ในคอร์นวอลล์[71] ทั้งนี้จะมีหนึ่งวันที่คบเพลิงจะออกนอกสหราชอาณาจักร เมื่อไปเยือนกรุงดับลิน ของสาธารณรัฐไอร์แลนด์ ในวันที่ 6 มิถุนายน[72]

การแข่งขัน

[แก้]

ประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขัน

[แก้]
จำนวนนักกีฬาที่แต่ละประเทศส่งเข้าแข่งขัน
  300+
  100+
  30+
  10+
  4+
  1+

นักกีฬาเข้าแข่งขันทั้งหมด 10,568 คน จาก 204 คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ เข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกครั้งนี้[5] ซึ่งเป็นจำนวนที่มากกว่านักกีฬาที่เข้าแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1948 ซึ่งจัดที่กรุงลอนดอน และกีฬาเครือจักรภพ 2002 ซึ่งจัดที่แมนเชสเตอร์ โอลิมปิกครั้งนี้จึงเป็นการแข่งขันมหกรรมกีฬาที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยจัดในสหราชอาณาจักร[73]

นักกีฬาสามคนจากคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งเนเธอร์แลนด์แอนทิลลิส ซึ่งสมาชิกภาพถูกคณะกรรมการโอลิมปิกสากลถอนไปในสมัยประชุมไอโอซีเมื่อเดือนมถุนายน พ.ศ. 2554 และนักกีฬาอีกหนึ่งคนจากซูดานใต้ ซึ่งไม่มีคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติที่ได้รับการรับรอง เข้าแข่งขันโดยอิสระภายใต้ธงโอลิมปิก[74]

รายชื่อประเทศที่เข้าร่วมในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 มีดังต่อไปนี้ (ตัวเลขในวงเล็บหมายถึงจำนวนนักกีฬา)

คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติที่เข้าแข่งขัน

ชนิดกีฬาที่แข่งขัน

[แก้]

ในกีฬาโอลิมปิกคราวนี้ กำหนดการแข่งขันใน 26 ชนิดกีฬา รวมทั้งหมด 39 ประเภทรุ่น และในวงเล็บคือจำนวนเหรียญทองของแต่ละรายการ

เป็นครั้งแรกที่มีการบรรจุกีฬามวยสากลสมัครเล่นหญิงเข้าสู่โปรแกรม ซึ่งมีนักกีฬาร่วมแข่งขัน 36 คนใน 3 รุ่นพิกัดน้ำหนัก ยังมีกฎยกเว้นกรณีพิเศษ เพื่อยอมให้แข่งขันยิงปืนทุกประเภทดำเนินไปได้ มิฉะนั้นจะเป็นความผิดตามกฎหมายอาวุธปืนของสหราชอาณาจักร[78][79] ในกีฬาเทนนิส คู่ผสมกลับมาบรรจุในโปรแกรมโอลิมปิกเป็นครั้งแรกนับแต่ พ.ศ. 2467[80]

กรุงลอนดอนเสนอจัดการแข่งขัน 28 ชนิดกีฬา ตามโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งล่าสุด แต่ไอโอซีลงมติให้ระงับการแข่งขันเบสบอลและซอฟต์บอล หลังคัดเลือกให้กรุงลอนดอนเป็นเมืองเจ้าภาพได้สองวัน ไอโอซียืนยันการตัดสินใจระงับนี้ ระหว่างโอลิมปิกฤดูหนาว 2006 หลังกรุงลอนดอนแพ้เสียงลงมติให้พิจารณาใหม่ และกำหนดการแข่งขันครั้งสุดท้ายสำหรับโอลิมปิกฤดูร้อน 2008[81] สืบเนื่องจากข้อตกลงในการระงับกีฬาสองประเภทดังกล่าว ไอโอซีเปิดการลงคะแนนว่าจะเลือกกีฬาอื่นมาแทนที่หรือไม่ โดยกีฬาที่นำมาพิจารณาได้แก่ คาราเต้ สควอช กอล์ฟ กีฬาล้อเลื่อน และ รักบี้เจ็ดคน สองประเภทสุดท้ายที่เสนอขึ้นมาคือคาราเต้และสควอช แต่คะแนนเสียงไม่ถึงสองในสามตามข้อบังคับ[81]

แม้จะธรรมเนียมการจัดกีฬาสาธิตจะถูกยกเลิกไปตั้งแต่โอลิมปิกฤดูร้อน 1992[82] แต่การแข่งขันรายการพิเศษสำหรับกีฬาที่ไม่อยู่ในโอลิมปิก สามารถดำเนินไปได้ระหว่างการแข่งขันได้ ดังเช่นการแข่งขันรายการวูซู ที่โอลิมปิกฤดูร้อน 2008[83] มีความพยายามจะดำเนินการแข่งขันรายการทเวนตีคริกเก็ต[83] และเน็ตบอล[84] ควบคู่ไปกับการแข่งขันในคราวนี้เช่นกัน แต่โครงการดังกล่าวไม่ประสบความสำเร็จ

ปฏิทินกำหนดการแข่งขัน

[แก้]

ตารางกำหนดการแข่งขันอย่างเป็นทางการฉบับสมบูรณ์ เผยแพร่เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554[85]

(คลิกที่ชื่อกีฬาเพื่อดูรายละเอียดการแข่งขัน)

เปิด พิธีเปิดการแข่งขัน การแข่งขัน 1 รอบชิงชนะเลิศ ปิด พิธีปิดการแข่งขัน
กรกฎาคม / สิงหาคม 25
พ.
26
พฤ.
27
ศ.
28
ส.
29
อา.
30
จ.
31
อ.
1
พ.
2
พฤ.
3
ศ.
4
ส.
5
อา.
6
จ.
7
อ.
8
พ.
9
พฤ.
10
ศ.
11
ส.
12
อา.
การแข่งขัน
พิธีการ เปิด ปิด
ยิงธนู 1 1 1 1 4
กรีฑา 2 5 7 5 4 4 5 6 8 1 47
แบดมินตัน 1 2 2 5
บาสเกตบอล 1 1 2
มวยสากลสมัครเล่น 3 5 5 13
เรือแคนู 1 1 2 4 4 4 16
จักรยาน 1 1 2 2 2 1 1 1 3 2 1 1 18
กระโดดน้ำ 1 1 1 1 1 1 1 1 8
ขี่ม้า 2 1 1 2 6
ฟันดาบ 1 1 1 1 2 1 1 1 1 10
ฮอกกี้ 1 1 2
ฟุตบอล 1 1 2
ยิมนาสติก 1 1 1 1 1 1 3 3 4 1 1 18
แฮนด์บอล 1 1 2
ยูโด 2 2 2 2 2 2 2 14
ปัญจกีฬาสมัยใหม่ 1 1 2
เรือพาย 3 3 4 4 14
เรือใบ 2 2 2 1 1 1 1 10
ยิงปืน 2 2 1 1 1 1 2 2 1 2 15
ว่ายน้ำ 4 4 4 4 4 4 4 4 1 1 34
ระบำใต้น้ำ 1 1 2
เทเบิลเทนนิส 1 1 1 1 4
เทควันโด 2 2 2 2 8
เทนนิส 2 3 5
ไตรกีฬา 1 1 2
วอลเลย์บอล 1 1 1 1 4
โปโลน้ำ 1 1 2
ยกน้ำหนัก 1 2 2 2 2 2 1 1 1 1 15
มวยปล้ำ 2 3 2 2 2 2 3 2 18
การแข่งขันทั้งหมด 12 14 12 15 20 18 22 25 23 18 21 17 22 16 32 15 302
รวมการสะสมจากวันก่อน 12 26 38 53 73 91 113 138 161 179 200 217 239 255 287 302
กรกฎาคม / สิงหาคม 25
พ.
26
พฤ.
27
ศ.
28
ส.
29
อา.
30
จ.
31
อ.
1
พ.
2
พฤ.
3
ศ.
4
ส.
5
อา.
6
จ.
7
อ.
8
พ.
9
พฤ.
10
ศ.
11
ส.
12
อา.
การแข่งขัน


สถิติโลก

[แก้]
วันที่ การแข่งขัน นักกีฬา ชาติ รายละเอียดสถิติ อ้างอิง
27 กรกฎาคม 2012 กีฬายิงธนู – ชายเดี่ยว อิม ดง ฮยุน เกาหลีใต้ ทำคะแนนสถิติโลก 699 คะแนน ในรอบจัดอันดับ [86]
27 กรกฎาคม 2012 กีฬายิงธนู – ทีมชาย อิม ดง ฮยุน
คิม บับ มิน
โอ จินฮยอก
เกาหลีใต้ ทำคะแนนสถิติโลก 2087 คะแนน ในรอบจัดอันดับ [86]
28 กรกฎาคม 2012 กีฬาเรือพาย – ชายคู่ อีริก มูร์เรย์
ฮามิส บอนด์
นิวซีแลนด์ ทำเวลาสถิติโลก 6:08.50 นาที ในรอบคัดเลือก [87]
28 กรกฎาคม 2012 กีฬาว่ายน้ำ – 400 เมตรหญิง ท่าผสม เย ชือเวิน จีน ทำเวลาสถิติโลก 4:28.43 นาที ในรอบสุดท้าย [88]
29 กรกฎาคม 2012 กีฬายกน้ำหนัก – 53 กิโลกรัมหญิง ซัลฟียา ชินชานโล คาซัคสถาน ทำน้ำหนักสถิติโลกในท่า คลีนแอนด์เจิร์ก ที่ 131 กิโลกรัม [89]
29 กรกฎาคม 2012 กีฬาว่ายน้ำ 100 เมตรหญิง ท่าผีเสื้อ ดานา วอลเมอร์ สหรัฐ ทำเวลาสถิติโลก 55.98 วินาที [90]
29 กรกฎาคม 2012 กีฬาว่ายน้ำ 100 เมตรชาย ท่ากบ คาเมรอน วาน เดอ บรัช แอฟริกาใต้ ทำเวลาสถิติโลก 58.46 วินาที [91]
30 กรกฎาคม 2012 กีฬายกน้ำหนัก – 62 กิโลกรัมชาย คิม อุน กุก เกาหลีเหนือ ทำน้ำหนักสถิติโลกรวม ที่ 327 กิโลกรัม [92]
1 สิงหาคม 2012 กีฬาว่ายน้ำ – 200 เมตรชาย ท่ากบ เดเนียล กรูทา ฮังการี ทำเวลาสถิติโลก 2:07.28 นาที [93]
1 สิงหาคม 2012 กีฬายกน้ำหนัก – 77 กิโลกรัมชาย หลู่ เซียวจุน จีน ทำน้ำหนักสถิติโลกในท่า คลีน ที่ 175 กิโลกรัม
ทำน้ำหนักสถิติโลกรวม ที่ 379 กิโลกรัม
[94]
1 สิงหาคม 2012 กีฬาว่ายน้ำ – 200 เมตรหญิง ท่ากบ เรเบคกา โซนิ สหรัฐ ทำเวลาสถิติโลก 2:20.00 ในรอบรองชนะเลิศ [93]
2 สิงหาคม 2012 กีฬาจักรยาน – ทีมสปรินท์หญิง วิคทอเรีย เพนเดลตัน
เจสสิกา วาร์นิช
สหราชอาณาจักร ทำเวลาสถิติโลก 32.526 ในรอบคัดเลือก
2 สิงหาคม 2012 กีฬาจักรยาน – ทีมสปรินท์หญิง กง จิเจีย
กว่อ ชาง
จีน ทำเวลาสถิติโลก 32.447 ในรอบคัดเลือก
ทำเวลาสถิติโลก 32.422 ในรอบแรก
[95]
2 สิงหาคม 2012 กีฬาจักรยาน – ทีมชาย เอ็ด คลันซี
เจเรนท์ ทอร์มัส
สตีเวน บรูเกอ
ปีเตอร์ เคนนุง
สหราชอาณาจักร ทำเวลาสถิติโลก 3:52.499 ในรอบคัดเลือก
ทำเวลาสถิติโลก 3:51.659 ในรอบสุดท้าย
[96]
2 สิงหาคม 2012 กีฬาจักรยาน – ทีมชายสปรินท์ ฟิลลิปิบ ฮินเดส
คริส ฮอย
เจสัน เคนนี
สหราชอาณาจักร ทำเวลาสถิติโลก 42.747 ในรอบแรก
ทำเวลาสถิติโลก 42.600 ในรอบสุดท้าย
[97]
2 สิงหาคม 2012 กีฬาว่ายน้ำ – 200 เมตรหญิง ท่ากบ เรเบคกา โซนิ สหรัฐ ทำเวลาสถิติโลก 2:19.59 ในรอบสุดท้าย [98]
3 สิงหาคม 2012 กีฬาจักรยาน – ทีมหญิง เดเนียลเอล คิง
ลอรา ทรอท
โจอันนา โรวเซล
สหราชอาณาจักร ทำเวลาสถิติโลก 3:15.669 ในรอบคัดเลือก
3 สิงหาคม 2012 กีฬายิงปืน – ปืนยาวท่านอนระยะ 50 เมตรชาย เซอร์จี มาร์ทีนอว เบลารุส ทำคะแนนสถิติโลก 705.5 คะแนน ในรอบชิงชนะเลิศ
3 สิงหาคม 2012 กีฬาว่ายน้ำ – 200 เมตรหญิง ท่ากรรเชียง มิสซี่ แฟรงกลิน สหรัฐ ทำเวลาสถิติโลก 2:04.06 ในรอบชิงชนะเลิศ
4 สิงหาคม 2012 กีฬายิงปืน – ปืนเป้าหญิง Jessica Rossi อิตาลี ทำคะแนนสถิติโลกที่ 75 คะแนนในรอบคัดเลือก
ทำคะแนนสถิติโลกที่ 99 คะแนนในรอบชิงชนะเลิศ
4 สิงหาคม 2012 กีฬาจักรยาน – ทีมหญิงเปอร์ซูท เดเนียลเอล คิง
ลอรา ทรอท
โจอันนา โรวเซล
สหราชอาณาจักร ทำเวลาสถิติโลกที่ 3:14.682 ในรอบแรก
ทำเวลาสถิติโลกที่ 3:14.051 ในรอบชิงชนะเลิศ
4 สิงหาคม 2012 กีฬาว่ายน้ำ – ชาย ฟรีสไตล์ 1,500 เมตร ซุน หยาง จีน ทำเวลาสถิติโลกที่ 14:31.02 ในรอบชิงชนะเลิศ [99]
4 สิงหาคม 2012 กีฬาว่ายน้ำ – หญิง ผลัดผสม 4 × 100 เมตร มิสซี แฟรนกลิน
เรเบคกา โซนิ
ดานา วอลเมอร์
อลิซัน สมิท
สหรัฐ ทำเวลาสถิติโลกที่ 3:52.05 ในรอบชิงชนะเลิศ
4 สิงหาคม 2012 กีฬายกน้ำหนัก – 94 กิโลกรัม ชาย อิลยา อิลิน คาซัคสถาน ทำน้ำหนักสถิติโลกในท่า คลีนแอนด์เจิร์ก ที่ 233 กิโลกรัม
ทำน้ำหนักสถิติโลกรวม 418 กิโลกรัม
[100]
5 สิงหาคม 2012 กีฬายกน้ำหนัก – +75 กิโลกรัม หญิง เทเทียนา คาชิรินา รัสเซีย ทำน้ำหนักสถิติโลกในท่า สแนกส์ ที่ 151 กิโลกรัม
5 สิงหาคม 2012 กีฬายกน้ำหนัก – +75 กิโลกรัม หญิง โจว ลูลู จีน ทำน้ำหนักสถิติโลกรวม 333 กิโลกรัม
9 สิงหาคม 2012 กีฬากรีฑา – 800 เมตร ชาย เดวิด รูดดิชา เคนยา ทำเวลาสถิติโลกที่ 1:40.91 ในรอบชิงชนะเลิศ
10 สิงหาคม 2012 กีฬากรีฑา – หญิงผลัด 4 × 100 เมตร เทียนนา มาดิสัน
อัลลีซัน เฟลิค
เบียนคา ไนท์
คารเมลิตา เจเทอร์
สหรัฐ ทำเวลาสถิติโลกที่ 40.82 ในรอบชิงชนะเลิศ

สรุปเหรียญการแข่งขัน

[แก้]
      สหราชอาณาจักร (เจ้าภาพ)
      ไทย
ตารางสรุปเหรียญโอลิมปิกฤดูร้อน 2012
อันดับที่ ประเทศ ทอง เงิน ทองแดง รวม
1 สหรัฐ (USA) 46 28 30 104
2 จีน (CHN) 38 31 22 91
3 สหราชอาณาจักร (GBR) 29 17 19 65
4 รัสเซีย (RUS) 20 20 28 68
5 เกาหลีใต้ (KOR) 13 9 8 30
6 เยอรมนี (GER) 11 20 13 44
7 ฝรั่งเศส (FRA) 11 11 13 35
8 ออสเตรเลีย (AUS) 8 15 12 35
9 อิตาลี (ITA) 8 9 11 28
10 ฮังการี (HUN) 8 4 6 18
...
59 ไทย 0 2 2 4

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Factsheet - Opening Ceremony of the Games of the Olympiad" (PDF) (Press release). International Olympic Committee. 9 October 2014. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 14 August 2016. สืบค้นเมื่อ 22 December 2018.
  2. "Cauldron moved into position in Olympic Stadium". London 2012 Olympic and Paralympic Organizing Committee. 30 July 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 July 2012.
  3. "London 2012". olympic.org. International Olympic Committee. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 August 2008. สืบค้นเมื่อ 3 August 2008.
  4. "Olympics schedule and results – Wednesday 25 July". BBC Sport. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 January 2016.
  5. 5.0 5.1 "Olympics – Countries". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 19 July 2012. From the 27th of July 2012 – 204 countries will send more than 10,000 athletes to compete in 300 events
  6. 6.0 6.1 "London 2012: Election". olympic.org. International Olympic Committee. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 October 2009. สืบค้นเมื่อ 2 October 2009.
  7. "Coe promises Olympics to remember". BBC Sport. 6 July 2005. สืบค้นเมื่อ 3 August 2008.
  8. แท้จริงแล้ว กรุงเอเธนส์ของกรีซ ก็ถือเป็นเมืองเจ้าภาพจัดแข่งขันในระบบไอโอซี 3 ครั้งเช่นกัน ในกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2439) และครั้งที่ 28 (พ.ศ. 2547) กับกีฬาโอลิมปิกซ้อนเมื่อปี พ.ศ. 2449 แต่ครั้งหลังนี้ไอโอซีมิได้รับรองอย่างเป็นทางการ เนื่องจากไม่ลงตัวกับการแข่งขันแบบ 4 ปีต่อครั้งของโอลิมปิกสมัยใหม่
  9. Barden, Mark (26 April 2008). "London's first Olympics". BBC Sport. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 May 2008. สืบค้นเมื่อ 3 August 2008.
  10. Greenberg, Stan (3 March 2011). "The 1948 London Olympics Gallery". BBC History. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 July 2008. สืบค้นเมื่อ 3 August 2008.
  11. "Building a sustainable Games". London 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 October 2009. สืบค้นเมื่อ 2 October 2009.
  12. "Newham London: The Olympic Park". London Borough of Newham. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 April 2012. สืบค้นเมื่อ 1 April 2012.
  13. "Response to the questionnaire for cities applying to become Candidate cities to host the Games of the XXX Olympiad and the Paralympic Games in 2012" (PDF). London 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 22 July 2012. สืบค้นเมื่อ 29 July 2012.
  14. "London 2012: IOC chief Jacques Rogge 'very happy' with Games". BBC News. 12 August 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 August 2012. สืบค้นเมื่อ 14 August 2012.
  15. Waldram, Hannah (12 August 2012). "Has the Olympics changed London?". The Guardian (London 2012 Olympics blog). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 November 2013. สืบค้นเมื่อ 14 August 2012.
  16. Scanlan, Wayne (10 August 2012). "Buoyed by a record medal haul – and surprisingly sunny skies – the British have embraced the Olympics, turning out to live sites in droves to cheer on Team GB". Calgary Herald. London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 August 2012. สืบค้นเมื่อ 14 August 2012.
  17. Goldsmith, Harvey; Phillips, Arlene; Quantick, David; Brown, Mick; Beard, Mary (29 July 2012). "London 2012: the experts' view of the Olympic opening ceremony". The Sunday Telegraph. London. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 August 2012. สืบค้นเมื่อ 14 August 2012.
  18. Topping, Alexandra (28 July 2012). "Olympics opening ceremony: the view from abroad". The Guardian. London. p. 2. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 November 2013. สืบค้นเมื่อ 14 August 2012.
  19. McCrae, Donald (1 August 2012). "Michael Phelps becomes the greatest Olympian". The Guardian. London. p. 1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 November 2013. สืบค้นเมื่อ 11 August 2012.
  20. "London 2012 international digest – Day Six". BBC Sport. 2 August 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 August 2012. สืบค้นเมื่อ 11 August 2012.
  21. "London 2012". Excel London. 6 July 2005. สืบค้นเมื่อ 15 October 2011.
  22. "Olympics 2012 venue guide". BBC News. 3 December 2008. สืบค้นเมื่อ 15 October 2011.
  23. "London reveals Olympic Park plans". BBC News. 8 November 2004. สืบค้นเมื่อ 15 October 2011.
  24. "2012 Olympic Park gets go ahead". BBC News. 9 September 2004. สืบค้นเมื่อ 15 October 2011.
  25. "Work begins on 2012 Olympic Park". BBC News. 14 December 2006. สืบค้นเมื่อ 15 October 2011.
  26. "Osprey Quay Olympic village topping out ceremony". BBC News. 13 September 2011. สืบค้นเมื่อ 15 October 2011.
  27. "Olympic Park land row rumbles on". BBC News. 4 November 2005. สืบค้นเมื่อ 15 October 2011.
  28. "Westfield Stratford City shopping centre opens". BBC. 13 September 2011. สืบค้นเมื่อ 15 October 2011.
  29. "Probe into Olympic land evictions". BBC News. 9 May 2006. สืบค้นเมื่อ 15 October 2011.
  30. "Report of the IOC Evaluation Commission for the Games of the XXX Olympiad in 2012" (PDF). Olympic.org. สืบค้นเมื่อ 23 June 2012.
  31. "London Olympics Transport Upgrade". Railway Technology. 15 June 2011. สืบค้นเมื่อ 15 October 2011.
  32. "High-speed rail links confirmed". BBC News. 27 October 2004.
  33. "Javelin train speeds into London". BBC News. 12 December 2008.
  34. "Stratford platforms raised to host Javelin trains". BBC News. 7 September 2011.
  35. "Extra trains planned for visitors to London 2012 venues". BBC News. 25 May 2011.
  36. "Thames cable car to link 2012 Olympic Games venues". BBC News. 4 July 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 April 2012. สืบค้นเมื่อ 4 July 2010.
  37. "Plans unveiled for a new Thames crossing with London's first cable car system" (Press release). Transport for London. 4 July 2010. สืบค้นเมื่อ 5 July 2010.
  38. "Going for Gold: Transport for London's 2012 Olympic Games" (PDF). House of Commons Transport Committee. 8 March 2006. สืบค้นเมื่อ 15 October 2011.
  39. 39.0 39.1 39.2 "London plan at-a-glance". BBC Sport. 6 July 2005.
  40. "Free travel plan for Olympic bid". BBC News. 5 July 2004.
  41. "Olympics 2012: Park and ride schemes for Dorney Lake events". BBC News. 14 September 2011. สืบค้นเมื่อ 15 October 2011.
  42. Olympic and Paralympic route network, TfL
  43. Beard, Matthew (15 November 2011). "Revealed: the road signs that will ban drivers from Olympic lanes". London Evening Standard.
  44. "Panasonic Announces 3D P2 HD Shoulder-Mount Camcorder and First P2 HD Handheld with AVC-Intra Recording at National Association of Broadcasters Convention DVCPRO HD Named Official Recording Format for London 2012 Olympic Games". Panasonic. 10 April 2010. สืบค้นเมื่อ 25 May 2011.
  45. "Roger Mosey". BBC. 29 September 2010. สืบค้นเมื่อ 29 September 2010.
  46. "YouTube will live stream HD Olympics coverage to 64 territories in Asia, Africa". Engadget. สืบค้นเมื่อ 8 June 2012.
  47. Rosner, Scott; Shropshire, Kenneth L. (2010). The Business of Sports. Sudbury, MA: Jones & Bartlett. p. 453. ISBN 9780763780784. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 January 2016. สืบค้นเมื่อ 12 October 2015.
  48. "Volunteering – Making the Games happen". London 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-24. สืบค้นเมื่อ 15 April 2012.
  49. Shifrin, Tash (10 February 2004). "Olympic appeal as volunteer target hit". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 15 April 2012.
  50. "10 Games Maker facts". London 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-24. สืบค้นเมื่อ 15 April 2012.
  51. "Volunteers training day at Wembley Stadium as they prepare for Games". The Daily Telegraph. London. 4 February 2012. สืบค้นเมื่อ 15 April 2012.
  52. "The new London 2012 brand". London 2012. 4 June 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 June 2007. สืบค้นเมื่อ 4 June 2007.
  53. "London unveils logo of 2012 Games". BBC Sport. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 June 2007. สืบค้นเมื่อ 4 June 2007.
  54. "Get involved: Handover". London 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-29. สืบค้นเมื่อ 23 June 2012.
  55. 55.0 55.1 55.2 55.3 Farquhar, Gordon (19 May 2010). "London 2012 unveils Games mascots Wenlock & Mandeville". BBC Sport. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 May 2010. สืบค้นเมื่อ 19 May 2010.
  56. "The London 2012 mascots". London 2012. 19 May 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 May 2010. สืบค้นเมื่อ 20 May 2010.
  57. "Home – London 2012 Mascots". Mylondon2012.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 October 2011. สืบค้นเมื่อ 15 October 2011.
  58. "London 2012 Olympic Games victory medals to be made by the Royal Mint". Royalmint.com. สืบค้นเมื่อ 15 October 2011.
  59. "London 2012 medals deal struck for Royal Mint in Llantrisant". BBC News. 14 December 2010.
  60. "London 2012: Olympic medals go into production in Wales". BBC News. 27 October 2011. สืบค้นเมื่อ 4 July 2012.
  61. "London 2012: Olympic medals locked in Tower". BBC News. 2 July 2012. สืบค้นเมื่อ 4 July 2012.
  62. "London 2012: Olympic medals timeline". BBC News. 26 July 2011.
  63. "Muse unveil official Olympic song". BBC. 28 June 2012. สืบค้นเมื่อ 28 June 2012.
  64. "Muse song "Survival" unveiled as the official London 2012 Olympic theme tune". The Daily Telegraph. 28 June 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-28. สืบค้นเมื่อ 28 June 2012.
  65. "London 2012 Olympics opening ceremony called 'The Isles of Wonder'". Olympics Medal Tally. 27 January 2012.
  66. ข้อมูลพิธีเปิดการแข่งขัน เก็บถาวร 2012-08-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
  67. "Underworld announced as Music Directors for the opening ceremony of the 2012 London Olympic Games". Underworld. n.d. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 December 2012.
  68. ข้อมูลพิธีปิดการแข่งขัน เก็บถาวร 2013-01-03 ที่ archive.today จากเว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
  69. Magnay, Jacquelin (17 May 2011). "London 2012 torch relay should focus on youth". The Daily Telegraph. London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 May 2011. สืบค้นเมื่อ 17 May 2011.
  70. "The Olympic Torch Relay". LOCOG. 18 May 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 June 2011. สืบค้นเมื่อ 18 May 2011.
  71. "London 2012 Olympic torch relay route revealed". BBC News. 18 May 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 May 2011. สืบค้นเมื่อ 18 May 2011.
  72. "Dublin to host Olympic Torch". The Irish Times. Dublin. Reuters. 8 December 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 December 2011.
  73. Hubbard, Alan (12 December 1999). "City of Manchester Stadium: The Wembley rescuers". The Independent. London. สืบค้นเมื่อ 13 July 2012.
  74. "Curtain comes down on 123rd IOC Session". IOC. สืบค้นเมื่อ 11 July 2011.
  75. Originally Israel had 38 participating athletes but it reduced after swimmer Jonatan Kopelev which qualified for the Olympics had to cancel his participation after removal of his appendix two weeks before the Olympics.
  76. "IOC: Kuwait to compete under own flag at Olympics". 15 July 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-27. สืบค้นเมื่อ 23 July 2012.
  77. "Zimbabwe – 2012 Olympic Athletes". London 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-05. สืบค้นเมื่อ 21 July 2012.
  78. Fraser, Andrew (19 August 2005). "Shooters seek handgun law change". BBC News. สืบค้นเมื่อ 30 July 2012.
  79. Associated Press (8 July 2008). "British government relaxes gun laws on sport ahead of 2012 Olympics". ESPN. สืบค้นเมื่อ 30 July 2012.
  80. Tennis: Mixed Doubles Preview NBCOlympics
  81. 81.0 81.1 Michaelis, Vicki (8 July 2005). "Baseball, softball bumped from Olympics". USA Today. สืบค้นเมื่อ 17 August 2008.
  82. "International Olympic Committee – Olympic Games". Olympic.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 September 2008. สืบค้นเมื่อ 12 October 2008.
  83. 83.0 83.1 De Sarkar, Dipankar (6 August 2008). "London legislator heads for Beijing, wants cricket in 2012 Olympics". Thaindian News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 August 2008. สืบค้นเมื่อ 20 August 2008.
  84. "Gordon Brown backs Olympic netball". Daily Express. UK. 20 February 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 September 2008. สืบค้นเมื่อ 10 September 2008.
  85. "London 2012 Olympic Games schedule released". BBC Sport. 15 February 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 October 2011. สืบค้นเมื่อ 25 May 2011.
  86. 86.0 86.1 "Im Dong Hyun posts first world record of London 2012 Olympics". Olympics Metal Tally. 27 July 2012. สืบค้นเมื่อ 27 July 2012.
  87. "New Zealand pair Hamish Bond, Eric Murray set world best time at Olympic rowing regatta". The Washington Post. Associated Press. 28 July 2012. สืบค้นเมื่อ 28 July 2012.[ลิงก์เสีย]
  88. "Ye Shiwen of China sets world record to win Olympic gold in women's 400 IM". Newsday. New York. 28 July 2012. สืบค้นเมื่อ 28 July 2012.[ลิงก์เสีย]
  89. "Women's 53kg Results". London 2012. 29 July 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-05. สืบค้นเมื่อ 29 July 2012.
  90. "Dana Vollmer sets world record in 100 fly". Newsday. New York. 29 July 2012. สืบค้นเมื่อ 29 July 2012.[ลิงก์เสีย]
  91. "Sascoc hails van der Burgh on Olympic win". SABC. Johannesburg. 30 July 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-10. สืบค้นเมื่อ 30 July 2012.
  92. "Records tumble as Kim takes gold". London 2012. 30 July 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-05. สืบค้นเมื่อ 30 July 2012.
  93. 93.0 93.1 "Day 5 Review: Adrian, Gyurta celebrate gold success". London 2012. 1 August 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-10. สืบค้นเมื่อ 2 August 2012.
  94. "Lu lifts into record books". London 2012. 1 August 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-16. สืบค้นเมื่อ 2 August 2012.
  95. Pretot, Julien (2 August 2012). "Olympics-Cycling-China set world record, Britain out". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-22. สืบค้นเมื่อ 2 August 2012.
  96. "Coach backs GB quartet to go faster". Yahoo! Eurosport. 2 August 2012. สืบค้นเมื่อ 2 August 2012.
  97. "Hoy claims fifth gold". London 2012. 2 August 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-10. สืบค้นเมื่อ 2 August 2012.
  98. "Soni smashes world record to claim gold". London 2012. 2 August 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-16. สืบค้นเมื่อ 2 August 2012.
  99. "Sun shatters 1500m WR at Olympics, Fogg eighth". Yahoo! Eurosport. 4 August 2012. สืบค้นเมื่อ 4 August 2012.
  100. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-04. สืบค้นเมื่อ 2012-08-11.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า โอลิมปิกฤดูร้อน 2012 ถัดไป
โอลิมปิกฤดูร้อน 2008
(ปักกิ่ง จีน)
การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน
(27 กรกฎาคม - 12 สิงหาคม ค.ศ. 2012)
โอลิมปิกฤดูร้อน 2016
(รีโอเดจาเนโร บราซิล)