โยชูวา 2
โยชูวา 2 | |
---|---|
← โยชูวา 1 โยชูวา 3 → | |
หน้าของหนังสือโยชูวาในฉบับเลนินกราด (ค.ศ. 1008) | |
หนังสือ | หนังสือโยชูวา |
ภาคในคัมภีร์ฮีบรู | เนวีอีม |
ลำดับในภาคของคัมภีร์ฮีบรู | 1 |
หมวดหมู่ | ผู้เผยพระวจนะยุคต้น |
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์ | พันธสัญญาเดิม |
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์ | 6 |
โยชูวา 2 (อังกฤษ: Joshua 2) เป็นบทที่ 2 ของหนังสือโยชูวาในคัมภีร์ฮีบรูหรือในพันธสัญญาเดิมของคัมภีร์ไบเบิลในศาสนาคริสต์[1] ตามธรรมเนียมในศาสนายูดาห์เชื่อว่าหนังสือเขียนขึ้นโดยโยชูวาร่วมด้วยมหาปุโรหิตเอเลอาซาร์และฟีเนหัส[2][3] แต่นักวิชาการยุคปัจจุบันมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์เฉลยธรรมบัญญัติซึ่งครอบคลุมเรื่องราวตั้งแต่หนังสือเฉลยธรรมบัญญัติถึงหนังสือพงศ์กษัตริย์ฉบับที่ 2 เขียนโดยผู้เขียนศาสนายาห์เวห์ผู้รักชาติและศรัทธาในสมัยของโยสิยาห์กษัตริย์ยูดาห์นักปฏิรูปในศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล[3][4] บทที่ 2 ของหนังสือโยชูวาเน้นไปที่เรื่องราวของเหล่าผู้สอดแนมที่โยชูวาส่งเข้าไปในเมืองเยรีโค และเรื่องราวการพบกับราหับของเหล่าผู้สอดแนม[5] เป็นส่วนหนึ่งของตอนที่ประกอบด้วยโยชูวา 1:1–5:12 เกี่ยวกับการเข้าสู่ดินแดนคานาอัน[6]
ต้นฉบับ
[แก้]บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู แบ่งออกเป็น 24 วรรค
พยานต้นฉบับ
[แก้]บางสำเนาต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรูมีลักษณะเป็นต้นฉบับเมโซเรติก (Masoretic Text) ได้แก่ ฉบับไคโร (Codex Cairensis; ค.ศ. 895), ฉบับอะเลปโป (Aleppo Codex; ศตวรรษที่ 10) และ ฉบับเลนินกราด (Leningrad Codex; ค.ศ. 1008)[7] ชิ้นส่วนที่มีข้อความบางส่วนของบทนี้ในภาษาฮีบรูถูกพบในม้วนหนังสือเดดซี ได้แก่ XJoshua (XJosh, X1; 50 ปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งมีวรรค 4-5 หลงเหลืออยู่[8][9][10] และ 4Q48 (4QJoshb; 100–50 ปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งมีวรรค 11-12 หลงเหลืออยู่[8][9][11][12]
ต้นฉบับโบราณที่หลงเหลืออยู่ของคำแปลเป็นภาษากรีกคอยนีที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) ได้แก่ ฉบับวาติกัน (Codex Vaticanus; B; B; ศตวรรษที่ 4) และฉบับอะเล็กซานเดรีย (Codex Alexandrinus; A; A; ศตวรรษที่ 5)[13][a] ชิ้นส่วนของเซปทัวจินต์ภาษากรีกที่มีบทนี้ถูกพบในต้นฉบับอย่างสำเนาต้นฉบับวอชิงตัน 1 (Washington Manuscript I; คริสต์ศตวรรษที่ 5) และพบฉบับย่อของเซปทัวจินต์ในม้วนโยชูวาที่มีภาพประกอบ[15][16]
การอ้างอิงในพันธสัญญาใหม่
[แก้]วิเคราะห์
[แก้]เรื่องเล่าการเข้าสู่ดินแดนคานาอันของชาวอิสราเอลประกอบด้วยวรรค 1:1 ถึง 5:12 ของหนังสือโยชูวา และมีโครงเรื่องดังต่อไปนี้:[18]
- A. การเตรียมเข้าแผ่นดิน (1:1–18)
- 1. พระบัญชาต่อโยชูวา (1:1–9)
- 2. บัญชาต่อเหล่าผู้นำ (1:10–11)
- 3. การสนทนากับเผ่าตะวันออก (1:12–18)
- B. ราหับและผู้สอดแนมในเยรีโค (2:1–24)
- 1. คำสั่งถึงผู้สอดแนม (2:1a)
- 2. การลวงกษัตริย์แห่งเยรีโค (2:1b–7)
- 3. คำสาบานต่อราหับ (2:8–21)
- 4. รายงานถึงโยชูวา (2:22–24)
- C. ข้ามแม่น้ำจอร์แดน (3:1–4:24)
- 1. การเตรียมการในช่วงต้นเพื่อข้ามแม่น้ำ (3:1–6)
- 2. บัญชาในการข้ามแม่น้ำ (3:7–13)
- 3. การข้ามแม่น้ำอย่างอัศจรรย์: ส่วนที่ 1 (3:14–17)
- 4. ศิลาจารีกสิบสองก้อน: ส่วนที่ 1 (4:1–10a)
- 5. การข้ามแม่น้ำอย่างอัศจรรย์: ส่วนที่ 2 (4:10b–18)
- 6. ศิลาจารีกสิบสองก้อน: ส่วนที่ 2 (4:19–24)
- D. การเข้าสุหนัตและพิธีปัสกา (5:1–12)
- 1. ความกลัวของชาวคานาอัน (5:1)
- 2. การเข้าสุหนัต (5:2–9)
- 3. พิธีปัสกา (5:10–12)
ราหับรับผู้สอดแนม (2:1–7)
[แก้]เรื่องเล่าในบทนี้ดูมีลักษณะเป็นบทคั่น แต่แท้จริงแล้วเรื่องราวนี้ให้ข้อมูลภูมิหลังสำหรับเรื่องราวการข้ามแม่น้ำจอร์แดนและยุทธการที่เยรีโค[19] การส่งผู้สอดแนมออกไปเป็นไปตามแบบอย่างที่โมเสสเคยทำ (กันดารวิถี 13, เฉลยธรรมบัญญัติ 1:21–23; เปรียบเทียบกับโยชูวา 7:2–3)[19] แต่ผลแตกต่างจากภารกิจก่อนหน้าซึ่งให้ผลล้มเหลวในการยึดแผ่นดินแห่งพระสัญญาเพราะความกลัว (กันดารวิถี 13–14) ครั้งนี้ผู้สอดแนมต่างสนับสนุนประชาชนให้รุดหน้าไป (วรรคที่ 24; ตรงกันข้ามกับกันดารวิถี 13:31–33)[20] ราหับกลายเป็นศูนย์กลางของเรื่องราวโดยเป็นบุคคลที่มีชื่อเพียงคนเดียวในเรื่องราวนี้[19] และควบคุมทุกการกระทำในเรื่องราว โดยเธอให้ข้อมูลแก่ผู้สอดแนม ปกป้องและแนะนำที่ปลอดภัยให้ผู้สอดแนม ในขณะที่ผู้สอดแนม, กษัตริย์ของเยรีโคและเจ้าหน้าที่ของพระองค์ไม่มีการระบุชื่อ[21]
วรรคที่ 1
[แก้]- ต่อมาโยชูวาบุตรนูนส่งชายสองคนจากเมืองชิทธีมเป็นการลับไปสอดแนม กล่าวว่า "จงไปตรวจดูแผ่นดินนั้น โดยเฉพาะเมืองเยรีโค" เขาทั้งสองก็ไป เข้าไปในบ้านของหญิงโสเภณีคนหนึ่งชื่อราหับ และพักอยู่ที่นั่น [22]
- "ชิทธีม": ถูกระบุว่าเป็น "Tell el-Ḥammām" ในปัจจุบันบนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำจอร์แดน ตรงข้ามกับเยรีโค[23] ในที่นี้เขียนเป็นรูปแบบสั้นเช่นเดียวกับในกันดารวิถี 25:1 ไม่ใช่รูปแบบยาวว่า "อาเบลชิทธิม" อย่างในกันดารวิถี 33:49[24]
คำสาบานต่อราหับ (2:8–24)
[แก้]การเผยความเชื่อของราหับ (วรรค 8–11) หนุนใจผู้สอดแนมในความเชื่อต่อพระสัญญาของพระเจ้า (เปรียบเทียบกับอพยพ 23:27; กันดารวิถี 22:3) ในขณะที่ราหับกล่าวย้อนให้ระลึกถึงชัยชนะในฟากตะวันออกของแม่น้ำจอร์แดนในฐานะประจักษ์พยานว่าพวกเขาก็จะได้รับความสำเร็จในคานาอัน (เฉลยธรรมบัญญัติ 3:21-2) และด้วยเหตุนี้ราหับจึงร้องขอให้ชีวิตของตัวเธอและครอบครัวได้รับการ 'แสดงความเมตตา' (ภาษาฮีบรู: hesed; วรรค 12) ด้วยการเชื่ออย่างคาดหวังในความสัมพันธ์แห่งพันธสัญญา (เปรียบเทียบกับ 1 ซามูเอล 20:8)[20] ผู้สอดแนมตกลงแล้วสาบานโดยใช้ชีวิตของตนเป็นประกันความปลอดภัยของราหับและครอบครัว (วรรค 14,19) หากราหับไม่ 'เปิดเผยภารกิจนี้ของเรากับใคร' (วรรค 14, 20) แม้ว่าแนวคิดเรื่องสงครามศักดิ์สิทธิ์จะเรียกร้องให้สังหารชาวเมืองเยรีโคทุกคนก็ตาม (เฉลยธรรมบัญญัติ 2:32–37; 7:1–5; 20:16–18).[20]
วรรค 14
[แก้]- ชายนั้นจึงตอบนางว่า "ชีวิตของเราเพื่อชีวิตของพวกเจ้า ถ้าพวกเจ้าไม่เปิดเผยภารกิจนี้ของเรากับใคร เราจะมีความเมตตาและซื่อสัตย์ต่อเจ้า เมื่อพระยาห์เวห์ประทานแผ่นดินนี้แก่เรา"[25]
- "ภารกิจนี้ของเรา": หมายถึงภารกิจของผู้สอดแนมเป็นหลัก ไม่ได้หมายถึงการพิชิตคานาอันที่กำลังจะเกิดขึ้น เพราะการที่ชาวอิสราเอลกำลังจะพิชิตคานาอันนั้นเป็นสิ่งที่รู้กันโดยทั่วไปในหมู่ชาวคานาอันทั้งหมดอยู่แล้ว (วรรค 9–11)[26]
ดูเพิ่ม
[แก้]- อามูร์
- ยุทธการที่เยรีโค
- อียิปต์โบราณ
- จารกรรม
- เยรีโค
- แม่น้ำจอร์แดน
- ส่วนในคัมภีร์ไบเบิลที่เกี่ยวข้อง: โยชูวา 6, มัทธิว 1, ฮีบรู 11, ยากอบ 5
หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Halley 1965, pp. 157–158.
- ↑ Talmud, Baba Bathra 14b-15a)
- ↑ 3.0 3.1 Gilad, Elon. Who Really Wrote the Biblical Books of Kings and the Prophets? Haaretz, June 25, 2015. Summary: The paean to King Josiah and exalted descriptions of the ancient Israelite empires beg the thought that he and his scribes lie behind the Deuteronomistic History.
- ↑ Coogan 2007, p. 314 Hebrew Bible.
- ↑ Coogan 2007, p. 316 Hebrew Bible.
- ↑ McConville 2007, p. 158.
- ↑ Würthwein 1995, pp. 35–37.
- ↑ 8.0 8.1 Ulrich 2010, p. 247.
- ↑ 9.0 9.1 Dead sea scrolls - Joshua
- ↑ Fitzmyer 2008, p. 162.
- ↑ Fitzmyer 2008, p. 35.
- ↑ 4Q48 at the Leon Levy Dead Sea Scrolls Digital Library
- ↑ Würthwein 1995, pp. 73–74.
- ↑ This article incorporates text from a publication now in the public domain: Herbermann, Charles, ed. (1913). "Codex Sinaiticus". Catholic Encyclopedia. New York: Robert Appleton Company.
- ↑ "Discrepancies in manuscripts show how Old Testament scribes edited the Book of Joshua". University of Helsinki. January 29, 2018.
- ↑ Rösel, Martin (January 1, 2002). "The septuagint-version of the book of Joshua". Scandinavian Journal of the Old Testament. 16 (1): 5–23. doi:10.1080/09018320210000329. S2CID 161116376 – โดยทาง Taylor and Francis+NEJM.
- ↑ Joshua 2, Berean Study Bible
- ↑ Firth 2021, p. 27.
- ↑ 19.0 19.1 19.2 Coogan 2007, p. 318 Hebrew Bible.
- ↑ 20.0 20.1 20.2 McConville 2007, p. 161.
- ↑ Rösel 2011, p. 48.
- ↑ โยชูวา 2:1 พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน
- ↑ Rösel 2011, p. 45.
- ↑ Rösel 2011, pp. 45–46.
- ↑ โยชูวา 2:14 THSV11
- ↑ Rösel 2011, p. 51.
บรรณานุกรม
[แก้]- Coogan, Michael David (2007). Coogan, Michael David; Brettler, Marc Zvi; Newsom, Carol Ann; Perkins, Pheme (บ.ก.). The New Oxford Annotated Bible with the Apocryphal/Deuterocanonical Books: New Revised Standard Version, Issue 48 (Augmented 3rd ed.). Oxford University Press. ISBN 978-0195288810.
- Firth, David G. (2021). Joshua: Evangelical Biblical Theology Commentary. Evangelical Biblical Theology Commentary (EBTC) (illustrated ed.). Lexham Press. ISBN 9781683594406.
- Fitzmyer, Joseph A. (2008). A Guide to the Dead Sea Scrolls and Related Literature. Grand Rapids, MI: William B. Eerdmans Publishing Company. ISBN 9780802862419.
- Halley, Henry H. (1965). Halley's Bible Handbook: an abbreviated Bible commentary (24th (revised) ed.). Zondervan Publishing House. ISBN 0-310-25720-4.
- Hayes, Christine (2015). Introduction to the Bible. Yale University Press. ISBN 978-0300188271.
- McConville, Gordon (2007). "9. Joshua". ใน Barton, John; Muddiman, John (บ.ก.). The Oxford Bible Commentary (first (paperback) ed.). Oxford University Press. pp. 158–176. ISBN 978-0199277186. สืบค้นเมื่อ February 6, 2019.
- Rösel, Hartmut N. (2011). Joshua. Historical commentary on the Old Testament. Vol. 6 (illustrated ed.). Peeters. ISBN 978-9042925922.
- Ulrich, Eugene, บ.ก. (2010). The Biblical Qumran Scrolls: Transcriptions and Textual Variants. Brill.
- Würthwein, Ernst (1995). The Text of the Old Testament. แปลโดย Rhodes, Erroll F. Grand Rapids, MI: Wm. B. Eerdmans. ISBN 0-8028-0788-7. สืบค้นเมื่อ January 26, 2019.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- คำแปลในศาสนายูดาห์:
- Yehoshua - Joshua - Chapter 2 (Judaica Press). Hebrew text and English translation [with Rashi's commentary] at Chabad.org
- คำแปลในศาสนาคริสต์:
- Online Bible at GospelHall.org (ESV, KJV, Darby, American Standard Version, Bible in Basic English)
- Joshua chapter 2. Bible Gateway
- โยชูวา 2. YouVersion