โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า นครราชสีมา
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
มีข้อสงสัยว่าบทความนี้อาจละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ระบุไม่ได้ชัดเจนเพราะขาดแหล่งที่มา หรืออ้างถึงสิ่งพิมพ์ที่ยังตรวจสอบไม่ได้ หากแสดงได้ว่าบทความนี้ละเมิดลิขสิทธิ์ ให้แทนป้ายนี้ด้วย {{ละเมิดลิขสิทธิ์}} หากคุณมั่นใจว่าบทความนี้ไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์ ให้แสดงหลักฐานในหน้าอภิปราย โปรดอย่านำป้ายนี้ออกก่อนมีข้อสรุป |
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า นครราชสีมา TRIAMUDOMSUKSANOMKAO NAKHON RATCHASIMA SCHOOL | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
347 หมู่ 12 ถนนโคกเพชร-หนองปลิง 30280 ประเทศไทย | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | ต.อ.น.นม. (เตรียมน้อมฯ โคราช) T.N.S. (Triam Nom Korat) |
ประเภท | โรงเรียนมัธยมศึกษาปลาย โรงเรียนสหศึกษา |
คำขวัญ | ความเป็นเลิศทางวิชาการ และคุณธรรม นิมิตฺตํ สาธุ รูปานํ กตญฺญูกตเวทิตา |
สถาปนา | 9 มกราคม พ.ศ. 2552 |
ผู้ก่อตั้ง | ไม่ปรากฎชัดเจน |
หน่วยงานทางการศึกษา | กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา |
ผู้อำนวยการสถานศึกษา | นางนัทภา วรรณประพันธ์ |
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอน | ภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน
ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น ภาษาจีน ภาษาฝรั่งเศส |
สี | สีฟ้าและสีชมพู |
เพลง | มาร์ชเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า |
เว็บไซต์ | www.tns.ac.th |
ประวัติ
[แก้]โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า นครราชสีมา[1] เดิมชื่อ โรงเรียนนครราชสีมาวิทยาลัย ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2538 สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เป็นโรงเรียนที่สร้างขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อจะให้เป็นศูนย์กลางทางการศึกษาของจังหวัดนครราชสีมา ที่มีภารกิจด้านการจัดการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และในปี พ.ศ. 2547 มีการปรับปรุงโครงสร้างการศึกษา จึงได้ย้ายมาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 1 ต่อมามีนโยบายด้านการศึกษาของภาครัฐที่มีการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีสิทธิในการจัดการศึกษาตามความพร้อมและความต้องการ โรงเรียนนครราชสีมาวิทยาลัย จึงได้ถ่ายโอนไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2550
ต่อมา องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา มีนโยบายด้านการศึกษาโดยจะจัดตั้งโรงเรียนนครราชสีมาวิทยาลัย ให้เป็นโรงเรียนมาตรฐานคุณภาพตัวอย่างของจังหวัดนครราชสีมา โดยจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษในด้านต่าง ๆ ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ให้มีคุณภาพมาตรฐานโดยเป็นการจัดการศึกษาของท้องถิ่น เพื่อให้โอกาสนักเรียนที่มีศักยภาพสูงในจังหวัดนครราชสีมาให้มีโอกาสเท่าเทียมกัน ทั้งนี้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า และคณะกรรมการจัดตั้งโรงเรียนนครราชสีมาวิทยาลัย ได้เสนอขอใช้ชื่อโรงเรียนไปยังโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า ถนนรามคำแหง เขตสะพานสูง กรุงเทพฯ เพื่อขอเปลี่ยนชื่อโรงเรียน ได้รับอนุญาตให้ใช้ชื่อโรงเรียนเป็น โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า นครราชสีมา เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2552 และเริ่มรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษโดยการสอบคัดเลือกนักเรียนเข้าเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พร้อมทั้งงดรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1) ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 เป็นต้นมา
ด้วยความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาเยาวชนด้านการศึกษา โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า นครราชสีมา จึงผลักดันอย่างเต็มกำลังในการพัฒนาโรงเรียนให้เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาต้นแบบขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ที่เน้นการจัดการเรียนการสอนสู่ความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและความสามารถทางภาษา รวมทั้งจัดการศึกษาโดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาผู้เรียน ให้เป็นคนดีมีคุณธรรม เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ สอดคล้องกับปรัชญาทางการศึกษาของโรงเรียน คือ “เป็นเลิศวิชาการ สร้างสรรค์คุณธรรม” โดยได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนด้านทรัพยากรและงบประมาณในการพัฒนาการศึกษาจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมาอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ โรงเรียนยังมีการจัดโครงการพิเศษต่าง ๆ ได้แก่ โครงการส่งเสริมการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โครงการส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์ โครงการส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางภาษา และโครงการพัฒนาท้องถิ่น อีกทั้งยังมีการลงนามความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาภายในประเทศ ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มหาวิทยาลัยราชมงคลอีสาน มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล และวิทยาลัยนาฏศิลป์นครราชสีมา และมีการลงนามความร่วมมือทางวิชาการร่วมกับสถาบันการศึกษาและองค์กรจากต่างประเทศ ได้แก่ สมาคมนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์แห่งอินโดนีเซีย (IYSA) ประเทศอินโดนีเซีย โรงเรียนมัธยมแวน โฮ ประเทศเวียดนาม และ องค์กรนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์แห่งมาเลเซีย (MYSO) ประเทศมาเลเซีย และในอนาคต โรงเรียนมีการวางแผนจะทำบันทึกข้อตกลงในการพัฒนาการศึกษาร่วมกับสถาบันการศึกษาอื่น ๆ เพิ่มเติมทั้งภายในประเทศและระดับนานาชาติ เพื่อพัฒนาศักยภาพสู่ความเป็นเลิศตามอัจฉริยภาพของนักเรียน
ข้อมูลเบื้องต้น
[แก้]ตราสัญลักษณ์ประจำโรงเรียน
[แก้]พระเกี้ยว หรือ จุลมงกุฎ เป็นศิราภรณ์ประดับพระเกศาหรือพระเศียรของพระราชโอรสและพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ และเป็นพิจิตรเลขาประจำรัชกาลในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งนี้เพราะ พระนามาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น คือ "จุฬาลงกรณ์" ซึ่งแปลว่า เครื่องประดับศีรษะ หรือ จุลมงกุฎ ซึ่งมีความหมายเชื่อมโยงกับพระนามาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นั่นคือ "มงกุฎ" อีกทั้ง พระปรมาภิไธยในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังมีหมายความว่า "พระจอมเกล้าน้อย" อีกด้วย เมื่อพระนามาภิไธยเดิมและพระปรมาภิไธยเดิมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีความหมายว่าพระเกี้ยว หรือจุลมงกุฎ จึงได้ใช้พระเกี้ยวหรือจุลมงกุฎวางบนเบาะ เป็นพิจิตรเลขาประจำรัชกาลของพระองค์
ปรัชญา
[แก้]ความเป็นเลิศทางวิชาการ และคุณธรรม
คติพจน์
[แก้]นิมิตฺตํ สาธุ รูปานํ กตญฺญูกตเวทิตา แปลว่า "ความกตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายของคนดี"
เอกลักษณ์
[แก้]ความเป็นเลิศทางวิชาการ และคุณธรรม
อัตลักษณ์
[แก้]หลักสูตรเข้มข้น บุคคลแห่งการเรียนรู้
สีประจำโรงเรียน
[แก้]สีชมพู หมายถึง สีลูกพระเกี้ยว เป็นสีประจำโรงเรียนหลักของโรงเรียนเครือข่ายเตรียมอุดมศึกษาทั่วประเทศ
สีฟ้า หมายถึง ท้องฟ้ากว้างใหญ่ไพศาล ลูกเตรียมอุดมฯ เป็นผู้มีจิตใจกว้างขวาง เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มีน้ำใจไม่เห็นแก่ตัว ไม่ใจแคบ สีฟ้า เป็นสีแห่งความสดใส เย็นตาน่ามอง ลูกเตรียมอุดมฯเป็นผู้มีใจร่าเริง แจ่มใสสุภาพ อ่อนน้อม เป็นที่รักของทุกคน
ทำเนียบผู้บริหาร
[แก้]ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า นครราชสีมา มีดังนี้[3]
ลำดับ | ชื่อ | ดำรงตำแหน่ง | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|---|
1 | ไมตรี โนนสูงเนิน | 2538 | 2540 | รักษาการในตำแหน่ง อาจารย์ใหญ่
เมื่อยังเป็นโรงเรียนนครราชสีมาวิทยาลัย |
2 | กมล พงษ์ไชยพัฒน์ (วาจ่าง) | 2540 | 2543 | อาจารย์ใหญ่
เมื่อยังเป็นโรงเรียนนครราชสีมาวิทยาลัย |
3 | บุญเลิศ พ่วงเพ็ชร | 2543 | 2550 | ผู้อำนวยการ
เมื่อยังเป็นโรงเรียนนครราชสีมาวิทยาลัย |
4 | ไพศาล มีสวัสดิ์ | 2550 | 2559 | ผู้อำนวยการสถานศึกษา
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า นครราชสีมา |
5 | สมยศ ระย้าอินทร์ | 2559 | 2560 | ผู้อำนวยการสถานศึกษา
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า นครราชสีมา |
6 | เชาวลิต เกิดกลาง | 2560 | 2562 | ผู้อำนวยการสถานศึกษา
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า นครราชสีมา |
7 | ทนงค์ เขียวแก้ว | 2562 | 2565 | ผู้อำนวยการสถานศึกษา
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า นครราชสีมา |
8 | นัทภา วรรณประพันธ์ | 2566 | ปัจจุบัน | ผู้อำนวยการสถานศึกษา
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า นครราชสีมา |